Meechai Sompornpailin : ดุษฎีบัณฑิต ม.ราชภัฏสุรินทร์
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
สังคมไทยกับการทอดกฐิน
สังคมไทยมีวัฒนธรรมและประเพณีมากมาย จนบางครั้งมิอาจจะอรรถาธิบายได้ว่ามีคุณค่าหรือมีความหมายต่อวิถีชีวิตอย่างไร เพราะได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจากยุคสู่ยุค ด้วยเหตุนี้จึงมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นจำนวนมากในสังคมไทยที่บรรพบุรุษได้ปฏิบัติมาอย่างมีนัยสำคัญ แต่ครั้นถึงรุ่นลูกรุ่นหลานได้กลายพันธุ์ไปเสียแทบหมดสิ้น และเมื่อสังคมและวัฒนธรรมไทยมีความเชื่อมโยงกับสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย การยึดถือหรือปฏิบัติในลักษณะที่มิอาจจะอรรถาธิบายถึงเหตุผลในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ จึงนำไปสู่สภาพปัญหาต่างๆ นานา บางวัฒนธรรมประเพณีดูเหมือนจะก่อให้เกิดปัญหาสังคมด้วยซ้ำไป ดังกรณีประเพณีการทอดกฐินและการลอยกระทง เป็นต้น
วัฒนธรรมประเพณีการทอดกฐิน : การทอดกฐินในสังคมไทยได้เริ่มต้นมาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ภายหลังการออกพรรษา บางวัดพอประกอบพิธีตักบาตรเทโวเสร็จก็มีการทอดกฐินต่อเนื่องตามมา การทอดกฐินจึงเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวพุทธไทย เพราะมีความเชื่อว่าการทอดกฐินเป็นกาลทาน คือการทำบุญที่มีกรอบเวลาจำกัดคือเพียง 1 เดือนเท่านั้น จึงมีผลต่อวิถีชีวิตและมีอานิสงส์แก่ผู้ถวายมากมายมหาศาล เมื่อถึงฤดูกาลหรือเทศกาลทอดกฐิน ไม่ต้องขออนุญาตจากทางการก็สามารถบอกบุญเรี่ยไรหรือแจกซองได้ ฎีกาบอกบุญจึงปลิวว่อนไปทั่วทุกกระทรวง ทบวง กรม
ความหมายของกฐิน : การทอดกฐินนั้นมีกรอบเวลาสั้นๆ เพียง 1 เดือน คือตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น พ้นกำหนดนี้แล้วไม่สามารถทอดกฐินได้ และคำว่า กฐิน ตามรูปศัพท์แปลว่าไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงผ้าเพื่อตัดเย็บจีวร ได้แก่ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าเย็บจีวรของภิกษุในสมัยพุทธกาล และที่เรียกว่า "ผ้ากฐิน" ก็เพราะเวลาจะเย็บนั้นต้องขึงผ้าให้ตึงด้วยไม้สะดึงก่อนแล้วจึงเย็บ
พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนในฤดูฝน สามารถประกอบกฐินกรรมได้ คือมีระยะเวลาเพียง 1 เดือนท้ายฤดูฝนซึ่งเรียกว่า เขตกฐิน และเมื่อภิกษุสงฆ์สามารถแสวงหาผ้ามาประกอบพิธีเย็บและย้อมให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเรียกว่า เขตจีวรกาล ก็จะได้รับสิทธิพิเศษขยายระยะเวลาไปอีก 4 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
พิธีกรานกฐิน : ญาติโยมที่มีจิตศรัทธานำผ้ากฐินไปถวายภิกษุสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนในวัดใดวัดหนึ่งเรียกว่า ทอดกฐิน ส่วนพิธีกรานกฐินนั้น เป็นเรื่องสังฆกรรมของสงฆ์ เมื่อได้รับผ้ากฐินจากญาติโยมที่ทอดถวายแล้ว นำผ้ากฐินไปประกอบพิธีตามพระวินัยเรียบร้อยแล้วก็จะได้รับอานิสงส์ขยายเขตจีวรกาล คือเวลาในการแสวงหาผ้าจีวรเพิ่มอีก 4 เดือน พร้อมกับได้รับอานิสงส์ในทางพระวินัย 5 ประการ
สาระสำคัญของการทอดกฐิน : สังคมไทยได้ทำบุญทอดกฐินตลอดระยะเวลา 1 เดือน คือตั้งแต่วันออกพรรษาถึงวันลอยกระทง เรียกว่าอิ่มบุญกันโดยทั่วหน้า ส่วนคนที่เบื่อบุญนั้นต้องปลงและทำใจที่เกิดมาเป็นคนไทยและนับถือศาสนาพุทธ
อย่างไรก็ดี สาระสำคัญของการทอดกฐินนั้นอยู่ที่ผ้าจีวร เพราะกฐินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผ้าจีวร 3 ผืนเท่านั้น คือ 1) ผ้าจีวรที่ใช้พาดบ่า 2) ผ้าจีวรที่ใช้ห่ม และ 3) ผ้าจีวรที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรมี 3 ผืนจึงเรียกว่า ไตรจีวร แต่ชาวพุทธไทยมักเข้าใจผิดคิดว่า จีวร คือผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุมของพระภิกษุเท่านั้น แต่ในทางพระวินัยนั้นไม่ว่าจะเป็นผ้าพาดบ่า (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (อุตราสงค์) หรือผ้านุ่ง (อันตรวาสก) รวมเรียกว่าจีวรทั้งสิ้น เมื่อกฐินเป็นเรื่องเกี่ยวกับผ้าจีวร การทอดกฐินจึงเป็นเรื่องไม่ใหญ่โตแต่ประการใด เพียงนำผ้าผืนใดผืนหนึ่งไปทอดถวายก็สำเร็จเป็นกฐินแล้ว เพราะเวลาพระท่านกรานกฐินนั้น ท่านจะอธิษฐานผ้าผืนใดผืนหนึ่งเท่านั้น แต่ด้วยเหตุที่การทอดกฐินในสังคมไทยได้กลายพันธุ์จนแทบจะไม่เหลือคุณค่าทางวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม การทอดกฐินจึงเป็นเรื่องใหญ่โต พระบางวัดหรือสมภารบางรูปถึงกับลงทุนไปเจริญศรัทธาญาติโยมให้นำกฐินไปทอดถวายด้วยซ้ำไป
กฐินเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ต้องปฏิรูป : การที่เจ้าภาพมีจิตศรัทธานำผ้ากฐินไปทอดถวาย วัดวาอารามต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรนั้น จัดเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ต่อคณะสงฆ์ไทยและพระพุทธศาสนา เพราะได้ชื่อว่า เป็นการจรรโลงและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามล้ำค่าของชาวพุทธ แต่การทอดกฐินด้วยวิธีการเรี่ยไรหรือแจกซองบอกบุญอย่างพร่ำเพรื่อนั้น นอกจากจะผลักคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธให้เกิดความเบื่อหน่ายและเอือมระอาแล้ว ยังชื่อว่าเป็นการทำลายวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์อีกด้วย ชาวพุทธจำนวนมิใช่น้อยในสังคมไทยต้องกู้หนี้ยืมสินผู้อื่นมาทำบุญทอดกฐินแบบจำยอมในฤดูกาลหรือเทศกาลทอดกฐินข้าราชการบางคนมีซองกองอยู่บนโต๊ะทำงานจำนวนมาก เกรงใจไม่รู้จะนำไปแจกใครจึงต้องหาเงินมาใส่ซองเอง บางรายเจอซองตั้งแต่ก่อนวันออกพรรษาเป็นอาทิตย์
การทำบุญนั้นเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมและอนุโมทนา แต่ถ้าทำบุญแล้วจิตใจไม่มีความสุขหรือชื่นบานก็ไม่เรียกว่าทำบุญ คณะสงฆ์และผู้บริหารบ้านเมืองต้องช่วยกันบริหารจัดการเรื่องการทำบุญในเทศกาลทอดกฐินหรือเทศกาลลอยกระทงอย่างจริงจังและเข้มงวดเพื่อตีกรอบการทำบุญให้ถูกต้องและเหมาะสม เรียกว่าถึงเวลาต้องปฏิรูประบบความเชื่อ หรือความศรัทธา ให้สอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเสียที หากปล่อยปละละเลยอยู่เช่นปัจจุบันนี้ก็จะเข้าทำนองที่ว่า "พระพุทธศาสนาดีแต่คนที่นับถือศาสนามีปัญหาสารพัด" เมื่อเป็นเช่นนี้ความศักดิ์สิทธิ์ก็จะจางคลายและหมดไป
การทำบุญตามหลักการทางพระพุทธศาสนานั้นต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ 1) ทำบุญด้วยการให้ (ทานมัย) เช่นการทอดกฐิน 2) ทำบุญด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) เช่น การประพฤติดีปฏิบัติชอบ และ 3) ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา (ภาวนามัย) เช่น การควบคุมอารมณ์ ควบคุมความต้องการให้เกิดความพอดี การทำความดีต้องมีความพอดี หากเกินดีหรือไม่ถึงดีก็ไม่อาจจะมีดีได้ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ควรตัดสินศาสนาพุทธด้วยชาวพุทธ และไม่ควรตัดสินชาวพุทธด้วยศาสนาพุทธ
รศ.ดร.กิตติทัศน์ ผกาทอง
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มจร.
