วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

ภาพอมตะนิรันกาล "ข้างหลังภาพ"






                                                                    ข้างหลังภาพ

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

จุฬาฯเจ๋งคว้าแชมป์ยอดอ้างอิงผลงานวิจัยไทย 6 ปีซ้อน




จุฬาฯเจ๋งคว้าแชมป์ยอดอ้างอิงผลงานวิจัยไทย 6 ปีซ้อน อันดับ 479 โลก
วันที่ 4 กันยายน นพ.ภิรมย์  กมลรัตนกุล  อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เปิดเผยว่า จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ  4,851 สถาบันทั่วโลก ของ SCIMago Institutions Rankings ปี 2014 โดยการจัดอันดับดังกล่าว จะดูจากจำนวนการอ้างอิงผลงานวิจัยของสถาบันนั้น ๆ  ในส่วนของจุฬาฯ ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้นำผลงานไปอ้างอิงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่  479 ของโลก เท่ากับปีที่ผ่านมา 
นอกจากจุฬาฯแล้ว ยังมีมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับ ไม่เกิน 1,000 อันดับแรก มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) อยู่ในอันดับที่ 519 และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) อยุ่อันดับที่ 878 ของโลก
“ถือเป็นปีที่ 6 ที่ผลงานวิจัยของจุฬาฯ ถือว่ามีผู้นำไปอ้างอิงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ โดยในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา จุฬาฯมีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นจากปี 2551 ที่มีเพียง 1,000 กว่าผลงาน มาเป็น 2,000 กว่าผลงาน โดยที่ผ่านมามหาวิทยาลัยพยายามส่งเสริมให้นักวิชาการสร้างสรรค์งานวิจัยในทุกสาขา ทั้งด้านสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แต่ที่เพิ่มขึ้นชัดเจนจะเป็นผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องจากนักวิจัยสายวิทยาศาสตร์นิยมนำผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ส่วนสายสังคม จะมีการตีพิมพ์น้อย เพราะนิยมเขียนให้ความรู้ในเชิงบทความมากกว่า ตรงส่วนนี้ทางจุฬาฯ ก็พยายามส่งเสริมให้นักวิจัยสานสังคม มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติมากขึ้น"
 นพ.ภิรมย์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามในภาพรวมอยากให้รัฐบาลช่วยส่งเสริมงบประมาณในเรื่องงานวิจัยให้มากขึ้น  เพราะมหาวิทยาลัยไมได้มีหน้าที่ในเรื่องการสอนอย่างเดียว แต่มีความจำเป็นต้องสะสมความรู้เพื่อพัฒนาในด้านต่าง ๆ ด้วย  ปัจจุบัน รัฐบาลให้งบประมาณสนับสนุนงานวิจัยเพียง 0.2  ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือ GDP ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกันประเทศเพื่อนบ้าน และต่อไปอาจจะกระทบต่อการพัฒนาในภาพรวม  และที่ผ่านมาก็มีการให้งบสนับสนุนงานวิจัยหลายโครงการ อาทิ โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ แต่ก็ขาดช่วง ไม่เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งหากสามารถเดินหน้าต่อได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี ”
สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ โดย SCImago Institutions Rankings แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ  งานวิจัย นวัตกรรม และเว็บไซต์ สำหรับด้านงานวิจัย  เป็นการจัดอันดับความสามารถในการผลิตและการเผยแพร่ผลงานวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus รวมถึงความเป็นผู้นำและการเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดต่างๆ  อาทิ จำนวนผลงานทั้งหมดที่เผยแพร่ในฐานข้อมูล Scopus  สัดส่วนผลงานที่ตีพิมพ์ร่วมกับสถาบันต่างประเทศต่อผลงานทั้งหมด ค่าเฉลี่ยของการอ้างอิงผลงานวิชาการของสถาบัน เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของการอ้างอิงผลงานของทั่วโลก อัตราส่วนของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำของโลก  จำนวนผู้เขียนผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ทั้งหมดของแต่ละสถาบัน  เป็นต้น


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1409812960

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Research)


                                                     สาวสุรินทร์ในชุดแต่งกายพื้นเมือง

การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Research)

