สมปราชญ์
อัมมะพันธุ์ (2536 : 16-18) ได้แบ่งประเพณีไทย เป็น 3 ประเภท
คือ
1.
จารีตประเพณี หรือกฏศีลธรรม หมายถึงสิ่งที่สังคมยึดถือ
และปฏิบัติสืบทอดกันมาโดยมีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย
2.
ขนบประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วมีการปฏิบัติสืบต่อกันมาทั้งทางตรง
และทางอ้อม กล่าวคือทางตรง ได้แก่ ประเพณีที่มีการกำหนดระเบียบแบบแผน และทางอ้อม
ได้แก่ ประเพณีที่รู้กันทั่วไป
3.
ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีที่เกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ
เป็นเรื่องที่นิยมทำและถือปฏิบัติสืบต่อกันในแต่ละสังคม เช่น การแต่งกาย
การเข้าสังคม และการพูด
สมปราชญ์ อัมมะพันธุ์. (2536). ประเพณีและพิธีกรรมในวรรณคดีไทย.
กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น