ที่มา : มติชนรายวัน 18 พ.ย.2558
วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
หนังสื่อ ภูมิปัญญาแห่งศตวรรษ
หนังสือ “ภูมิปัญญาแห่งศตวรรษ”
รศ.วิทยากร
เชียงกูล
หนังสือโดยฟริตจอฟคาปรา
นักฟิสิกส์และนักปรัชญาสังคมชาวออสเตรีย ผู้เขียนหนังสือชื่อ เต๋าแห่งฟิสิกส์
จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษที่โด่งดัง เขาเสนอให้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีมองแบบกลไกแยกส่วน
มามองเรื่องฟิสิกส์ ชีววิทยา สุขภาพอนามัย จิตวิทยา เศรษฐกิจ ระบบนิเวศ สิทธิสตรี
ฯลฯ อย่างสัมพันธธเชื่อมโยงเป็นระบบองค์รวม
ประสานวิทยาศาสตร์ตะวันตกที่เน้นเหตุผลเข้ากับปรัชญาตะวันออก เช่น เต๋า พุทธ ฯลฯ
ที่ให้ความสำคัญต่อปรีชาญาณหยั่งรู้ เพื่อหาความเข้าใจเรื่องธรรมชาติ ชีวิตสังคม
ฯลฯ อย่างลึกซึ้ง
มีชื่อรองว่า “บทสนทนากับคนที่เด่นเป็นพิเศษ”
เป็นการบันทึก เล่าเรื่อง สรุป การค้นคว้าวิจัยของคาปรา เพื่องเขียนหนังสือเรื่อง The Turning
Point (จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรรษ) ผู้อ่านจะได้เห็นวิธีทำงานวิจัยเพื่อเขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่ใช้เวลาหลายปี
ด้วยการตจิดตามอ่านและฟัง การนัดหมายสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกับนักฟิสิกส์ คาร์ล
ไฮเซ็นแบร์ก นักปรัชญา เจกฤษณะมูรติ นักจิตวิทยา อารดี แลง ผู้เยียวยาสุขภาพทางเลือก
คาร์ล ไซมอนตัน นักเศรษฐศาสตร์ทั้งทางเลือก อีเอฟ ชูมาคเคอร์ และเฮเซล เฮ็นเดอรสัน
รวมทั้ง อินทิรา คานธี นกยกรัฐมนตรีสตรีของอินเดีย
คาปรา เป็นหนุ่มในยุคบุปผาชน / ฮิปปี้
ที่คนหนุ่มสาวประท้วงสงครามเวียดนามและสังแบบทุนนิยม บริโภคนิยม
เขาสนใจปรัชญาตะวันออก วิเคราะห์เรื่องวิทยาศาสตรือย่างเชื่อมโยงกับชีวิตและสังคม
เช่นการรู้ว่าแสงมีคุณสมบัติเป็นทั้งอนุภาคและคลื่นได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ
และสัมพันธ์กับมุมมองของมนุษย์ด้วย ทำให้เขามองข้ามกับดักของการคิดแบบแยกส่วน 2 ขั้วสุดโต่งว่าต้องเป็นขาวหรือดำอย่างใดอย่างหนึ่งไปสู่การมองเรื่องความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนของสิ่งต่าง
ๆ อย่างเป็น เช่น สุขภาพทางร่างกายขึ้นอยู่กับสุขภาพความคิดจิตใจอย่างมาก
เรื่องเศรษฐกิจสัมพันธ์กับชีวิตที่ดีและระบบนิเวศ
เรื่องสิทธิสตรีที่คำนึงถึงสังคมแบบผู้ชายเป็นใหญ่ ที่มีลักษณะกดขี่เอาเปรียบ
ทำลายล้าง
อารดี แลง
นักจิตวิทยามองว่าแทนที่จะมองอย่างง่าย ๆ ว่าจิตเภทหรือโรคจิตรูปแบบอื่น ๆ
ว่าเป็นโรคภัย เราอาจมองว่ามันคือวิธีการพิเศษที่คนเราสร้างขึ้นมาเพื่อให้ตัวเองอยู่รอดในสถานการณ์ของสังคมที่มีปัญหา
การเยียวยาหรือปฏิบัติต่อคนที่แตกต่างไปจากคนอื่นจึงเป็นเรื่องที่ต้องการความาเข้าใจในเรื่องความสันพันธ์ของคนในสังคมวัฒนธรรมนั้นๆ ด้วย
เรื่องการแพทย์ตะวันตกมีวิธีการมองแบบแยกส่วนเหมือนมนุษย์เป็นนาฬิกาที่ประกอบ้วยชิ้นส่วนต่าง
ๆ ที่เมื่อชิ้นไหนเสียก็ซ่อมชิ้นนั้น ทำให้มีการพึ่งพาโรงพยาบาลและการใช้ยามากเกินไปจนสร้างปัญหา
ต้องกลับมามองวิธีการเยียวยาในเชิงป้องกันรักษาร่างกาย และจิตใจให้สมดุลแข็งแรงอย่างเชื่อมโยงเป็นระบบองค์รวมมากขึ้น ซึ่งการแพทย์จินและอินเดียดั้งเดิมก็ศึกษามาในแนวนี้
คาร์ล ไซมอนตัน
ผู้ศึกษาเรื่องโรคมะเร็งได้ทดลองรักษาผู้ป่วยมะเร็งแบบวิจัยไปด้วยและพบว่าการดูแลความคิดจิตใจของผู้ป่วยให้เข้มแข็ง
ไม่เครียด วิตกกังล ทำให้คน ๆ นั้นสร้างภูมิต้านทานเซลล์ผิดปกติได้ดีขึ้น
ลดการขยายตัวของมะเร็งและทำให้ชีวิตผู้ป่วยยืนยาวขึ้น
จากเรื่องสุขภาพ คาปรา
มองต่อไปว่าเกษตรกรแบบเคมีมีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบนิเวศสำคัญ
รวมทั้งเห็นว่าอุตสาหกรรมเภสัชและระบบคุณค่าในระบบเศาษฐกิจสมัยใหม่คือตัวปัญหาที่เราต้องกลับไปศึกษาเรื่องเศรษฐกิจและเรื่องอื่นๆ
ในเชิงระบบนิเวสและระบบสังคมมากขึ้น คาปราไม่ใช้คำว่าระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม
เพราะเขาเรรียมาและเติบโตมาในแนวเสรีนิยม
แต่ประเด็นปัญหาระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่เขาวิจารณ์ก็คือตัวระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมนั้นเอง
คาร์ล ไซมอนตัน เห็นว่าเรืองความคิดจิต
อารมณ์
เชื่อมโยงกับสุขภาพร่างกายด้วยและเกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพของสังคมด้วยพฤติกรรมต่อต้านสังคม
ความรุนแรง อาชญากรรม ยาเสพติด
คือสุขภาพของสังคมที่เราต้องคำนึงถึงเวลาเราพูดเรื่องสุขภาพ เพราะถึงอดีต
การเจ็บป่วยจะลดน้อยลง หรือคนมีสุขภาพดีขึ้น
ก็เท่ากับเราไม่ได้ทำอะไรเพื่อทำให้สุขภาพของสังคมดีขึ้นเลย
อีเอฟ ชูมาร์กเกอร์
นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Small is Beautiful (แปลเป็นไทยแล้วชื่อ จิ๋วแต่แจ๋ว)
เสนอว่าระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่เน้นการเติบโตของผลผลิตมีวิธีคิดแบบล้าสมัย
มองแบบแยกส่วน จำกัดตัวเองอยู่ในการวิเคราะห์ทางปริมาณ
ปฏิเสธที่จะมองเข้าไปในธรรมชาติแท้ของสรรพสิ่งใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีลักษณะแยกส่วนและแปลกแยก
กีดกั้นประชาชนจากการทำงานที่สร้างสรรค์ และมีประโยชน์สร้างความพอใจ
เขาได้พัฒนาแนวคิดเศรษฐศาสตร์ชาวพุทธจากประสบการณ์การไปทำงานที่ประเทศพม่า
เข้าเห็นว่าเศรษฐศาสตร์ควรยึดถือความสุขความพอใจของคนเป็นสำคัญควรใช้เทคโนโลยีขนาดเล็กที่เหมาะสมที่ประชาชนทำได้เองและเข้ากับระบบธรรมชาติ ระบนิเวศ มากกว่าเทคโนโลยีขนาดใหญ่
นั่นก้คือเขาเรียกร้องให้พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ไปสู่ลักษณะที่เป็น อินทรีย์ (Organic) ที่อ่อนโยน ไม่รุนแรง เฉียบคม และงดงาม
คาปรายังได้แนวคิดจากเรื่องสิทธิสตรีและระบบนิเวศ
เกี่ยวกับการมองและพัฒนาชีวิตสังคมที่สมดุล เสมอภาค สร้างสรรค์ ยั่งยืนด้วย เฮเซล
เฮ็นเดอร์สัน นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ผลกำไรของเอกชนถู๔กทำให้เพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ ด้วยต้นทุนของภาคสาธารณะ จากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตโดยทั่วไปพวกเขาบอกเราเรื่องถ้วยโถโอชามและเสื้อผ้าที่งามระยิบระยับ
แต่ลืมบอกเราเรื่องการสูญเสียไปของแม่น้ำ ทะเลสาบที่เยเป็นประกายแวววาว”
ที่มา
:
รศ. วิทยากร เชียงกูล กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 หน้า 9
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
As Above, So Below
โหราศาสตร์เป็นเรื่องเหลวไหลงมงาย ทัศนคติของคนส่วนใหญ่ที่ไม่เคยศึกษาโหราศาสตร์อย่างจริงจังมักเป็นเช่นนี้ คำถามสำคัญที่สุดของพวกเขาคือ ดวงดาวบนท้องฟ้าเกี่ยวข้องอะไรกับมนุษย์
