วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ด่านการค้าไทย-กัมพูชา







ด่านการค้าที่สำคัญของไทยและกัมพูชา
·         ด่านช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
·         ด่านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
·         เมืองอรัญประเทศ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
·         ด่าน บ.ผักกาด อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
·         ด่าน บ.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
 
ที่มา :

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สะหวันนะเขต สองโลกในเมืองเดียว



ทันทีที่ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่สอง มุกดาหาร-สะหวันนะเขตมาถึงด่านตรวจคนเข้าเมือง มุ่งตรงตามถนนเส้น 9W จะเห็นวงเวียนหลักของเมืองสะหวันนะเขตเป็นรูปแคนและไดโนเสาร์เด่นเป็นสง่า บอกสามทางแยกที่เป็นเหมือนเครื่องบ่งชี้ชีวิตในสามวิถีของสะหวันนะเขต
เลี้ยวขวาผ่านตลอด เป็นทางเข้าสถานีขนส่งสะหวันนะเขต และเข้าไปยังย่านเมืองคันทะบุลี (ไกสอนพมวิหาน) ตรงไป เป็นเส้นทางมุ่งออกไปยังสนามบินสะหวันนะเขต และเป็นถนนเส้นใหญ่ที่จะเชื่อมเพื่อต่อไปยังถนนหลักสายยาวถึงด่านลาวบาวและเวียดนาม ส่วนเลี้ยวซ้าย เป็นเส้นทางไปคาสิโนสะหวันเวกัส นิคมอุตสาหกรรม และเขตเศรษฐกิจพิเศษ สะหวัน-เซโน รวมถึงไซต์ก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศลาว
เมื่อเราเลี้ยวขวา เมืองไกสอนพมวิหานจะถูกแบ่งออกเป็นสองย่านใหญ่ๆ คือย่านเมืองอาณานิคม และย่านเมืองใหม่ โดยมีสวนสาธารณะและสนามกีฬาเก่า ซึ่งมีอนุสาวรีย์ท่านหนูฮัก พูมสะหวัน อดีตประธานประเทศลาว ผู้มีชาติกำเนิดอยู่ที่ฝั่งมุกดาหารและร่วมปฏิวัติกอบกู้เอกราชเป็นเหมือนเส้นเขตแดนกลายๆ
ย่านเมืองเก่าเต็มไปด้วยอาคารทรงเฟรนช์โคโลเนียลจากยุคปกครองอาณานิคม และอาคารในยุคปฏิวัติคอมมิวนิสต์ผสมผสานกัน แต่โดยมาก็ได้ชำรุดทรุดโทรมและถูกทิ้งร้าง เนื่องจากเส้นทางสัญจรนั้นเปลี่ยนจากทางน้ำ คือเรือเมล์และเรือข้ามฟาก ไปเป็นถนนทางบกโดยสิ้นเชิง เมื่อไม่มีการสัญจรก็ไม่มีการค้าขายหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เมื่อหากินไม่ได้ก็ไม่มีคนอยู่อาศัย สิ่งก่อสร้างทั้งหลายจึงดูเงียบเหงาและว่างเปล่า แต่ก็มีมนตร์เสน่ห์ในตัวเองที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเมืองเกือบทั้งเมืองยังคงสภาพสถาปัตยกรรมแบบเก่าไว้ได้คล้ายคลึงกับย่านเมืองเก่าจอร์จทาวน์ของปีนัง หากทางการพรรครัฐของลาว ได้เข้ามามีบทบาทปรับปรุงดูแลร่วมกับเอกชนของเมือง ก็จะสร้างความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือน สร้างความคึกคักชีวิตชีวาได้อย่างมาก เนื่องจากเมืองเก่าแบบชิโน-โปรตุกีส และบริติชโคโลเนียลนั้นหาได้ตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน ไม่ว่าจะเป็นปีนัง สิงคโปร์ มะละกา ภูเก็ต แต่เมืองเก่าแบบเฟรนช์โคโลเนียลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สมบูรณ์ทั้งเมืองนั้นหายากแทบไม่เหลือเพราะภัยสงครามต่อเนื่องทั้งในกัมพูชาและเวียดนาม ต่างจากที่สะหวันนะเขตซึ่งไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
ความคล้ายคลึงของสะหวันนะเขตกับจอร์จทาวน์ยังประกอบด้วยความหลากหลายทางศาสนา เมืองสะหวันนะเขตมีทั้งโบสถ์คริสต์เซนต์เทเรซ่าที่เรียบง่ายแต่งดงาม วัดจีน วัดเวียดนาม และวัดลาวอยู่ด้วยกันในเขตเมืองที่มีผังเป็นตารางเป็นระเบียบมากที่สุดแห่งหนึ่ง หากได้รับการปรับปรุงพัฒนาและสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าเมืองเก่าคันทะบุลี แขวงสะหวันนะเขตสามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ไม่ยาก ซึ่งจะนำมาทั้งทุนบำรุงรักษา และนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มีกำลังซื้อเข้ามาท่องเที่ยวได้อีกมาก
นอกจากนี้ ในแขวงสะหวันนะเขต ยังมีการขุดค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์จำนวนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเขตพื้นที่ทางธรณีวิทยาเดียวกับภาคอีสานของไทย ซึ่งหากได้มีการขุดค้นวิจัยอย่างจริงจังและเปิดเผย ก็จะเป็นแหล่งศึกษา ท่องเที่ยวเชิงความรู้ที่ดีทั้งต่อประชาชนใน สปป. ลาว และนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนด้วย
ภาคธุรกิจท่องเที่ยวของไทยนั้นมีความเข้มแข็งและจุดเด่นด้านบริการและคุณภาพความเอาใจใส่ เมื่อสะหวันนะเขตอยู่ใกล้ไทยแค่เอื้อม ภาษาก็ไม่แตกต่างกัน คนไทยมุกดาหารกับคนลาวสะหวันนะเขตก็เป็นสายเครือญาติพี่น้องกัน ย่อมไม่ยากเลยที่เราจะหาทางเข้าไปร่วมการพัฒนาเพื่อสร้างเมืองคู่แฝดสองฝั่งโขงให้งดงาม

