วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

As Above, So Below

    โหราศาสตร์เป็นเรื่องเหลวไหลงมงาย ทัศนคติของคนส่วนใหญ่ที่ไม่เคยศึกษาโหราศาสตร์อย่างจริงจังมักเป็นเช่นนี้ คำถามสำคัญที่สุดของพวกเขาคือ ดวงดาวบนท้องฟ้าเกี่ยวข้องอะไรกับมนุษย์
    ในมุมวิทยาศาสตร์ นี่คือ “สมมติฐาน” เพียงข้อเดียวของโหราศาสตร์ ถ้าสามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์นี้ได้ โหราศาสตร์ก็ไม่ใช่ศาสตร์แห่งความเหลวไหลงมงายอีกต่อไป ประเด็นไม่ใช่พิสูจน์ไม่ได้ แต่การพิสูจน์ต้องจำกัดอยู่แค่กระบวนการการทางวิทยาศาสตร์หรือไม่ หรือมีแนวทางอื่น ๆ อีก
    แม้โลกปัจจุบันก้าหน้าไปมาก แต่วิทยาศาสตร์ก็ไม่ใช่คำตอบของทุกสิ่ง เราไม่สามารถบอกได้ว่า ความจริง (Reality) เป็นแค่วัตถุรูปธรรมที่ประสาทสัมผัสรับรู้ได้ หรือวัดเป็นตัวเลขได้เท่านั้น ความสุข ความเศร้า ความรัก มิตรภาพ เสรีภาพ ความเชื่อ ศรัทธา ปรัชญา ศาสนา ฯลฯ สิ่งที่เป็น “นามธรรม” ก็คือความจริงที่มนุษย์รับรู้กันอยู่ตลอดเวลา เช่นกัน แม้มันไม่อาจวัดได้ในทางวิทยาศาสตร์
    กระนัน่นก็ตาม วิทยาศาสตร์ก็บอกเองว่าดวงดาวมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์เรื่องราวบนโลก ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น น้ำขึ้น น้ำลง กลางวันกลางคืน ฤดูกาล สุริยคราส จันทรคราส ฯลฯ ล้วนเป็นเครื่องนืยยันมนุษย์ในฐานะสิ่งมีชีวิตบนโลก ย่อมได้รับผลกระบทางอ้อมด้วย เช่น กลางวันกลางคืนเป้นตัวกำหนดเวลาทำงานหรือพักผ่อน ฤดูกาลเป็นตัวกำหนดการเพาะปลูกหรือเก็บเกี่ยว น้ำขึ้นน้ำลงส่งผลต่อการสัญจรทางน้ำและอาชีพของชาวประมง ฯลฯ
    ไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์ คาร์ล จุง นักจิตวิเคราะห์ผู้โด่งดังและศิษย์เอกของซิกมัน ฟรอยด์ ก็เชื่อในความสัมพันธฺ์นี้ จุงไม่เพียงศึกษาจิตวิทยาสมัยใหม่ แต่ยังศึกษาศาสตร์ตะวันออกด้วย เช่น อี้จิงของจีน ภควัทคีตาของอินเดีย โหราศาสตร์สากกลและอินเดีย ฯลฯ จุงสรุปว่าดวงดาวกับมนุษยืสอดคตล้องสัมพันธ์กัน โดยใช้คำว่า Synchronicity แนวคิดของจุงกลายเป็นพลังผลักดันสำคัญให้เกิด “โหราศาสตร์จิตวิทยา” ซึงไปเติบโตรุ่งเรืองในอเมริกาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ ๒๐
    นี่คือมุมที่คนปัจจุบันมองย้อนไปในอดีตแต่หลักคิดจากอดีตที่แท้จริงเป็นอย่างไร