ในมุมวิทยาศาสตร์ นี่คือ “สมมติฐาน” เพียงข้อเดียวของโหราศาสตร์ ถ้าสามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์นี้ได้ โหราศาสตร์ก็ไม่ใช่ศาสตร์แห่งความเหลวไหลงมงายอีกต่อไป ประเด็นไม่ใช่พิสูจน์ไม่ได้ แต่การพิสูจน์ต้องจำกัดอยู่แค่กระบวนการการทางวิทยาศาสตร์หรือไม่ หรือมีแนวทางอื่น ๆ อีก
แม้โลกปัจจุบันก้าหน้าไปมาก แต่วิทยาศาสตร์ก็ไม่ใช่คำตอบของทุกสิ่ง เราไม่สามารถบอกได้ว่า ความจริง (Reality) เป็นแค่วัตถุรูปธรรมที่ประสาทสัมผัสรับรู้ได้ หรือวัดเป็นตัวเลขได้เท่านั้น ความสุข ความเศร้า ความรัก มิตรภาพ เสรีภาพ ความเชื่อ ศรัทธา ปรัชญา ศาสนา ฯลฯ สิ่งที่เป็น “นามธรรม” ก็คือความจริงที่มนุษย์รับรู้กันอยู่ตลอดเวลา เช่นกัน แม้มันไม่อาจวัดได้ในทางวิทยาศาสตร์
กระนัน่นก็ตาม วิทยาศาสตร์ก็บอกเองว่าดวงดาวมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์เรื่องราวบนโลก ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น น้ำขึ้น น้ำลง กลางวันกลางคืน ฤดูกาล สุริยคราส จันทรคราส ฯลฯ ล้วนเป็นเครื่องนืยยันมนุษย์ในฐานะสิ่งมีชีวิตบนโลก ย่อมได้รับผลกระบทางอ้อมด้วย เช่น กลางวันกลางคืนเป้นตัวกำหนดเวลาทำงานหรือพักผ่อน ฤดูกาลเป็นตัวกำหนดการเพาะปลูกหรือเก็บเกี่ยว น้ำขึ้นน้ำลงส่งผลต่อการสัญจรทางน้ำและอาชีพของชาวประมง ฯลฯ
ไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์ คาร์ล จุง นักจิตวิเคราะห์ผู้โด่งดังและศิษย์เอกของซิกมัน ฟรอยด์ ก็เชื่อในความสัมพันธฺ์นี้ จุงไม่เพียงศึกษาจิตวิทยาสมัยใหม่ แต่ยังศึกษาศาสตร์ตะวันออกด้วย เช่น อี้จิงของจีน ภควัทคีตาของอินเดีย โหราศาสตร์สากกลและอินเดีย ฯลฯ จุงสรุปว่าดวงดาวกับมนุษยืสอดคตล้องสัมพันธ์กัน โดยใช้คำว่า Synchronicity แนวคิดของจุงกลายเป็นพลังผลักดันสำคัญให้เกิด “โหราศาสตร์จิตวิทยา” ซึงไปเติบโตรุ่งเรืองในอเมริกาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ ๒๐
นี่คือมุมที่คนปัจจุบันมองย้อนไปในอดีตแต่หลักคิดจากอดีตที่แท้จริงเป็นอย่างไร
นับแต่โบราณกาลมนุษยืมองขึ้นไปบนท้องฟ้าด้วยความเคารพ ด้วยตระหนักถึงความย่ิงใหญ่ของฟ้าและสำนึกถึงความต้อยต่ำของตน อารยธรรมเมสโสโปเตเมีัยยุคต้นเชื่อว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของเทพเจ้าหน้าที่หลักของมนุษย์คือปฏิบัติตามคำสั่งเทพเจ้าดวดาวทั้งหลายที่ปรากฏบนท้องฟ้าในยามค่ำคืน คืออาณัติสวรรค์ที่แสดงถึงคำสั่งของเหล่าทวยเทพ
ในอารยธรรมอียิปต์ ชีวิตบนโลกเป็นแค่ที่พำนักชั่วคราว เปรียบเสมือนก้าวหนึ่งสู่ความเป็นนิรันดร์ (Eternity) จิตวิญญาณมาจากดวงดาวและจะกลับสุ่ดวงดาวเช่นกัน ในจักรวาลนั้นมีจิตวิญญาณแทรกซึมไปทั่ว (The Anima Mundi) มันคือความเป็นหนึ่งเดียวที่เป็นพื้นฐานของความหลากหลายในโลกทุกสิ่งเกิดขึ้นและสัมพันธ์กันด้วยพลังงานของจักรวาลที่เรียกว่า “เฮกา” เช่นเดียวกับอิทธิพลดวงดาวที่่มีต่อมนุษย์
อารยธรรมจีนมองว่า ฟ้ายิ่งใหญ่แลถมีอิทธิพลต่อมนุษย์อย่างมากทุกคนควรปฏิบัติตนไปตามแนวทางของฟ้า ด้งในตำราพิชัยสงคราม ขงเบ้ง ภาคปรัชญาการปกครอง บทที่ 1 กล่าวว่า “รากฐานนั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นก่อน ส่วนต่าง ๆย่อมเกิดขึ้นหรือดำรงอยู่ไม่ได้ในการปกครองประเทศ กษัตริย์จึงต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของฟ้า”
ขณะที่อารยธรรมกรีกกลับมองอีกมุมหนึ่ง จักรวาลมีกฏของตัวเอง กฏนี้คือกฏของธรรมชาติ ไม่ใช่เทพเจ้าบันดาลการเข้าใจกฏธรรมชาสติ ต้องรู้ว่าอะไรคือปฐมธาตุเสียก่อน ปราชญ์จึงเริ่มต้นที่การอธบายปฐมธาตุ เช่น ธาเลสเสนอว่า ปฐมธาตุของจักรวาลและทุกชีวิตคือน้ำเฮราคลีตุสถือว่า ไฟคือปฐมธาตุ อริสโตเติลถือว่า อีเธอร์คือธาตุที่ 5 ของจักรวาลและเป็นปฐมธาตุ ฯลฯ
ผู้ที่อธิบายได้ชัดเจนที่สุด คือ คลาวดิอุสปโตเลมีโหราจารย์ผู้นี้เชื่อว่า อีเธอร์คือปฐมธาตุของจักรวาล การเคลื่อนที่ของดวงดาวทำให้อีเธอร์กระเพื่อมและส่งผลต่อธาตุหลักทั้ง 4 คือดินน้ำลมไฟ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังทุกส่วนของจักรวาล ดวงดาวมีอิทธิพลต่อมนุษย์ได้ด้วยเหตุผลนี้
แต่คำอธิบายที่ลึกซึ้งที่สุดมาจากอารยธรรมอินเดีย คัมภีร์ “พระเวท” กล่าวว่า ดวงดาวคือตัวแทนของเทพเจ้าทั้งหลายที่สามารถดลบันดาลสิ่งต่าง ๆ ให้กับมนุษย์ พระเวทไม่เพียงกล่าวถึงอำนาจของดวงดาว แต่ยังเน้นย้ำถึงวันเวลาที่ถูกต้องในการทำพิธีกรรมต่างๆ ด้วยอิทธิพลดวงดาวนั้นสูงมาก จนคัมภีร์ “อาถรรพณ์เวท ต้องประกาศว่า “กษัตริย์ผู้ปราศจากโหราจารย์เปรียบเสมือนเด็กที่ไม่มีบิดา”
ใน “อุปนิษัท (Upanishad) หรือ “เวทานตะ (Vedanga) ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของพระเวทและเป็นที่ประมวลความคิดทางปรัชญาทั้งหมด เสนอแนวคิดที่ว่า มนุษย์ไม่อาจแบ่งแยกตัวเองจากจักรวาลและเน้นย้ำปฏิสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างองค์ปรกอบระดับจุลภาค (มนุษย์) กับมหภาค (จักรวาล)
แก่นความคิดของอุปนิษัทอยู่ที่ “อาตมัน (Atman) หรือตัวตนของบุคคล กับ”พรหมัน (Brahman)” หรือตัวตนสูงสุดของจักรวาล ทั้ง 2 สิ่งนี้เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังมหาวากย์ (คำพูดยิ่งใหญ่) ที่ว่า “ตัต ตวัม อสิ” แปลตามพยัญชนะว่า “ท่านคือสิ่งนั้น” แปลตามอรรถะว่า “อาตมันคือพรหมัน”
โหราศาสตร์กำเนิดในยุคที่ไม่เจริญทางวัตถุการดำรงชีวิตของผู้คนต้องพึ่งพาธรรมชาติ การรับรู้ (Perception) ของมนุษย์ยุคนั้นจึงไม่แบ่งแยกคนออกจากธรรมชาติ ทะเล ภูเข้า ท้องฟ้า ดวงดาว สัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ ล้วนเป์นระบบนิเวศน์เดียวกันกับมนุษย์ทุกสิ่งมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต
อารยธรรมโบราณทั้งหลายแม้มีรายละเอียดที่แตกต่าง แต่แนวคิดหลักกลับใกล้เคียงกัน มันคือหลักปรัชญาที่ว่าทุกสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนเป็นสิ่งเดียวกันเชื่อมโยงสัมพันธ์และส่งผลกระทบถึงกันโหราศาสตร์กำเนิดขึ้นมาจากปรัชญานี้
พัฒนาการของโหราศาสตร์ก้าวหน้าที่สุดในยุค Hellenistic (323-31 ปีก่อน ค.ศ.) ปรัชญาของทุกอารยธรรมถูกหลอมรวมและขัดเกลา จนนำไปสู่การสรุปยอดความคิดที่ว่า “As Above, So Below” หรือ “เบื้องบนเป็นอย่างไร เบื้องล่างก็เป็นอย่างนั้น”
ดวงดาวมีอิทธิพลต่อมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ บรนรพบุรุษของเราสั่งสอนและถ่ายทอดกันมาเช่นนี้
มีเพียงคนที่ปกิเสธรากเหง้าของตัวเองและดูถูกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ จึงคิดว่าโหราศาสตร์เหลวไหลงมงาย
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ลิขิตฟ้า ชะตาโลก
ชูศักดิ์ จงธนะพิพัฒน์
๑๑ พ.ย. ๒๕๕๙ เวลา ๑๒.๕๗ น.
ในมุมวิทยาศาสตร์ นี่คือ “สมมติฐาน” เพียงข้อเดียวของโหราศาสตร์ ถ้าสามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์นี้ได้ โหราศาสตร์ก็ไม่ใช่ศาสตร์แห่งความเหลวไหลงมงายอีกต่อไป ประเด็นไม่ใช่พิสูจน์ไม่ได้ แต่การพิสูจน์ต้องจำกัดอยู่แค่กระบวนการการทางวิทยาศาสตร์หรือไม่ หรือมีแนวทางอื่น ๆ อีก
แม้โลกปัจจุบันก้าหน้าไปมาก แต่วิทยาศาสตร์ก็ไม่ใช่คำตอบของทุกสิ่ง เราไม่สามารถบอกได้ว่า ความจริง (Reality) เป็นแค่วัตถุรูปธรรมที่ประสาทสัมผัสรับรู้ได้ หรือวัดเป็นตัวเลขได้เท่านั้น ความสุข ความเศร้า ความรัก มิตรภาพ เสรีภาพ ความเชื่อ ศรัทธา ปรัชญา ศาสนา ฯลฯ สิ่งที่เป็น “นามธรรม” ก็คือความจริงที่มนุษย์รับรู้กันอยู่ตลอดเวลา เช่นกัน แม้มันไม่อาจวัดได้ในทางวิทยาศาสตร์
กระนัน่นก็ตาม วิทยาศาสตร์ก็บอกเองว่าดวงดาวมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์เรื่องราวบนโลก ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น น้ำขึ้น น้ำลง กลางวันกลางคืน ฤดูกาล สุริยคราส จันทรคราส ฯลฯ ล้วนเป็นเครื่องนืยยันมนุษย์ในฐานะสิ่งมีชีวิตบนโลก ย่อมได้รับผลกระบทางอ้อมด้วย เช่น กลางวันกลางคืนเป้นตัวกำหนดเวลาทำงานหรือพักผ่อน ฤดูกาลเป็นตัวกำหนดการเพาะปลูกหรือเก็บเกี่ยว น้ำขึ้นน้ำลงส่งผลต่อการสัญจรทางน้ำและอาชีพของชาวประมง ฯลฯ
ไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์ คาร์ล จุง นักจิตวิเคราะห์ผู้โด่งดังและศิษย์เอกของซิกมัน ฟรอยด์ ก็เชื่อในความสัมพันธฺ์นี้ จุงไม่เพียงศึกษาจิตวิทยาสมัยใหม่ แต่ยังศึกษาศาสตร์ตะวันออกด้วย เช่น อี้จิงของจีน ภควัทคีตาของอินเดีย โหราศาสตร์สากกลและอินเดีย ฯลฯ จุงสรุปว่าดวงดาวกับมนุษยืสอดคตล้องสัมพันธ์กัน โดยใช้คำว่า Synchronicity แนวคิดของจุงกลายเป็นพลังผลักดันสำคัญให้เกิด “โหราศาสตร์จิตวิทยา” ซึงไปเติบโตรุ่งเรืองในอเมริกาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ ๒๐
นี่คือมุมที่คนปัจจุบันมองย้อนไปในอดีตแต่หลักคิดจากอดีตที่แท้จริงเป็นอย่างไร
นับแต่โบราณกาลมนุษยืมองขึ้นไปบนท้องฟ้าด้วยความเคารพ ด้วยตระหนักถึงความย่ิงใหญ่ของฟ้าและสำนึกถึงความต้อยต่ำของตน อารยธรรมเมสโสโปเตเมีัยยุคต้นเชื่อว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของเทพเจ้าหน้าที่หลักของมนุษย์คือปฏิบัติตามคำสั่งเทพเจ้าดวดาวทั้งหลายที่ปรากฏบนท้องฟ้าในยามค่ำคืน คืออาณัติสวรรค์ที่แสดงถึงคำสั่งของเหล่าทวยเทพ
ในอารยธรรมอียิปต์ ชีวิตบนโลกเป็นแค่ที่พำนักชั่วคราว เปรียบเสมือนก้าวหนึ่งสู่ความเป็นนิรันดร์ (Eternity) จิตวิญญาณมาจากดวงดาวและจะกลับสุ่ดวงดาวเช่นกัน ในจักรวาลนั้นมีจิตวิญญาณแทรกซึมไปทั่ว (The Anima Mundi) มันคือความเป็นหนึ่งเดียวที่เป็นพื้นฐานของความหลากหลายในโลกทุกสิ่งเกิดขึ้นและสัมพันธ์กันด้วยพลังงานของจักรวาลที่เรียกว่า “เฮกา” เช่นเดียวกับอิทธิพลดวงดาวที่่มีต่อมนุษย์
อารยธรรมจีนมองว่า ฟ้ายิ่งใหญ่แลถมีอิทธิพลต่อมนุษย์อย่างมากทุกคนควรปฏิบัติตนไปตามแนวทางของฟ้า ด้งในตำราพิชัยสงคราม ขงเบ้ง ภาคปรัชญาการปกครอง บทที่ 1 กล่าวว่า “รากฐานนั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นก่อน ส่วนต่าง ๆย่อมเกิดขึ้นหรือดำรงอยู่ไม่ได้ในการปกครองประเทศ กษัตริย์จึงต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของฟ้า”
ขณะที่อารยธรรมกรีกกลับมองอีกมุมหนึ่ง จักรวาลมีกฏของตัวเอง กฏนี้คือกฏของธรรมชาติ ไม่ใช่เทพเจ้าบันดาลการเข้าใจกฏธรรมชาสติ ต้องรู้ว่าอะไรคือปฐมธาตุเสียก่อน ปราชญ์จึงเริ่มต้นที่การอธบายปฐมธาตุ เช่น ธาเลสเสนอว่า ปฐมธาตุของจักรวาลและทุกชีวิตคือน้ำเฮราคลีตุสถือว่า ไฟคือปฐมธาตุ อริสโตเติลถือว่า อีเธอร์คือธาตุที่ 5 ของจักรวาลและเป็นปฐมธาตุ ฯลฯ
ผู้ที่อธิบายได้ชัดเจนที่สุด คือ คลาวดิอุสปโตเลมีโหราจารย์ผู้นี้เชื่อว่า อีเธอร์คือปฐมธาตุของจักรวาล การเคลื่อนที่ของดวงดาวทำให้อีเธอร์กระเพื่อมและส่งผลต่อธาตุหลักทั้ง 4 คือดินน้ำลมไฟ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังทุกส่วนของจักรวาล ดวงดาวมีอิทธิพลต่อมนุษย์ได้ด้วยเหตุผลนี้
แต่คำอธิบายที่ลึกซึ้งที่สุดมาจากอารยธรรมอินเดีย คัมภีร์ “พระเวท” กล่าวว่า ดวงดาวคือตัวแทนของเทพเจ้าทั้งหลายที่สามารถดลบันดาลสิ่งต่าง ๆ ให้กับมนุษย์ พระเวทไม่เพียงกล่าวถึงอำนาจของดวงดาว แต่ยังเน้นย้ำถึงวันเวลาที่ถูกต้องในการทำพิธีกรรมต่างๆ ด้วยอิทธิพลดวงดาวนั้นสูงมาก จนคัมภีร์ “อาถรรพณ์เวท ต้องประกาศว่า “กษัตริย์ผู้ปราศจากโหราจารย์เปรียบเสมือนเด็กที่ไม่มีบิดา”
ใน “อุปนิษัท (Upanishad) หรือ “เวทานตะ (Vedanga) ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของพระเวทและเป็นที่ประมวลความคิดทางปรัชญาทั้งหมด เสนอแนวคิดที่ว่า มนุษย์ไม่อาจแบ่งแยกตัวเองจากจักรวาลและเน้นย้ำปฏิสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างองค์ปรกอบระดับจุลภาค (มนุษย์) กับมหภาค (จักรวาล)
แก่นความคิดของอุปนิษัทอยู่ที่ “อาตมัน (Atman) หรือตัวตนของบุคคล กับ”พรหมัน (Brahman)” หรือตัวตนสูงสุดของจักรวาล ทั้ง 2 สิ่งนี้เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังมหาวากย์ (คำพูดยิ่งใหญ่) ที่ว่า “ตัต ตวัม อสิ” แปลตามพยัญชนะว่า “ท่านคือสิ่งนั้น” แปลตามอรรถะว่า “อาตมันคือพรหมัน”
โหราศาสตร์กำเนิดในยุคที่ไม่เจริญทางวัตถุการดำรงชีวิตของผู้คนต้องพึ่งพาธรรมชาติ การรับรู้ (Perception) ของมนุษย์ยุคนั้นจึงไม่แบ่งแยกคนออกจากธรรมชาติ ทะเล ภูเข้า ท้องฟ้า ดวงดาว สัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ ล้วนเป์นระบบนิเวศน์เดียวกันกับมนุษย์ทุกสิ่งมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต
อารยธรรมโบราณทั้งหลายแม้มีรายละเอียดที่แตกต่าง แต่แนวคิดหลักกลับใกล้เคียงกัน มันคือหลักปรัชญาที่ว่าทุกสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนเป็นสิ่งเดียวกันเชื่อมโยงสัมพันธ์และส่งผลกระทบถึงกันโหราศาสตร์กำเนิดขึ้นมาจากปรัชญานี้
พัฒนาการของโหราศาสตร์ก้าวหน้าที่สุดในยุค Hellenistic (323-31 ปีก่อน ค.ศ.) ปรัชญาของทุกอารยธรรมถูกหลอมรวมและขัดเกลา จนนำไปสู่การสรุปยอดความคิดที่ว่า “As Above, So Below” หรือ “เบื้องบนเป็นอย่างไร เบื้องล่างก็เป็นอย่างนั้น”
ดวงดาวมีอิทธิพลต่อมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ บรนรพบุรุษของเราสั่งสอนและถ่ายทอดกันมาเช่นนี้
มีเพียงคนที่ปกิเสธรากเหง้าของตัวเองและดูถูกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ จึงคิดว่าโหราศาสตร์เหลวไหลงมงาย
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ลิขิตฟ้า ชะตาโลก
ชูศักดิ์ จงธนะพิพัฒน์
๑๑ พ.ย. ๒๕๕๙ เวลา ๑๒.๕๗ น.
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
สมมติสีมารักษาพระศาสนา
กำลังอ่านจารึกกัลยาณีอยู่ค่ะ ที่ต้องอ่านจารึกนี้เพราะท่านธัมมนันทาต้องไปช่วยภิกษุณีสงฆ์ที่ บังคลาเทศรับกฐิน
เราออกพรรษากันวันที่ 16 ตุลาคม 2559 เวลาเขียนบทความต้องใส่ พ.ศ. กำกับ และต้องทำให้เป็นนิสัย หลายปีผ่านไป เอามาอ่านอีกที ไม่รู้ว่าปีไหน ก็เรากำลังบันทึกประวัติศาสตร์ การลงวันที่กำกับช่วยความจำของเราได้มากนะคะ
พอออกพรรษาแล้วก็นับไปโดยประมาณ 4 อาทิตย์ เป็นช่วงที่เราไปทอดกฐินกัน ในช่วง 4 อาทิตย์นั้น ทอดได้ทุกวันนั่นแหละ แต่ทอดวันธรรมดา คนมาน้อย ไปทำงานกันไง
ตกลงความนิยมก็มาลงที่ทอดกฐินวันเสาร์อาทิตย์ เราได้เพียง 4 อาทิตย์ดังที่ว่า วันสุดท้าย จำได้ง่ายๆ คือวันลอยกระทงค่ะ
พอถึงวันลอยกระทง คือเพ็ญเดือน 12 หมดฤดูกฐิน
เนื่องจากที่บังคลาเทศนั้น มีภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เพิ่งได้ 1 พรรษาที่ผ่านมานี้เอง บ้านเมืองเขาประชากรส่วนใหญ่ 156 ล้านคน เป็นมุสลิมเกือบหมด มีชาวพุทธเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ ค่ะ ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ด้วยซ้ำไป
เมืองที่มีชาวพุทะกระจุกตัวกันมาก คือเมืองจิตตากอง เราก็จะไปทอดกฐินที่จิตตากองนี่แหละ เมื่อกลับมาแล้วน่าจะได้มีเรื่องเล่าต่อนะค่ะ เนื่องจากที่นั่นเป็นประเทศมุสลิม เขาหยุดวันศุกร์ ชาวพุทธที่นั่นก็เลยทอดกฐินวันศุกร์ ศุกร์ที่ 28 ตุลาคม ค่ะ
ทอดกฐินก็ควรจะได้ทอดในสีมา สีมาก็ยังไม่ได้สมมติ เราก็เลยต้องสมมติสีมาให้เข้าด้วย
ที่อ่านจารึกกัลยาณี เป็นเรื่องราวสมมติสิมโดยตรงเลยค่ะ กัลยาณีเป็นชื่อวัดอยู่ในพม่า อยู่ในเมือง พะโค ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของชาวมอญ พวกมอญนี้ต้องถือว่าเป็นต้นกำเนิดของพุทธเถรวาทในแถบนี้เลยทีเดียว
ที่วัดกัลยาณี มีจารึกเป็นแผ่นหินสูง 7 ฟุต กว้าง 4 ฟุต ทั้งหมด มี 10 แผ่น จารึกข้อความที่ว่าด้วยวิธีการสมมติสีมาโดยตรง
พระเจ้าธัมเจตี ถ้าเขียนแบบที่จะให้คนไทยคุ้น น่าจะเป็นธัมมเจดีย์ ในบทความนี้ ขอเขียนตามแบบเดิมของเขานะคะ ท่านเคยเป็นพระภิกษุมาก่อน ก่อนที่จะมาครองราชย์ เมื่อขึ้นครองราชย์ ท่านถือว่าท่านเป็นผู้คุ้มครองพระศาสนา ท่านจึงให้ความสนใจเรื่องสืบพระศาสนาอย่างมาก
ท่านครองราชย์ในช่วง ค.ศ. 1462 ถึง 1492 (พ.ศ.2005-2035) ในศตวรรษที่ 15 นั้น ถือว่าเป็นช่วงของการรักษาพระศาสนาในรามัญญประเทศให้บริสุทธิ์ จาตึกกัลยาณีที่ว่านี้ ทำขึ้นใน พ.ศ. 2019
ที่น่าสนใจคือพระเจ้าธัมเจตีท่านเห็นว่าการรักษาพระศาสนาที่เรียกว่าศาสนาสุทธินั้น เชื่อมโยงกับการสมมติสีมาโดยตรง เพราะหากสมมติสีมาทำไม่ถูกต้องแล้ว การอุสมบทที่กระทำในพระอุโบสถนั้นก็ไม่ถูกต้องไปด้วย
แล้วการสืบพระศาสนาต้องกระทำโดยคณะสงฆ์ หากพระสงฆ์ในแผ่นดินไม่ได้บวชมาอย่างถูกต้อง พระศาสนาก็ดำเนิต่อไปไม่ได้ เพราะการอุปสมบทนั้นเสียมาตั้งแต่สถานที่ใช้ในการอุปสมบท
เราก็เลยมาทบทวนให้ท่านผู้อ่านที่ไม่เคยบวชเข้าใจพร้อม ๆ กัน สมบัติหรือคุณสมบัติในการอุปสมบทมี 4 อย่าง คือ
วัตถุสมบัติ หมายถึงคนที่จะบวชนั้น ไม่บ้าใบ้บอดหนวก ไม่เป็นโรคภัยที่จะเป็นอุปสรรคต่อการบวช ไม่มีหนี้สิน ไม่หนีทหารมาบวชและอายุครบ 20 ถ้าเป็นผู้หญิงก็จะมีเงื่อนไขละเอียดขึ้น ถ้าสมบัติไม่ครบ เรียกว่า วิบัติ
ปริสสมบัติ คือ คณะสงฆ์ที่บวชให้ ครบองค์สงฆ์ ผู้เป็นอุปัชฌาย์มีคุณสมบัติครบถ้วน พระสงฆ์ที่เข้าร่วมในพิธีอุสมบท เป็นพระสงฆ์ที่รักษาพระธรรมวินัย
เคยมีเรื่องของพระอาจารย์สังฆรักษิต ชาวอังกฤษที่บวชเป็นพระภิกษุในประเทศอินเดีย ต่อมาท่านทราบว่า พระภิกษุที่อยู่ในคณะที่บวชให้ท่านนั้น มีครอบครัวมีลูกมีเมีย ถือว่าการอุปสมบทของท่านปริสวิบัติท่านแน่มากเลย ลาสิกขา เพราะถือว่าการอุปสมบทของท่านเป็นโมฆะแล้วเขียนหนังสือเปิดเผยว่าทำไมท่านต้องลาสิกขา
สีมาสมบัติ ตรงนี้แหละที่เป็นที่มาของความสนใจของเราในบทความเรื่องนี้ การอุปสมบทต้องกระทำในสีมา คือเขตที่ได้ผูกพัทธสีมาแล้วเรียกว่าทำสังฆกรรมอย่างถูกต้อง
ในจารึกที่อ่านนี้ นับว่าเป็นคู่มือการผูกสีมาได้อย่างดี และในความเป็นจริง พระเจ้าธัมมเจตีก็ต้องการให้เป็นเช่นนั้น
เรื่องการสมมติสีมา เป็นสังฆกรรมที่นาน ๆ จะได้ทำสักครั้ง จึงต้องอาศัยพระผู้ใหญ่ชี้แนะ พระบางรูปในบ้านเรา อาจจะไม่เคยมีประสบการณ์ในการเข้าร่วมในสังฆกรรมเช่นนี้ก็เป็นได้ ความรู้ที่มีก็จะพร่ามัว เพราะไม่ต้องลงมือทำเอง ไม่เหมือนกับออกบิณฑบาต ที่ต้องทำทุกวัน ถ้าการสมมติสีมาไม่ถูกต้อง มันก็จะโยงไปหมด การอุปสมบทก็ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ จะขอวกกลับมาพูดในรายละเอียดเรื่องการสมมติสีมาอีกครั้ง
สมบัติสุดท้ายของการอุปสมบท คือ กรรมวาจาสมบัติ ทั้งหมดเป็นภาษาบาลี ผู้ขอบวชต้องออกเสียงให้ชัดเจนถูกต้อง
ถ้าออกอักขระเพี้ยนก็จะทำให้สังฆกรรมนั้นวิบัติไปด้วย