 
สมประสงค์ เสนารัตน์
นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทนำ
การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Studies) เป็นวิธีการศึกษาของสาขาวิชามานุษยวิทยา (Anthropological Method) ต่อมานักวิจัยและนักวิชาการในสาขาอื่นๆ เช่น ด้านสังคมศาสตร์ และด้านการศึกษาได้นาวิธีการนี้มาใช้ในศาสตร์ของตนเอง การศึกษาชาติพันธุ์วรรณนาในยุคแรกๆ ความสนใจจากัดอยู่เฉพาะการศึกษากลุ่มชนบางกลุ่มในสังคม เช่น กลุ่มชนที่ล้าหลัง และชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาวนา กลุ่มชนในชนบท ต่อมาเริ่มขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น ขยายความสนใจศึกษาไปยังกลุ่มทางสังคม วัฒนธรรม สถาบัน และองค์กรร่วมสมัย แทบทุกรูปแบบ เช่น สังคมเกษตรกรรม กลุ่มกรรมาชีพ กลุ่มสตรี พระสงฆ์ สถาบันวัด ครอบครัว โรงเรียน ชุมชนในเมือง ฯลฯ โดยได้ทาการศึกษาวัฒนธรรม ความคิด ความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง แต่ที่ผ่านมาการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอดจากทั้งคนในวงการวิจัยเชิงคุณภาพและจากภายนอก ประเด็นที่ภายนอกวิพากษ์กันมากก็คือ เรื่องความไม่เข้มงวดของระเบียบวิธีวิจัย ทั้งประเด็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล และมีการตอบโต้ในประเด็นดังกล่าวโดยพยายามปรับปรุงวิธีการ แต่โดยภาพรวมแล้ววิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาก็ยังคงความเป็น เชิงคุณภาพอย่างเต็มรูปแบบ (ชาย โพธิสิตา. 2550: 153)
ความหมาย
ชาย โพธิสิตา (2548:34) ให้ความหมายของชาติพันธุ์วรรณนาไว้ว่า ชาติพันธุ์วรรณนา หมายถึง กระบวนการสังเกตพฤติกรรม และวิถีชีวิตของกลุ่มทางสังคมและวัฒนธรรมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แล้วรายงานโดยละเอียดถึงพฤติกรรม ความเชื่อ ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ตลอดจนค่านิยมอันเป็นผลมาจากพฤติกรรมของคนในกลุ่มนั้นๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ชาติพันธุ์วรรณนาเป็นการพรรณนาถึงวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมของคนในสังคมใดสังคมหนึ่ง โดยปกตินักชาติพันธุ์วรรณนากับนักมานุษยวิทยา
เป็นคนๆ เดียวกัน ทั้งนี้ก็เพราะชาติพันธุ์วรรณนาเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่นักมานุษยวิทยาใช้ศึกษา วัฒนธรรมของคนในสังคม
อลิศรา ศิริศรี (2541:20) ให้ความหมายของการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Research) ว่า เป็นการศึกษาวัฒนธรรม โดยวัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะของการดาเนินชีวิตของบุคคล หรือของกลุ่มบุคคลในสังคมหนึ่งๆ หรือในชุมชนหนึ่งๆ ตามความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา และภาษา
ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ (2550: 90-91) กล่าวว่า Ethnography เป็นการศึกษาทางชนชาติวิทยา และการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา เป็นแนวทางหนึ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งอธิบาย และตีความข้อมูลทางสังคม เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก วัฒนธรรม และพฤติกรรมของมนุษย์ โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลหลายๆ วิธีในทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นักวิจัยต้องแฝงตัวเองเข้าไป คลุกคลีอยู่กับประชากรในชุมชนหรือท้องถิ่นที่ต้องการศึกษา เพื่อได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม และวิถีการดาเนินชีวิตที่เป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการแสดงออกของความรู้สึกและพฤติกรรมต่างๆ ของประชากรจนได้ข้อมูลเพียงพอที่จะนาไปวิเคราะห์ แปลผล สรุปผลหรือสร้างทฤษฎีเพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมทางวัฒนธรรมของประชากรได้ โดยทั่วไปการศึกษาทางชนชาติวิทยาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) ระดับมหัพภาค (macroethnography) ที่เน้นถึงวัฒนธรรมในภาพกว้าง และ (2) ระดับจุลภาค (micro ethnography) ที่เน้นวัฒนธรรมที่แคบลงมาในขนาดประชากรที่น้อยลง หรืออาจเป็นการศึกษาเฉพาะกรณีในหน่วยงาน
Geertz (อลิศรา ศิริศรี.2541: 250. อ้างอิงจาก Geertz: 1975) กล่าวว่า การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา คือ การนาตัวเราหรือผู้วิจัยเข้าไปสู่ สิ่งที่ Geertz เรียกว่า “Thick Description” หมายถึง ความพยายามที่จะบรรยายหรือพรรณนา (Describe) อย่างละเอียดลึกซึ้งถึงเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น การตีความหมายหรือหาความหมาย (Interpretation) เพื่อที่จะอธิบายถึงลักษณะและความเป็นไปอันสลับซับซ้อนของสังคมนั้นๆ
LeCompte and Schensul (ชาย โพธิสิตา. 2550: 148. อ้างอิงจาก LeCompte and Schensul.1999a: 1) เห็นว่า ชาติพันธุ์วรรณนาเป็น วิธีการศึกษาชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน สถาบัน รวมถึงกลุ่มหรือองค์กรในรูปแบบอื่นๆ วิธีการนี้มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง ใช้ตัวนักวิจัยเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่เคร่งคัดเพื่อหลีกเลี่ยงอคติและเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของประชาชนผู้ให้ข้อมูล ใช้วิธีดาเนินการวิจัยแบบอุปนัย สร้างทฤษฎีขึ้นมาจากท้องถิ่นที่ศึกษาเพื่อทาการทดสอบและปรับใช้ภายในท้องถิ่นและกับที่อื่น
Stewart (ชาย โพธิสิตา.2550: 148. อ้างอิงจาก LeCompte and Schensul. 1998) หลีกเลี่ยงที่จะให้ความหมายในเชิงนิยาม แต่กล่าวถึงลักษณะสำคัญของวิธีการนี้ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้คือ ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการวิจัยที่เน้นความเป็นองค์รวม เป็นการวิจัยที่
ให้ความสำคัญแก่บริบท รวมทั้งมีการพรรณนาและการวิเคราะห์ที่เน้นปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคมเป็นตัวแปรสำคัญ
William Wiersma (1986: 16) ได้กล่าวถึงชาติพันธุ์วรรณนาว่าเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง เป็นเรื่องของการพรรณนาวิเคราะห์สถานการณ์ทางวัฒนธรรมที่เฉพาะเจาะจง ส่วนความหมายกว้างๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมของการศึกษา การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาจึงเป็นเรื่องทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับมานุษยวิทยาแต่มีการนามาใช้ในการศึกษา
จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่า ชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnography) เป็นการศึกษาทางชนชาติวิทยา และการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเป็นแนวทางหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งอธิบายและตีความข้อมูลทางสังคม เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก วัฒนธรรม ภาษา และพฤติกรรมของมนุษย์ วิถีชีวิตของกลุ่มคนในสังคม โดยใช้วิธีการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัย จะเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเก็บข้อมูลที่เคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงอคติและให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลเน้นการพรรณนา และการวิเคราะห์ที่เน้นปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคมเป็นตัวแปรสำคัญ โดยทั่วไปการศึกษาทางชนชาติวิทยาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) ระดับมหัพภาค (macro ethnography) ที่เน้นถึงวัฒนธรรมในภาพกว้าง และ (2) ระดับจุลภาค (micro ethnography) ที่เน้นวัฒนธรรมที่แคบลงมาในขนาดประชากรที่น้อยลง หรืออาจเป็นการศึกษาเฉพาะกรณีในหน่วยงาน
จุดมุ่งหมาย
ในช่วงแรกชาวตะวันตกเป็นผู้ริเริ่มศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ที่จะมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชนกลุ่มอื่น เพื่อประโยชน์ในการติดต่อและเปลี่ยนแปลงสังคม (อลิศรา ศิริศรี. 2541: 249) ดังนั้นในระยะแรกจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มชนหรือสังคมว่าเป็นอย่างไร (นิศา ชูโต.2548: 38; อลิศรา ศิริศรี.2541: 249; ชาย โพธิสิตา. 2550: 150; ทรงคุณ จันทจร. 2549: 7) เป็นการศึกษาถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเป็นอยู่ การดาเนินชีวิต ความเชื่อ ของกลุ่มชนหนึ่งๆ อย่างละเอียด (นิศา ชูโต.2548: 38; อลิศรา ศิริศรี.2541: 249; ทรงคุณ จันทจร. 2549: 7) และในปัจจุบันวัตถุประสงค์ของการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา มีแนวโน้มที่มุ่งทาความเข้าใจปัญหาเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง (problem-oriented) มากขึ้น แทนที่จะเป็นการศึกษาเพื่อพรรณนาหรือทาความเข้าใจชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยรวมๆ เช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม ประเด็นเจาะจงที่ศึกษาอาจมีหลากหลาย เช่น พฤติกรรมเสี่ยงต่อ HIV/AIDS ของคนในชุมชน การรับนวัตกรรมทางการเกษตร พฤติกรรมการใช้ยาในชุมชน ความรุนแรงในครอบครัว การเลี้ยงดูเด็กในชุมชนเมือง ฯลฯ จากพัฒนาการใหม่นี้ทาให้มีการใช้ชาติพันธุ์วรรณนาเป็นการวิจัยประยุกต์ คือ ทาการวิจัยเพื่อหาทางแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งมากขึ้น นั่นหมายความว่า เนื้อหาและการดาเนินการวิจัยก็จะมุ่งการวิเคราะห์และใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้จะเจาะจงปัญหาในการวิจัย แต่ลักษณะสำคัญของการเป็นชาติพันธุ์วรรณนา ก็ยังเป็นเรื่องของการมุ่งทาความ
เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มชน ไม่ใช่ของบุคคล และการวิเคราะห์เชิงชาติพันธุ์วรรณนานั้น ให้ความสาคัญแก่ปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรมเป็นพิเศษ แม้จะรวมเอาปัจจัยอื่นเข้ามาด้วยก็ตาม ทั้งนี้เพราะมโนทัศน์ทางวัฒนธรรมและสังคมยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (ชาย โพธิสิตา. 2550: 153)
จะเห็นได้ว่า การศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มชนหรือสังคม ไม่ใช่บุคคล ถึงแม้พัฒนาการของการศึกษาจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร จุดมุ่งหมายของการศึกษาก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มชนหรือสังคม
รูปแบบวิธีดาเนินการวิจัย
1. ขั้นตอนในการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา
อลิศรา ศิริศรี (2541: 251-256) ได้เสนอขั้นตอนการทาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาไว้ 4 ขั้นตอนดังนี้
1.1 การเข้าสู่สนามและการกำหนดบทบาทผู้วิจัย (Entry to the field & Establishing the role)
1.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data)
1.3 การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data)
1.4 การเสนอผลสรุปการวิจัย (Presenting the Study)
1.1 การเข้าสู่สนามและการกำหนดบทบาทผู้วิจัย อลิศรา ศิริศรี (2541: 251-252) ได้เสนอแนวทางการเข้าสู่สนามและการกาหนดบทบาทผู้วิจัยไว้ดังนี้
1) ผู้วิจัยจะต้องทาตนเองให้คุ้นเคยกับสถานที่ สถานการณ์ สภาพการณ์ สิ่งแวดล้อมที่ต้องการศึกษาโดยคร่าวๆ
2) ผู้วิจัยกำหนดบทบาทของตนเองในสภาพการณ์นั้นให้แน่ชัด ว่า ตนเองเป็นใคร และจะมาทาอะไรในสังคมนั้น
3) ผู้วิจัยจาเป็นต้องชี้แจงและแนะนาตนเองกับสมาชิกหรือบุคคลในสังคมนั้นที่ตนเองจะต้องเกี่ยวข้องด้วย
4) ผู้วิจัยจะต้องแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับที่ได้ชี้แจงไว้
1.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) กระบวนการศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาจะมีลักษณะการดาเนินงานที่ต่อเนื่องและมีลักษณะของการเหลื่อมล้า เช่น การเก็บข้อมูลนี้จะเริ่มตั้งแต่ผู้วิจัยได้ย่างก้าวเข้าสู่สภาพการณ์นั้น ผู้วิจัยจะเริ่มสังเกตเก็บข้อมูลเบื้องต้นง่ายๆ อาจจะเป็น
ลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ลักษณะการจัดโต๊ะเรียน ม้านั่ง โต๊ะครู การจัดบอร์ด นอกจากนี้อาจสังเกตลักษณะของบุคคลโดยทั่วๆ ไป เป็นต้น เทคนิคในการเก็บข้อมูลของการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาควรมีวิธีการหลักอย่างน้อย 3 วิธี (อลิศรา ศิริศรี. 2541: 252) คือ
1.2.1 การสังเกต (Observation) สาหรับการสังเกตนี้มีหลายรูปแบบ แต่ที่เป็นหัวใจของการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา คือ การเข้าไปอยู่ในสังคมหรือสนามที่ศึกษาเพื่อทาการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) ในการศึกษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเป็นอยู่ ความเชื่อ การดาเนินชีวิตต่างๆ อย่างละเอียดพิสดาร (Intensive Field Work) (นิศา ชูโต. 2548: 38; ชาย โพธิสิตา. 2550: 155) ด้วยการเป็นผู้สังเกตที่อยู่ในเหตุการณ์สภาพการณ์จริง ร่วมเป็นสมาชิกทากิจกรรมกลุ่ม แต่ในขณะเดียวกันผู้วิจัยจะต้องทาตนเป็นกลางไม่เข้ากับกลุ่มสมาชิกย่อยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทาตัวไม่เข้ากับฝ่ายใด (อลิศรา ศิริศรี. 2541: 252)