ที่มา : คอลัมน์ เดือนหงายที่ชายโขง มติชนรายวัน
 โดย ธีรภัทร เจริญสุข

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1409122451

คัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง





              คนที่ยืนเขย่งเท้า        ย่อมยืนอยู่ไม่ได้นาน

คนที่ก้าวขายาวเกินไป             ย่อมเดินไปไม่ได้ไกล

คนที่ชอบแสดงตน                  จะไม่ได้รับความยกย่อง

คนที่ชอบยกตน                       จะไม่ได้รับความนับถือ

คนที่ชอบโอ้อวด                      จะไม่ได้รับอะไร

                                      คัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง 24








วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สมัยคานธีอยู่แอฟริกาใต้

สมัยคานธีอยู่แอฟริกาใต้เจ้าของบ้านให้คานธีช่วยสอนลูกชายเจ้าของบ้านให้เลิกกินน้ำตาล
                   ผ่านมาสองอาทิตย์ลูกชายยังไม่เลิกกินน้ำตาล
                   เจ้าของบ้านจึงถามคานธีว่า “ท่านยังไม่สอนลูกชายฉันอีกเหรอ
                   คานธีตอบว่า “ยัง เพิ่งจะบอกเมื่อวานเพราะตัวท่านเองเพิ่งเลิกกินน้ำตาลได้เมื่อวานนี้เอง”
                   ผู้นำศาสนา จะต้องนิ่งที่สอนมาปฏิบัติ หากจะให้มีคนเชื่อฟัง และทำตามคำสอนของตนอย่างจริงจัง
                   คานธีจึงเป็นผู้ชี้นำชีวิตทางจิตวิญญาณ และเป็นผู้นำทางจริธรรมของพวกเขา
 
