วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การสัมภาษณ์ตามแนวชาติพันธุ์วรรณนา



การสัมภาษณ์ตามแนวทางชาติพันธุ์วรรณนา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญประการหนึ่ง คือ “การเรียนรู้” ทั้ง
ผู้วิจัย และผู้ถูกวิจัย โดยอาจมีผลลัพธ์หลังการสัมภาษณ์ จะเห็นพัฒนาการของผู้ด้อยโอกาสกลับกลายเป็นผู้ได้
โอกาสทั้งนี้เพราะผู้วิจัยสัมภาษณ์ด้วยความตระหนักรู้ และมุ่งข้อมูลเชิงพรรณนาข้อมูลที่ต้องการจากผู้ให้
สัมภาษณ์ คือ ข้อมูลที่อยู่ในรูปของการพรรณนา ไม่ใช่ข้อมูลที่ผู้ตอบตีความไว้เรียบร้อยแล้ว ด้วยการตีความเป็น
หน้าที่โดยตรงของนักวิจัย บทบาทของผู้ถูกวิจัย หรือผู้ให้สัมภาษณ์เป็นแต่เพียงผู้เล่าเรื่องราว เล่าด้วยอารมณ์ราบ
เรียบเต็มใจที่จะเล่าจากประสบการณ์ ความรู้สึก หรือการกระทำ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ประทับใจในอดีต ซึ่งผู้วิจัย
หรือผู้สัมภาษณ์จะต้องจัดบรรยากาศให้เอื้อ และกระตุ้นให้เกิดการเล่าเรื่อง อย่างต่อเนื่อง หรือพรรณนากริยา
อากรต่าง ๆ โดยอาจแสดงสาธิตให้ดูเพื่อให้ได้สาระออกมา อย่างชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งนี้อาจอภิปรายเหตุ
และผลของสาระบางประเด็นร่วมกัน (อัจฉรา ภาณุรัตน์ และคณะ  2555 : 71)

ที่มา :
รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ภาณุรัตน์ และคณะ (2555)
พระ-หมอ-ครู : กลไกทางวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์