    นับแต่โบราณกาลมนุษยืมองขึ้นไปบนท้องฟ้าด้วยความเคารพ ด้วยตระหนักถึงความย่ิงใหญ่ของฟ้าและสำนึกถึงความต้อยต่ำของตน อารยธรรมเมสโสโปเตเมีัยยุคต้นเชื่อว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของเทพเจ้าหน้าที่หลักของมนุษย์คือปฏิบัติตามคำสั่งเทพเจ้าดวดาวทั้งหลายที่ปรากฏบนท้องฟ้าในยามค่ำคืน คืออาณัติสวรรค์ที่แสดงถึงคำสั่งของเหล่าทวยเทพ
    ในอารยธรรมอียิปต์ ชีวิตบนโลกเป็นแค่ที่พำนักชั่วคราว เปรียบเสมือนก้าวหนึ่งสู่ความเป็นนิรันดร์ (Eternity) จิตวิญญาณมาจากดวงดาวและจะกลับสุ่ดวงดาวเช่นกัน ในจักรวาลนั้นมีจิตวิญญาณแทรกซึมไปทั่ว (The Anima Mundi) มันคือความเป็นหนึ่งเดียวที่เป็นพื้นฐานของความหลากหลายในโลกทุกสิ่งเกิดขึ้นและสัมพันธ์กันด้วยพลังงานของจักรวาลที่เรียกว่า “เฮกา” เช่นเดียวกับอิทธิพลดวงดาวที่่มีต่อมนุษย์
    อารยธรรมจีนมองว่า ฟ้ายิ่งใหญ่แลถมีอิทธิพลต่อมนุษย์อย่างมากทุกคนควรปฏิบัติตนไปตามแนวทางของฟ้า ด้งในตำราพิชัยสงคราม ขงเบ้ง ภาคปรัชญาการปกครอง บทที่ 1 กล่าวว่า “รากฐานนั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นก่อน ส่วนต่าง ๆย่อมเกิดขึ้นหรือดำรงอยู่ไม่ได้ในการปกครองประเทศ กษัตริย์จึงต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของฟ้า”
    ขณะที่อารยธรรมกรีกกลับมองอีกมุมหนึ่ง จักรวาลมีกฏของตัวเอง กฏนี้คือกฏของธรรมชาติ ไม่ใช่เทพเจ้าบันดาลการเข้าใจกฏธรรมชาสติ ต้องรู้ว่าอะไรคือปฐมธาตุเสียก่อน  ปราชญ์จึงเริ่มต้นที่การอธบายปฐมธาตุ เช่น ธาเลสเสนอว่า ปฐมธาตุของจักรวาลและทุกชีวิตคือน้ำเฮราคลีตุสถือว่า ไฟคือปฐมธาตุ อริสโตเติลถือว่า อีเธอร์คือธาตุที่ 5 ของจักรวาลและเป็นปฐมธาตุ ฯลฯ
    ผู้ที่อธิบายได้ชัดเจนที่สุด คือ คลาวดิอุสปโตเลมีโหราจารย์ผู้นี้เชื่อว่า อีเธอร์คือปฐมธาตุของจักรวาล การเคลื่อนที่ของดวงดาวทำให้อีเธอร์กระเพื่อมและส่งผลต่อธาตุหลักทั้ง 4 คือดินน้ำลมไฟ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังทุกส่วนของจักรวาล ดวงดาวมีอิทธิพลต่อมนุษย์ได้ด้วยเหตุผลนี้
    แต่คำอธิบายที่ลึกซึ้งที่สุดมาจากอารยธรรมอินเดีย คัมภีร์ “พระเวท” กล่าวว่า ดวงดาวคือตัวแทนของเทพเจ้าทั้งหลายที่สามารถดลบันดาลสิ่งต่าง ๆ ให้กับมนุษย์ พระเวทไม่เพียงกล่าวถึงอำนาจของดวงดาว แต่ยังเน้นย้ำถึงวันเวลาที่ถูกต้องในการทำพิธีกรรมต่างๆ ด้วยอิทธิพลดวงดาวนั้นสูงมาก จนคัมภีร์ “อาถรรพณ์เวท ต้องประกาศว่า “กษัตริย์ผู้ปราศจากโหราจารย์เปรียบเสมือนเด็กที่ไม่มีบิดา”
