วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Vassa, The Rains Retreat

Vassa, The Rains Retreat

The Buddhist Channel, July 28, 2010

This year's vassa commences from July 27 to October 23, 2010.
Bangkok, Thailand -- Phra Acharn Tusit has been a member of the Thai Sangha for eight years. In the vicinity of his township Sattahip, in Eastern Thailand, it is common to sight him among his brother monks walking in single files, doing his alms rounds.


<< During vassa, monks stop doing their alms round for lay people to offer "TAK BAT", or giving alms to monks. Photo by Bertrand Linet

The local knows him as the monk with eight vassas, that is, the number of times he has spent the rain retreats. Not too old and not too young in the spiritual life, nevertheless he is dwelling well on the Master’s Dharma path.

Around the month of July, as the southwest monsoon calls to port in South East Asia, Phra Acharn Tusit like the rest of the Sangha members, stop their alms round and settle in their temple compound.

Vassa is here.
Vassa (from Pali - vasso, Burmese - waso, Thai - pansa or phansaa), also called Rains Retreat, is the traditional retreat during the rainy season lasting for three lunar months from July to October. During this time Buddhist monks remain in a single place, generally in their temples. In some monasteries, monks dedicate the vassa to intensive meditation.
During vassa, many lay people reinvigorate their spiritual training and adopt more ascetic practices, such as giving up meat, alcohol, or smoking. Vassa is sometimes known as "Buddhist Lent", though at least one prominent Theravada monk has objected to this usage.
In countries such as Thailand, the laity will often take monastic vows for period of vassa and return to lay life afterwards. Commonly, the number of years a monk has spent in monastic life is expressed by counting the number of vassas he has observed.
The vassa retreat has largely been given up by Mahayana Buddhists, as Mahayana Buddhism has typically flourished in regions without a rainy season. However for Mahayana schools such as Zen and Tibetan Buddhism other forms of retreat are common.
The observation of vassa is said to originate with the Buddha himself. Gautama Buddha ordered his disciples to observe a pre-existing practice whereby holy men avoided travel for a three month period during the rainy season, in order to avoid damaging crops.
Vassa begins on the first day of the waning moon of the eighth lunar month, the preceding day is Asalha Puja. The focus of celebration by the laity is the first day of vassa during which worshippers donate candles and other necessities to temples, in a ceremony which has reached its most extravagant form in the Ubon Ratchathani Candle Festival. Vassa is followed by two of the major festivals of the year among Theravada Buddhists, Wan Awk Pansa and Kathina.
The end of vassa is marked by joyous celebration. The following month, the kathina ceremony is held, during which the laity gathers to make formal offerings of robe cloth and other requisites to the Sangha.


http://www.buddhistchannel.tv/index.php?id=6,9375,0,0,1,0

Kathina : Sri Lanka

Kathina

The Kathina festival, which originated 2,500 years ago, celebrates the largest alms-giving ceremony of the Buddhist year.
It occurs at the end of the Vassa, or monsoon, period, in October and November. During the Vassa period, normally nomadic Buddhist monks will have remained in one place for three months, and the Kathina celebration marks the time for them to move on. The festival also celebrates the offerings of cloth that are given to the monks upon their leaving by the lay people.
The offering can take place up to one month following the end of the Vassa period, from 19th October to 16 November, and is celebrated by buddhists of the Theravada tradition.

History

According to the scriptures, a group of thirty monks were journeying together with the intention of spending the Vassa period with the Lord Buddha, but the Vassa began before they reached their destination and so they had to stop.
Buddhist monk in Sri Lanka wearing orange robe Buddhist monk in Sri Lanka ©
The monks were upset that they were unable to be with Buddha, who later heard of their plight. As a reward Buddha gave some cloth, which he had acquired as a gift from one of the lay community, to the monks and told them to sew a robe and then bestow it upon one of their company. The Buddha said that there was nothing as uplifting as generosity and sharing, and so the monks set about sewing a new set of robes. They used a frame, called a Kathina, on which to spread the cloth as they were making it.