1.2.2 การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นวิธีการเก็บข้อมูลที่สาคัญอีกอย่างหนึ่ง ลักษณะของการสัมภาษณ์นั้นควรจะแบ่งออกมาในลักษณะของการสนทนา (Conversation) มากกว่าที่จะเป็นการสัมภาษณ์ตามรูปแบบที่เราคุ้นเคย แต่เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ประสบการณ์ระหว่างผู้วิจัยกับสมาชิกของสังคมมากกว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยเป็นฝ่ายป้อนคาถามต่างๆ และรอรับคาตอบจากผู้ถูกสัมภาษณ์ ลักษณะของคาถามจะเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์และบุคคล (อลิศรา ศิริศรี. 2541: 252; นิศา ชูโต. 2548: 40) ในการสัมภาษณ์นี้อาจจะจัดรูปแบบทั้งลักษณะเป็นทางการ (Formal Interview) และไม่เป็นทางการ (Informal Interview) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลและเหตุการณ์
1.2.3 การศึกษาวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) เอกสารต่างๆ ที่จะใช้ในการวิเคราะห์นั้นมีอยู่หลายรูปแบบนับตั้งแต่หนังสือพิมพ์ ทะเบียนประวัติ จดหมายติดต่อหรืออาจจะเป็นจดหมายติดต่อระหว่างหน่วยงานหรือภายในหน่วยงาน บันทึกข้อความท้ายจดหมาย จดหมายเหตุบันทึกประจาวัน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นกิจวัตรประจา ความคิดพื้นฐานของสังคมนั้น นอกจากนี้ยังมีบรรดาภาพถ่าย ภาพยนตร์ เหล่านี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงบรรทัดฐาน ค่านิยม การดาเนินชีวิตของกลุ่มสังคมนั้นได้ในอีกลักษณะหนึ่ง และยังเป็นการยืนยันข้อมูลที่ได้มา โดย 2 วิธีแรก นอกเหนือจากนี้สิ่งที่ผู้วิจัยสามารถที่จะนามาศึกษาและวิเคราะห์ได้อีก ได้แก่ นิทานพื้นบ้าน คาพังเพย คาสอน คาขวัญ เพลงกล่อมเด็ก (อลิศรา ศิริศรี. 2541: 252) และการศึกษาจากข้อมูลประวัติศาสตร์ การบอกเล่าของผู้รู้ (ชาย โพธิสิตา. 2550: 156)
1.3 การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) อลิศรา ศิริศรี (2541: 254) ได้กล่าวถึงการศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาว่ามีรูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลในหลายลักษณะ หลายวิธี และระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแตกต่างกัน การศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนามีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือ ขั้นตอนการวิจัยเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและอาจจะเกิดขึ้นพร้อมกันได้ ผู้วิจัยไม่จาเป็นต้องรอให้การเก็บข้อมูลเสร็จ จึงเริ่มวิเคราะห์ข้อมูล เพราะการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถทาได้ตั้งแต่เริ่มกระบวนการเก็บข้อมูล เช่น ในขณะที่เราจดบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ผู้วิจัยอาจเกิดแนวคิดเกี่ยวกับการ
วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งการที่ผู้วิจัยได้มีโอกาสวิเคราะห์ข้อมูลในระหว่างกระบวนการเก็บข้อมูลนี้ เป็นการช่วยปรับปรุงแนวทางที่จะเก็บข้อมูลต่อไป เป็นการช่วยกาหนดจุดความสนใจในการวิจัยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการวัดประเมินอย่างต่อเนื่องว่า ผู้วิจัยรู้อะไรบ้างแล้ว และอะไรที่ควรจะรู้เพิ่มอีก สิ่งที่ผู้วิจัยจะต้องระลึกไว้ว่าเหตุการณ์หรือสิ่งใดๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว หากมาเก็บข้อมูลในภายหลัง ข้อมูลที่ได้รับจะไม่เหมือนหรือไม่สามารถที่จะเทียบเท่ากับการเก็บข้อมูลในขณะที่เกิดเหตุการณ์นั้น ขั้นตอนกระบวนการของการศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาจึงยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องสัมพันธ์กับสภาพการณ์ขณะนั้น หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นมีหลายรูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของเรื่องที่ศึกษา การสรุปและการวิเคราะห์ข้อมูลขึ้นอยู่กับการแปลความหมายของผู้วิจัย ผู้วิจัยไม่สามารถที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าถึงข้อมูลที่จะได้หรือแม้แต่การกาหนดถึงลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูล และการเสนอผล ทั้งนี้เพราะว่าวัตถุประสงค์ของการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนามุ่งที่จะความพยายามที่จะเข้าใจการกระทาของบุคคลในสภาพการณ์ และสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติในสถานที่ที่เหตุการณ์เกิดขึ้นจริง ความพยายามศึกษา เข้าใจบุคคลในสภาพแวดล้อมในสังคมที่เขาเป็นอยู่ ในสังคมที่เขาดาเนินชีวิตอยู่เป็นประจา
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา สามารถทาเหมือนการวิจัยเชิงคุณภาพทั่วไป คือ การนาข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาจัดเก็บให้เป็นระบบระเบียบ การนาเสนอข้อมูล และตีความและการหาข้อสรุป แต่ก่อนที่จะวิเคราะห์ข้อมูล ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อน ซึ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพมีเทคนิคหนึ่งที่ได้รับความนิยมนามาใช้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล คือ เทคนิคสามเส้า (Triangulation Technique) เทคนิคนี้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ. 2550: 276) ได้แก่
(1) ต่างวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (method triangulation) เป็นการใช้หลายๆ วิธีในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่นเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องเดียวกันจากกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน ด้วยวิธีการสังเกต สัมภาษณ์ และเก็บข้อมูลจากเอกสาร แล้วนาข้อมูลมาตรวจสอบยืนยันกัน
(2) ต่างแหล่งข้อมูล (data sources triangulation) เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งที่ต่างกันนั้นด้วยวิธีการเก็บข้อมูลเหมือนกัน หรือใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเดียวกันแต่ต่างเวลา สถานที่ และบุคคล แล้วนาข้อมูลมาตรวจสอบยืนยันกัน
(3) ต่างนักวิจัย (investigator triangulation) เป็นการใช้นักวิจัยที่มาจากต่างสาขา หรือต่างประสบการณ์ หรือต่างภูมิหลังมาเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล แล้วนาผลการวิจัยมาตรวจสอบยืนยันกัน
(4) ต่างทฤษฎีหรือแนวคิด (theory triangulation) เป็นการใช้ทฤษฎีหลายๆ ทฤษฎีมาเป็นแนวทางในการอภิปรายข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย ซึ่งอาจจะสอดคล้องหรือขัดแย้งกันก็ได้
1.4 การเสนอผลสรุปของการวิจัย (Presenting the study) อลิศรา ศิริศรี (2541: 255-256) ได้กล่าวว่า การที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ หรือการวิเคราะห์เอกสาร ผู้วิจัยต้องใช้เวลานานในการเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ ข้อมูลที่ได้จะมีลักษณะเป็นเชิงพรรณนา มีปริมาณของข้อมูลจานวนมากนับร้อยหน้า การที่จะนามาวิเคราะห์ทั้งหมดก็จะเป็นการเพิ่มปริมาณผลการศึกษามาก
ขึ้น ดังนั้น จึงจาเป็นจะต้องมีวิธีการและรูปแบบของการเสนอรายงานผลการวิจัย โดยต้องคานึงถึงประเด็นสำคัญและลักษณะกลุ่มของผู้อ่าน หรือผู้ที่จะรับฟังรายงานการวิจัยเป็นหลัก เช่น ถ้าเป็นการเสนอต่อคณะกรรมการวิชาการ ผู้วิจัยจะต้องอธิบายถึงรายละเอียดของสภาพการณ์ การเสนอข้อมูลบางอย่างได้ในรายละเอียด แม้กระทั่งข้อคิดเห็นของผู้วิจัยเอง แต่ถ้าให้ผู้ฟัง หรือผู้อ่านที่เป็นผู้ที่อยู่ในระดับนโยบาย การสรุปอาจจะต้องทาให้สันกะทัดรัดและชัดเจน โดยทั่วไปอาจเป็นการบรรยายสรุป โดยนาตัวอย่างข้อมูลบางอย่างมาใช้สนับสนุนการวิเคราะห์หรือการเสนอผลงานได้ อย่างไรก็ตามการตัดสินใจการให้คุณค่าของการศึกษาวิจัยนั้น ขึ้นอยู่กับผู้อ่านที่จะตัดสินใจด้วยตัวผู้อ่านเอง ลักษณะดังกล่าวจะแตกต่างไปจากการเสนอผลการวิจัยในแนวอื่น
การศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเป็นการศึกษาสภาพการณ์ที่มีอยู่ เป็นอยู่จริง จึงทาให้ได้พบเห็นปัญหาและความเป็นจริงในการดาเนินชีวิตของบุคคลในสังคมนั้นๆ ซึ่งสิ่งที่ผู้วิจัยพบ หรือผลของการศึกษาอาจจะให้ทั้งผลดีและผลเสียต่อบุคคลนั้น หรืออาจจะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของบุคคลในองค์กรนั้น ดังนั้น จึงอาจเกิดปัญหาขัดแย้งได้ว่าผู้วิจัยควรที่จะเสนอผลการวิจัยในลักษณะใด หรือเสนอผลงานอย่างไรเพื่อทีจะหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนบุคคล หรือสมาชิกของสังคมนั้น Rainwater& Pittman (อลิศรา ศิริศรี. 2541: 256 ; อ้างอิงจาก Rainwater & Pittman.1976) ได้เสนอแนวทางออกของปัญหานี้ไว้ว่า ผู้วิจัยควรสงวนนาม และปกป้องบุคคลที่เป็นแหล่งข่าว หรือแหล่งข้อมูลที่ทาการศึกษา ซึ่งอาจเป็นการลดปัญหาดังกล่าวได้
2. การกาหนดตัวอย่าง
ชาย โพธิสิตา (2550: 156-159) ได้กล่าวถึงการเลือกตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (รวมถึงการวิจัยเชิงคุณภาพทุกชนิดด้วย) ไว้ว่า เป็นการใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง คือ นักวิจัยสรรหาตัวอย่างที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับเรื่องที่จะทาการศึกษา ที่ว่าเหมาะสมคือ เป็นตัวอย่างที่สามารถให้ข้อมูลได้หลากหลาย ซึ่งจะเอื้อต่อการวิเคราะห์และนาไปสู่ความเข้าใจประเด็นการวิจัยที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสนับสนุนหรือแย้งกับแนวคิดของการวิจัยก็ตาม ไม่ใช่มองหาเฉพาะตัวอย่างที่สนับสนุนอย่างเดียว กลุ่มตัวอย่างต้องสามารถให้ข้อมูลที่หลากหลายและพอเพียงสาหรับการวิเคราะห์ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า ตัวอย่างใดเหมาะสมและสามารถให้ข้อมูลได้มากหรือน้อย นี่เป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่มีสูตรสาเร็จในการเลือกใช้
ในเบื้องต้น สิ่งที่จะให้แนวทางในการตัดสินใจว่าจะเลือกตัวอย่างในการวิจัยอย่างไรดี คือ คาถามในการวิจัยที่นักวิจัยต้องการหาคาตอบ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัย และกรอบแนวคิดทฤษฎีในการวิจัย (ชาย โพธิสิตา. 2550: 157) ดังนี้
1) คาถามในการวิจัยที่นักวิจัยต้องการหาคาตอบ (Research questions) หมายถึง สิ่งที่นักวิจัยต้องการรู้หรือต้องการหาคาตอบ อันเป็นที่มาของการวิจัยเรื่องนั้น ในการออกแบบส่วนนี้ควรพยายามตอบคาถามเหล่านี้ คือ ในการวิจัยเรื่องนี้เราต้องการรู้หรือทาความเข้าใจอะไรบ้าง มีสิ่งใดบ้างที่ยังไม่มีใครรู้แต่เราอยากรู้ ในการวิจัยนี้เราจะสามารถตอบคาถามอะไรบ้าง และคาถามเหล่านี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร คาถามการวิจัยเป็นองค์ประกอบที่สาคัญมาก ในการออกแบบองค์ประกอบส่วนอื่นๆ ทั้งหมด นักวิจัยจะต้องคานึ่งถึงคาถามการวิจัยก่อนเสมอ ดังนั้น คาถามจึงทาหน้าที่เป็นเสมือนศูนย์กลางของการออกแบบการวิจัย (ชาย โพธิสิตา. 2550: 108-109)
2) จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purpose) : หมายถึง เป้าหมายที่นักวิจัยต้องการจะบรรลุถึงในการวิจัยเรื่องนั้น รวมถึงสิ่งที่ต้องการจะทาในกระบวนการวิจัย อันจะช่วยให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการนั้นได้ ในการออกแบบจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัยควรพยายามตอบคาถามเหล่านี้ : เป้าหมายเหล่านั้นมีความสาคัญอย่างไร? ทาไมจึงควรมีการวิจัยเรื่องนั้น? มีเหตุผลอะไรที่เราต้องให้ความสาคัญแก่เรื่องนั้น? และการวิจัยเรื่องนั้นมีคุณค่าเพียงใด ทั้งในด้านเพิ่มพูนความรู้และในทางนโยบาย (ชาย โพธิสิตา. 2550: 109)
3) กรอบแนวคิดทฤษฎีในการวิจัย (Conceptual context): หมายถึง กรอบมโนทัศน์ หรือมุมมองที่นักวิจัยจะใช้ในการตอบคาถามการวิจัยที่ตั้งเอาไว้ แนวคิดในการวิจัยจะบอกเราว่า ปรากฏการณ์ หรือสิ่งที่เราศึกษานั้นน่าจะเป็นอย่างไร มีทฤษฎีข้อค้นพบ และกรอบแนวคิดอะไรบ้างที่จะเป็นแนวทางในการศึกษาของเรา มีการศึกษาที่ผ่านมา ผลการทดลองศึกษาในเบื้องต้น หรือประสบการณ์ส่วนตัวของนักวิจัยอะไรบ้างที่พอจะนามาใช้ประโยชน์ในการศึกษาครั้งนี้ การออกแบบจะเกี่ยวกับทฤษฎีที่มีอยู่แล้วหรือที่เราจะสร้างขึ้นมาเองเพื่อทาความเข้าใจประเด็นที่เราจะศึกษา ทฤษฎีเราอาจได้มาจาก 4 แนวทาง คือ 1) จากประสบการณ์ส่วนตัวของเรา 2) จากทฤษฎีหรือการวิจัยที่คนอื่นทาไว้แล้ว 3) จากการศึกษานาร่อง และ 4) จากการคิดสังเคราะห์ขึ้นมาเองของนักวิจัย (ชาย โพธิสิตา. 2550: 109)