    ใน “อุปนิษัท (Upanishad) หรือ “เวทานตะ (Vedanga) ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของพระเวทและเป็นที่ประมวลความคิดทางปรัชญาทั้งหมด เสนอแนวคิดที่ว่า มนุษย์ไม่อาจแบ่งแยกตัวเองจากจักรวาลและเน้นย้ำปฏิสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างองค์ปรกอบระดับจุลภาค (มนุษย์) กับมหภาค (จักรวาล)
    แก่นความคิดของอุปนิษัทอยู่ที่ “อาตมัน (Atman) หรือตัวตนของบุคคล กับ”พรหมัน (Brahman)” หรือตัวตนสูงสุดของจักรวาล ทั้ง 2 สิ่งนี้เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังมหาวากย์ (คำพูดยิ่งใหญ่) ที่ว่า “ตัต ตวัม อสิ” แปลตามพยัญชนะว่า “ท่านคือสิ่งนั้น” แปลตามอรรถะว่า “อาตมันคือพรหมัน”
    โหราศาสตร์กำเนิดในยุคที่ไม่เจริญทางวัตถุการดำรงชีวิตของผู้คนต้องพึ่งพาธรรมชาติ การรับรู้ (Perception) ของมนุษย์ยุคนั้นจึงไม่แบ่งแยกคนออกจากธรรมชาติ ทะเล ภูเข้า ท้องฟ้า ดวงดาว สัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ ล้วนเป์นระบบนิเวศน์เดียวกันกับมนุษย์ทุกสิ่งมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต
    อารยธรรมโบราณทั้งหลายแม้มีรายละเอียดที่แตกต่าง แต่แนวคิดหลักกลับใกล้เคียงกัน มันคือหลักปรัชญาที่ว่าทุกสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนเป็นสิ่งเดียวกันเชื่อมโยงสัมพันธ์และส่งผลกระทบถึงกันโหราศาสตร์กำเนิดขึ้นมาจากปรัชญานี้
    พัฒนาการของโหราศาสตร์ก้าวหน้าที่สุดในยุค Hellenistic (323-31 ปีก่อน ค.ศ.) ปรัชญาของทุกอารยธรรมถูกหลอมรวมและขัดเกลา จนนำไปสู่การสรุปยอดความคิดที่ว่า “As Above, So Below” หรือ “เบื้องบนเป็นอย่างไร เบื้องล่างก็เป็นอย่างนั้น”
    ดวงดาวมีอิทธิพลต่อมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ บรนรพบุรุษของเราสั่งสอนและถ่ายทอดกันมาเช่นนี้
    มีเพียงคนที่ปกิเสธรากเหง้าของตัวเองและดูถูกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ จึงคิดว่าโหราศาสตร์เหลวไหลงมงาย
   
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
    ลิขิตฟ้า ชะตาโลก
    ชูศักดิ์ จงธนะพิพัฒน์
    ๑๑ พ.ย. ๒๕๕๙ เวลา ๑๒.๕๗ น.

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สมมติสีมารักษาพระศาสนา



    กำลังอ่านจารึกกัลยาณีอยู่ค่ะ ที่ต้องอ่านจารึกนี้เพราะท่านธัมมนันทาต้องไปช่วยภิกษุณีสงฆ์ที่     บังคลาเทศรับกฐิน
    เราออกพรรษากันวันที่ 16 ตุลาคม 2559 เวลาเขียนบทความต้องใส่ พ.ศ. กำกับ และต้องทำให้เป็นนิสัย หลายปีผ่านไป เอามาอ่านอีกที ไม่รู้ว่าปีไหน ก็เรากำลังบันทึกประวัติศาสตร์ การลงวันที่กำกับช่วยความจำของเราได้มากนะคะ
