คูณ
โทขันธ์ (2545 : 200). กล่าวถึงกฐิน
ปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม 5 ตอนว่าด้วยกฐินขันธกะว่า
พระภิกษุชาวปาฐาจำนวน 30 รูป เดินทางจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ
เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถีบังเอิญไปไม่ทันเข้าพรรษาจึงจำใจจำพรรษาที่เมืองสาเกตุ
โดยมีใจระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง
ออกพรรษาแล้วจึงรีบพากันออกเดินทางกรำฝนทนแดดเฝ้า
ทั้งที่จีวรเปียกชุ่มน้ำฝนและเปื้อนโคลนตมมอมแมม
พระพุทธเจ้าทรงปรารภเหตุการณ์เช่นนั้น
จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้อยู่จำพรรษารับผ้ากฐินได้เมื่อออกพรรษาแล้วจะต้องรอรับกฐินที่วัดจำพรรษานั้นเป็นเวลา
1 เดือน เพื่อให้สิ้นฤดูฝน
เมื่อนางวิสาขามหาอุบาสิกาได้ทราบพุทธประสงค์เช่นนี้
ก็ได้จัดผ้ากฐินไปถวายพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานนางวิสาขาจึงนับว่าเป็นคนแรกที่ถวายผ้ากฐิน
ด้วยเหตุนี้การทำบุญทอดกฐินจึงถือเป็นประเพณีที่จะต้องกระทำสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้
คูณ โทขันธ์. (2545). พระพุทธศาสนากับสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง.เฮ้าส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น