ขั้นตอนต่อไป นักวิจัยต้องทาความรู้จักประชากร และ/หรือปรากฏการณ์/สถานที่ที่อยู่ในข่ายเหล่านั้นให้ดีขึ้น นักวิจัยต้องหาข้อมูลทั่วไปจากประชากรกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในข่ายจะถูกเลือกเป็นตัวอย่างในการศึกษาได้ ขั้นตอนนี้จาเป็น เพราะถ้าปราศจากข้อมูลเบื้องต้นที่เพียงพอเกี่ยวกับประชากรเป้าหมายของการศึกษาแล้ว การเลือกตัวอย่างไม่ว่าจะด้วยวิธีสุ่ม อย่างเช่นในการวิจัยเชิงปริมาณ หรือด้วยวิธีเจาะจงในการวิจัยเชิงคุณภาพ ก็แทบไม่มีความหมายอะไร ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรหรือกลุ่มที่เราสนใจนั้นอาจหาได้จากเอกสาร สิ่งพิมพ์ สารคดี ห้องสมุด รายงานการวิจัย หน่วยงานราชการ การสนทนากับผู้รู้ รวมทั้งการเข้าไปติดต่อหาข้อมูลเบื้องต้นจากประชากรและสถานที่ที่อยู่ในข่ายความสนใจด้วยตัวเอง ถ้าสามารถทาได้ (ชาย โพธิสิตา. 2550: 157-158)
การวิจัยเชิงคุณภาพต้องศึกษาเจาะลึกในกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก การเลือกตัวอย่างที่จะให้ได้ความเป็นตัวแทนดังที่กาหนดในการวิจัยเชิงปริมาณนั้น อาจเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าที่จะเป็นจริงได้ เว้นแต่ว่าเราจะนิยามความเป็นตัวแทนต่างออกไป การเลือกตัวอย่างในการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาตั้งต้นจากแนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการว่า ถ้าเลือกตัวอย่างแบบนี้ จะมีความหมายอย่างไรในเรื่องข้อมูล? และข้อมูลนั้นจะให้อะไรบ้างในการทาความเข้าใจประเด็นที่ศึกษา? โดยสรุปก็คือ นักวิจัยต้องตอบคาถามว่าทาไมตัวอย่างนั้น (ชุมชน เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ ฯลฯ) จึงควรเลือกหรือไม่ควรเลือกสาหรับการศึกษาของตน ตัวอย่างนั้นมีความเหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ คาถามในการวิจัย
และกรอบแนวคิดในการวิจัยมากน้อยเพียงใด มีตัวอย่างอื่นที่เหมาะสมกว่านี้หรือไม่ เมื่อตอบคาถามเหล่านี้ได้เป็นที่พอใจแล้ว จึงนาประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่นมาพิจารณา (ชาย โพธิสิตา. 2550: 158)
ประเด็นอื่นที่ว่านั้นอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเป็นไปได้ ความสะดวก เวลา และทรัพยากรที่มีอยู่ของนักวิจัย ให้นักวิจัยสร้างเกณฑ์กว้างๆ สาหรับพิจารณาในการเลือกตัวอย่าง 3 ชนิด คือ เกณฑ์เกี่ยวกับสิ่งอานวยความสะดวก เกณฑ์ที่ใช้กาหนดคุณสมบัติว่าอะไรที่เข้าข่ายและอะไรที่ไม่เข้าข่าย สาหรับการศึกษาที่วางแผนเอาไว้ และเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลว่าตัวอย่างที่นักวิจัยกาลังพิจารณาอยู่นั้นน่าจะให้ข้อมูลที่ต้องการได้เพียงพอหรือไม่ สาหรับคาถามที่ว่า ควรจะสร้างเกณฑ์ไว้สูงต่าแค่ไหนนั้น ไม่มีคาตอบที่เป็นสูตรสาเร็จ นักวิจัยต้องใช้ความรู้และวิจารณญาณของตนเองในการตัดสินใจ (ชาย โพธิสิตา. 2550: 158)
เมื่อเลือกตัวอย่าง ซึ่งอาจจะเป็นชุมชน เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ที่จะศึกษาได้แล้ว ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มกระบวนการเก็บข้อมูล ในกระบวนการเก็บข้อมูลนั้น นักวิจัยอาจจะต้องเลือกผู้ให้ข้อมูลที่เหมาะสมสาหรับแต่ละเรื่องอีก ผู้ให้ข้อมูลนี้เรียกว่า Key informants คือ ผู้ที่ทรงความรู้ มีประสบการณ์ มีแนวความคิดที่น่าสนใจในชุมชน หรือในบางครั้งอาจเป็นผู้รู้ในท้องถิ่นก็ได้ นอกจากนี้แล้ว ในการศึกษา นักวิจัยอาจต้องการเลือกตัวอย่างบางรายมาทาการศึกษาลงลึกเป็นกรณีพิเศษ เพื่อสนับสนุนข้อสรุปหรือการตีความของตน กรณีเช่นนี้ควรเป็นกรณีที่เด่นๆ ทั้งในเชิงสนับสนุนและในเชิงแย้งกับข้อสรุปของนักวิจัย และควรเป็นกรณีที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ได้มากและลึกกว่ารายอื่นๆ การเลือกตัวอย่างเพื่อศึกษาเป็นกรณีพิเศษเช่นนี้ ควรเลือกหลายรายและกระจายให้ครอบคลุมความหลากหลายของประชากรเป้าหมายของการศึกษาพอสมควร อย่างไรก็ตาม การกระจายนั้นก็ไม่ใช่มุ่งให้ได้ความเป็นตัวแทนเป็นหลัก แต่เพื่อความหลากหลายของตัวอย่างมากกว่า (ชาย โพธิสิตา. 2550: 158-159)
3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา เครื่องมือสาคัญที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ตัวนักวิจัยเอง (ชาย โพธิสิตา. 2550: 148) โดยนักวิจัยต้องแฝงตัวเองเข้าไปคลุกคลีอยู่กับประชากรในชุมชนหรือท้องถิ่นที่ต้องการศึกษา เพื่อได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและวิถีการดาเนินชีวิต ที่เป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการแสดงออกของความรู้สึกและพฤติกรรมต่างๆ ของประชากรจนได้ข้อมูลเพียงพอที่จะนาไปวิเคราะห์ แปลผล สรุปผลหรือสร้างทฤษฎีเพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมทางวัฒนธรรมของประชากรได้ (ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ 2550: 90-91)
วิธีการเชิงชาติพันธุ์วรรณนากับการนาไปใช้
วิธีการวิจัยมีมากมายหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการ และมีเงื่อนไขสภาพแวดล้อมแตกต่างกันไป จึงไม่มีการวิจัยรูปแบบใดจะเหมาะสมกับสภาพ
ปัญหา ความต้องการ และสภาพแวดล้อมการวิจัยได้เหมาะที่จะใช้ได้กับหัวข้อและเงื่อนไขการวิจัยทุกชนิด รูปแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาก็เช่นเดียวกัน มีเพียงปัญหา ความต้องการ และเงื่อนไขสภาพแวดล้อมบางอย่างเท่านั้นที่เหมาะสาหรับวิธีการเช่นนี้ การนาวิธีนี้ไปใช้ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ และเงื่อนไขและสถานการณ์แวดล้อม แทนที่จะได้ผลการวิจัยที่มีคุณภาพ อาจจะไม่ได้ผลการวิจัยที่คุณภาพ รวมทั้งเสียเวลาและทรัพยากรอื่นๆ ดังนั้น ก่อนที่จะนารูปแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาไปใช้งาน นักวิจัยจึงควรทาความเข้าใจว่าชาติพันธุ์วรรณนาเหมาะที่จะใช้ในสถานการณ์และเพื่อวัตถุประสงค์อย่างไรบ้าง ในประเด็นเรื่องการนาไปใช้นี้ ชาย โพธิสิตา (2550: 159-161) ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ 5 ข้อ ดังนี้
1) ใช้วิธีการเชิงชาติพันธุ์วรรณนา เมื่อต้องการหาความรู้ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน เกี่ยวกับชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือองค์กรอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรม การใช้แบบนี้ตรงตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของชาติพันธุ์วรรณนา นักวิจัยอาจจะทาการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยที่ยังไม่มีใครศึกษามาก่อน หรือมีคนศึกษาแล้วแต่ความรู้เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยนั้นยังจากัด (ชาย โพธิสิตา. 2550: 159)
2) ใช้เมื่อต้องการค้นหาหรือแสวงหาประเด็นใหม่ๆ ของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีการเปิดเผยมาก่อน เพื่อการศึกษาแบบลงลึกที่ตามมา การใช้ชาติพันธุ์วรรณนาในลักษณะนี้รวมถึงการใช้เพื่อค้นหาว่า อะไรคือสิ่งที่เป็นปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และประเด็นปัญหานั้นอยู่ที่ไหน (เช่น ในเรื่องการดาเนินโครงการตามนโยบายใหม่ของรัฐบาล เรื่องผลกระทบของเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมต่อสถาบันครอบครัว) ในบางครั้งเราอาจจะพอรู้อยู่ว่าปัญหาคืออะไร ทว่าไม่สามารถกาหนดได้ว่าปัญหานั้นซับซ้อนเพียงใด และเกี่ยวข้องอย่างไรกับระบบอื่นๆ เราก็อาจจะใช้วิธีนี้ได้ ชาติพันธุ์วรรณนาที่ใช้ในกรณีเช่นนี้มักจะมีลักษณะเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (ชาย โพธิสิตา. 2550: 160)
3) ใช้เมื่อต้องการหาคาอธิบายสาหรับพฤติกรรม เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ที่เรายังไม่เข้าใจ หรือเมื่อคาอธิบายที่มีอยู่ไม่เป็นที่พอใจ การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาที่เจาะจงปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งจัดอยู่ในประเภทนี้ การใช้ในกรณีนี้ มักจะต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลที่เข้มงวด เพื่อทาความเข้าใจและสร้างกรอบการอธิบายที่ชัดเจน (ชาย โพธิสิตา. 2550: 160)
4) ใช้เพื่อประเมินผลโครงการ การใช้วิธีการเชิงคุณภาพ (รวมถึงชาติพันธุ์วรรณนาด้วย) เพื่อการประเมินผลโครงการต่างๆ นั้นเคยมีบางท่านตั้งข้อสังเกตว่าเหมาะสมเพียงใด เรื่องนี้ Patton (1987, 1990) ได้แสดงให้เห็นว่า วิธีการเชิงคุณภาพสามารถใช้ในการประเมินผลโครงการได้เช่นเดียวกับวิธีการเชิงปริมาณ ความจริงแล้วเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการทราบจากการประเมินผล และขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการ/กิจกรรมที่จะถูกประเมินมากกว่า ถ้าต้องการทราบผลกระทบเป็นเชิงคุณภาพ เช่น ความพึงพอใจของประชากรกลุ่มเป้าหมายต่อโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค หรือกระบวนการดาเนินงานและการมีส่วนร่วมของชุมชนในกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เป็นต้น ชาติพันธุ์วรรณนาเป็นวิธีที่เหมาะสม (ชาย โพธิสิตา. 2550: 160)
5) ใช้ร่วมกับวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ วิธีการเชิงคุณภาพทุกชนิดสามารถใช้ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณได้ 3 แบบ คือ (ชาย โพธิสิตา. 2550: 160-161)
5.1 แบบที่หนึ่ง ใช้ก่อนที่จะเริ่มการสำรวจ (เชิงปริมาณ) เพื่อหาประเด็นที่จะตั้งคาถามการวิจัย ตั้งสมมติฐาน หรือเพื่อหาความรู้เบื้องต้นสาหรับสร้างแบบสอบถามในการสำรวจ
5.2 แบบที่สอง ใช้หลังจากการสำรวจ เมื่อได้พบว่า ข้อค้นพบบางประการจากการสำรวจไม่สามารถอธิบายด้วยข้อมูลเชิงปริมาณที่มีอยู่อย่างเป็นที่น่าพอใจ
5.3 แบบที่ 3 ใช้ควบคู่ไปกับการวิจัยเชิงปริมาณ ในกรณีที่มีประเด็นบางอย่างซึ่งไม่เหมาะที่จะใช้วิธีการเชิงปริมาณ เพื่อทาความเข้าใจในระดับลึกได้ เช่น ประเด็นเรื่องกระบวนการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในถิ่นปลายทางของผู้ย้ายถิ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นศึกษาของโครงการวิจัยเกี่ยวกับการย้ายถิ่นและผลกระทบ ณ ถิ่นปลายทาง เป็นต้น ทีมนักวิจัยอาจทาการศึกษาประเด็นนี้ด้วยวิธีการเชิงชาติพันธุ์วรรณนา ขณะที่ทาการศึกษาประเด็นอื่นๆ ด้วยวิธีการสำรวจ (เชิงปริมาณ)
ข้อจำกัด
ชาย โพธิสิตา (2550: 161-162) ได้กล่าวถึงข้อจากัดของการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาดังนี้
1. เนื่องจากวิธีการเชิงชาติพันธุ์วรรณนาใช้มโนทัศน์ทางวัฒนธรรมเป็นหลักในการวิเคราะห์อย่างมาก นักวิจัยที่จะประสบความสาเร็จควรมีพื้นความรู้เกี่ยวกับมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมทางวัฒนธรรมของมนุษย์พอสมควร ข้อนี้ถือเป็นข้อจากัดสาหรับนักวิจัยจานวนไม่น้อยที่ไม่คุ้นเคยกับมโนทัศน์ทางวัฒนธรรมมาแต่เดิม แต่เรื่องทางวัฒนธรรมในแนวของมานุษยวิทยานั้น เป็นสิงที่สามารถศึกษาได้ด้วยตนเองจากการอ่าน ดังนั้น การทาความคุ้นเคยกับวรรณกรรมด้านนี้อาจเป็นทางออกสาหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางมานุษยวิทยามาก่อนได้
2. การเก็บข้อมูลภาคสนามของชาติพันธุ์วรรณนาต้องใช้เวลานาน โดยทั่วไปนักวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอาจใช้เวลาตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี หรือมากกว่าในการทาวิจัยภาคสนาม และโดยมากนักวิจัยมักทางานลาพังแต่ผู้เดียว การทางานวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาแบบเป็นทีม แม้จะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ แต่ก็ไม่ค่อยเห็นมีทากัน นักวิจัยต้องพร้อมที่จะทุ่มเทเวลา และทางานแบบค่อนข้างโดดเดี่ยวอยู่ในสนาม อนึ่ง การอยู่กับชุมชนที่ศึกษาในฐานนะผู้สังเกตแบบมีส่วนร่วมเป็นเวลานานนั้น นักวิจัยมีโอกาสที่จะถูกกลืนเข้าไปในชุมชน ในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง จนทาให้การวิจัยไม่สาเร็จ หรือสาเร็จแต่นักวิจัยต้องประนีประนอมหรือลดความเข้มงวดของการศึกษาลง จนคุณภาพของการวิจัยหย่อนกว่าที่ควรจะเป็นได้
3. ข้อมูลของการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนามักจะมีหลากหลาย ทั้งในด้านปริมาณและชนิดของข้อมูล จึงทาให้การวิเคราะห์เป็นงานที่ยาก สาหรับนักวิจัยที่มีประสบการณ์น้อยเรื่องนี้จะยากมากขึ้นไปอีก ในสมัยก่อน ไม่มีคอมพิวเตอร์ การจัดระเบียบข้อมูลเป็นงานที่น่าเบื่อและกินเวลานาน แม้ในปัจจุบันจะมีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการข้อมูลแล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพก็ใช่ว่าจะเป็นงานง่าย เพราะถึงอย่างไร คอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้คิดแทนนักวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ดีย่อมไม่ใช่เพียงแต่สรุปเรื่องออกมาจากคาบอกเล่าของผู้ให้ข้อมูล แต่ต้องเป็นการ ย่อยข้อมูลและ กลั่นเอาสาระที่เข้าข่ายจริงๆ ออกเป็นคาอธิบายที่มีลักษณะเป็นนามธรรม หรือเป็นข้อเสนอของนักวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจึงเป็นทั้งงานที่ท้าทาย และเป็นข้อจากัดสาหรับนักวิจัยจานวนมาก