ที่มา :
มติชนสุดสัปดาห์ 8-14 สิงหาคม พ.ศ.  2557  ปีที่ 34 ฉบับที่ 1773 หน้า 69

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การตัดเย็บจีวร



การตัดเย็บจีวร 
 วิธีตัดจีวร
            ในพระธรรมวินัยกล่าวถึงขนาดของจีวร มีห้ามแต่ไม่ให้ทำเกินกว่าสุคตประมาณที่กำหนดไว้ในสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งรตนวรรค คือ ยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ โดยคืบพระสุคต* ส่วนขนาดย่อมกว่า ก็แล้วแต่พอดีกับบุคคลผู้ครองไม่มีข้อห้าม ประมาณที่ใช้ในประเทศไทย ยาว ไม่เกิน ๖ ศอก กว้างไม่เกิน ๔ ศอกของผู้ครอง พอได้ปริมณฑลดีเมื่อห่ม สำหรับสบง ประมาณที่ใช้ในประเทศไทย ยาวไม่เกิน ๖ ศอก กว้างไม่เกิน ๒ ศอก ของผู้ครอง
            การตัดจีวรที่จะอธิบายต่อไปนี้ จะใช้นิ้วฟุตเป็นมาตราวัด เพราะเห็นว่า ไม้บรรทัดใช้กันอยู่โดยทั่วไปหาได้ง่าย ขนาดและตัวอ่างนี้มิใช่เป็นแบบที่ตายตัวทีเดียว ให้ขยายตามขนาดของบุคคล เพียงแต่วางหลักกว้างๆ ไว้เท่านั้น
(คืบพระสุคต = เดิม คงกำหนดด้วยนิ้วพระหัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ในปัจจุบันให้ถือตามมาตราวัดเป็นเมตร คือ ๑ คืบพระสุคต เท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร)

