วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

กำเนิดพระพุทธรูป





พระ พุทธรูปองค์แรกของโลก เกิดขึ้นที่แคว้นคันธารราษฎร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ปัจจุบันอยู่ในปากีสถานและบางส่วน ของอัฟกานิสถาน ในอดีตเป็นศูนย์กลางอารยธรรมของเปอร์เซีย กรีก โรมัน และอินเดีย

ปฐมอุบัติของพระพุทธรูปองค์แรก ในโลก ต้องนับเนื่องจากการเข้ายึดอาณาจักรเปอร์เซียโดยพระเจ้าอเล็ก ซานเดอร์มหาราช กษัตริย์กรีกแห่ง มาซิโดเนีย (Macedonia) ก่อนคริสตกาลราว 330 ปีแล้วล่วง ทำให้อารยธรรมกรีก-โรมันมีอิทธิพลในบัคเตรีย (Bactria) และคันธารราษฎร์

แม้จะถูกพระเจ้าจันทรคุปต์ราชวงศ์ โมริยะขับไล่ออกไปในเวลาต่อมาก็ตาม สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช อินเดียเป็นผู้นำทางการเผยแพร่พุทธศาสนา พระองค์ขยายอาณาเขตยึดบัคเตรีย และสถาปนาพุทธศาสนาโดยการส่งมัชฌินติกเถระและมหารักขิตเถระมายังดินแดนแถบ นี้

พระองค์ทรงสร้างสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนามากมาย อาทิ ธรรมจักรกับกวางหมอบแทนการปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน, แท่นดอกบัวแทนการประสูติ, พระสถูปแทนการปรินิพพาน หรือการสร้างรอยพระพุทธบาท หากยังมิได้มีการสร้างพระพุทธรูปแต่ประการใด

หลัง สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาพราหมณ์เข้ามามีอำนาจแทน ช่วงนี้เป็นกลียุคของพุทธศาสนาในอินเดีย จนกระทั่งแม่ทัพกรีก ชื่อ เมนันเดอร์ (Menander) หรือรู้จักกันดีในชื่อ พระเจ้ามิลินท์ ผู้ถกเหตุผลทางพุทธศาสนากับพระนาคเสนใน "มิลินทปัญหา" ได้ยึดครองบัคเตรีย อิทธิพลของการนับถือรูปเคารพเยี่ยง กรีกและโรมัน จึงได้แพร่หลายไปตามแถบลุ่มแม่น้ำคาบูลและสินธุ ในแคว้นคันธารราษฎร์ และหลังพุทธศตวรรษ ที่ 6 พระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะได้ยึดครองคันธารราษฎร์ พระองค์ทรงประกาศตัวเป็นองค์อุปถัมภกพระพุทธศาสนาและแก้ไขดัดแปลงศิลปะพระ พุทธรูปขึ้น

จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธรูปองค์แรก ในโลกอุบัติขึ้นในแคว้นคันธารราษฎร์ โดยได้รับอิทธิพลของกรีก-โรมัน ทั้งด้านความเชื่อในการสร้างรูปเคารพและศิลปะผสมผสานอยู่ในระดับสูง อันนับเป็นการกำหนดพุทธลักษณะของพระพุทธองค์ในลักษณาการเยี่ยงมนุษย์ครั้ง แรกในโลก พระพุทธปฏิมารุ่นแรกๆ ที่ปรากฏจึงดูคล้ายเทพเจ้า โดยมี พระนาสิกโด่ง พระมัสสุดกงาม พระเกศาหยิกเป็นลอน เยี่ยงฝรั่งชาติกรีก ส่วนจีวรเป็นริ้วธรรมชาติแบบประติมากรรมโรมัน และถือเป็นสัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พุทธศาสนิกชนทุก ชาติทุกภาษากราบไหว้บูชาตั้งแต่นั้นมา

ด้วยเหตุที่การสร้าง "พระพุทธรูป" ได้ล่วงเลยเวลาที่พระพุทธองค์ปรินิพพานมานาน ทำให้การสร้างยึดตามแบบคัมภีร์ อันจะน้อมนำไปสู่คำสั่งสอนของพระพุทธองค์มากกว่าที่จะสร้างให้เหมือนจริง ต่อมามีผู้นิยมสร้างพระ พุทธรูปกันอย่างแพร่หลาย และคิดทำ เป็นพระพุทธรูปปางต่างๆ หลายปาง ตามเรื่องราวและอิริยาบถต่างๆ ในพุทธประวัติ