สรุป
การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเป็นแนวทางหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งอธิบายและตีความข้อมูลทางสังคม เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก วัฒนธรรม ภาษา และพฤติกรรมของมนุษย์ วิถีชีวิตของกลุ่มคนในสังคม โดยใช้วิธีการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยจะเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเก็บข้อมูลที่เคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงอคติและให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลเน้นการพรรณนา และการวิเคราะห์ที่เน้นปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคมเป็นตัวแปรสาคัญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มชนหรือสังคม มีขั้นตอนการทาวิจัย 4 ขั้นตอน คือ (1) การเข้าสู่สนามและการกาหนดบทบาทผู้วิจัย (2) การเก็บรวบรวมข้อมูล (3) การวิเคราะห์ข้อมูล และ (4) การเสนอผลสรุปการวิจัย การวิจัยรูปแบบนี้สามารถนาไปใช้ในหลากหลายสาขาวิชา เช่น ด้านการศึกษา สังคมวิทยา สาธารณสุข เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ผู้วิจัยจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการอธิบายและตีความผลของการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมเป็นวิธีการหลักและใช้วิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้มีความเที่ยง (Reliability) และความตรง (Validity) ในเรื่องที่ศึกษา โดยมีผู้วิจัยเป็นเครื่องมือหลักที่สำคัญในการเก็บข้อมูล วิธีการวิจัยแบบนี้เหมาะสาหรับแสวงหาความรู้ประเด็นใหม่ๆ หรือ ความรู้ที่ยังมีข้อมูลจากัด เกี่ยวกับกลุ่มทางสังคมและวัฒนธรรมที่เรายังไม่คุ้นเคย วิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนามีข้อจากัดของการนาไปใช้งานที่จะต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลภาคสนามเป็นเวลานาน มีความยุ่งยากในการวิเคราะห์และตีความของผลการศึกษา แต่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายและเป็นทางเลือกให้นักวิจัยได้สืบค้นหาความรู้ได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ทางสังคมตรงตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น
บรรณานุกรม
ชาย โพธิสิตา. การวิจัยเชิงคุณภาพ : ข้อพิจารณาทางทฤษฎีใน ตาราประกอบการสอน
และการวิจัยการศึกษาเชิงคุณภาพ เทคนิคการวิจัยภาคสนาม. บรรณาธิการโดย
เบญจา ยอดดาเนิน และคณะ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร. โครงการเผยแพร่ข่าวสาร
และการศึกษาด้านประชากร สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548.
หน้า 28-52.
_________. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร.
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จากัด (มหาชน), 2550.
ทรงคุณ จันทจร. เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรมขั้นสูง.
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2549.
นิศา ชูโต. การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. พริ้นต์โพร จากัด, 2548.
ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ. พจนานุกรมศัพท์การวิจัยและสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร.
ด่านสุทธาการพิมพ์, 2550.
อลิศรา ศิริศรี. การนาวิธีวิจัยเชิงชาติพันธ์วรรณามาใช้ในการวิจัยทางการศึกษา
ใน รวมบทความทางวิธีวิทยาการวิจัย เล่ม 1. บรรณาธิการโดย สมหวัง พิธิยานุวัฒน์.
พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541. หน้า 249-257.
William W. Research Methods in education an introducation fourthedtion.
Fourth Edition Printed in the United states of America,1986.