    พอออกพรรษาแล้วก็นับไปโดยประมาณ 4 อาทิตย์ เป็นช่วงที่เราไปทอดกฐินกัน ในช่วง 4 อาทิตย์นั้น ทอดได้ทุกวันนั่นแหละ แต่ทอดวันธรรมดา คนมาน้อย ไปทำงานกันไง
    ตกลงความนิยมก็มาลงที่ทอดกฐินวันเสาร์อาทิตย์ เราได้เพียง 4 อาทิตย์ดังที่ว่า วันสุดท้าย จำได้ง่ายๆ คือวันลอยกระทงค่ะ
    พอถึงวันลอยกระทง คือเพ็ญเดือน 12 หมดฤดูกฐิน
    เนื่องจากที่บังคลาเทศนั้น  มีภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เพิ่งได้ 1 พรรษาที่ผ่านมานี้เอง บ้านเมืองเขาประชากรส่วนใหญ่ 156 ล้านคน เป็นมุสลิมเกือบหมด มีชาวพุทธเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ ค่ะ ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ด้วยซ้ำไป
    เมืองที่มีชาวพุทะกระจุกตัวกันมาก คือเมืองจิตตากอง เราก็จะไปทอดกฐินที่จิตตากองนี่แหละ เมื่อกลับมาแล้วน่าจะได้มีเรื่องเล่าต่อนะค่ะ เนื่องจากที่นั่นเป็นประเทศมุสลิม เขาหยุดวันศุกร์ ชาวพุทธที่นั่นก็เลยทอดกฐินวันศุกร์ ศุกร์ที่ 28 ตุลาคม ค่ะ
    ทอดกฐินก็ควรจะได้ทอดในสีมา สีมาก็ยังไม่ได้สมมติ เราก็เลยต้องสมมติสีมาให้เข้าด้วย
    ที่อ่านจารึกกัลยาณี เป็นเรื่องราวสมมติสิมโดยตรงเลยค่ะ กัลยาณีเป็นชื่อวัดอยู่ในพม่า อยู่ในเมือง พะโค ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของชาวมอญ พวกมอญนี้ต้องถือว่าเป็นต้นกำเนิดของพุทธเถรวาทในแถบนี้เลยทีเดียว
    ที่วัดกัลยาณี มีจารึกเป็นแผ่นหินสูง 7 ฟุต กว้าง 4 ฟุต ทั้งหมด มี 10 แผ่น จารึกข้อความที่ว่าด้วยวิธีการสมมติสีมาโดยตรง
    พระเจ้าธัมเจตี ถ้าเขียนแบบที่จะให้คนไทยคุ้น น่าจะเป็นธัมมเจดีย์ ในบทความนี้ ขอเขียนตามแบบเดิมของเขานะคะ ท่านเคยเป็นพระภิกษุมาก่อน ก่อนที่จะมาครองราชย์ เมื่อขึ้นครองราชย์ ท่านถือว่าท่านเป็นผู้คุ้มครองพระศาสนา ท่านจึงให้ความสนใจเรื่องสืบพระศาสนาอย่างมาก
    ท่านครองราชย์ในช่วง ค.ศ. 1462 ถึง 1492 (พ.ศ.2005-2035) ในศตวรรษที่ 15 นั้น ถือว่าเป็นช่วงของการรักษาพระศาสนาในรามัญญประเทศให้บริสุทธิ์ จาตึกกัลยาณีที่ว่านี้ ทำขึ้นใน พ.ศ. 2019
    ที่น่าสนใจคือพระเจ้าธัมเจตีท่านเห็นว่าการรักษาพระศาสนาที่เรียกว่าศาสนาสุทธินั้น เชื่อมโยงกับการสมมติสีมาโดยตรง เพราะหากสมมติสีมาทำไม่ถูกต้องแล้ว การอุสมบทที่กระทำในพระอุโบสถนั้นก็ไม่ถูกต้องไปด้วย