สำหรับสยามประเทศ มีหลักฐานการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ มาตั้งแต่สมัยทวารวดี และในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส คัดเลือกคิดค้นพุทธอิริยาบถปางต่างๆ ตามพุทธประวัติ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพิ่มเติม นับรวมกับแบบเดิม เป็น 40 ปาง ประดิษฐานในหอราชกร มานุสรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันครับผม




ราม วัชรประดิฐ์
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU5UWTNORFF3Tnc9PQ==&sectionid=
   


       

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

อัจฉรา ภาณุรัตน์

           มุสลิมของอินโดพัฒนามาจากฮินดู เหมือนมุสลิมในเขมรก็พัฒนามาจากฮินดู ถ้ามาหลังฮินดูมันจะมาแบบสันติภาพ แต่เราไม่เข้าว่าที่ปักษ์ที่มีปัญหานั้นคริสต์เข้ามาก่อนหรือป่าว คือมันมีมุสลิมที่ใช้คริสต์เป็นพื้นฐานตัวนี่นะที่มันมีปัญหาเพราะว่ามุมมองของคริสที่จะเหตุผลตัวเองเป็นใหญ่ไม่ได้ยึดถือความเป็นจริง
           ถ้าจะดูจากประวัติศาสตร์มันจะเป็นเทวนิยมคือความเชื่อทางศิวะไปเป็นมุสลิมเลย คัมภีร์กุลอ่านว่าอย่างไรก็จะเชื่อ มุสลิมนั้นไม่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นแบบแนวโลจิกเหมือนกรีกกับโรมันที่สร้างศาสนาคริสขึ้นมาคือใช้แนวตรรกะคือฝันเอา จินตนาการเอา อันนี้เกิดก็เป็นอันนี้อันนี้ก็เป็นอันนี้ ความน่าจะเป็น แต่ไม่ได้มองถึงความเป็นจริง อันนี้เก็บจากข้อมูลจากจาม ถ้าเชื่อจากรากเหง้าเดียวกันคือพระศิวะ พระศิวะคือฟิสิกส์ของโลก ความจริงที่ไอสไตน์เขียนเอาไว้ว่าโลกนี้มีความเคลื่อนไหวแม้แต่ร่างกายของเราก็มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เวลาเรานอนยังฝันเลยทั้งที่ใจเรานั่นสงบหมดแล้วปิดแล้วแต่เรายังนอนฝันได้ เพราะฉะนั้นในใจเราก็เหมือนจักรวาลที่ยังหมุนอยู่ตลอดหรือมันเคลื่อนที่ตลอด พระศิวะเปรียบเหมือนจักรวาลที่ยังเคลื่อนไหว รูปพระศิวะจึงเป็นท่าร่ายรำที่นี้สำคัญว่าการรำนี่นะสะท้อนภาพจากพระศิวะไป ที่นี้พอไปเป็นฮินดู ฮินดูนี้เกิดจากแม่น้ำ 3 สาย คือพรหมบุตร สินธุ และคงคา คือที่ธิเบตมีที่ราบสูง 2 ตัว ที่ราบธิเบตมีแม่น้ำโขง แม่น้ำแยงซีเกียง แม่น้ำดำ แม่น้ำอิระวดี สาละวิน และฮวงโห แต่ว่าที่ราบสูงอีกอันหนึ่งนี่นะที่อยู่ตรงธิเบตนี่นะมันอยู่ใต้ธิเบตออกไปคือเขาว่ามันเป็นมุมตรงตุรกี