The Festival

Lay supporters now continue this tradition at the end of the Vassa. The cloth giving is a gift of the followers of Buddhism, and therefore no monk is allowed to request or organise the festival.
The cloth, according to Buddha, must be offered to the whole Sangha community, who will then decide among themselves who receives the gift.
Buddhist families take joy in offering cloth to their teachers. About three metres of cloth is all that is needed, but very often other items are offered as well. On the day of the festival, people begin to arrive at the monastery and begin by sharing a meal. At about 1 o clock, they will formally offer the cloth and other gifts.
Two monks will be presented with the cloth on behalf of the whole Sangha community. These monks will then formally announce the member of the community who will receive the cloth once it has been made up.
The monks will spend much of the night preparing and cutting the cloth, and finally sewing it together to form a robe.
The formal Sangha act (Sangha Kamma) of presenting the cloth to the chosen monk may take place much later in the evening, when it is ceremonially presented to the nominated monk.


http://www.bbc.co.uk/religion/religions/buddhism/holydays/kathina.shtml

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กฐิน : เทศกาลงานบุญของคนไทย





ในเดือนพฤศจิกายนนี้มีเทศกาลงานบุญที่สำคัญของคนไทย คือ เทศกาลกฐิน ที่ได้มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
คำว่า กฐิน นั้นจะมีความหมายเกี่ยวข้องกัน ๔ ประการด้วยกัน คือ . เป็นชื่อของกรอบไม้ อันเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวร หรืออาจเรียกว่า สะดึงก็ได้ . เป็นชื่อของผ้า ที่ถวายแด่พระสงฆ์เพื่อทำจีวร ตามแบบหรือกรอบไม้นั้น . เป็นชื่อของบุญกิริยา คือ การทำบุญ ในการถวายผ้ากฐินเพื่อให้สงฆ์ทำเป็นจีวร . เป็นชื่อของสังฆกรรม คือ กิจกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
สำหรับความเป็นมาของเทศกาลกฐิน มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก กฐินขันธกะว่าครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐาประมาณ ๓๐ รูป ถือธุดงค์ ควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถีแคว้นโกศล จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้น พอถึงเมืองสาเกต ซึ่งห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ ๖ โยชน์ ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ ต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกต ตามพระวินัยบัญญัติขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้นพอออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทาง แต่ระยะนั้นยังมีฝนตกมาก หนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำเป็นโคลนตม ต้องบุกลุยมา จนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถีได้เข้าเฝ้าสมความประสงค์ พระพุทธเจ้า จึงมีปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้น ถึงเรื่องจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกตและการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลถึงความตั้งใจ ความร้อนรนและกระวนกระวายและการเดินทางที่ลำบากให้ทรงทราบทุกประการ พระพุทธเจ้าทรงทราบและเห็นความลำบากของภิกษุ จึงทรงยกเป็นเหตุ และมีพระพุทธานุญาต ให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้วกรานกฐินได้ (การลาดหรือทาบผ้าลงไปกับกรอบไม้แม่แบบเพื่อตัดเย็บย้อม ทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง) และเมื่อกรานกฐินแล้วจะได้รับอานิสงฆ์บางข้อตามพระวินัยต่อไป
ประเภทของกฐิน จะมี ๒ สองประเภทใหญ่ คือ กฐินหลวง และกฐินราษฎร์ ซึ่งกฐินหลวง มีประวัติว่าเมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในประเทศไทย เมื่อประชาชนไทยได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว การทอดกฐินเลยได้กลายมาเป็นประเพณีของบ้านเมืองมาโดยตลอด ต่อมากฐินหลวงได้เปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ของบ้านเมือง
กฐินหลวงจึงแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังในปัจจุบัน คือ
- กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี คือ พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเป็นประจำ ณ วัดสำคัญๆ ที่ทางราชการกำหนดขึ้นและมีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไว้อย่างเรียบร้อยเป็นประจำปี ไม่มีการจองล่วงหน้า
- กฐินต้น เกิดขึ้นเนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวง และมิได้เสด็จอย่างเป็นทางการ แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์
- กฐินพระราชทาน เหตุที่มีกฐินพระราชทานเนื่องจากปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนคณะบุคคลรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายได้ และผู้ที่ได้รับพระราชทานจะเพิ่มไทยธรรมเป็นส่วนตนโดยเสด็จพระราชกุศลด้วยตามกำลังศรัทธาก็ได้
ส่วนกฐินราษฎร์ จะเป็นกฐินที่ประชาชนผู้มีศรัทธานำผ้ากฐินของตนไปทอด ณ วัดต่างๆ ซึ่งมีดังนี้
- กฐินหรือมหากฐิน คือ ผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิน ณ วัดใดก็นำผ้ากฐินจัดเป็นองค์กฐินอาจถวายของอื่นๆ ไปพร้อมกับองค์กฐินด้วยก็ได้ เรียกว่า บริวารกฐิน (เครื่องอาศัยของพระภิกษุสามเณร) ประกอบด้วย ไตรจีวร และของที่จำเป็นอื่นๆ ที่สมควรแก่พระภิกษุสามเณรจะบริโภค
- จุลกฐิน เดิมเรียกกฐินแล่น เป็นกฐินที่ทำด้วยความเร่งรีบ เจ้าภาพที่ทอดกฐินนี้จะต้องมีพวกมาก เพราะต้องเริ่มตั้งแต่การทำผ้าที่จะนำไปทอด คือ ตั้งแต่นำฝ้ายที่แก่ใช้ได้แล้วมีปริมาณที่มากพอแก่การจะทำเป็นผ้าจีวร แล้วทำพิธีสมมติว่าฝ้ายจำนวนนั้นได้มีการหว่าน แตกงอกออกต้น เติบโต ผลิดอก ออกฝัก แก่ สุก แล้วเก็บมาอิ้วเอาเมล็ดออกดีดเป็นผง ทำเป็นเส้นด้าย เปียออกเป็นใจ กรอออกเป็นเข็ด แล้วฆ่าด้วยน้ำขาว ตากแห้ง ใส่กงปั่นเส้นหลอด ใส่กระสวยเครือ แล้วทอเป็นแผ่นผ้าตามขนาดที่ต้องการ นำไปทอดเป็นผ้ากฐิน เมื่อพระสงฆ์รับผ้านั้นแล้ว มอบแก่พระภิกษุผู้เป็นองค์ครอง ซึ่งพระองค์ครองจะจัดการต่อไปตามพระวินัย หลังจากนั้นผู้ทอดต้องช่วยทำต่อ คือ นำผ้านั้นมาขยำทุบซักแล้วตากให้แห้ง นำมาตัดเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งแล้วเย็บย้อม ตากแห้ง พับ รีดเสร็จเรียบร้อย แล้วนำไปถวายองค์ครองอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ท่านทำพินทุอธิษฐาน แล้วพระภิกษุสงฆ์จะอนุโมทนาเป็นเสร็จพิธี จุลกฐินเป็นการทอดกฐินที่ต้องอาศัยคนหมู่มากจึงจะสำเร็จและมีระยะเวลาจำกัด จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไร มีเพียงบางแห่งเท่านั้นที่ต้องการอนุรักษ์ประเพณีอันงดงามไว้เท่านั้น
- กฐินสามัคคี เป็นกฐินที่มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นดำเนินการ มีหนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่น เมื่อได้ปัจจัยมาก็จัดผ้าอันเป็นองค์กฐิน รวมทั้งบริวาร ปัจจัยที่เหลือก็ถวายวัดเพื่อทางวัดจะนำไปใช้จ่ายในทางที่ควร ส่วนใหญ่แล้วกฐินสามัคคีนี้จะนำไปทอดยังวัดที่กำลังมีการก่อสร้างหรือกำลังบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อเป็นการสมทบทุนให้วัด
- กฐินตกค้าง เหตุที่เกิดกฐินนี้ เนื่องจากอาจมีวัดตกค้างไม่มีใครทอด จึงมักมีผู้ศรัทธาไปสืบเสาะหาวัดเพื่อทอดกฐิน กฐินประเภทนี้จะไม่มีการจองวัดไว้ล่วงหน้าและอาจทอดหลายวัดก็ได้ ตลอดจนสามารถนำของไทยธรรมที่เหลือทำเป็นการบุญอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าผ้าป่าแถมกฐิน
จะเห็นได้ว่าประเพณีการทอดกฐินเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาที่ดีงาม เนื่องจากก่อให้เกิดสามัคคีธรรม คือ พุทธศาสนิกชนจะมีการร่วมแรงร่วมใจกันสร้างบุญสร้างกุศลและยังได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามรักษาศาสนวัตถุและศาสนสถานด้วย และเพื่อเป็นการสืบสานและรักษาคุณค่าของประเพณีการทอดกฐิน สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทอดกฐินให้ถูกต้องตามความมุ่งหมายของกฐิน ด้วยการบำเพ็ญกุศลถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาครบสามเดือนตามพุทธานุญาต งดเว้นการเลี้ยงสุราในระหว่างที่มีงานทอดกฐิน การรวบรวมทุนจากผู้บริจาคก็ควรให้เป็นไปตามความศรัทธา และที่สำคัญการจัดงานทอดกฐินควรยึดถือหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสำคัญ การปฏิบัติให้ถูกต้องตามประเพณีนี้จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่อนุชนรุ่นหลังได้ยึดถือปฏิบัติต่อไป
ศูนย์ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ข้อมูลจากหนังสือวันสำคัญโครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรม
และหนังสือวัฒนธรรมกับการเสริมสร้างสังคมไทยของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