โหราศาสตร์เป็นเรื่องเหลวไหลงมงาย ทัศนคติของคนส่วนใหญ่ที่ไม่เคยศึกษาโหราศาสตร์อย่างจริงจังมักเป็นเช่นนี้ คำถามสำคัญที่สุดของพวกเขาคือ ดวงดาวบนท้องฟ้าเกี่ยวข้องอะไรกับมนุษย์
ในมุมวิทยาศาสตร์ นี่คือ “สมมติฐาน” เพียงข้อเดียวของโหราศาสตร์ ถ้าสามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์นี้ได้ โหราศาสตร์ก็ไม่ใช่ศาสตร์แห่งความเหลวไหลงมงายอีกต่อไป ประเด็นไม่ใช่พิสูจน์ไม่ได้ แต่การพิสูจน์ต้องจำกัดอยู่แค่กระบวนการการทางวิทยาศาสตร์หรือไม่ หรือมีแนวทางอื่น ๆ อีก
แม้โลกปัจจุบันก้าหน้าไปมาก แต่วิทยาศาสตร์ก็ไม่ใช่คำตอบของทุกสิ่ง เราไม่สามารถบอกได้ว่า ความจริง (Reality) เป็นแค่วัตถุรูปธรรมที่ประสาทสัมผัสรับรู้ได้ หรือวัดเป็นตัวเลขได้เท่านั้น ความสุข ความเศร้า ความรัก มิตรภาพ เสรีภาพ ความเชื่อ ศรัทธา ปรัชญา ศาสนา ฯลฯ สิ่งที่เป็น “นามธรรม” ก็คือความจริงที่มนุษย์รับรู้กันอยู่ตลอดเวลา เช่นกัน แม้มันไม่อาจวัดได้ในทางวิทยาศาสตร์
กระนัน่นก็ตาม วิทยาศาสตร์ก็บอกเองว่าดวงดาวมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์เรื่องราวบนโลก ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น น้ำขึ้น น้ำลง กลางวันกลางคืน ฤดูกาล สุริยคราส จันทรคราส ฯลฯ ล้วนเป็นเครื่องนืยยันมนุษย์ในฐานะสิ่งมีชีวิตบนโลก ย่อมได้รับผลกระบทางอ้อมด้วย เช่น กลางวันกลางคืนเป้นตัวกำหนดเวลาทำงานหรือพักผ่อน ฤดูกาลเป็นตัวกำหนดการเพาะปลูกหรือเก็บเกี่ยว น้ำขึ้นน้ำลงส่งผลต่อการสัญจรทางน้ำและอาชีพของชาวประมง ฯลฯ
ไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์ คาร์ล จุง นักจิตวิเคราะห์ผู้โด่งดังและศิษย์เอกของซิกมัน ฟรอยด์ ก็เชื่อในความสัมพันธฺ์นี้ จุงไม่เพียงศึกษาจิตวิทยาสมัยใหม่ แต่ยังศึกษาศาสตร์ตะวันออกด้วย เช่น อี้จิงของจีน ภควัทคีตาของอินเดีย โหราศาสตร์สากกลและอินเดีย ฯลฯ จุงสรุปว่าดวงดาวกับมนุษยืสอดคตล้องสัมพันธ์กัน โดยใช้คำว่า Synchronicity แนวคิดของจุงกลายเป็นพลังผลักดันสำคัญให้เกิด “โหราศาสตร์จิตวิทยา” ซึงไปเติบโตรุ่งเรืองในอเมริกาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ ๒๐
นี่คือมุมที่คนปัจจุบันมองย้อนไปในอดีตแต่หลักคิดจากอดีตที่แท้จริงเป็นอย่างไร
นับแต่โบราณกาลมนุษยืมองขึ้นไปบนท้องฟ้าด้วยความเคารพ ด้วยตระหนักถึงความย่ิงใหญ่ของฟ้าและสำนึกถึงความต้อยต่ำของตน อารยธรรมเมสโสโปเตเมีัยยุคต้นเชื่อว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของเทพเจ้าหน้าที่หลักของมนุษย์คือปฏิบัติตามคำสั่งเทพเจ้าดวดาวทั้งหลายที่ปรากฏบนท้องฟ้าในยามค่ำคืน คืออาณัติสวรรค์ที่แสดงถึงคำสั่งของเหล่าทวยเทพ
ในอารยธรรมอียิปต์ ชีวิตบนโลกเป็นแค่ที่พำนักชั่วคราว เปรียบเสมือนก้าวหนึ่งสู่ความเป็นนิรันดร์ (Eternity) จิตวิญญาณมาจากดวงดาวและจะกลับสุ่ดวงดาวเช่นกัน ในจักรวาลนั้นมีจิตวิญญาณแทรกซึมไปทั่ว (The Anima Mundi) มันคือความเป็นหนึ่งเดียวที่เป็นพื้นฐานของความหลากหลายในโลกทุกสิ่งเกิดขึ้นและสัมพันธ์กันด้วยพลังงานของจักรวาลที่เรียกว่า “เฮกา” เช่นเดียวกับอิทธิพลดวงดาวที่่มีต่อมนุษย์
อารยธรรมจีนมองว่า ฟ้ายิ่งใหญ่แลถมีอิทธิพลต่อมนุษย์อย่างมากทุกคนควรปฏิบัติตนไปตามแนวทางของฟ้า ด้งในตำราพิชัยสงคราม ขงเบ้ง ภาคปรัชญาการปกครอง บทที่ 1 กล่าวว่า “รากฐานนั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นก่อน ส่วนต่าง ๆย่อมเกิดขึ้นหรือดำรงอยู่ไม่ได้ในการปกครองประเทศ กษัตริย์จึงต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของฟ้า”