เป็นภูเขาหักที่มาโคโปโลเข้าช่องนี้และเดินทางมาสู่จีนเข้าเป็นข้าราชบริพารของกุบไลข่าน ที่ช่องนั้นเป็นที่เกิดของแม่น้ำ 3 สายที่สำคัญที่เป็นฮินดูและมุสลิม ที่ราบซินเกียงเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำ 5 สาย เป็นพวกซิโนทิเบตเดิมก็แตกลูกออกมาเป็นไต เพราะคำว่า ไต แปลว่าภูเขาทอง ไตส่วนหนึ่งมาจากเทือกเขาอัลไตที่ประเทศรัสเซีย อยู่ในมองโกล พวกมองโกลจึงใช้ภาษาดั้งเดิม คือภาษาอัลไตอิด แฟมาลีของภาษาจะมีอิดอยู่ข้างหลัง สมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ทำกำแพงเมืองจีนกั้น มองโกลจึงถูกแบ่งเป็นในมองโกลแต่มองโกลนอกกำแพงเป็นของรัสเซีย ทีนี้ในมองโกลมีภูเขาเตี้ย ๆ อันหนึ่งมีทองจึงชื่อว่าภูเขาไต มีพวกไตอยู่เยอะ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำฮวงโห แม่น้ำฮวงโหไหลลงไปที่ต้าเหลียงแต่แม่น้ำแยงซีเกียงไหลลงไปที่เซี่ยงไฮ้ คำว่า เซียงไฮ้ คือเชียงฮาย หมายถึงบริเวณที่เป็นทะเลสาบ เดิมบริเวณนี้เป็นทะเลสาบ พี่อ่านของมิลตัน ออสบอน ซึ่งผู้เขียนวิจารณ์ว่ากาลิเยร์เป็นคนทำแม๊ปปิ้งของแม่น้ำโขงแล้วก็บอกว่าแม่น้ำโขงยาวแค่ 2800 ไมค์ ทีนี้ก็มีกลุ่ม 6 คน เป็นคนฝรั่งเศส เมื่อปี ค.. 1866 ใช้เวลา 2 ปี เริ่มต้น ที่ไซง่อนทะลุเซียงไฮ้ไปหลวงพระบาง เซอร์เวย์ทั้งหมดแล้วทำแผนที่เมืองสำคัญ สุรินทร์เป็นสำคัญที่เป็นเมืองหลักที่เชื่อมต่อกับเสียมเรียบ เพราะฉะนั้นจึงอยู่ในแผนที่หลักของพวก 6 คนนี้ด้วย เสร็จแล้วอุบลและสุรินทร์เท่านั้นที่ปรากฏในแผนที่ของอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงในปี 1866 แล้วจากนั้นเขาก็ขึ้นไป แล้วท่าอุเทนที่อยู่นครพนมเป็นที่ส่งต่อ แฮนบายแฮน ระหว่างจีน ฝรั่งเศสลงคอนพะเพ็งไม่ได้ก็เลยมาพบกันครึ่งทาง ฝรั่งเศสจากไซ่ง่อนเข้ามาคอนพะเพ็งพบกันที่ท่าอุเทนในการแลกเปลี่ยนสินค้า จีนก็เอาสินค้าค้ามาแลกเปลี่ยนกับฝรั่งเศสนี่คือกระบวนการทำการค้า พวก 6 คนนี้สำรวจเส้นทางไปเจอประตูของจีน ขึ้นจากหลวงพระบางไปเชียงตุงของพม่า จีนไม่ให้เข้าประเทศ ฝรั่งเศสจึงให้จีนนำสินค้าออกมาแลกเปลี่ยนนอกประเทศที่ท่าอุเทนที่เหมาะสมที่สุด โดยมาทางตรงดิ่งมาเชียงคานหักมุมอ้อมประเทศไทย เพราะฉะนั้นพอเป็นอย่างนี้ปุ๊บ พวกนี้ก็ใช้วิธีเอาใหม่ พวก 6 คนนี้ตายเหลือ 5 คน เสร็จแล้วต่อมาก็เอาใหม่สู้นั่งเรือจากไซ่ง่อนอ้อมทะเลขึ้นไปเข้าฮานอยเข้าแม่น้ำแดง เข้าใจกลางดีเสียอีกเข้าไปถึงคุนหมิง เพราะแม่น้ำแม่ผ่านคุนหมิง แม่น้ำโขงไม่ได้ผ่านคุนหมิงใช่ไหมคะ เป็นหมายคือยูนนานต้องการค้าขายกับตระกูลไตเพราะคนตระกูลไตพูดง่ายไม่ได้เหมือนจีนฮั่นเพราะในคุนหมิงมีตระกูลไตทั้งนั้นเลย ก็เลยเข้าไปในแม่น้ำแดง ทีนี้พอเข้าไปแม่น้ำแดงก็ตาย 2 หรืออย่างไร ทีนี้เมียก็รู้ข่าวมานอนที่ไซ่ง่อนก็ศึกษาเรื่องแม่น้ำแดง ก็เจอ เดอะเกรีตไอเดีย เดอะเกรตไดเวอร์ คือแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่จริง ๆ เป็นแม่น้ำที่จะศึกษาแนวคิดนี่ก็คือศาสนาในแม่น้ำโขงสามารถที่จะเจาะลึกได้ เขียนในปี 1919 จากที่สามีไปสำรวจ 1866 แม่คนนี้ก็เลยเอามาเขียนต่อ ทีนี้สมัคร ปุราวาส ศึกษาวัฒนธรรมไต-จีน พี่ก็ได้หนังสือจากเมืองจีน คือเผ่าพันธุ์ 25 เผ่าในจีน เพราะฉะนั้นพอเอาอันนั้นมาเทียบปรากฏว่าที่มหิดลทำนะผิดเยอะเลย ก็สรุปก็คือจีนทางตะวันตกเฉียงใต้ก็คือจุดที่เป็นความหมายของเซาอีสเอเซีย พอมันอพยพมาตรงที่ราบสูง 2 ที่นะ กลุ่มฮินดูผิวเหมือนแขก เขาเรียก แขกกับไต ที่นี้กลุ่มไตบางส่วนก็ผสมกับแขกก็เลยกลายเป็นออสโตรเอเซียติก กลุ่มไตบางส่วนผสมกับจีนใช่ไหมฮะ จีนฮั่นนี่นะไม่รู้มาจากไหน ชนเผ่าจีนจริง เป็นพวกม้ง ลาวสูงก็กลายเป็นไตปัจจุบัน ไต-ลาวใช่ไหมฮะ ส่วนมองโกลยังแยกไม่ได้เดี่ยวพี่จะอ่านต่อ พี่เชื่อว่ามองโกลบางส่วนที่มาจากอัลไตนี่นะ จะเป็นออสโตรเอเชียติก หรือออสโตรเอเซียน อันนี้พี่กำลังคิดอยู่ว่าใช่หรือป่าว ที่นี้ก็มีอีกจุดหนึ่งที่ตำนานน้ำเต้าปุ่ง ตำนานน้ำเต้าปุ่งก็คือบริเวณที่ราบสูงซินเกียง-ธิเบต แม่น้ำโขงทำเกิดแอ่งเหมือนน้ำเต้า ตรงนี้คือที่มาของตำนานน้ำเต้าปุ่งคืออยู่บริเวณที่เรียกว่าลานจ้าว เป็นภาษาไต เป็นบริเวณที่กลุ่มไตแยกออกเป็น 2 พี่น้อง คือกลุ่มออสโตรเอเซียติกกับกลุ่มไต พี่ก็เลยบอกว่าพวกนี้นะนับถือน้ำ ออสโตรเอเซียติกจึงระเหเร่ร่อนมาจับจองอยู่นครวัดนครธมเพราะตรงนี้คือความมหัศจรรย์ของทะเลสาบ พวกใช้น้ำเป็นชีวิตเพราะฉะนั้นน้ำเต้าปุ่งก็คือน้ำที่พุ่งออกมาสร้างชีวิตใหม่ให้เขา เผ่าอ้ายก็คือกลุ่มออสโตรเอเชียติก ส่วนเผ่าน้องก็คือพวกไต ทีนี้พวกไตบางส่วนก็ลงมา พี่ก็ลองมองดูว่ากลุ่มออสโตรเอเชียติกไม่น่าจะเป็นแขกอินเดีย แต่น่าจะเป็น คีเบโต้เบอแม่น เป็นพม่าผสมกับมอญ



26 มิถุยายน 2554
อัจฉรา ภาณุรัตน์ ห้องฉัตรทันต์ ตึกช้าง ม.ราชภัฏสุรินทร์ เวลา  15.20.

ศาสนาความเชื่อทางมานุษยวิทยา




Hayashi Yukio.  (2546 : กรกฎาคม 9).  “Practical Buddhism among the Thai-Lao :
           Religion in the Making of a Region.” ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 24 : 46.
(Kyoto University Press and Trans Pacific Press, 2003)
           Hayashi Yukio (2546 : 46) กล่าวถึง การศึกษาเรื่องศาสนาความเชื่อทางมานุษยวิทยาเป็นประเด็นทางทฤษฎีคลาสสิคที่รุ่งเรืองเฟื่องฟูมาตั้งแต่เริ่มมี discipline ทางวิชาการที่เรียกว่า anthropology หรือ ethnology เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในตะวันตก ที่นักมานุษยวิทยาฝรั่งสนใจศึกษาและโต้เถียงทางทฤษฎีเกี่ยวกับศาสนาความเชื่อของกลุ่มชนต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ตะวันตกอย่างกระตือรือร้น แม้การศึกษาศาสนาที่เป็น world religion  จะมาทีหลังจนอาจพูดได้ว่า ระบบความเชื่อเป็นหัวข้อหนึ่งที่นิยามความเป็น มานุษยวิทยา ได้เลยทีเดียว
           กระนั้นก็ดี สรรพสิ่งไม่เที่ยง ก็ยังเป็นศาสนสัจพจน์ที่ใช้ได้กับวิชาการซึ่งขณะนี้ขาดความชอบธรรมที่จะผลิตสัจพจน์ใด ๆ ไปเสียแล้ว เพราะหัวเรื่องทางศาสนาความเชื่อ เช่น พุทธศาสนาเถรวาท (Theravada Buddhism) ของไทยหรือลาว อาจจะได้ผ่านพ้นยุคทองเมื่อสักยี่สิบสามสิบปีก่อนไปแล้ว กลายเป็นประเด็นที่ตกรุ่นตกกระแสแฟชั่นในวงการมานุษยวิทยาไทยและต่างประเทศในปัจจุบันไปพอสมควร
           งานศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนาของนักมานุษยวิทยาญี่ปุ่น ฮายาชิ ยูกิโอะ ผู้เป็นหนึ่งในบรรดานักวิชาการเพียงหยิบมือที่สนใจพุทธศาสนาเถรวาทในเอเชียใต้และอุษาคเนย์ เกี่ยวกับศาสนาแบบชาวบ้านของชาวไทย-ลาว ที่เพิ่งพิมพ์ออกมาในปีนี้ จึงเป็นซุปมิโสะดันโอชะประพรมไม่ให้ความสนใจในเรื่องนี้เหือดแห้งแล้งขอดไปกว่าที่เป็นอยู่
           ในแนวทางเดียวกับมุมมองต่อพุทธศาสนาทางมานุษยวิทยาที่ดูความเชื่อและพฤติกรรมทางศาสนาในความเป็นจริงของชาวบ้านที่ไม่ใช่ในพระไตรปิฎกผู้เขียนต้องการอธิบายพลวัตของพุทธศาสนาแบบชาวบ้านของชาวไทย-ลาว หรือชาวอีสาน โดยเน้นที่กระบวนการทางประวัติศาสตร์ของการก่อตัวของหมู่บ้านและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมภายในและรอบ ๆ หมู่บ้าน
           นี่อาจดูเป็นการศึกษาภาคสนามในหมู่บ้านธรรมดา ๆ ตามชนบทของสาขาวิชาที่ต้องลงไปคลุกเคล้ากับผู้คน แต่สิ่งที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอที่มีนัยทางทฤษฎีคือ การเน้นถึงความเป็นท้องถิ่น (locality) เฉพาะของแต่ละที่ที่ถูกละเลยจากงานศึกษาก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะแนวทางการวิเคราะห์ตีความพุทธศาสนาในไทยที่ทรงอิทธิพลของ Tambiah ทำให้การใช้การวิเคราะห์ทางมโนทัศน์อย่างเป็นสากล (เช่น ศาสนา ไสยศาสตร์ วัดพุทธ) กับทุกสังคมดังงานศึกษาที่ผ่านมากระทำโดยไม่พิจารณาถึงบริบทว่ามโนทัศน์เหล่านี้ดำรงอยู่และผันแปรเชื่อมโยงอย่างไรจริง ๆ ในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ เป็นเรื่องที่ต้องถูกตั้งคำถาม
           งานศึกษานี้มุ่งหมายหาทฤษฎีที่จะเชื่อมโยงกลุ่มชาติพันธุ์กับอาณาบริเวณท้องถิ่นโลกชีวิตของชาวบ้านในแต่ละวัน และรัฐชาติไทยผ่านการมองพุทธศาสนาที่ปฏิบัติในชีวิตจริงและการเปลี่ยนแปรกลายรูปของความเชื่อเรื่องผีหรือการทรงเจ้าเข้าผี ในอาณาบริเวณศึกษาและบริบททางประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านทางภาคอีสานของกลุ่มชาติพันธุ์ไท ที่มีประสบการณ์การเมืองทางชาติพันธุ์ของไทยและลาว
           สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นคือในการจะเข้าใจความเป็นจริงที่มีพลวัตของการปฏิบัติทางศาสนาของผู้คน เราไม่อาจแยกสิ่งที่เป็นพุทธกับสิ่งที่ไม่เป็นพุทธเสมือนกับว่ามันเป็นระบบทางตรรกะภายในที่นำไปใช้วิเคราะห์ได้เลย แต่ต้องมองจากบริบททางประวัติศาสตร์ของความเป็นชาติพันธุ์และอาณาบริเวณท้องถิ่นที่ผู้คนคิดและปฏิบัติ
           นี่จึงเป็นงานอีกชิ้นที่จะมีคุโณปการต่อการศึกษาทำความเข้าใจพุทธศาสนาที่ปฏิบัติในชีวิตจริงของกลุ่มชนต่าง ๆ ในไทย ที่บรรดาปราชญ์พุทธไทยอาจไม่สนใจจะเข้าใจ