    แล้วการสืบพระศาสนาต้องกระทำโดยคณะสงฆ์ หากพระสงฆ์ในแผ่นดินไม่ได้บวชมาอย่างถูกต้อง พระศาสนาก็ดำเนิต่อไปไม่ได้ เพราะการอุปสมบทนั้นเสียมาตั้งแต่สถานที่ใช้ในการอุปสมบท
    เราก็เลยมาทบทวนให้ท่านผู้อ่านที่ไม่เคยบวชเข้าใจพร้อม ๆ กัน สมบัติหรือคุณสมบัติในการอุปสมบทมี 4 อย่าง คือ
    วัตถุสมบัติ หมายถึงคนที่จะบวชนั้น ไม่บ้าใบ้บอดหนวก ไม่เป็นโรคภัยที่จะเป็นอุปสรรคต่อการบวช ไม่มีหนี้สิน ไม่หนีทหารมาบวชและอายุครบ 20 ถ้าเป็นผู้หญิงก็จะมีเงื่อนไขละเอียดขึ้น ถ้าสมบัติไม่ครบ เรียกว่า วิบัติ
    ปริสสมบัติ คือ คณะสงฆ์ที่บวชให้ ครบองค์สงฆ์ ผู้เป็นอุปัชฌาย์มีคุณสมบัติครบถ้วน พระสงฆ์ที่เข้าร่วมในพิธีอุสมบท เป็นพระสงฆ์ที่รักษาพระธรรมวินัย
    เคยมีเรื่องของพระอาจารย์สังฆรักษิต ชาวอังกฤษที่บวชเป็นพระภิกษุในประเทศอินเดีย ต่อมาท่านทราบว่า พระภิกษุที่อยู่ในคณะที่บวชให้ท่านนั้น มีครอบครัวมีลูกมีเมีย ถือว่าการอุปสมบทของท่านปริสวิบัติท่านแน่มากเลย ลาสิกขา เพราะถือว่าการอุปสมบทของท่านเป็นโมฆะแล้วเขียนหนังสือเปิดเผยว่าทำไมท่านต้องลาสิกขา
    สีมาสมบัติ ตรงนี้แหละที่เป็นที่มาของความสนใจของเราในบทความเรื่องนี้ การอุปสมบทต้องกระทำในสีมา คือเขตที่ได้ผูกพัทธสีมาแล้วเรียกว่าทำสังฆกรรมอย่างถูกต้อง
    ในจารึกที่อ่านนี้ นับว่าเป็นคู่มือการผูกสีมาได้อย่างดี และในความเป็นจริง พระเจ้าธัมมเจตีก็ต้องการให้เป็นเช่นนั้น
    เรื่องการสมมติสีมา เป็นสังฆกรรมที่นาน ๆ จะได้ทำสักครั้ง จึงต้องอาศัยพระผู้ใหญ่ชี้แนะ พระบางรูปในบ้านเรา อาจจะไม่เคยมีประสบการณ์ในการเข้าร่วมในสังฆกรรมเช่นนี้ก็เป็นได้ ความรู้ที่มีก็จะพร่ามัว เพราะไม่ต้องลงมือทำเอง ไม่เหมือนกับออกบิณฑบาต ที่ต้องทำทุกวัน ถ้าการสมมติสีมาไม่ถูกต้อง มันก็จะโยงไปหมด การอุปสมบทก็ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ จะขอวกกลับมาพูดในรายละเอียดเรื่องการสมมติสีมาอีกครั้ง
    สมบัติสุดท้ายของการอุปสมบท คือ กรรมวาจาสมบัติ ทั้งหมดเป็นภาษาบาลี ผู้ขอบวชต้องออกเสียงให้ชัดเจนถูกต้อง
    ถ้าออกอักขระเพี้ยนก็จะทำให้สังฆกรรมนั้นวิบัติไปด้วย
    ท่านผู้อ่านจะเห็นความสำคัญชัดเจนมากขึ้นแล้วนะคะว่า การสมมติสีมา พระเจ้าธัมเจตีเห็นว่าเป็นเรื่องคอขาดบาดตายพระศาสนาจะบริสุทธิ์ได้ ก็เพราะทำสมมติสีมาถูกต้องมาเป็นพื้นฐาน