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ด่านการค้าไทย-กัมพูชา







ด่านการค้าที่สำคัญของไทยและกัมพูชา
·         ด่านช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
·         ด่านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
·         เมืองอรัญประเทศ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
·         ด่าน บ.ผักกาด อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
·         ด่าน บ.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
 
ที่มา :

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สะหวันนะเขต สองโลกในเมืองเดียว



ทันทีที่ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่สอง มุกดาหาร-สะหวันนะเขตมาถึงด่านตรวจคนเข้าเมือง มุ่งตรงตามถนนเส้น 9W จะเห็นวงเวียนหลักของเมืองสะหวันนะเขตเป็นรูปแคนและไดโนเสาร์เด่นเป็นสง่า บอกสามทางแยกที่เป็นเหมือนเครื่องบ่งชี้ชีวิตในสามวิถีของสะหวันนะเขต
เลี้ยวขวาผ่านตลอด เป็นทางเข้าสถานีขนส่งสะหวันนะเขต และเข้าไปยังย่านเมืองคันทะบุลี (ไกสอนพมวิหาน) ตรงไป เป็นเส้นทางมุ่งออกไปยังสนามบินสะหวันนะเขต และเป็นถนนเส้นใหญ่ที่จะเชื่อมเพื่อต่อไปยังถนนหลักสายยาวถึงด่านลาวบาวและเวียดนาม ส่วนเลี้ยวซ้าย เป็นเส้นทางไปคาสิโนสะหวันเวกัส นิคมอุตสาหกรรม และเขตเศรษฐกิจพิเศษ สะหวัน-เซโน รวมถึงไซต์ก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศลาว
เมื่อเราเลี้ยวขวา เมืองไกสอนพมวิหานจะถูกแบ่งออกเป็นสองย่านใหญ่ๆ คือย่านเมืองอาณานิคม และย่านเมืองใหม่ โดยมีสวนสาธารณะและสนามกีฬาเก่า ซึ่งมีอนุสาวรีย์ท่านหนูฮัก พูมสะหวัน อดีตประธานประเทศลาว ผู้มีชาติกำเนิดอยู่ที่ฝั่งมุกดาหารและร่วมปฏิวัติกอบกู้เอกราชเป็นเหมือนเส้นเขตแดนกลายๆ
ย่านเมืองเก่าเต็มไปด้วยอาคารทรงเฟรนช์โคโลเนียลจากยุคปกครองอาณานิคม และอาคารในยุคปฏิวัติคอมมิวนิสต์ผสมผสานกัน แต่โดยมาก็ได้ชำรุดทรุดโทรมและถูกทิ้งร้าง เนื่องจากเส้นทางสัญจรนั้นเปลี่ยนจากทางน้ำ คือเรือเมล์และเรือข้ามฟาก ไปเป็นถนนทางบกโดยสิ้นเชิง เมื่อไม่มีการสัญจรก็ไม่มีการค้าขายหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เมื่อหากินไม่ได้ก็ไม่มีคนอยู่อาศัย สิ่งก่อสร้างทั้งหลายจึงดูเงียบเหงาและว่างเปล่า แต่ก็มีมนตร์เสน่ห์ในตัวเองที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเมืองเกือบทั้งเมืองยังคงสภาพสถาปัตยกรรมแบบเก่าไว้ได้คล้ายคลึงกับย่านเมืองเก่าจอร์จทาวน์ของปีนัง หากทางการพรรครัฐของลาว ได้เข้ามามีบทบาทปรับปรุงดูแลร่วมกับเอกชนของเมือง ก็จะสร้างความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือน สร้างความคึกคักชีวิตชีวาได้อย่างมาก เนื่องจากเมืองเก่าแบบชิโน-โปรตุกีส และบริติชโคโลเนียลนั้นหาได้ตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน ไม่ว่าจะเป็นปีนัง สิงคโปร์ มะละกา ภูเก็ต แต่เมืองเก่าแบบเฟรนช์โคโลเนียลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สมบูรณ์ทั้งเมืองนั้นหายากแทบไม่เหลือเพราะภัยสงครามต่อเนื่องทั้งในกัมพูชาและเวียดนาม ต่างจากที่สะหวันนะเขตซึ่งไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
ความคล้ายคลึงของสะหวันนะเขตกับจอร์จทาวน์ยังประกอบด้วยความหลากหลายทางศาสนา เมืองสะหวันนะเขตมีทั้งโบสถ์คริสต์เซนต์เทเรซ่าที่เรียบง่ายแต่งดงาม วัดจีน วัดเวียดนาม และวัดลาวอยู่ด้วยกันในเขตเมืองที่มีผังเป็นตารางเป็นระเบียบมากที่สุดแห่งหนึ่ง หากได้รับการปรับปรุงพัฒนาและสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าเมืองเก่าคันทะบุลี แขวงสะหวันนะเขตสามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ไม่ยาก ซึ่งจะนำมาทั้งทุนบำรุงรักษา และนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มีกำลังซื้อเข้ามาท่องเที่ยวได้อีกมาก
นอกจากนี้ ในแขวงสะหวันนะเขต ยังมีการขุดค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์จำนวนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเขตพื้นที่ทางธรณีวิทยาเดียวกับภาคอีสานของไทย ซึ่งหากได้มีการขุดค้นวิจัยอย่างจริงจังและเปิดเผย ก็จะเป็นแหล่งศึกษา ท่องเที่ยวเชิงความรู้ที่ดีทั้งต่อประชาชนใน สปป. ลาว และนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนด้วย
ภาคธุรกิจท่องเที่ยวของไทยนั้นมีความเข้มแข็งและจุดเด่นด้านบริการและคุณภาพความเอาใจใส่ เมื่อสะหวันนะเขตอยู่ใกล้ไทยแค่เอื้อม ภาษาก็ไม่แตกต่างกัน คนไทยมุกดาหารกับคนลาวสะหวันนะเขตก็เป็นสายเครือญาติพี่น้องกัน ย่อมไม่ยากเลยที่เราจะหาทางเข้าไปร่วมการพัฒนาเพื่อสร้างเมืองคู่แฝดสองฝั่งโขงให้งดงาม

ที่มา : คอลัมน์ เดือนหงายที่ชายโขง มติชนรายวัน
 โดย ธีรภัทร เจริญสุข

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1409122451

คัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง





              คนที่ยืนเขย่งเท้า        ย่อมยืนอยู่ไม่ได้นาน

คนที่ก้าวขายาวเกินไป             ย่อมเดินไปไม่ได้ไกล

คนที่ชอบแสดงตน                  จะไม่ได้รับความยกย่อง

คนที่ชอบยกตน                       จะไม่ได้รับความนับถือ

คนที่ชอบโอ้อวด                      จะไม่ได้รับอะไร

                                      คัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง 24








วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สมัยคานธีอยู่แอฟริกาใต้

สมัยคานธีอยู่แอฟริกาใต้เจ้าของบ้านให้คานธีช่วยสอนลูกชายเจ้าของบ้านให้เลิกกินน้ำตาล
                   ผ่านมาสองอาทิตย์ลูกชายยังไม่เลิกกินน้ำตาล
                   เจ้าของบ้านจึงถามคานธีว่า “ท่านยังไม่สอนลูกชายฉันอีกเหรอ
                   คานธีตอบว่า “ยัง เพิ่งจะบอกเมื่อวานเพราะตัวท่านเองเพิ่งเลิกกินน้ำตาลได้เมื่อวานนี้เอง”
                   ผู้นำศาสนา จะต้องนิ่งที่สอนมาปฏิบัติ หากจะให้มีคนเชื่อฟัง และทำตามคำสอนของตนอย่างจริงจัง
                   คานธีจึงเป็นผู้ชี้นำชีวิตทางจิตวิญญาณ และเป็นผู้นำทางจริธรรมของพวกเขา
 
ที่มา :
มติชนสุดสัปดาห์ 8-14 สิงหาคม พ.ศ.  2557  ปีที่ 34 ฉบับที่ 1773 หน้า 69

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การตัดเย็บจีวร



การตัดเย็บจีวร 
 วิธีตัดจีวร
            ในพระธรรมวินัยกล่าวถึงขนาดของจีวร มีห้ามแต่ไม่ให้ทำเกินกว่าสุคตประมาณที่กำหนดไว้ในสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งรตนวรรค คือ ยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ โดยคืบพระสุคต* ส่วนขนาดย่อมกว่า ก็แล้วแต่พอดีกับบุคคลผู้ครองไม่มีข้อห้าม ประมาณที่ใช้ในประเทศไทย ยาว ไม่เกิน ๖ ศอก กว้างไม่เกิน ๔ ศอกของผู้ครอง พอได้ปริมณฑลดีเมื่อห่ม สำหรับสบง ประมาณที่ใช้ในประเทศไทย ยาวไม่เกิน ๖ ศอก กว้างไม่เกิน ๒ ศอก ของผู้ครอง
            การตัดจีวรที่จะอธิบายต่อไปนี้ จะใช้นิ้วฟุตเป็นมาตราวัด เพราะเห็นว่า ไม้บรรทัดใช้กันอยู่โดยทั่วไปหาได้ง่าย ขนาดและตัวอ่างนี้มิใช่เป็นแบบที่ตายตัวทีเดียว ให้ขยายตามขนาดของบุคคล เพียงแต่วางหลักกว้างๆ ไว้เท่านั้น
(คืบพระสุคต = เดิม คงกำหนดด้วยนิ้วพระหัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ในปัจจุบันให้ถือตามมาตราวัดเป็นเมตร คือ ๑ คืบพระสุคต เท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร)