ท่านผู้อ่านจะเห็นความสำคัญชัดเจนมากขึ้นแล้วนะคะว่า การสมมติสีมา พระเจ้าธัมเจตีเห็นว่าเป็นเรื่องคอขาดบาดตายพระศาสนาจะบริสุทธิ์ได้ ก็เพราะทำสมมติสีมาถูกต้องมาเป็นพื้นฐาน
พระเจ้าธัมเจตีท่านให้ศึกษาอย่างละเอียดเพราะทรงตั้งใจให้เป็นมาตรฐานการสมมติสีมา ในจารึกระบุว่า เริ่มต้นจากรพระวินัย ในมหาวรรค (เล่มที่ 4 ค่ะ) ศึกษาจากวินัยบาลี วินัยอรรถกถา วินัยฎีกา ที่เขียนโดยพระอาจารย์วชิระพุทธิเถระ ที่เป็นพระอาจารย์ที่เคารพกันในสมัยนั้น จากนั้น ศึกษาจากกังขาวิตรณี ซึ่งเป็นมาติกากัฏฐกถา วินัยวินิจฉัยปกรณ์ วินัยสังคหปกรณ์ สีมาลังการปกรณ์ และสีมาลังการสังคหะ เรียกว่าเป็นการศึกษาโดยละเอียด
ที่ดินที่จะจัดให้เป็นสีมานั้น ต้องเคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อย ไม่ใช่ว่ามีต้นไม้ใหญ่แล้วกิ่งของต้นไม้ใหญ่เข้ามาในพื้นที่ หรือพื้นที่เกยกันอยู่กับบ้านเรือนของชาวบ้าน
ปรับพื้นที่ให้เรียบร้อย พระสงฆ์ที่อยู่ด้วยกัน ต้องมาทำพิธีสมมติสีมาด้วยกันทั้งหมด สิ่งที่จำเป็นคือนิมิต
นิมิต แปลว่า หมาย นิมิตธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา เป็นต้น แต่ในจารึกก็ยังลงรายละเอียดมากขึ้น ว่า น้ำชนิดไหนที่จะถือเป็นเขตได้ ภูเขาชนิดไหนที่ถือเป็นเขตได้ ที่เรามักคุ้น คือ ลูกนิมิต เคยได้ยินไกค์แปลให้ฝรั่งว่า dream ball ชะอุ๋ย
ตามปกติแล้ว การวางลูกนิมิต จะวางด้านละสามลูก ลูกตรงกลางนั้น วางอยู่ตรงจุดที่สายพระเนตรของพระประธานตกต้องพอดี เวลาสร้างพระอุโบสถก็ต้องวัดระยะและองศาที่ลูกนิมิตลูกกลางอยู่ด้วย
ศรีลังกา ไม่มีลูกนิมิต แต่จะใช้หินทั้งแท่ง ฝังลงไปในดินครึ่งหนึ่งอีกครึงหนึ่งโผล่เหนือดิน มักนิยมสลักวันเดือนปีที่ทำพิธีบนส่วนบนของเสาสีมา
แต่ของไทยมาฝังลูกนิมิตลงไปในดิน เหนือดินเป็นแผ่นสีมาซึ่งเป็นหมายบอกตำแหน่งของลูกนิมิตที่อยู่ในดิน
เพื่อให้แน่ใจว่า ที่ดินนั้นไม่มีเจ้าของมากด่อน ไม่มีทับซ้อนเขตสีมาเดิม จึงนิยมสวดถอน
ก่อนที่จะทำสังฆกรรมสวดถอน หรือสวดสมมติ พระอาจาย์ท่านสอนว่า ให้ทักนิมิต คือให้กำหนดเขตเสียก่อน ว่าเราจะทำพิธีที่ว่านี้ ในเขตนี้ที่กำหนด การสวดทักนิมิต เริ่มจากทิศตะวันออก เวียนขวา จนกลับมาที่จุดเดิม หากไม่กลับมาที่จุดเดิม ถือว่าขาดนิมิต
การทักนิมิต ที่ทำในศรีลังกา ให้โยมคนหนึ่งยืนอยู่นอกเขตสีมาเป็นคนคอยตอบ โดยพระที่อยู่เขตสีมาจะถามว่าทิศนี้ ระบุทิศ มีอะไรเป็นหมาย หากมีก้อนหินเป็นหมาย ก็จะตอบว่า มีหินเป็นหมาย “ปาสาโณ ภันเต” พระผู้สวดก็จะรับโดยพูดซ้ำว่า ทิศนี้มีก้อนหินเป็นหมาย ที่ศรีลังกาจะทักนิมิตแต่ละทิศเพียงครั้งเดียว แต่ในจารึกกัลยาณีให้ทักสามครั้ง
จะเวียนไปทั้ง 4 ทิศและอนุทิศ ตามก้อนหินที่วางไว้ทั้งหมด 8 ลูก ต้องสวดซ้ำที่ลูกที่ 1 ด้วยจึงนับว่าครบวงจร
สำหรับการทักนิมิตนี้ พระให้ครบองค์สงฆ์ก็พอ นั่นคือ 4 รูปก็สามารถทำได้
เรื่องอย่างนี้ จึงต้องมีครูบาอาจารย์สั่งสอน บอกกล่าว
เมื่อทักนิมิตแล้ว เป็นหมายว่า พระทุกรูปที่มาทำพิธีอยู่ในเขตสีมา รู้ชัดเจนว่าจะทำพิธีในเขตที่กำหนดนี้ จึงสวดถอน การถอนนั้น ให้ถอนการอนุญาตให้อยู่โดยปราศจากจีวรสามผืน ภาษาบาลีเรียกว่า ติจีวราวิปปวาส จากนั้น จึงสวดถอนสมมติสีมาของเดิม
ที่ศรีลังกาจะตีตารางบนพื้นดินที่จะสร้างอุโบสถ ตีเป็นสี่เหลี่ยม เริ่มจากทิศตะวันออก พระที่มาร่วมในพิธีเข้าไปยืนในสี่เหลี่ยมที่ตีตารางไว้แต่ละรูปอยู่ในหัตถบาส คือไม่ห่างกันจนเกิน แต่ไม่ชิดจนเกยกัน แล้วสวดถอนต่อด้วยสวดสมมติ เมื่อเสร็จจึงขยับไปสี่เหลี่ยมถัดไป เหมือนจูงนางเข้าห้อง จนถึงสี่เหลี่ยมในสุด
ตามแบศรีลังกานั้น ใช้เวลายาวนานมากตั้งแต่สี่ทุ่มไปเสร็จเอาตอนตีสี่
ส่วนการสวดสมมติ คือประกาศว่าเขนี้เป็นเขตของสงฆ์ที่สงฆ์จะใช้ทำสังฆกรรม ให้สวดสมาติสีมาก่อน แล้วจึงสวดสมมติติจีวราวิปปวาส ในจารึกกัลยาณีให้สวด 7 ครั้งค่ะ
ที่อินโดนีเซีย อุโบสถของภิกษุณีเล็กมาก เข้าไปนั่ง 5 รูปก็เต็มแล้ว
ท่านธัมมนันทาเคยรับนิมนต์ไปสวดถอน แล้วสมมติใหม่ ขนาดที่เล็กที่สุดนั้น กำหนดว่า ควรจะให้พระเข้าไปนั่งในหัตถบาสได้อย่างต่ำ 21 รูป
อันนี้ก็มีที่มา สังฆกรรมเดียวที่ต้องการจำนวนพระสงฆ์มากเท่านั้น คือ พิธีอัพภาน อธิบายโดยย่อว่า เวลาพระทำผิดขั้นหนัก เช่น ละเมิดสังฆาทิเสส ต้องถูกขับไล่ออกไปอยู่นอกคณะสงฆ์ ที่เรียกว่าไปอยู่ปริวาส
เมื่อเห็นว่า พระรูปนั้น สำนึกในความผิดแล้ว คณะสงฆ์จะรับกลับเข้ามาร่วมในคณะสงฆ์เดิม ต้องมีการสวดรับ เรียกว่าอัพภาน สังฆกรรมนี้ต้องใช้พระสงฆ์ถึง 20 รูป รวมทั้งเจ้าตัวอีก 1 จึงเป็น 21 รูป
และต้องทำพิธีอันเป็นสังฆกรรมนี้ในเขตสีมา
การสร้างพระอุโบสถ แม้ขนาดเล็กที่สุด ก็พึงพิจารณาว่า พระ 21 รูป เข้ามานั่งในระยะที่เอื้อมกันถึง ที่เรียกว่า หัตถบาส นั่นเอง
บางแห่งนิยมนิมนต์พระเข้าแถวเรียงเป็นหน้ากระดานเวลทำพิธีสวดสมมติสีมา เพื่อให้แน่ใจว่าทำถูกต้อง แต่หากมีการทักนิมิต คือประกาศหมายบอกเขตต้งแต่แรกแล้วว่าพิธีสมติสีมาจะกระทำในเขตนี้ ก็อาจจะไม่มีความจำเป็นที่ต้องเดินเป็นหน้ากระดาน
หากเราทำตามประเพณีแบบเถรส่องบาตรบางครั้งก็จะกลายเป็นเรื่องชวนหัว เดี่ยวกับมาจากบังกลาเทศจะให้ฟังอีกทีค่ะ
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 ต.ค. – 3 พ.ย. 2559 ปีที่ 37 ฉบับที่ 1889
ธรรมลีลา
ฉัตรสุมาลย์
วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559
แนวคิดเกี่ยวกับสันติภาพ
อัจฉรา ภารุรัตน์ และคณะ (2555 : 209) กล่าวถึง วันสันติภาพโลก ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เทศกาลการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติครั้งที่ 1-7 (พ.ศ.2549-2555) ทุกเดือนมกราคมของทุกปี ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นกิจกรรมการให้ความหมายของคำว่า “นานาชาติ” ชาติพันธุ์ และรัฐชาติ ได้อย่างชัดเจน อีกทั้งมีความสำคัญที่เปิดโอกาสให้ศิลปิน นักแสดง นักศึกษา นักวิชาการจากทุกมุมโลกมากกว่า 20 ประเทศ จำนวน 300 คน ร่วมแสดงทัศนะการให้สันติสุขแก่โลกซึ่งกันและกัน ในการนี้นักศึกษา และคณาจารย์รวมทั้งผู้นำท้องถิ่นของกัมพูชาจากจังหวัดอุดรมีชัย กำปงทม และเสียมเรียบมาร่วมแลกเปลี่ยนทัศนะว่าด้วยสันติสุขระหว่างรัฐชาติร่วมกัน
ที่มา :
อัจฉรา ภารุรัตน์ และคณะ (2555). พระ-หมอ-ครู : กลไกทางวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ
ตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา. สุรินทร์ : ม.ป.ท.
ตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา. สุรินทร์ : ม.ป.ท.
พุทธทาสภิกขุ กล่าวถึงสันติภาพโดยสรุปว่า
โลกปัจจุบันยังไม่สามารถสร้างสันติภาพได้
เพราะขาดความเข้าใจที่แจ่มแจ้งในศาสนาของตัวเอง ซึ่งมีฐานอยู่ที่ความมีเมตตาโดยการสร้างสันติภาพให้เกิดในโลก
มี 3 ระดับ คือ 1 การให้ทุกคนเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตน 2
ทำความเข้าใจระหว่างศาสนา 3 ออกมาเสียจากอำนาจของวัตถุนิยม
ซึ่งท่านเห็นว่าทุกศาสนามีสันติภาพเป็นหัวใจสำคัญ
ส่วนวัตถุนิยมเป็นสิ่งยั่วยุให้เกิดการแย่งชิงผลประโยชน์ ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์
(พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ (ตรีกมล). 2555 : 13)
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับศีลไว้โดยสรุปว่าพระพุทธศาสนามองมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องศึกษา
มนุษย์จะมีชีวิตที่ดีงามได้จะต้องมีการฝึกฝน และจะต้องศึกษาสิกขาบททั้ง 5
หรือเรียกว่าศีล 5 เป็นข้อปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีงาม
และส่งเสริมให้มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
(พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ (ตรีกมล).2555 : 14)
ที่มา :
พระวิมาน
คมฺภีรปญฺโญ (ตรีกมล). การศึกษาวิเคราะห์ศีล 5 ในฐานะเป็นรากฐานของสันติภาพ.
ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2555
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ทัศนะเชิงพุทธศาสตร์ เกี่ยวกับ นิเวศวิทยา
ทัศนะเชิงพุทธศาสตร์ เกี่ยวกับ นิเวศวิทยา
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์
ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันนี้
ชุมชนต่าง ๆ ของโลก กำลังเผชิญกับปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ปัญหามลพิษ (Pollution)
ปัญหานี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความไร้ระเบียบของที่อยู่อาศัย
ในชุมชนของประชาชน การมีที่อยู่อย่างไม่ถูกสุขลักษณะและอนามัย
ความหนาแน่นของประชากร การทำลายธรรมชาติ และ
การทำความสกปรกโดยประชาชนปัญหามลพิษนี้ กำลังคุกคามชุมชนเมืองขนาดใหญ่
ซึ่งกำลังได้รับความเดือดร้อน จากผลแห่งมลพิษ อันแสดงออกมาในรูปอากาศเป็นพิษ
น้ำเน่าเสีย และเสียงดังรบกวนเกินควร ปัญหาดังกล่าว มีสาเหตุร่วมกันอีกอย่างหนึ่ง คือ
ความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ของชุมชนในด้านที่อยู่อาศัย และการอุตสาหกรรม
จนถึงกับมีการทำลายสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ลำธาร และแร่ธาตุต่าง ๆ
การพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกก็ดี หรือเพื่อการบริโภคภายในประเทศก็ดี
ล้วนนำไปสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นการทำลายธรรมชาติด้วย ความเจริญทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่
ล้วนมุ่งแต่เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ และข้อนี้ได้กลายเป็นดาบสองคม คือ
ประการแรก ช่วยเอื้ออำนวยประโยชน์ แก่วิถีชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ทำให้มนุษย์มีการดำรงชีวิตที่สุขสบายยิ่งขึ้น
ประการที่สอง การพัฒนาระบบอุตสาหกรรมแบบใหม่ ทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างฟุ่มเฟือย
จนบางแห่ง มีปัญหาทางนิเวศวิทยา คือ การไร้ดุลยภาพของธรรมชาติ
จากการที่สังคมปัจจุบัน
กำลังเผชิญอยู่กับปัญหาดังกล่าวมานี้เอง จึงเป็นเหตุให้นักวิชาการต่าง ๆ
หันความสนใจ มาศึกษาเรื่องนี้กันมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเสนอแนววิธีการแก้ปัญหา ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการจัดระเบียบของสังคม
และของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ให้ถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อป้องกันการขยายตัวของปัญหา
จนกระทั่งแก้ไขอะไรไม่ได้เลยในที่สุด ซึ่งจะมีผลกระทบกระเทือนต่อชีวิตของมนุษย์
โดยส่วนรวม
วัตถุประสงค์
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
พุทธศาสนากับนิเวศวิทยานี้ จำกัดขอบข่ายอยู่เฉพาะในหลักคำสอนบางอย่างของพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับหลักการทางนิเวศวิทยา
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปิดเผยให้ทราบว่า พุทธศาสนาได้กล่าวถึงแบบอย่าง ความเป็นอยู่ของมนุษย์
และธรรมชาติโดยทั่วไปไว้อย่างไรบ้าง และพุทธศาสนา
ได้เสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหามลพิษต่าง ๆ อันเนื่องมาจากการไร้ความสมดุลของธรรมชาติ
ไว้อย่างไรบ้าง วิธีการศึกษาส่วนใหญ่ จะมุ่งเปรียบเทียบหลักการทางทฤษฎีนิเวศวิทยา กับคำสอนของพุทธศาสนา
ซึ่งปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และข้อเขียนของนักปราชญ์
ทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายสังคมศาสตร์
ความหมายและขอบข่ายของ
นิเวศวิทยา
นิเวศวิทยา
แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า "Ecology" ตามพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา
อังกฤษไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่า "Ecology" หมายถึง
๑..