    พระเจ้าธัมเจตีท่านให้ศึกษาอย่างละเอียดเพราะทรงตั้งใจให้เป็นมาตรฐานการสมมติสีมา ในจารึกระบุว่า เริ่มต้นจากรพระวินัย ในมหาวรรค (เล่มที่ 4 ค่ะ) ศึกษาจากวินัยบาลี วินัยอรรถกถา วินัยฎีกา ที่เขียนโดยพระอาจารย์วชิระพุทธิเถระ ที่เป็นพระอาจารย์ที่เคารพกันในสมัยนั้น จากนั้น ศึกษาจากกังขาวิตรณี ซึ่งเป็นมาติกากัฏฐกถา วินัยวินิจฉัยปกรณ์ วินัยสังคหปกรณ์ สีมาลังการปกรณ์ และสีมาลังการสังคหะ เรียกว่าเป็นการศึกษาโดยละเอียด
    ที่ดินที่จะจัดให้เป็นสีมานั้น ต้องเคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อย ไม่ใช่ว่ามีต้นไม้ใหญ่แล้วกิ่งของต้นไม้ใหญ่เข้ามาในพื้นที่ หรือพื้นที่เกยกันอยู่กับบ้านเรือนของชาวบ้าน
    ปรับพื้นที่ให้เรียบร้อย พระสงฆ์ที่อยู่ด้วยกัน ต้องมาทำพิธีสมมติสีมาด้วยกันทั้งหมด สิ่งที่จำเป็นคือนิมิต
    นิมิต แปลว่า หมาย นิมิตธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา เป็นต้น แต่ในจารึกก็ยังลงรายละเอียดมากขึ้น ว่า น้ำชนิดไหนที่จะถือเป็นเขตได้ ภูเขาชนิดไหนที่ถือเป็นเขตได้ ที่เรามักคุ้น คือ ลูกนิมิต เคยได้ยินไกค์แปลให้ฝรั่งว่า dream ball ชะอุ๋ย
    ตามปกติแล้ว การวางลูกนิมิต จะวางด้านละสามลูก ลูกตรงกลางนั้น วางอยู่ตรงจุดที่สายพระเนตรของพระประธานตกต้องพอดี เวลาสร้างพระอุโบสถก็ต้องวัดระยะและองศาที่ลูกนิมิตลูกกลางอยู่ด้วย
    ศรีลังกา ไม่มีลูกนิมิต แต่จะใช้หินทั้งแท่ง ฝังลงไปในดินครึ่งหนึ่งอีกครึงหนึ่งโผล่เหนือดิน มักนิยมสลักวันเดือนปีที่ทำพิธีบนส่วนบนของเสาสีมา
    แต่ของไทยมาฝังลูกนิมิตลงไปในดิน เหนือดินเป็นแผ่นสีมาซึ่งเป็นหมายบอกตำแหน่งของลูกนิมิตที่อยู่ในดิน
    เพื่อให้แน่ใจว่า ที่ดินนั้นไม่มีเจ้าของมากด่อน ไม่มีทับซ้อนเขตสีมาเดิม จึงนิยมสวดถอน
    ก่อนที่จะทำสังฆกรรมสวดถอน หรือสวดสมมติ พระอาจาย์ท่านสอนว่า ให้ทักนิมิต คือให้กำหนดเขตเสียก่อน ว่าเราจะทำพิธีที่ว่านี้ ในเขตนี้ที่กำหนด การสวดทักนิมิต เริ่มจากทิศตะวันออก เวียนขวา จนกลับมาที่จุดเดิม หากไม่กลับมาที่จุดเดิม ถือว่าขาดนิมิต
    การทักนิมิต ที่ทำในศรีลังกา ให้โยมคนหนึ่งยืนอยู่นอกเขตสีมาเป็นคนคอยตอบ โดยพระที่อยู่เขตสีมาจะถามว่าทิศนี้ ระบุทิศ มีอะไรเป็นหมาย หากมีก้อนหินเป็นหมาย ก็จะตอบว่า มีหินเป็นหมาย “ปาสาโณ ภันเต” พระผู้สวดก็จะรับโดยพูดซ้ำว่า ทิศนี้มีก้อนหินเป็นหมาย ที่ศรีลังกาจะทักนิมิตแต่ละทิศเพียงครั้งเดียว แต่ในจารึกกัลยาณีให้ทักสามครั้ง
    จะเวียนไปทั้ง 4 ทิศและอนุทิศ ตามก้อนหินที่วางไว้ทั้งหมด 8 ลูก ต้องสวดซ้ำที่ลูกที่ 1 ด้วยจึงนับว่าครบวงจร
    สำหรับการทักนิมิตนี้ พระให้ครบองค์สงฆ์ก็พอ นั่นคือ 4 รูปก็สามารถทำได้
