วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557
กำเนิดพระพุทธรูป
พระ พุทธรูปองค์แรกของโลก เกิดขึ้นที่แคว้นคันธารราษฎร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ปัจจุบันอยู่ในปากีสถานและบางส่วน ของอัฟกานิสถาน ในอดีตเป็นศูนย์กลางอารยธรรมของเปอร์เซีย กรีก โรมัน และอินเดีย
ปฐมอุบัติของพระพุทธรูปองค์แรก ในโลก ต้องนับเนื่องจากการเข้ายึดอาณาจักรเปอร์เซียโดยพระเจ้าอเล็ก ซานเดอร์มหาราช กษัตริย์กรีกแห่ง มาซิโดเนีย (Macedonia) ก่อนคริสตกาลราว 330 ปีแล้วล่วง ทำให้อารยธรรมกรีก-โรมันมีอิทธิพลในบัคเตรีย (Bactria) และคันธารราษฎร์
แม้จะถูกพระเจ้าจันทรคุปต์ราชวงศ์ โมริยะขับไล่ออกไปในเวลาต่อมาก็ตาม สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช อินเดียเป็นผู้นำทางการเผยแพร่พุทธศาสนา พระองค์ขยายอาณาเขตยึดบัคเตรีย และสถาปนาพุทธศาสนาโดยการส่งมัชฌินติกเถระและมหารักขิตเถระมายังดินแดนแถบ นี้
พระองค์ทรงสร้างสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนามากมาย อาทิ ธรรมจักรกับกวางหมอบแทนการปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน, แท่นดอกบัวแทนการประสูติ, พระสถูปแทนการปรินิพพาน หรือการสร้างรอยพระพุทธบาท หากยังมิได้มีการสร้างพระพุทธรูปแต่ประการใด
หลัง สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาพราหมณ์เข้ามามีอำนาจแทน ช่วงนี้เป็นกลียุคของพุทธศาสนาในอินเดีย จนกระทั่งแม่ทัพกรีก ชื่อ เมนันเดอร์ (Menander) หรือรู้จักกันดีในชื่อ พระเจ้ามิลินท์ ผู้ถกเหตุผลทางพุทธศาสนากับพระนาคเสนใน "มิลินทปัญหา" ได้ยึดครองบัคเตรีย อิทธิพลของการนับถือรูปเคารพเยี่ยง กรีกและโรมัน จึงได้แพร่หลายไปตามแถบลุ่มแม่น้ำคาบูลและสินธุ ในแคว้นคันธารราษฎร์ และหลังพุทธศตวรรษ ที่ 6 พระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะได้ยึดครองคันธารราษฎร์ พระองค์ทรงประกาศตัวเป็นองค์อุปถัมภกพระพุทธศาสนาและแก้ไขดัดแปลงศิลปะพระ พุทธรูปขึ้น
จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธรูปองค์แรก ในโลกอุบัติขึ้นในแคว้นคันธารราษฎร์ โดยได้รับอิทธิพลของกรีก-โรมัน ทั้งด้านความเชื่อในการสร้างรูปเคารพและศิลปะผสมผสานอยู่ในระดับสูง อันนับเป็นการกำหนดพุทธลักษณะของพระพุทธองค์ในลักษณาการเยี่ยงมนุษย์ครั้ง แรกในโลก พระพุทธปฏิมารุ่นแรกๆ ที่ปรากฏจึงดูคล้ายเทพเจ้า โดยมี พระนาสิกโด่ง พระมัสสุดกงาม พระเกศาหยิกเป็นลอน เยี่ยงฝรั่งชาติกรีก ส่วนจีวรเป็นริ้วธรรมชาติแบบประติมากรรมโรมัน และถือเป็นสัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พุทธศาสนิกชนทุก ชาติทุกภาษากราบไหว้บูชาตั้งแต่นั้นมา
ด้วยเหตุที่การสร้าง "พระพุทธรูป" ได้ล่วงเลยเวลาที่พระพุทธองค์ปรินิพพานมานาน ทำให้การสร้างยึดตามแบบคัมภีร์ อันจะน้อมนำไปสู่คำสั่งสอนของพระพุทธองค์มากกว่าที่จะสร้างให้เหมือนจริง ต่อมามีผู้นิยมสร้างพระ พุทธรูปกันอย่างแพร่หลาย และคิดทำ เป็นพระพุทธรูปปางต่างๆ หลายปาง ตามเรื่องราวและอิริยาบถต่างๆ ในพุทธประวัติ
สำหรับสยามประเทศ มีหลักฐานการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ มาตั้งแต่สมัยทวารวดี และในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส คัดเลือกคิดค้นพุทธอิริยาบถปางต่างๆ ตามพุทธประวัติ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพิ่มเติม นับรวมกับแบบเดิม เป็น 40 ปาง ประดิษฐานในหอราชกร มานุสรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันครับผม
ราม วัชรประดิฐ์
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU5UWTNORFF3Tnc9PQ==§ionid=
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น