การศึกษาแบบอย่างของบริเวณใด บริเวณหนึ่งในด้านพื้นที่
กับการหน้าที่ เช่น บางแห่งใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัย บางแห่งใช้เป็นสถานที่ค้าขาย แบบอย่างนี้เกิดขึ้น
และเปลี่ยนแปลง โดยทางกระบวนการกระทำระหว่างกัน ทางนิเวศวิทยา
๒..
การศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต กับถิ่นที่อยู่อาศัย
๓..
ตามความหมายเฉพาะทางมานุษยวิทยา นิเวศวิทยา หมายถึง การดัดแปลงวัฒนธรรมของมนุษย์
ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
กล่าวโดยสรุป
นิเวศวิทยามี ๓ ประการ คือ
๑..
มานุษยวิทยา คือ การศึกษาระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
๒.. นิเวศวิทยานคร คือ การศึกษาการกระจาย ในทางพื้นที่ของประชากร และสถาบันในชุมชนนคร
๓.. สมานชีวิตเชิงนิเวศวิทยา คือ การดำรงชีวิตร่วมกัน โดยการหาสมดุลทางนิเวศ เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่เป็นเชิงส่วนตัว ของผู้ที่อยู่อาศัยร่วมกันในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่ง ทั้งนี้เป็นเพราะ ทรัพยากรธรรมชาติจำกัด และมีหน้าที่ที่จะต้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของมนุษย์ และสัตว์อื่น ๆ ด้วย
๒.. นิเวศวิทยานคร คือ การศึกษาการกระจาย ในทางพื้นที่ของประชากร และสถาบันในชุมชนนคร
๓.. สมานชีวิตเชิงนิเวศวิทยา คือ การดำรงชีวิตร่วมกัน โดยการหาสมดุลทางนิเวศ เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่เป็นเชิงส่วนตัว ของผู้ที่อยู่อาศัยร่วมกันในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่ง ทั้งนี้เป็นเพราะ ทรัพยากรธรรมชาติจำกัด และมีหน้าที่ที่จะต้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของมนุษย์ และสัตว์อื่น ๆ ด้วย
เนื่องจากนิเวศวิทยามีขอบข่ายกว้างขวาง
และมีหลายประการดังที่กล่าวไว้ข้างบนนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะกล่าวถึงนิเวศวิทยาในทุกลักษณะ
ในที่นี้ได้โดยละเอียด เมื่อพิจารณาในส่วนที่สัมพันธ์กับหลักคำสอนของพุทธศาสนา
ก็เห็นว่า มานุษยนิเวศวิทยาน่าจะนำมาวิเคราะห์ เป็นพิเศษในที่นี้ เพราะ ดูเหมือนว่า
พุทธศาสนามีคำสอนหลายประการ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและมนุษย์ ดังนั้น การศึกษาในที่นี้จะมุ่งเฉพาะ
มานุษยนิเวศวิทยา ซึ่งเป็นวิชาการอย่างหนึ่ง ที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีนิเวศวิทยา เกี่ยวกับต้นไม้และสัตว์
ในการศึกษาชุมชนของมนุษย์
ความหมายของ มานุษยนิเวศวิทยา
๑..
George A. Theodorsan และ Archilles Theodorsan ให้คำจำกัดความมานุษยนิเวศวิทยาไว้ ๒ ประการ คือ
- มานุษยนิเวศวิทยา คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
- มานุษยนิเวศวิทยา คือ การศึกษาโครงสร้างของชุมชน โดยการวิเคราะห์ถึง การกระจายของบุคคลและบริการต่าง ๆ ตามสถานที่ เวลา และ ภายใต้สภาพการณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ รวมทั้งทำการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการกระจายของบุคคล กลุ่มและบริการต่าง ๆ
- มานุษยนิเวศวิทยา คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
- มานุษยนิเวศวิทยา คือ การศึกษาโครงสร้างของชุมชน โดยการวิเคราะห์ถึง การกระจายของบุคคลและบริการต่าง ๆ ตามสถานที่ เวลา และ ภายใต้สภาพการณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ รวมทั้งทำการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการกระจายของบุคคล กลุ่มและบริการต่าง ๆ
๒..
Amos H. Hawley กล่าวไว้ว่า มานุษยนิเวศวิทยา คือ การศึกษา
ระดับสังคมย่อย คือ ระดับปัจเจกภาพของมนุษย์ ซึ่งเป็นระดับที่เป็นผลมาจากการต่อสู้เพื่อการอยู่รอด
และอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือกันแบบแข่งขัน อย่างไม่เป็นกันเอง และไม่มีการวางแผนกันมาก่อน
๓..
Robert E. Park จำกัดความไว้ว่า มานุษยนิเวศวิทยา คือ
ความพยายามที่จะศึกษากระบวนการ ที่ช่วยดำรงไว้ซึ่งความสมดุลตามธรรมชาติ
และความสมดุลทางสังคม ก็จะช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงจาก
ระเบียบกฏเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง
อธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้
คำนิยามศัพท์มานุษยนิเวศวิทยา
ที่ว่าเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นการวิเคราะห์ถึง
ความเกี่ยวข้องกันระหว่าง ความเป็นอยู่ของกลุ่มชน กับ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
ที่กลุ่มชนอาศัยอยู่ กลุ่มชนนั้นหมายถึง ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทางสังคม อย่างเป็นแบบแผนของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
จนกลายเป็นระบบทางสังคมอย่างหนึ่ง เช่น ครอบครัว ละแวกบ้าน ชุมชน เป็นต้น
สำหรับสิ่งแวดล้อมหมายถึง
- สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ บรรยากาศ และ แรงถ่วงของโลก เป็นต้น
- สิ่งแวดล้อมทางสังคม และ วัฒนธรรม แบ่งเป็น มนุษย์ พืช และสัตว์เลี้ยงทั่วไป, วัฒนธรรมทางวัตถุ อันเป็นผลผลิตของมนุษย์ และ วัฒนธรรมทางนามธรรม เช่น ทัศนคติ ความคิด ความต้องการ ค่านิยม ประเพณี กฏหมาย จริยธรรม และวัฒนธรรมทางนามธรรมอย่างอื่น ทุกอย่าง
- สิ่งแวดล้อมทางสังคม และ วัฒนธรรม แบ่งเป็น มนุษย์ พืช และสัตว์เลี้ยงทั่วไป, วัฒนธรรมทางวัตถุ อันเป็นผลผลิตของมนุษย์ และ วัฒนธรรมทางนามธรรม เช่น ทัศนคติ ความคิด ความต้องการ ค่านิยม ประเพณี กฏหมาย จริยธรรม และวัฒนธรรมทางนามธรรมอย่างอื่น ทุกอย่าง
คำนิยามที่สองของ Theodorsan
นั้น มุ่งถึงการศึกษาโครงสร้างของชุมชน เป็นการวิเคราะห์ถึง ความสัมพันธ์ของหน่วยงานต่าง
ๆ ทางสังคม รวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ความสัมพันธ์ของหน่วยงานต่าง ๆ การวิเคราะห์ดำเนินไปในชุมชนใด
ชุมชนหนึ่ง ในปีใดปีหนึ่ง โดยเฉพาะ และภายใต้สภาพการณ์ตามปกติ
ข้อนี้สัมพันธ์กับกระจายหน่วยงานต่าง ๆ ทางสังคม และปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับ
การกระจายหน่วยต่าง ๆ ทางสังคม ภายใต้โครงสร้างของชุมชนใด ชุมชนหนึ่ง โดยเฉพาะนั้นมีแบบแผนที่แน่นอน
เช่น ที่ดินใจกลางเมืองมีราคาแพง เพราะเป็นเขตธุรกิจการค้า
คำนิยามที่แสดงโดย Hawley
นั้น เป็นการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม โดยอยู่บนพื้นฐานของแนวความคิด
ทางทฤษฎีชีวิวิทยาของ ชาร์ล ดาวิน คือ การต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต ข้อนี้รวมเอาการต่อสู้เพื่อมีชีวิตอยู่รอด
ของกลุ่มชนในเมือง ในชนบท หรือในท้องถิ่น ทั่วไปในด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม
และสังคม เป็นต้น
การให้ความหมายโดย Park
เกี่ยวกับมานุษยนิเวศวิทยานั้น เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ถึง ความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันระหว่าง
กลุ่มชนหรือระบบสังคม กับ สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
อันประกอบด้วยสถานที่ตั้งของชุมชน ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ดังกล่าวมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ เป็นอย่างมาก
เช่น กลุ่มชนที่อยู่ในแถบหนาว ย่อมมีวิธีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของแถบหนาว
ส่วนกลุ่มชนที่อยู่ในแถบร้อน ก็มีวิธีการปรับตัวให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อมของแถบร้อน
นอกจากนี้ กระบวนการปรับตัวอย่างอื่น ให้เข้ากับความเหมาะสมของธรรมชาติ ถือว่าเป็นความสมดุลของธรรมชาติอย่างหนึ่ง
ถ้าความสมดุลของธรรมชาติ ถูกทำลายหรือได้รับผลกระทบกระเทือน กระบวนการนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบ
และจะส่งผลคือ ความเดือดร้อนให้แก่ผู้อาศัยโดยตรง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)