เวลาจะตัดกะดังนี้
             ๑. จีวรพึงกะให้ได้ขนาด คือ กว้าง ๔ ศอก ยาว ๖ ศอก ของผู้ครอง และอนุวาตกว้าง ๕ นิ้ว กุสิกว้าง ๒ นิ้วครึ่ง ตัดเป็นจีวร ๕ ขัณฑ์             ๒. เบื้องต้น ให้วัดศอกของผู้ที่ครองก่อน ว่ายาวกี่นิ้ว เมื่อวัดได้เท่าไหร่แล้ว ให้เอา ๖ ศอก คือความยาวของจีวรคูณ เมื่อคูณได้เท่าไรแล้ว ให้คิดเป็นเนื้อที่ของกุสิเสีย ๔ กุสิๆ หนึ่ง กว้าง ๒ นิ้วครึ่ง ๔ กุสิ ก็เท่ากับ ๑๐ นิ้ว อนุวาต ๒ ข้างๆละ ๕ นิ้ว ๒ ข้างเป็น ๑๐ นิ้ว เมื่อรวมกับกุสิ ๔ กุสิ จึงเป็นเนื้อที่ ๒๐ นิ้วพอดี             ๓. ให้เอา ๒๐ นิ้วไปลบความยาวทั้งหมดของจีวร เมื่อลบแล้วคงเหลือเท่าไรให้เอา ๕ ขัณฑ์หาร เมื่อได้ผลลัพธ์เท่าไรแล้วให้เอาอนุวาต ๕ นิ้วมาบวกๆ ได้เท่าไร ก็เป็นความกว้างของขัณฑ์ตัวริมทั้ง ๒ ข้าง ขัณฑ์ตัวกลางมีกุสิอยู่ทั้ง ๒ ข้าง รวม ๕ นิ้ว  ก็เอา ๕ บวกจำนวน ๕ ขัณฑ์ที่หารได้ จัดเป็นความกว้างของขัณฑ์ตัวกลาง             ขัณฑ์ตัวรอง ๒ ตัว คือตัวที่ติดกับตัวกลางทั้ง ๒ ข้าง มีกุสิตัวละ ๒ นิ้วครึ่ง ๒ ขัณฑ์ จึงเป็น ๕ นิ้ว ให้เอา ๒ นิ้วครึ่งไปบวกกับที่ ๕ ขัณฑ์ หารได้ตอนต้นจึงจัดเป็นความกว้างของขัณฑ์ตัวรอง ๒ ตัว เมื่อได้ตัดเป็นขัณฑ์ๆ ได้ ๕ ขัณฑ์ ดังกล่าวแล้ว ต่อแต่นั้นก็ให้พับขัณฑ์ (คือผ้าที่ตัดไว้ทั้ง ๕ ชิ้น) ทั้ง ๕ ขัณฑ์นั้น เป็น ๓ ส่วน ให้ตัดอัฑฒกุสิในส่วนกลาง แล้วจึงตัดกุสิทีหลัง ตอนตัดกุสิอย่าตัดทางกุสิก่อน ให้ตัดทางอัฑฒกุสิเสียก่อน เพราะถ้าตัดทางกุสิก่อนก็จะเสียใช้ไม่ได้ เวลาจะเอาขัณฑ์ทั้ง ๕ มาเย็บติดกันระวังอย่าให้ผิด เราควรจำให้ได้ว่า ทั้งหมดมีอยู่ ๕ ขัณฑ์ด้วยกันคือ             ๑. ขัณฑ์กลางมีกุสิติดอยู่ ๒ ข้าง และอัฑฒกุสิ             ๒. ขัณฑ์รอง คือขัณฑ์ที่ติดกับขัณฑ์กลางมีอยู่ ๒ ขัณฑ์ มีกุสิ และอัฑฒกุสิติดอยู่ข้างเดียว             ๓. ขัณฑ์ริม ๒ ข้าง ไม่กุสิ มีแต่อัฑฒกุสิ (คำว่า กุสิ แปลว่ากระทงใหญ่ อัฑฒกุสิ แปลว่า กระทงเล็ก หรือกระทงกึ่ง) เมื่อเย็บติดกันทุกชิ้นแล้ว จึงให้ตัดอนุวาตกว้าง ๕ นิ้ว มาเย็บติดกันที่ริมโดยรอบ เวลาเย็บอนุวาตอย่าให้ติดทางด้านตะเข็บ  ให้ติดทางด้านนอกของตะเข็บ เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ได้ใจความว่า เบื้องต้น ให้ตัดผ้าออกเป็น ๕ ชิ้น คือตัวกลาง ๑ กับตัวริมสุด ๒ ข้าง รวม ๓ ชิ้น ให้ตัดเท่ากัน ตัวรองคือตัวติดกับตัวกลาง ๒ ตัวให้ตัดเท่ากัน แล้วจึงให้ตัดกุสิและอัฑฒกุสิในภายหลัง ดังที่อธิบายมานี้ จะสมมติวิธีตัดให้ดู ดังนี้             สมมติว่าผู้ที่จะครอง มีศอกยาววัดได้ ๑๗ นิ้วครึ่ง (ให้ใช้นิ้วฟุต) ให้ตั้ง ๑๗ นิ้วครึ่งลง แล้วให้เอา ๖ ศอกคูณได้ผลลัพธ์ ๑๐๕ นิ้ว แล้วให้คิดเผื่อตะเข็บอีก ๒ นิ้วครึ่ง เอาไปบวกกับ ๑๐๕ นิ้ว เป็น ๑๐๗ นิ้วครึ่ง คิดเป็นเนื้อที่กุสิและอนุวาตเสีย ๒๐ นิ้ว แล้วเอา ๒๐ ลบ ๑๐๗ นิ้วครึ่ง คงเหลือ ๘๗ นิ้วครึ่ง แล้วให้เอา ๕ ขัณฑ์หาร ๘๗ นิ้วครึ่ง             ได้ผลลัพธ์ ๑๗ นิ้วครึ่ง ตัวกลางมีกุสิ ๒ ข้าง รวมกันได้ ๕ นิ้ว ให้เอา ๕ ไปบวกกับ ๑๗ นิ้วครึ่ง จึงได้ ๒๒ นิ้วครึ่ง เป็นความกว้างของขัณฑ์กลาง ขัณฑ์รอง ๒ ขัณฑ์ ขัณฑ์หนึ่งๆ มีกุสิเดียว ๒ นิ้วครึ่ง ให้เอาไปบวกกับ ๑๗ นิ้วครึ่ง ได้ผลลัพธ์ ๒๐ นิ้ว เป็นความกว้างของขัณฑ์รอง ขัณฑ์ริมสุด ๒ ขัณฑ์ มีอนุวาตด้วยขัณฑ์ละ ๕ นิ้ว จึงให้เอา ๕ บวกกับ ๑๗ นิ้วครึ่ง จึงจะได้ ๒๒ นิ้วครึ่ง เป็นความกว้างของ ขัณฑ์ริมตัวหนึ่งๆ เมื่อรวมแล้วได้ใจความดังนี้             ๑. ขัณฑ์กลาง   ให้ตัดผ้ากว้าง ๒๒ นิ้วครึ่ง ยาว ๗๐ นิ้ว ๑ ผืน             ๒. ขัณฑ์รอง     ให้ตัดผ้ากว้าง ๒๐ นิ้ว ยาว ๗๐ นิ้ว ๒ ผืน             ๓. ขัณฑ์ริมสุด   ให้ตัดผ้ากว้าง ๒๒ นิ้วครึ่ง  ยาว ๗๐ นิ้ว ๒ ผืน             ๔. ต่อจากนั้นก็ให้ตัดกุสิ และอัฑฒกุสิจากขัณฑ์นั้นๆ ทั้ง ๕ ขัณฑ์ เวลาจะตัดกุสิและอัฑฒกุสิ (กระทง) ให้ตัดในขัณฑ์นั้นๆ กว้างขนาด ๒ นิ้วครึ่ง หรือจะใช้กลักไม้ขีดเป็นขนาดก็ได้ ก่อนแต่จะตัดอัฑฒกุสิให้พับเป็น ๓ ส่วน แล้วให้ตัดในส่วนกลางดังกล่าวแล้ว             ๕. เย็บให้ติดกันเรียบร้อย แล้วจึงติดอนุวาตภายหลัง อนุวาตที่เย็บติดกันนั้น ให้ใช้ผ้ากว้าง ๕ นิ้ว ส่วนยาวเอาจนรอบขอบของจีวร             ๖. เสร็จแล้วจึงให้ติดรังดุมไว้ขวา ลูกติดไว้ซ้าย จงดูในแบบ            ๗. เมื่อเย็บเสร็จแล้ว ถ้าคิดจะหักตอนที่ตะเข็บย่นออกเสียแล้ว ก็คงเป็นจีวรประมาณกว้าง ๖๘ นิ้ว ยาว ๑๐๕ นิ้ว

11jevorn_111jevorn_2
11jevorn_311jevorn_4


การตัดสบง
            การตัดสบงก็ให้คิดโดยวิธีเดียวกัน เว้นแต่เวลาวัดผ้า จะตัดออกเป็นขัณฑ์ๆ ถ้าสมมติตัดเป็นจีวรขัณฑ์หนึ่งๆ ให้ยาว ๗๐ นิ้ว ถ้าตัดเป็นสบงก็ต้องสมมติขัณฑ์หนึ่งๆ ให้ยาว ๓๕ นิ้ว และไม่ต้องติดดุมและรังดุม นอกนั้นเหมือนกันทั้งหมด สบง เมื่อตัดแล้วคิดหักตอนตะเข็บออกแล้ว ก็คงเป็นสบงกว้าง ๓๔ นิ้ว ยาว ๑๐๕ นิ้ว

อีกวิธีหนึ่ง
            วิธีการตัดอย่างง่ายๆ ให้วัดเอาขนาดศอกของผู้ที่จะครองนั้นกะดังนี้            ๑. ขัณฑ์กลาง กับขัณฑ์ริมสุดทั้ง ๒ ข้าง ให้วัดขัณฑ์หนึ่งๆ กว้าง ๑ ศอก ๖ นิ้ว ยาว ๔ ศอก ๓ ขัณฑ์ รวมกว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว            ๒. ขัณฑ์รอง คือต่อจากขัณฑ์กลาง ๒ ข้าง ขัณฑ์หนึ่งๆ กว้าง ๑ ศอก ๓ นิ้ว ยาว ๔ ศอก ๒ ขัณฑ์ รวมกว้าง ๒ ศอก ๖ นิ้ว            ๓. ต่อจากนั้น ก็ให้ตัดกุสิ และอัฑฒกุสิตามแบบครั้งที่ ๒ ดังกล่าวแล้วในจีวรข้างต้น

ตัดสบง
            ๔. การตัดก็อย่างเดียวกับจีวร เป็นแต่เวลาตัดขัณฑ์ให้ลดความยาวของขัณฑ์หนึ่งๆ ลงเป็น ๒ ศอกเท่านั้น

สีที่ทรงอนุญาต
            สีที่ทรงอนุญาตให้ย้อมมี ๒ ชนิด คือ            สีเหลืองเจือแดงเข้ม ๑ สีเหลืองหม่น เช่นสีแก่นขนุน ที่เรียกว่ากรัก ๑

สีที่ห้ามไม่ให้ย้อมคือ
            สีคราม สีเหลืองล้วน สีแดงล้วน สีบานเย็น สีชมพู สีดำ           

อนึ่ง จะใช้สีกรักผสมกับสีแดง สีเหลืองก็ได้ แต่ส่วนผสมนั้นจะยุติเป็นแน่นอนไม่ได้ เพราะแล้วแต่ว่าสีที่ได้มานั้นจะแก่หรืออ่อน ถ้าสีแก่ก็ผสมแต่น้อย สีอ่อนก็ใช้ผสมมาก ข้อสำคัญให้ได้สีดังกล่าว
ที่มา :
http://www.tong9.com/main/index.php/2010-04-03-01-28-48/contentkatin/qq-/2010-04-04-01-21-41

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อุโบสถวัดดงมัน ต.คอโค อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์