ขณะที่อารยธรรมกรีกกลับมองอีกมุมหนึ่ง จักรวาลมีกฏของตัวเอง กฏนี้คือกฏของธรรมชาติ ไม่ใช่เทพเจ้าบันดาลการเข้าใจกฏธรรมชาสติ ต้องรู้ว่าอะไรคือปฐมธาตุเสียก่อน ปราชญ์จึงเริ่มต้นที่การอธบายปฐมธาตุ เช่น ธาเลสเสนอว่า ปฐมธาตุของจักรวาลและทุกชีวิตคือน้ำเฮราคลีตุสถือว่า ไฟคือปฐมธาตุ อริสโตเติลถือว่า อีเธอร์คือธาตุที่ 5 ของจักรวาลและเป็นปฐมธาตุ ฯลฯ
ผู้ที่อธิบายได้ชัดเจนที่สุด คือ คลาวดิอุสปโตเลมีโหราจารย์ผู้นี้เชื่อว่า อีเธอร์คือปฐมธาตุของจักรวาล การเคลื่อนที่ของดวงดาวทำให้อีเธอร์กระเพื่อมและส่งผลต่อธาตุหลักทั้ง 4 คือดินน้ำลมไฟ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังทุกส่วนของจักรวาล ดวงดาวมีอิทธิพลต่อมนุษย์ได้ด้วยเหตุผลนี้
แต่คำอธิบายที่ลึกซึ้งที่สุดมาจากอารยธรรมอินเดีย คัมภีร์ “พระเวท” กล่าวว่า ดวงดาวคือตัวแทนของเทพเจ้าทั้งหลายที่สามารถดลบันดาลสิ่งต่าง ๆ ให้กับมนุษย์ พระเวทไม่เพียงกล่าวถึงอำนาจของดวงดาว แต่ยังเน้นย้ำถึงวันเวลาที่ถูกต้องในการทำพิธีกรรมต่างๆ ด้วยอิทธิพลดวงดาวนั้นสูงมาก จนคัมภีร์ “อาถรรพณ์เวท ต้องประกาศว่า “กษัตริย์ผู้ปราศจากโหราจารย์เปรียบเสมือนเด็กที่ไม่มีบิดา”
ใน “อุปนิษัท (Upanishad) หรือ “เวทานตะ (Vedanga) ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของพระเวทและเป็นที่ประมวลความคิดทางปรัชญาทั้งหมด เสนอแนวคิดที่ว่า มนุษย์ไม่อาจแบ่งแยกตัวเองจากจักรวาลและเน้นย้ำปฏิสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างองค์ปรกอบระดับจุลภาค (มนุษย์) กับมหภาค (จักรวาล)
แก่นความคิดของอุปนิษัทอยู่ที่ “อาตมัน (Atman) หรือตัวตนของบุคคล กับ”พรหมัน (Brahman)” หรือตัวตนสูงสุดของจักรวาล ทั้ง 2 สิ่งนี้เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังมหาวากย์ (คำพูดยิ่งใหญ่) ที่ว่า “ตัต ตวัม อสิ” แปลตามพยัญชนะว่า “ท่านคือสิ่งนั้น” แปลตามอรรถะว่า “อาตมันคือพรหมัน”
โหราศาสตร์กำเนิดในยุคที่ไม่เจริญทางวัตถุการดำรงชีวิตของผู้คนต้องพึ่งพาธรรมชาติ การรับรู้ (Perception) ของมนุษย์ยุคนั้นจึงไม่แบ่งแยกคนออกจากธรรมชาติ ทะเล ภูเข้า ท้องฟ้า ดวงดาว สัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ ล้วนเป์นระบบนิเวศน์เดียวกันกับมนุษย์ทุกสิ่งมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต
อารยธรรมโบราณทั้งหลายแม้มีรายละเอียดที่แตกต่าง แต่แนวคิดหลักกลับใกล้เคียงกัน มันคือหลักปรัชญาที่ว่าทุกสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนเป็นสิ่งเดียวกันเชื่อมโยงสัมพันธ์และส่งผลกระทบถึงกันโหราศาสตร์กำเนิดขึ้นมาจากปรัชญานี้
พัฒนาการของโหราศาสตร์ก้าวหน้าที่สุดในยุค Hellenistic (323-31 ปีก่อน ค.ศ.) ปรัชญาของทุกอารยธรรมถูกหลอมรวมและขัดเกลา จนนำไปสู่การสรุปยอดความคิดที่ว่า “As Above, So Below” หรือ “เบื้องบนเป็นอย่างไร เบื้องล่างก็เป็นอย่างนั้น”
ดวงดาวมีอิทธิพลต่อมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ บรนรพบุรุษของเราสั่งสอนและถ่ายทอดกันมาเช่นนี้
มีเพียงคนที่ปกิเสธรากเหง้าของตัวเองและดูถูกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ จึงคิดว่าโหราศาสตร์เหลวไหลงมงาย
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ลิขิตฟ้า ชะตาโลก
ชูศักดิ์ จงธนะพิพัฒน์
๑๑ พ.ย. ๒๕๕๙ เวลา ๑๒.๕๗ น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น