เวลาจะตัดกะดังนี้
             ๑. จีวรพึงกะให้ได้ขนาด คือ กว้าง ๔ ศอก ยาว ๖ ศอก ของผู้ครอง และอนุวาตกว้าง ๕ นิ้ว กุสิกว้าง ๒ นิ้วครึ่ง ตัดเป็นจีวร ๕ ขัณฑ์             ๒. เบื้องต้น ให้วัดศอกของผู้ที่ครองก่อน ว่ายาวกี่นิ้ว เมื่อวัดได้เท่าไหร่แล้ว ให้เอา ๖ ศอก คือความยาวของจีวรคูณ เมื่อคูณได้เท่าไรแล้ว ให้คิดเป็นเนื้อที่ของกุสิเสีย ๔ กุสิๆ หนึ่ง กว้าง ๒ นิ้วครึ่ง ๔ กุสิ ก็เท่ากับ ๑๐ นิ้ว อนุวาต ๒ ข้างๆละ ๕ นิ้ว ๒ ข้างเป็น ๑๐ นิ้ว เมื่อรวมกับกุสิ ๔ กุสิ จึงเป็นเนื้อที่ ๒๐ นิ้วพอดี             ๓. ให้เอา ๒๐ นิ้วไปลบความยาวทั้งหมดของจีวร เมื่อลบแล้วคงเหลือเท่าไรให้เอา ๕ ขัณฑ์หาร เมื่อได้ผลลัพธ์เท่าไรแล้วให้เอาอนุวาต ๕ นิ้วมาบวกๆ ได้เท่าไร ก็เป็นความกว้างของขัณฑ์ตัวริมทั้ง ๒ ข้าง ขัณฑ์ตัวกลางมีกุสิอยู่ทั้ง ๒ ข้าง รวม ๕ นิ้ว  ก็เอา ๕ บวกจำนวน ๕ ขัณฑ์ที่หารได้ จัดเป็นความกว้างของขัณฑ์ตัวกลาง             ขัณฑ์ตัวรอง ๒ ตัว คือตัวที่ติดกับตัวกลางทั้ง ๒ ข้าง มีกุสิตัวละ ๒ นิ้วครึ่ง ๒ ขัณฑ์ จึงเป็น ๕ นิ้ว ให้เอา ๒ นิ้วครึ่งไปบวกกับที่ ๕ ขัณฑ์ หารได้ตอนต้นจึงจัดเป็นความกว้างของขัณฑ์ตัวรอง ๒ ตัว เมื่อได้ตัดเป็นขัณฑ์ๆ ได้ ๕ ขัณฑ์ ดังกล่าวแล้ว ต่อแต่นั้นก็ให้พับขัณฑ์ (คือผ้าที่ตัดไว้ทั้ง ๕ ชิ้น) ทั้ง ๕ ขัณฑ์นั้น เป็น ๓ ส่วน ให้ตัดอัฑฒกุสิในส่วนกลาง แล้วจึงตัดกุสิทีหลัง ตอนตัดกุสิอย่าตัดทางกุสิก่อน ให้ตัดทางอัฑฒกุสิเสียก่อน เพราะถ้าตัดทางกุสิก่อนก็จะเสียใช้ไม่ได้ เวลาจะเอาขัณฑ์ทั้ง ๕ มาเย็บติดกันระวังอย่าให้ผิด เราควรจำให้ได้ว่า ทั้งหมดมีอยู่ ๕ ขัณฑ์ด้วยกันคือ             ๑. ขัณฑ์กลางมีกุสิติดอยู่ ๒ ข้าง และอัฑฒกุสิ             ๒. ขัณฑ์รอง คือขัณฑ์ที่ติดกับขัณฑ์กลางมีอยู่ ๒ ขัณฑ์ มีกุสิ และอัฑฒกุสิติดอยู่ข้างเดียว             ๓. ขัณฑ์ริม ๒ ข้าง ไม่กุสิ มีแต่อัฑฒกุสิ (คำว่า กุสิ แปลว่ากระทงใหญ่ อัฑฒกุสิ แปลว่า กระทงเล็ก หรือกระทงกึ่ง) เมื่อเย็บติดกันทุกชิ้นแล้ว จึงให้ตัดอนุวาตกว้าง ๕ นิ้ว มาเย็บติดกันที่ริมโดยรอบ เวลาเย็บอนุวาตอย่าให้ติดทางด้านตะเข็บ  ให้ติดทางด้านนอกของตะเข็บ เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ได้ใจความว่า เบื้องต้น ให้ตัดผ้าออกเป็น ๕ ชิ้น คือตัวกลาง ๑ กับตัวริมสุด ๒ ข้าง รวม ๓ ชิ้น ให้ตัดเท่ากัน ตัวรองคือตัวติดกับตัวกลาง ๒ ตัวให้ตัดเท่ากัน แล้วจึงให้ตัดกุสิและอัฑฒกุสิในภายหลัง ดังที่อธิบายมานี้ จะสมมติวิธีตัดให้ดู ดังนี้             สมมติว่าผู้ที่จะครอง มีศอกยาววัดได้ ๑๗ นิ้วครึ่ง (ให้ใช้นิ้วฟุต) ให้ตั้ง ๑๗ นิ้วครึ่งลง แล้วให้เอา ๖ ศอกคูณได้ผลลัพธ์ ๑๐๕ นิ้ว แล้วให้คิดเผื่อตะเข็บอีก ๒ นิ้วครึ่ง เอาไปบวกกับ ๑๐๕ นิ้ว เป็น ๑๐๗ นิ้วครึ่ง คิดเป็นเนื้อที่กุสิและอนุวาตเสีย ๒๐ นิ้ว แล้วเอา ๒๐ ลบ ๑๐๗ นิ้วครึ่ง คงเหลือ ๘๗ นิ้วครึ่ง แล้วให้เอา ๕ ขัณฑ์หาร ๘๗ นิ้วครึ่ง             ได้ผลลัพธ์ ๑๗ นิ้วครึ่ง ตัวกลางมีกุสิ ๒ ข้าง รวมกันได้ ๕ นิ้ว ให้เอา ๕ ไปบวกกับ ๑๗ นิ้วครึ่ง จึงได้ ๒๒ นิ้วครึ่ง เป็นความกว้างของขัณฑ์กลาง ขัณฑ์รอง ๒ ขัณฑ์ ขัณฑ์หนึ่งๆ มีกุสิเดียว ๒ นิ้วครึ่ง ให้เอาไปบวกกับ ๑๗ นิ้วครึ่ง ได้ผลลัพธ์ ๒๐ นิ้ว เป็นความกว้างของขัณฑ์รอง ขัณฑ์ริมสุด ๒ ขัณฑ์ มีอนุวาตด้วยขัณฑ์ละ ๕ นิ้ว จึงให้เอา ๕ บวกกับ ๑๗ นิ้วครึ่ง จึงจะได้ ๒๒ นิ้วครึ่ง เป็นความกว้างของ ขัณฑ์ริมตัวหนึ่งๆ เมื่อรวมแล้วได้ใจความดังนี้             ๑. ขัณฑ์กลาง   ให้ตัดผ้ากว้าง ๒๒ นิ้วครึ่ง ยาว ๗๐ นิ้ว ๑ ผืน             ๒. ขัณฑ์รอง     ให้ตัดผ้ากว้าง ๒๐ นิ้ว ยาว ๗๐ นิ้ว ๒ ผืน             ๓. ขัณฑ์ริมสุด   ให้ตัดผ้ากว้าง ๒๒ นิ้วครึ่ง  ยาว ๗๐ นิ้ว ๒ ผืน             ๔. ต่อจากนั้นก็ให้ตัดกุสิ และอัฑฒกุสิจากขัณฑ์นั้นๆ ทั้ง ๕ ขัณฑ์ เวลาจะตัดกุสิและอัฑฒกุสิ (กระทง) ให้ตัดในขัณฑ์นั้นๆ กว้างขนาด ๒ นิ้วครึ่ง หรือจะใช้กลักไม้ขีดเป็นขนาดก็ได้ ก่อนแต่จะตัดอัฑฒกุสิให้พับเป็น ๓ ส่วน แล้วให้ตัดในส่วนกลางดังกล่าวแล้ว             ๕. เย็บให้ติดกันเรียบร้อย แล้วจึงติดอนุวาตภายหลัง อนุวาตที่เย็บติดกันนั้น ให้ใช้ผ้ากว้าง ๕ นิ้ว ส่วนยาวเอาจนรอบขอบของจีวร             ๖. เสร็จแล้วจึงให้ติดรังดุมไว้ขวา ลูกติดไว้ซ้าย จงดูในแบบ            ๗. เมื่อเย็บเสร็จแล้ว ถ้าคิดจะหักตอนที่ตะเข็บย่นออกเสียแล้ว ก็คงเป็นจีวรประมาณกว้าง ๖๘ นิ้ว ยาว ๑๐๕ นิ้ว

11jevorn_111jevorn_2
11jevorn_311jevorn_4


การตัดสบง
            การตัดสบงก็ให้คิดโดยวิธีเดียวกัน เว้นแต่เวลาวัดผ้า จะตัดออกเป็นขัณฑ์ๆ ถ้าสมมติตัดเป็นจีวรขัณฑ์หนึ่งๆ ให้ยาว ๗๐ นิ้ว ถ้าตัดเป็นสบงก็ต้องสมมติขัณฑ์หนึ่งๆ ให้ยาว ๓๕ นิ้ว และไม่ต้องติดดุมและรังดุม นอกนั้นเหมือนกันทั้งหมด สบง เมื่อตัดแล้วคิดหักตอนตะเข็บออกแล้ว ก็คงเป็นสบงกว้าง ๓๔ นิ้ว ยาว ๑๐๕ นิ้ว

อีกวิธีหนึ่ง
            วิธีการตัดอย่างง่ายๆ ให้วัดเอาขนาดศอกของผู้ที่จะครองนั้นกะดังนี้            ๑. ขัณฑ์กลาง กับขัณฑ์ริมสุดทั้ง ๒ ข้าง ให้วัดขัณฑ์หนึ่งๆ กว้าง ๑ ศอก ๖ นิ้ว ยาว ๔ ศอก ๓ ขัณฑ์ รวมกว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว            ๒. ขัณฑ์รอง คือต่อจากขัณฑ์กลาง ๒ ข้าง ขัณฑ์หนึ่งๆ กว้าง ๑ ศอก ๓ นิ้ว ยาว ๔ ศอก ๒ ขัณฑ์ รวมกว้าง ๒ ศอก ๖ นิ้ว            ๓. ต่อจากนั้น ก็ให้ตัดกุสิ และอัฑฒกุสิตามแบบครั้งที่ ๒ ดังกล่าวแล้วในจีวรข้างต้น

ตัดสบง
            ๔. การตัดก็อย่างเดียวกับจีวร เป็นแต่เวลาตัดขัณฑ์ให้ลดความยาวของขัณฑ์หนึ่งๆ ลงเป็น ๒ ศอกเท่านั้น

สีที่ทรงอนุญาต
            สีที่ทรงอนุญาตให้ย้อมมี ๒ ชนิด คือ            สีเหลืองเจือแดงเข้ม ๑ สีเหลืองหม่น เช่นสีแก่นขนุน ที่เรียกว่ากรัก ๑

สีที่ห้ามไม่ให้ย้อมคือ
            สีคราม สีเหลืองล้วน สีแดงล้วน สีบานเย็น สีชมพู สีดำ           

อนึ่ง จะใช้สีกรักผสมกับสีแดง สีเหลืองก็ได้ แต่ส่วนผสมนั้นจะยุติเป็นแน่นอนไม่ได้ เพราะแล้วแต่ว่าสีที่ได้มานั้นจะแก่หรืออ่อน ถ้าสีแก่ก็ผสมแต่น้อย สีอ่อนก็ใช้ผสมมาก ข้อสำคัญให้ได้สีดังกล่าว
ที่มา :
http://www.tong9.com/main/index.php/2010-04-03-01-28-48/contentkatin/qq-/2010-04-04-01-21-41