                                          อุโบสถวัดดงมัน ต.คอโค อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์


สมภารเจ้าวัด : ที่อยู่

ท่านอาจารย์พระมหาประดับ ภมโร อดีตสมภารวัดยางทอง เคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อเป็นสมภารได้ย้ายมาอยู่กุฏิหลังนี้ซึ่งอยู่ชิดกับประตูด้านข้างของวัด เพื่อให้คนได้เห็นหน้า นั่นคือ ผู้ที่เดินผ่านวัดทุกวันจะขอความร่วมมือได้ เพราะถ้าเขาไม่ให้ความร่วมมือแล้วก็จะไม่กล้าเดินผ่านวัด การกำหนดที่อยู่ของพระเดชพระคุณกล่าวได้ว่าเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการแสวง หาแนวทางเพื่อพัฒนาวัดยางทอง               
ที่ อยู่ของสมภารเจ้าวัดมีแนวคิดโบราณที่บอกเล่าต่อๆ กันมา บางคนบอกว่า กุฏิสมภารวัดต้องอยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้หรือตะวันตกเฉียงเหนือของวัดเท่า นั้น แต่ท่านก็อธิบายไม่ได้ว่าทำไมจึงต้องอยู่ทิศนั้น ผู้อ่านลองสังเกตดูก็ได้ว่ากุฏีของสมภารเจ้าวัดโดยมากมักจะอยู่ในสองทิศนี้               
บาง ท่านบอกข้อห้ามว่า ห้ามอยู่ด้านหน้าและด้านหลังโรงอุโปสถเพราะเงาของกุฏิจะแผ่ทับโรงอุโปสถซึ่ง เป็นที่ประดิษฐานของพระประธานในโบสถ์ซึ่งเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และจะเป็นอัปมงคลหรือไม่เป็นศิริมงคลต่อเจ้าอาวาส บางท่านบอกว่า ด้านซ้ายและด้านขวาเสมอกับโรงอุโบสถก็ไม่ควรอยู่ เพราะเป็น การอาจเอื้อม นั่นคือ เป็นการวางตัวเสมอกับพระประธานในโบสถ์ จึงเป็นอัปมงคลเช่นเดียวกัน ผู้อ่านลองสังเกตดูก็ได้ว่ากุฏีเจ้าอาวาสวัดใดบ้างที่อยู่ด้านหน้าด้านหลัง โรงอุโปสถ หรืออยู่ด้านซ้ายด้านขวาเสมอกับพระประธานในโบสถ์               
อัน ที่จริง มีแนวคิดโบราณซึ่งคล้ายๆ กับห่วงจุ้ยของภูมิปัญญาจีน ตั้งต้นแต่โรงอุโปสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระประธานอันเป็นหลักสำคัญหรือ แก่นกลางของวัด และโดยมากโรงอุโปสถมักจะหันหน้าไปทางตะวันออกหรือตะวันตกทิศใดทิศหนึ่ง อย่างนี้เป็นการตามรอยตะวันหรือภาษาใต้เรียกสั้นๆ ว่า รอยหวัน แต่ก็มีโรงอุโปสถอีกจำนวนหนึ่งซึ่งหันหน้าไปทางเหนือหรือใต้ทิศใดทิศหนึ่ง ซึ่งอย่างหลังนี้เป็นการขวางรอยตะวันหรือภาษาใต้เรียกสั้นๆ ว่า ขวางหวัน  อุ โปสถขวางหวันเช่นนี้ บางท่านก็บอกว่าเป็นอัปมงคล แต่บางท่านก็แย้งว่า พระพุทธเจ้ามีบารมีสูงสุดและความเหมาะสมที่สุดนั้นจัดว่าเป็นความถูกต้องและ เป็นธรรม จึงสร้างอุโปสถขวางหวันได้ ไม่ผิดอะไร... ประเด็นนี้โดยมากคนจะรู้ และไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องที่อยู่สมภารเจ้าวัด จึงขอผ่านไป               
เมื่อ กำหนดโรงอุโปสถของวัดแล้ว ก็แบ่งออกเป็นทิศทั้งแปด ขยายออกจากโรงอุโปสถเริ่มต้นจากด้านหน้าของโรงอุโปสถซึ่งเป็นด้านหน้าของพระ ประธานในโบสถ์เป็นเกณฑ์ แล้วก็เวียนขวา (ทักษิณาวรรต) เป็นต้นไป ก็จะได้ ชื่อ ทิศทั้งแปด ดังนี้               
๑/ ด้านหน้า เรียกว่า มรณะ สมภารอยู่ด้านหน้าไม่นานก็มรณภาพ               
๒/ มุมด้านหน้าเฉียงขวามือ เรียกว่า ศาลา จะเย็นใจสุขสบายดีมีคนไปมาไม่ขาดสาย               
๓/ ด้านขวามือ เรียกว่า ป่าช้า, สุสาน (ปักษ์ใต้เรียก เปลว) เป็นที่เปลี่ยวห่างไกลผู้คนมักจะมีคนร้ายเข้ามาพึ่งพิงหรือก่อกวน               
๔/ มุมด้านหลังเฉียงขวามือ เรียกว่า ลาภะ, ทรัพย์ จะร่ำรวยมีสมบัติมาก แต่มีปัญหาตามมาไม่สิ้นสุด               
๕/ ด้านหลัง เรียกว่า กลหะ จะมีเรื่องราวต้องทะเลาะวิวาท และมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่เสมอ               
๖/ มุมด้านหลังเฉียงซ้ายมือ เรียกว่า มัชฌิมะ, สันโดษ จะปานกลางไม่ดีไม่เลว หรือพอเสมอตัวตามมีตามได้               
๗/ ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ปราชิก จะเสียศีลขาดจากความเป็นพระ               
๘/ มุมด้านหน้าเฉียงซ้ายมือ เรียกว่า อุตตมะ จะมีคุณธรรมสูงสุด แต่ถ้าบารมีไม่ถึงก็จะมีอันเป็นไปก่อนเวลาอันควร                
เมื่อ พิจารณาทิศทั้งแปดนี้แล้ว และเทียบกับโรงอุโปสถซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตกหรือตะวันออกแบบตามรอยตะวัน จะเห็นได้ว่า กุฏิสมภารเจ้าวัดมักจะอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หรือตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งตรงกับด้านศาลาหรือด้านมัชฌิมะ(สันโดษ) ท่านว่ากุฎิสมภารเจ้าวัดอยู่สองด้านนี้ก็จะสามารถอยู่ได้นานไม่มีพิษมีภัย ส่วนด้านอื่นๆ นั้นไม่ค่อยมีใครกล้าอยู่ เพราะด้านหน้าก็กลัวตาย ด้านขวากลัวโจร ด้านลาภหรือทรัพย์ก็กลัวจะยุ่ง ด้านหลังก็เกรงจะมีเรื่องมีราว ด้านซ้ายกลัวเสียศีล และด้านอุตตมะก็ค่อยมีใครกล้าอยู่เกรงบารมีไม่ถึงจะมีอันเป็นไปก่อนเวลาอัน ควร ดังนี้เป็นต้น               
ผู้ เขียนสงสัยว่าโบราณใช้แนวคิดอย่างไรจึงวางสูตรนี้ขึ้นมา ก็พิจารณาไปตามความเห็นส่วนตัว จึงนำมาเล่าไว้ที่นี้ด้วย กล่าวคือ คนเราเมื่อตายก็ต้องนำไปไว้ศาลามีคนมาร่วมงาน เมื่อเสร็จงานก็นำไปสู่ป่าช้าเพื่อฌาปนกินหรือเผา กลับมาจากป่าช้าสิ่งที่เหลืออยู่ก็เป็นมรดกของผู้ตายซึ่งผู้ที่ยังอยู่ควรจะ ได้เรียกว่าลาภะ เมื่อมีทรัพย์เกิดขึ้นก็ย่อมทะเลาะวิวาทแก่งแย่งกันเป็นธรรมดาเรียกว่ากลหะ แก่งแย่งไปได้สักพักก็ต้องออมชอมแบ่งปั่นกันเท่าๆหรือต้องยินยอมตามมีตามได้ เรียกว่ามัชฌิมะหรือสันโดษ เมื่อได้ทรัพย์สมบัติมาเป็นของตนแล้วก็ประมาทมัวเมาทำให้เสียผู้เสียคนได้ เรียกว่าปราชิก ถ้าไม่หลงมัวมัวรู้จักเป็นอยู่ตามธรรมก็จัดว่าเป็นผู้เยี่ยมยอดเรียกว่า อุตตมะ แต่ถึงอย่างไรก็ต้องตายเช่นเดียวกันเรียกว่ามรณะ นั่นคือ แนวคิดที่ผู้เขียนจินตนาการขึ้นมามิได้คัดลอกหรือฟังมาจากใคร และไม่ยืนยันว่าจะถูกต้องตามแนวคิดเดิมหรือไม่               
อัน ที่จริง คำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นกรรมวาที คือสอนให้เชื่อการกระทำว่าเป็นสาเหตุในเรื่องต่างๆ เช่น ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ เป็นต้น มิได้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลหรืออำนาจอื่นๆ เช่น เทพเจ้าหรือสถานที่ เป็นต้น เฉพาะเรื่องสถานที่ตามคำสอนของพระพุทธศาสนาบอกว่าเป็นสาเหตุให้เราประสบความ เจริญหรือความเสื่อมเพราะมีผู้แนะนำหรือชักจูงเราไปทางใดทางหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้บอกว่าสถานที่บางแห่งมีอำนาจลึกลับที่จะทำให้คนเราเป็นอย่างโน้นอย่าง นี้ได้ ผู้เขียนเห็นว่า สถานที่อยู่ของสมภารเจ้าวัดก็เช่นเดียวกันมิได้มีอำนาจลึกลับอะไรมามี อิทธิพลสูงกว่าการกระทำของสมภารเจ้าวัด แต่คำพังเพยไทยมีอยู่ว่า ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
สมภาร เจ้าวัดทั่วไป แม้จะไม่ค่อยเชื่อเรื่องเหล่านี้ แต่ก็มักจะไม่ลบหลู่ เหตุผลก็อาจเป็นเพราะว่า มิใช่เรื่องสาหัสสากรรจ์เมื่อต้องทำตามความเชื่อเช่นนี้ และถ้าดันฝืนทุรังก็เบื่อที่จะต้องคอยตอบคำถามต่อผู้รู้หรือผู้อวดรู้ที่ มาทักท้วง ดังนั้น ที่อยู่ของสมภารเจ้าวัดโดยทั่วๆ ไป จึงมักจะเป็นไปตามทิศหรือด้านดังที่ผู้เขียนได้เล่ามาเป็นลำดับ  โดยประการฉะนี้แล 


http://www.gotoknow.org/posts/67085