    เรื่องอย่างนี้ จึงต้องมีครูบาอาจารย์สั่งสอน บอกกล่าว
    เมื่อทักนิมิตแล้ว เป็นหมายว่า พระทุกรูปที่มาทำพิธีอยู่ในเขตสีมา รู้ชัดเจนว่าจะทำพิธีในเขตที่กำหนดนี้ จึงสวดถอน การถอนนั้น ให้ถอนการอนุญาตให้อยู่โดยปราศจากจีวรสามผืน ภาษาบาลีเรียกว่า ติจีวราวิปปวาส จากนั้น จึงสวดถอนสมมติสีมาของเดิม
    ที่ศรีลังกาจะตีตารางบนพื้นดินที่จะสร้างอุโบสถ ตีเป็นสี่เหลี่ยม เริ่มจากทิศตะวันออก พระที่มาร่วมในพิธีเข้าไปยืนในสี่เหลี่ยมที่ตีตารางไว้แต่ละรูปอยู่ในหัตถบาส คือไม่ห่างกันจนเกิน แต่ไม่ชิดจนเกยกัน แล้วสวดถอนต่อด้วยสวดสมมติ เมื่อเสร็จจึงขยับไปสี่เหลี่ยมถัดไป เหมือนจูงนางเข้าห้อง จนถึงสี่เหลี่ยมในสุด
    ตามแบศรีลังกานั้น ใช้เวลายาวนานมากตั้งแต่สี่ทุ่มไปเสร็จเอาตอนตีสี่
    ส่วนการสวดสมมติ คือประกาศว่าเขนี้เป็นเขตของสงฆ์ที่สงฆ์จะใช้ทำสังฆกรรม ให้สวดสมาติสีมาก่อน แล้วจึงสวดสมมติติจีวราวิปปวาส ในจารึกกัลยาณีให้สวด 7 ครั้งค่ะ
    ที่อินโดนีเซีย อุโบสถของภิกษุณีเล็กมาก เข้าไปนั่ง 5 รูปก็เต็มแล้ว
    ท่านธัมมนันทาเคยรับนิมนต์ไปสวดถอน แล้วสมมติใหม่ ขนาดที่เล็กที่สุดนั้น กำหนดว่า ควรจะให้พระเข้าไปนั่งในหัตถบาสได้อย่างต่ำ 21 รูป
    อันนี้ก็มีที่มา สังฆกรรมเดียวที่ต้องการจำนวนพระสงฆ์มากเท่านั้น คือ พิธีอัพภาน อธิบายโดยย่อว่า เวลาพระทำผิดขั้นหนัก เช่น ละเมิดสังฆาทิเสส ต้องถูกขับไล่ออกไปอยู่นอกคณะสงฆ์ ที่เรียกว่าไปอยู่ปริวาส
เมื่อเห็นว่า พระรูปนั้น สำนึกในความผิดแล้ว คณะสงฆ์จะรับกลับเข้ามาร่วมในคณะสงฆ์เดิม ต้องมีการสวดรับ เรียกว่าอัพภาน สังฆกรรมนี้ต้องใช้พระสงฆ์ถึง 20 รูป รวมทั้งเจ้าตัวอีก 1 จึงเป็น 21 รูป
    และต้องทำพิธีอันเป็นสังฆกรรมนี้ในเขตสีมา
    การสร้างพระอุโบสถ แม้ขนาดเล็กที่สุด ก็พึงพิจารณาว่า พระ 21 รูป เข้ามานั่งในระยะที่เอื้อมกันถึง ที่เรียกว่า หัตถบาส นั่นเอง
    บางแห่งนิยมนิมนต์พระเข้าแถวเรียงเป็นหน้ากระดานเวลทำพิธีสวดสมมติสีมา เพื่อให้แน่ใจว่าทำถูกต้อง แต่หากมีการทักนิมิต คือประกาศหมายบอกเขตต้งแต่แรกแล้วว่าพิธีสมติสีมาจะกระทำในเขตนี้ ก็อาจจะไม่มีความจำเป็นที่ต้องเดินเป็นหน้ากระดาน
    หากเราทำตามประเพณีแบบเถรส่องบาตรบางครั้งก็จะกลายเป็นเรื่องชวนหัว เดี่ยวกับมาจากบังกลาเทศจะให้ฟังอีกทีค่ะ


ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 ต.ค. – 3 พ.ย. 2559 ปีที่ 37 ฉบับที่ 1889
ธรรมลีลา
ฉัตรสุมาลย์