วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แนวคิดเกี่ยวกับสันติภาพ


          อัจฉรา ภารุรัตน์ และคณะ (2555 : 209) กล่าวถึง วันสันติภาพโลก ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เทศกาลการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติครั้งที่ 1-7 (พ.ศ.2549-2555) ทุกเดือนมกราคมของทุกปี ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นกิจกรรมการให้ความหมายของคำว่า “นานาชาติ” ชาติพันธุ์ และรัฐชาติ ได้อย่างชัดเจน อีกทั้งมีความสำคัญที่เปิดโอกาสให้ศิลปิน นักแสดง นักศึกษา นักวิชาการจากทุกมุมโลกมากกว่า 20 ประเทศ จำนวน 300 คน ร่วมแสดงทัศนะการให้สันติสุขแก่โลกซึ่งกันและกัน ในการนี้นักศึกษา และคณาจารย์รวมทั้งผู้นำท้องถิ่นของกัมพูชาจากจังหวัดอุดรมีชัย กำปงทม และเสียมเรียบมาร่วมแลกเปลี่ยนทัศนะว่าด้วยสันติสุขระหว่างรัฐชาติร่วมกัน
ที่มา :
อัจฉรา ภารุรัตน์ และคณะ (2555).  พระ-หมอ-ครู : กลไกทางวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ
     ตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา. สุรินทร์ : ม.ป.ท.

           พุทธทาสภิกขุ กล่าวถึงสันติภาพโดยสรุปว่า โลกปัจจุบันยังไม่สามารถสร้างสันติภาพได้ เพราะขาดความเข้าใจที่แจ่มแจ้งในศาสนาของตัวเอง ซึ่งมีฐานอยู่ที่ความมีเมตตาโดยการสร้างสันติภาพให้เกิดในโลก มี 3 ระดับ คือ 1 การให้ทุกคนเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตน 2 ทำความเข้าใจระหว่างศาสนา 3 ออกมาเสียจากอำนาจของวัตถุนิยม ซึ่งท่านเห็นว่าทุกศาสนามีสันติภาพเป็นหัวใจสำคัญ ส่วนวัตถุนิยมเป็นสิ่งยั่วยุให้เกิดการแย่งชิงผลประโยชน์ ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์
(พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ (ตรีกมล).  2555 : 13)
          พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับศีลไว้โดยสรุปว่าพระพุทธศาสนามองมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องศึกษา มนุษย์จะมีชีวิตที่ดีงามได้จะต้องมีการฝึกฝน และจะต้องศึกษาสิกขาบททั้ง 5 หรือเรียกว่าศีล 5 เป็นข้อปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีงาม และส่งเสริมให้มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ 
(พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ  (ตรีกมล).2555 : 14)
ที่มา :
พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ (ตรีกมล). การศึกษาวิเคราะห์ศีล 5 ในฐานะเป็นรากฐานของสันติภาพ.
           ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย
           มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2555







ไม่มีความคิดเห็น: