วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557
จุฬาฯเจ๋งคว้าแชมป์ยอดอ้างอิงผลงานวิจัยไทย 6 ปีซ้อน
จุฬาฯเจ๋งคว้าแชมป์ยอดอ้างอิงผลงานวิจัยไทย 6 ปีซ้อน อันดับ 479 โลก
วันที่ 4 กันยายน นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ 4,851 สถาบันทั่วโลก ของ SCIMago Institutions Rankings ปี 2014 โดยการจัดอันดับดังกล่าว จะดูจากจำนวนการอ้างอิงผลงานวิจัยของสถาบันนั้น ๆ ในส่วนของจุฬาฯ ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้นำผลงานไปอ้างอิงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 479 ของโลก เท่ากับปีที่ผ่านมา
นอกจากจุฬาฯแล้ว ยังมีมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับ ไม่เกิน 1,000 อันดับแรก มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) อยู่ในอันดับที่ 519 และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) อยุ่อันดับที่ 878 ของโลก
“ถือเป็นปีที่ 6 ที่ผลงานวิจัยของจุฬาฯ ถือว่ามีผู้นำไปอ้างอิงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ โดยในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา จุฬาฯมีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นจากปี 2551 ที่มีเพียง 1,000 กว่าผลงาน มาเป็น 2,000 กว่าผลงาน โดยที่ผ่านมามหาวิทยาลัยพยายามส่งเสริมให้นักวิชาการสร้างสรรค์งานวิจัยในทุกสาขา ทั้งด้านสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แต่ที่เพิ่มขึ้นชัดเจนจะเป็นผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องจากนักวิจัยสายวิทยาศาสตร์นิยมนำผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ส่วนสายสังคม จะมีการตีพิมพ์น้อย เพราะนิยมเขียนให้ความรู้ในเชิงบทความมากกว่า ตรงส่วนนี้ทางจุฬาฯ ก็พยายามส่งเสริมให้นักวิจัยสานสังคม มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติมากขึ้น"
นพ.ภิรมย์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามในภาพรวมอยากให้รัฐบาลช่วยส่งเสริมงบประมาณในเรื่องงานวิจัยให้มากขึ้น เพราะมหาวิทยาลัยไมได้มีหน้าที่ในเรื่องการสอนอย่างเดียว แต่มีความจำเป็นต้องสะสมความรู้เพื่อพัฒนาในด้านต่าง ๆ ด้วย ปัจจุบัน รัฐบาลให้งบประมาณสนับสนุนงานวิจัยเพียง 0.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือ GDP ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกันประเทศเพื่อนบ้าน และต่อไปอาจจะกระทบต่อการพัฒนาในภาพรวม และที่ผ่านมาก็มีการให้งบสนับสนุนงานวิจัยหลายโครงการ อาทิ โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ แต่ก็ขาดช่วง ไม่เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งหากสามารถเดินหน้าต่อได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี ”
สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ โดย SCImago Institutions Rankings แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ งานวิจัย นวัตกรรม และเว็บไซต์ สำหรับด้านงานวิจัย เป็นการจัดอันดับความสามารถในการผลิตและการเผยแพร่ผลงานวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus รวมถึงความเป็นผู้นำและการเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดต่างๆ อาทิ จำนวนผลงานทั้งหมดที่เผยแพร่ในฐานข้อมูล Scopus สัดส่วนผลงานที่ตีพิมพ์ร่วมกับสถาบันต่างประเทศต่อผลงานทั้งหมด ค่าเฉลี่ยของการอ้างอิงผลงานวิชาการของสถาบัน เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของการอ้างอิงผลงานของทั่วโลก อัตราส่วนของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำของโลก จำนวนผู้เขียนผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ทั้งหมดของแต่ละสถาบัน เป็นต้น
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1409812960
วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557
การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Research)
สาวสุรินทร์ในชุดแต่งกายพื้นเมือง
การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Research)
สมประสงค์ เสนารัตน์
นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทนำ
การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Studies) เป็นวิธีการศึกษาของสาขาวิชามานุษยวิทยา (Anthropological Method) ต่อมานักวิจัยและนักวิชาการในสาขาอื่นๆ เช่น ด้านสังคมศาสตร์ และด้านการศึกษาได้นาวิธีการนี้มาใช้ในศาสตร์ของตนเอง การศึกษาชาติพันธุ์วรรณนาในยุคแรกๆ ความสนใจจากัดอยู่เฉพาะการศึกษากลุ่มชนบางกลุ่มในสังคม เช่น กลุ่มชนที่ล้าหลัง และชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาวนา กลุ่มชนในชนบท ต่อมาเริ่มขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น ขยายความสนใจศึกษาไปยังกลุ่มทางสังคม วัฒนธรรม สถาบัน และองค์กรร่วมสมัย แทบทุกรูปแบบ เช่น สังคมเกษตรกรรม กลุ่มกรรมาชีพ กลุ่มสตรี พระสงฆ์ สถาบันวัด ครอบครัว โรงเรียน ชุมชนในเมือง ฯลฯ โดยได้ทาการศึกษาวัฒนธรรม ความคิด ความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง แต่ที่ผ่านมาการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอดจากทั้งคนในวงการวิจัยเชิงคุณภาพและจากภายนอก ประเด็นที่ภายนอกวิพากษ์กันมากก็คือ เรื่องความไม่เข้มงวดของระเบียบวิธีวิจัย ทั้งประเด็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล และมีการตอบโต้ในประเด็นดังกล่าวโดยพยายามปรับปรุงวิธีการ แต่โดยภาพรวมแล้ววิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาก็ยังคงความเป็น “เชิงคุณภาพ” อย่างเต็มรูปแบบ (ชาย โพธิสิตา. 2550: 153)
ความหมาย
ชาย โพธิสิตา (2548:34) ให้ความหมายของชาติพันธุ์วรรณนาไว้ว่า ชาติพันธุ์วรรณนา หมายถึง กระบวนการสังเกตพฤติกรรม และวิถีชีวิตของกลุ่มทางสังคมและวัฒนธรรมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แล้วรายงานโดยละเอียดถึงพฤติกรรม ความเชื่อ ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ตลอดจนค่านิยมอันเป็นผลมาจากพฤติกรรมของคนในกลุ่มนั้นๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ชาติพันธุ์วรรณนาเป็นการพรรณนาถึงวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมของคนในสังคมใดสังคมหนึ่ง โดยปกตินักชาติพันธุ์วรรณนากับนักมานุษยวิทยา
เป็นคนๆ เดียวกัน ทั้งนี้ก็เพราะชาติพันธุ์วรรณนาเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่นักมานุษยวิทยาใช้ศึกษา “วัฒนธรรม” ของคนในสังคม
อลิศรา ศิริศรี (2541:20) ให้ความหมายของการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Research) ว่า เป็นการศึกษาวัฒนธรรม โดยวัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะของการดาเนินชีวิตของบุคคล หรือของกลุ่มบุคคลในสังคมหนึ่งๆ หรือในชุมชนหนึ่งๆ ตามความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา และภาษา
ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ (2550: 90-91) กล่าวว่า Ethnography เป็นการศึกษาทางชนชาติวิทยา และการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา เป็นแนวทางหนึ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งอธิบาย และตีความข้อมูลทางสังคม เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก วัฒนธรรม และพฤติกรรมของมนุษย์ โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลหลายๆ วิธีในทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นักวิจัยต้องแฝงตัวเองเข้าไป คลุกคลีอยู่กับประชากรในชุมชนหรือท้องถิ่นที่ต้องการศึกษา เพื่อได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม และวิถีการดาเนินชีวิตที่เป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการแสดงออกของความรู้สึกและพฤติกรรมต่างๆ ของประชากรจนได้ข้อมูลเพียงพอที่จะนาไปวิเคราะห์ แปลผล สรุปผลหรือสร้างทฤษฎีเพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมทางวัฒนธรรมของประชากรได้ โดยทั่วไปการศึกษาทางชนชาติวิทยาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) ระดับมหัพภาค (macroethnography) ที่เน้นถึงวัฒนธรรมในภาพกว้าง และ (2) ระดับจุลภาค (micro ethnography) ที่เน้นวัฒนธรรมที่แคบลงมาในขนาดประชากรที่น้อยลง หรืออาจเป็นการศึกษาเฉพาะกรณีในหน่วยงาน
Geertz (อลิศรา ศิริศรี.2541: 250. อ้างอิงจาก Geertz: 1975) กล่าวว่า การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา คือ การนาตัวเราหรือผู้วิจัยเข้าไปสู่ สิ่งที่ Geertz เรียกว่า “Thick Description” หมายถึง ความพยายามที่จะบรรยายหรือพรรณนา (Describe) อย่างละเอียดลึกซึ้งถึงเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น การตีความหมายหรือหาความหมาย (Interpretation) เพื่อที่จะอธิบายถึงลักษณะและความเป็นไปอันสลับซับซ้อนของสังคมนั้นๆ
LeCompte and Schensul (ชาย โพธิสิตา. 2550: 148. อ้างอิงจาก LeCompte and Schensul.1999a: 1) เห็นว่า ชาติพันธุ์วรรณนาเป็น “วิธีการศึกษาชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน สถาบัน รวมถึงกลุ่มหรือองค์กรในรูปแบบอื่นๆ วิธีการนี้มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง ใช้ตัวนักวิจัยเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่เคร่งคัดเพื่อหลีกเลี่ยงอคติและเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของประชาชนผู้ให้ข้อมูล ใช้วิธีดาเนินการวิจัยแบบอุปนัย สร้างทฤษฎีขึ้นมาจากท้องถิ่นที่ศึกษาเพื่อทาการทดสอบและปรับใช้ภายในท้องถิ่นและกับที่อื่น
Stewart (ชาย โพธิสิตา.2550: 148. อ้างอิงจาก LeCompte and Schensul. 1998) หลีกเลี่ยงที่จะให้ความหมายในเชิงนิยาม แต่กล่าวถึงลักษณะสำคัญของวิธีการนี้ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้คือ ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการวิจัยที่เน้นความเป็นองค์รวม เป็นการวิจัยที่
ให้ความสำคัญแก่บริบท รวมทั้งมีการพรรณนาและการวิเคราะห์ที่เน้นปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคมเป็นตัวแปรสำคัญ
William Wiersma (1986: 16) ได้กล่าวถึงชาติพันธุ์วรรณนาว่าเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง เป็นเรื่องของการพรรณนาวิเคราะห์สถานการณ์ทางวัฒนธรรมที่เฉพาะเจาะจง ส่วนความหมายกว้างๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมของการศึกษา การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาจึงเป็นเรื่องทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับมานุษยวิทยาแต่มีการนามาใช้ในการศึกษา
จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่า ชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnography) เป็นการศึกษาทางชนชาติวิทยา และการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเป็นแนวทางหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งอธิบายและตีความข้อมูลทางสังคม เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก วัฒนธรรม ภาษา และพฤติกรรมของมนุษย์ วิถีชีวิตของกลุ่มคนในสังคม โดยใช้วิธีการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัย จะเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเก็บข้อมูลที่เคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงอคติและให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลเน้นการพรรณนา และการวิเคราะห์ที่เน้นปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคมเป็นตัวแปรสำคัญ โดยทั่วไปการศึกษาทางชนชาติวิทยาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) ระดับมหัพภาค (macro ethnography) ที่เน้นถึงวัฒนธรรมในภาพกว้าง และ (2) ระดับจุลภาค (micro ethnography) ที่เน้นวัฒนธรรมที่แคบลงมาในขนาดประชากรที่น้อยลง หรืออาจเป็นการศึกษาเฉพาะกรณีในหน่วยงาน
จุดมุ่งหมาย
ในช่วงแรกชาวตะวันตกเป็นผู้ริเริ่มศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ที่จะมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชนกลุ่มอื่น เพื่อประโยชน์ในการติดต่อและเปลี่ยนแปลงสังคม (อลิศรา ศิริศรี. 2541: 249) ดังนั้นในระยะแรกจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มชนหรือสังคมว่าเป็นอย่างไร (นิศา ชูโต.2548: 38; อลิศรา ศิริศรี.2541: 249; ชาย โพธิสิตา. 2550: 150; ทรงคุณ จันทจร. 2549: 7) เป็นการศึกษาถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเป็นอยู่ การดาเนินชีวิต ความเชื่อ ของกลุ่มชนหนึ่งๆ อย่างละเอียด (นิศา ชูโต.2548: 38; อลิศรา ศิริศรี.2541: 249; ทรงคุณ จันทจร. 2549: 7) และในปัจจุบันวัตถุประสงค์ของการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา มีแนวโน้มที่มุ่งทาความเข้าใจปัญหาเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง (problem-oriented) มากขึ้น แทนที่จะเป็นการศึกษาเพื่อพรรณนาหรือทาความเข้าใจชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยรวมๆ เช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม ประเด็นเจาะจงที่ศึกษาอาจมีหลากหลาย เช่น พฤติกรรมเสี่ยงต่อ HIV/AIDS ของคนในชุมชน การรับนวัตกรรมทางการเกษตร พฤติกรรมการใช้ยาในชุมชน ความรุนแรงในครอบครัว การเลี้ยงดูเด็กในชุมชนเมือง ฯลฯ จากพัฒนาการใหม่นี้ทาให้มีการใช้ชาติพันธุ์วรรณนาเป็นการวิจัยประยุกต์ คือ ทาการวิจัยเพื่อหาทางแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งมากขึ้น นั่นหมายความว่า เนื้อหาและการดาเนินการวิจัยก็จะมุ่งการวิเคราะห์และใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้จะเจาะจงปัญหาในการวิจัย แต่ลักษณะสำคัญของการเป็นชาติพันธุ์วรรณนา ก็ยังเป็นเรื่องของการมุ่งทาความ
เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มชน ไม่ใช่ของบุคคล และการวิเคราะห์เชิงชาติพันธุ์วรรณนานั้น ให้ความสาคัญแก่ปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรมเป็นพิเศษ แม้จะรวมเอาปัจจัยอื่นเข้ามาด้วยก็ตาม ทั้งนี้เพราะมโนทัศน์ทางวัฒนธรรมและสังคมยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (ชาย โพธิสิตา. 2550: 153)
จะเห็นได้ว่า การศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มชนหรือสังคม ไม่ใช่บุคคล ถึงแม้พัฒนาการของการศึกษาจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร จุดมุ่งหมายของการศึกษาก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มชนหรือสังคม
รูปแบบวิธีดาเนินการวิจัย
1. ขั้นตอนในการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา
อลิศรา ศิริศรี (2541: 251-256) ได้เสนอขั้นตอนการทาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาไว้ 4 ขั้นตอนดังนี้
1.1 การเข้าสู่สนามและการกำหนดบทบาทผู้วิจัย (Entry to the field & Establishing the role)
1.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data)
1.3 การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data)
1.4 การเสนอผลสรุปการวิจัย (Presenting the Study)
1.1 การเข้าสู่สนามและการกำหนดบทบาทผู้วิจัย อลิศรา ศิริศรี (2541: 251-252) ได้เสนอแนวทางการเข้าสู่สนามและการกาหนดบทบาทผู้วิจัยไว้ดังนี้
1) ผู้วิจัยจะต้องทาตนเองให้คุ้นเคยกับสถานที่ สถานการณ์ สภาพการณ์ สิ่งแวดล้อมที่ต้องการศึกษาโดยคร่าวๆ
2) ผู้วิจัยกำหนดบทบาทของตนเองในสภาพการณ์นั้นให้แน่ชัด ว่า ตนเองเป็นใคร และจะมาทาอะไรในสังคมนั้น
3) ผู้วิจัยจาเป็นต้องชี้แจงและแนะนาตนเองกับสมาชิกหรือบุคคลในสังคมนั้นที่ตนเองจะต้องเกี่ยวข้องด้วย
4) ผู้วิจัยจะต้องแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับที่ได้ชี้แจงไว้
1.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) กระบวนการศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาจะมีลักษณะการดาเนินงานที่ต่อเนื่องและมีลักษณะของการเหลื่อมล้า เช่น การเก็บข้อมูลนี้จะเริ่มตั้งแต่ผู้วิจัยได้ย่างก้าวเข้าสู่สภาพการณ์นั้น ผู้วิจัยจะเริ่มสังเกตเก็บข้อมูลเบื้องต้นง่ายๆ อาจจะเป็น
ลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ลักษณะการจัดโต๊ะเรียน ม้านั่ง โต๊ะครู การจัดบอร์ด นอกจากนี้อาจสังเกตลักษณะของบุคคลโดยทั่วๆ ไป เป็นต้น เทคนิคในการเก็บข้อมูลของการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาควรมีวิธีการหลักอย่างน้อย 3 วิธี (อลิศรา ศิริศรี. 2541: 252) คือ
1.2.1 การสังเกต (Observation) สาหรับการสังเกตนี้มีหลายรูปแบบ แต่ที่เป็นหัวใจของการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา คือ การเข้าไปอยู่ในสังคมหรือสนามที่ศึกษาเพื่อทาการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) ในการศึกษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเป็นอยู่ ความเชื่อ การดาเนินชีวิตต่างๆ อย่างละเอียดพิสดาร (Intensive Field Work) (นิศา ชูโต. 2548: 38; ชาย โพธิสิตา. 2550: 155) ด้วยการเป็นผู้สังเกตที่อยู่ในเหตุการณ์สภาพการณ์จริง ร่วมเป็นสมาชิกทากิจกรรมกลุ่ม แต่ในขณะเดียวกันผู้วิจัยจะต้องทาตนเป็นกลางไม่เข้ากับกลุ่มสมาชิกย่อยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทาตัวไม่เข้ากับฝ่ายใด (อลิศรา ศิริศรี. 2541: 252)
1.2.2 การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นวิธีการเก็บข้อมูลที่สาคัญอีกอย่างหนึ่ง ลักษณะของการสัมภาษณ์นั้นควรจะแบ่งออกมาในลักษณะของการสนทนา (Conversation) มากกว่าที่จะเป็นการสัมภาษณ์ตามรูปแบบที่เราคุ้นเคย แต่เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ประสบการณ์ระหว่างผู้วิจัยกับสมาชิกของสังคมมากกว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยเป็นฝ่ายป้อนคาถามต่างๆ และรอรับคาตอบจากผู้ถูกสัมภาษณ์ ลักษณะของคาถามจะเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์และบุคคล (อลิศรา ศิริศรี. 2541: 252; นิศา ชูโต. 2548: 40) ในการสัมภาษณ์นี้อาจจะจัดรูปแบบทั้งลักษณะเป็นทางการ (Formal Interview) และไม่เป็นทางการ (Informal Interview) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลและเหตุการณ์
1.2.3 การศึกษาวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) เอกสารต่างๆ ที่จะใช้ในการวิเคราะห์นั้นมีอยู่หลายรูปแบบนับตั้งแต่หนังสือพิมพ์ ทะเบียนประวัติ จดหมายติดต่อหรืออาจจะเป็นจดหมายติดต่อระหว่างหน่วยงานหรือภายในหน่วยงาน บันทึกข้อความท้ายจดหมาย จดหมายเหตุบันทึกประจาวัน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นกิจวัตรประจา ความคิดพื้นฐานของสังคมนั้น นอกจากนี้ยังมีบรรดาภาพถ่าย ภาพยนตร์ เหล่านี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงบรรทัดฐาน ค่านิยม การดาเนินชีวิตของกลุ่มสังคมนั้นได้ในอีกลักษณะหนึ่ง และยังเป็นการยืนยันข้อมูลที่ได้มา โดย 2 วิธีแรก นอกเหนือจากนี้สิ่งที่ผู้วิจัยสามารถที่จะนามาศึกษาและวิเคราะห์ได้อีก ได้แก่ นิทานพื้นบ้าน คาพังเพย คาสอน คาขวัญ เพลงกล่อมเด็ก (อลิศรา ศิริศรี. 2541: 252) และการศึกษาจากข้อมูลประวัติศาสตร์ การบอกเล่าของผู้รู้ (ชาย โพธิสิตา. 2550: 156)
1.3 การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) อลิศรา ศิริศรี (2541: 254) ได้กล่าวถึงการศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาว่ามีรูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลในหลายลักษณะ หลายวิธี และระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแตกต่างกัน การศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนามีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือ ขั้นตอนการวิจัยเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและอาจจะเกิดขึ้นพร้อมกันได้ ผู้วิจัยไม่จาเป็นต้องรอให้การเก็บข้อมูลเสร็จ จึงเริ่มวิเคราะห์ข้อมูล เพราะการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถทาได้ตั้งแต่เริ่มกระบวนการเก็บข้อมูล เช่น ในขณะที่เราจดบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ผู้วิจัยอาจเกิดแนวคิดเกี่ยวกับการ
วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งการที่ผู้วิจัยได้มีโอกาสวิเคราะห์ข้อมูลในระหว่างกระบวนการเก็บข้อมูลนี้ เป็นการช่วยปรับปรุงแนวทางที่จะเก็บข้อมูลต่อไป เป็นการช่วยกาหนดจุดความสนใจในการวิจัยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการวัดประเมินอย่างต่อเนื่องว่า ผู้วิจัยรู้อะไรบ้างแล้ว และอะไรที่ควรจะรู้เพิ่มอีก สิ่งที่ผู้วิจัยจะต้องระลึกไว้ว่าเหตุการณ์หรือสิ่งใดๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว หากมาเก็บข้อมูลในภายหลัง ข้อมูลที่ได้รับจะไม่เหมือนหรือไม่สามารถที่จะเทียบเท่ากับการเก็บข้อมูลในขณะที่เกิดเหตุการณ์นั้น ขั้นตอนกระบวนการของการศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาจึงยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องสัมพันธ์กับสภาพการณ์ขณะนั้น หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นมีหลายรูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของเรื่องที่ศึกษา การสรุปและการวิเคราะห์ข้อมูลขึ้นอยู่กับการแปลความหมายของผู้วิจัย ผู้วิจัยไม่สามารถที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าถึงข้อมูลที่จะได้หรือแม้แต่การกาหนดถึงลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูล และการเสนอผล ทั้งนี้เพราะว่าวัตถุประสงค์ของการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนามุ่งที่จะความพยายามที่จะเข้าใจการกระทาของบุคคลในสภาพการณ์ และสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติในสถานที่ที่เหตุการณ์เกิดขึ้นจริง ความพยายามศึกษา เข้าใจบุคคลในสภาพแวดล้อมในสังคมที่เขาเป็นอยู่ ในสังคมที่เขาดาเนินชีวิตอยู่เป็นประจา
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา สามารถทาเหมือนการวิจัยเชิงคุณภาพทั่วไป คือ การนาข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาจัดเก็บให้เป็นระบบระเบียบ การนาเสนอข้อมูล และตีความและการหาข้อสรุป แต่ก่อนที่จะวิเคราะห์ข้อมูล ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อน ซึ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพมีเทคนิคหนึ่งที่ได้รับความนิยมนามาใช้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล คือ เทคนิคสามเส้า (Triangulation Technique) เทคนิคนี้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ. 2550: 276) ได้แก่
(1) ต่างวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (method triangulation) เป็นการใช้หลายๆ วิธีในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่นเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องเดียวกันจากกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน ด้วยวิธีการสังเกต สัมภาษณ์ และเก็บข้อมูลจากเอกสาร แล้วนาข้อมูลมาตรวจสอบยืนยันกัน
(2) ต่างแหล่งข้อมูล (data sources triangulation) เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งที่ต่างกันนั้นด้วยวิธีการเก็บข้อมูลเหมือนกัน หรือใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเดียวกันแต่ต่างเวลา สถานที่ และบุคคล แล้วนาข้อมูลมาตรวจสอบยืนยันกัน
(3) ต่างนักวิจัย (investigator triangulation) เป็นการใช้นักวิจัยที่มาจากต่างสาขา หรือต่างประสบการณ์ หรือต่างภูมิหลังมาเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล แล้วนาผลการวิจัยมาตรวจสอบยืนยันกัน
(4) ต่างทฤษฎีหรือแนวคิด (theory triangulation) เป็นการใช้ทฤษฎีหลายๆ ทฤษฎีมาเป็นแนวทางในการอภิปรายข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย ซึ่งอาจจะสอดคล้องหรือขัดแย้งกันก็ได้
1.4 การเสนอผลสรุปของการวิจัย (Presenting the study) อลิศรา ศิริศรี (2541: 255-256) ได้กล่าวว่า การที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ หรือการวิเคราะห์เอกสาร ผู้วิจัยต้องใช้เวลานานในการเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ ข้อมูลที่ได้จะมีลักษณะเป็นเชิงพรรณนา มีปริมาณของข้อมูลจานวนมากนับร้อยหน้า การที่จะนามาวิเคราะห์ทั้งหมดก็จะเป็นการเพิ่มปริมาณผลการศึกษามาก
ขึ้น ดังนั้น จึงจาเป็นจะต้องมีวิธีการและรูปแบบของการเสนอรายงานผลการวิจัย โดยต้องคานึงถึงประเด็นสำคัญและลักษณะกลุ่มของผู้อ่าน หรือผู้ที่จะรับฟังรายงานการวิจัยเป็นหลัก เช่น ถ้าเป็นการเสนอต่อคณะกรรมการวิชาการ ผู้วิจัยจะต้องอธิบายถึงรายละเอียดของสภาพการณ์ การเสนอข้อมูลบางอย่างได้ในรายละเอียด แม้กระทั่งข้อคิดเห็นของผู้วิจัยเอง แต่ถ้าให้ผู้ฟัง หรือผู้อ่านที่เป็นผู้ที่อยู่ในระดับนโยบาย การสรุปอาจจะต้องทาให้สันกะทัดรัดและชัดเจน โดยทั่วไปอาจเป็นการบรรยายสรุป โดยนาตัวอย่างข้อมูลบางอย่างมาใช้สนับสนุนการวิเคราะห์หรือการเสนอผลงานได้ อย่างไรก็ตามการตัดสินใจการให้คุณค่าของการศึกษาวิจัยนั้น ขึ้นอยู่กับผู้อ่านที่จะตัดสินใจด้วยตัวผู้อ่านเอง ลักษณะดังกล่าวจะแตกต่างไปจากการเสนอผลการวิจัยในแนวอื่น
การศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเป็นการศึกษาสภาพการณ์ที่มีอยู่ เป็นอยู่จริง จึงทาให้ได้พบเห็นปัญหาและความเป็นจริงในการดาเนินชีวิตของบุคคลในสังคมนั้นๆ ซึ่งสิ่งที่ผู้วิจัยพบ หรือผลของการศึกษาอาจจะให้ทั้งผลดีและผลเสียต่อบุคคลนั้น หรืออาจจะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของบุคคลในองค์กรนั้น ดังนั้น จึงอาจเกิดปัญหาขัดแย้งได้ว่าผู้วิจัยควรที่จะเสนอผลการวิจัยในลักษณะใด หรือเสนอผลงานอย่างไรเพื่อทีจะหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนบุคคล หรือสมาชิกของสังคมนั้น Rainwater& Pittman (อลิศรา ศิริศรี. 2541: 256 ; อ้างอิงจาก Rainwater & Pittman.1976) ได้เสนอแนวทางออกของปัญหานี้ไว้ว่า ผู้วิจัยควรสงวนนาม และปกป้องบุคคลที่เป็นแหล่งข่าว หรือแหล่งข้อมูลที่ทาการศึกษา ซึ่งอาจเป็นการลดปัญหาดังกล่าวได้
2. การกาหนดตัวอย่าง
ชาย โพธิสิตา (2550: 156-159) ได้กล่าวถึงการเลือกตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (รวมถึงการวิจัยเชิงคุณภาพทุกชนิดด้วย) ไว้ว่า เป็นการใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง คือ นักวิจัยสรรหาตัวอย่างที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับเรื่องที่จะทาการศึกษา ที่ว่าเหมาะสมคือ เป็นตัวอย่างที่สามารถให้ข้อมูลได้หลากหลาย ซึ่งจะเอื้อต่อการวิเคราะห์และนาไปสู่ความเข้าใจประเด็นการวิจัยที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสนับสนุนหรือแย้งกับแนวคิดของการวิจัยก็ตาม ไม่ใช่มองหาเฉพาะตัวอย่างที่สนับสนุนอย่างเดียว กลุ่มตัวอย่างต้องสามารถให้ข้อมูลที่หลากหลายและพอเพียงสาหรับการวิเคราะห์ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า ตัวอย่างใดเหมาะสมและสามารถให้ข้อมูลได้มากหรือน้อย นี่เป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่มีสูตรสาเร็จในการเลือกใช้
ในเบื้องต้น สิ่งที่จะให้แนวทางในการตัดสินใจว่าจะเลือกตัวอย่างในการวิจัยอย่างไรดี คือ คาถามในการวิจัยที่นักวิจัยต้องการหาคาตอบ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัย และกรอบแนวคิดทฤษฎีในการวิจัย (ชาย โพธิสิตา. 2550: 157) ดังนี้
1) คาถามในการวิจัยที่นักวิจัยต้องการหาคาตอบ (Research questions) หมายถึง สิ่งที่นักวิจัยต้องการรู้หรือต้องการหาคาตอบ อันเป็นที่มาของการวิจัยเรื่องนั้น ในการออกแบบส่วนนี้ควรพยายามตอบคาถามเหล่านี้ คือ ในการวิจัยเรื่องนี้เราต้องการรู้หรือทาความเข้าใจอะไรบ้าง มีสิ่งใดบ้างที่ยังไม่มีใครรู้แต่เราอยากรู้ ในการวิจัยนี้เราจะสามารถตอบคาถามอะไรบ้าง และคาถามเหล่านี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร คาถามการวิจัยเป็นองค์ประกอบที่สาคัญมาก ในการออกแบบองค์ประกอบส่วนอื่นๆ ทั้งหมด นักวิจัยจะต้องคานึ่งถึงคาถามการวิจัยก่อนเสมอ ดังนั้น คาถามจึงทาหน้าที่เป็นเสมือนศูนย์กลางของการออกแบบการวิจัย (ชาย โพธิสิตา. 2550: 108-109)
2) จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purpose) : หมายถึง เป้าหมายที่นักวิจัยต้องการจะบรรลุถึงในการวิจัยเรื่องนั้น รวมถึงสิ่งที่ต้องการจะทาในกระบวนการวิจัย อันจะช่วยให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการนั้นได้ ในการออกแบบจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัยควรพยายามตอบคาถามเหล่านี้ : เป้าหมายเหล่านั้นมีความสาคัญอย่างไร? ทาไมจึงควรมีการวิจัยเรื่องนั้น? มีเหตุผลอะไรที่เราต้องให้ความสาคัญแก่เรื่องนั้น? และการวิจัยเรื่องนั้นมีคุณค่าเพียงใด ทั้งในด้านเพิ่มพูนความรู้และในทางนโยบาย (ชาย โพธิสิตา. 2550: 109)
3) กรอบแนวคิดทฤษฎีในการวิจัย (Conceptual context): หมายถึง กรอบมโนทัศน์ หรือมุมมองที่นักวิจัยจะใช้ในการตอบคาถามการวิจัยที่ตั้งเอาไว้ แนวคิดในการวิจัยจะบอกเราว่า ปรากฏการณ์ หรือสิ่งที่เราศึกษานั้นน่าจะเป็นอย่างไร มีทฤษฎีข้อค้นพบ และกรอบแนวคิดอะไรบ้างที่จะเป็นแนวทางในการศึกษาของเรา มีการศึกษาที่ผ่านมา ผลการทดลองศึกษาในเบื้องต้น หรือประสบการณ์ส่วนตัวของนักวิจัยอะไรบ้างที่พอจะนามาใช้ประโยชน์ในการศึกษาครั้งนี้ การออกแบบจะเกี่ยวกับทฤษฎีที่มีอยู่แล้วหรือที่เราจะสร้างขึ้นมาเองเพื่อทาความเข้าใจประเด็นที่เราจะศึกษา ทฤษฎีเราอาจได้มาจาก 4 แนวทาง คือ 1) จากประสบการณ์ส่วนตัวของเรา 2) จากทฤษฎีหรือการวิจัยที่คนอื่นทาไว้แล้ว 3) จากการศึกษานาร่อง และ 4) จากการคิดสังเคราะห์ขึ้นมาเองของนักวิจัย (ชาย โพธิสิตา. 2550: 109)
ขั้นตอนต่อไป นักวิจัยต้องทาความรู้จักประชากร และ/หรือปรากฏการณ์/สถานที่ที่อยู่ในข่ายเหล่านั้นให้ดีขึ้น นักวิจัยต้องหาข้อมูลทั่วไปจากประชากรกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในข่ายจะถูกเลือกเป็นตัวอย่างในการศึกษาได้ ขั้นตอนนี้จาเป็น เพราะถ้าปราศจากข้อมูลเบื้องต้นที่เพียงพอเกี่ยวกับประชากรเป้าหมายของการศึกษาแล้ว การเลือกตัวอย่างไม่ว่าจะด้วยวิธีสุ่ม อย่างเช่นในการวิจัยเชิงปริมาณ หรือด้วยวิธีเจาะจงในการวิจัยเชิงคุณภาพ ก็แทบไม่มีความหมายอะไร ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรหรือกลุ่มที่เราสนใจนั้นอาจหาได้จากเอกสาร สิ่งพิมพ์ สารคดี ห้องสมุด รายงานการวิจัย หน่วยงานราชการ การสนทนากับผู้รู้ รวมทั้งการเข้าไปติดต่อหาข้อมูลเบื้องต้นจากประชากรและสถานที่ที่อยู่ในข่ายความสนใจด้วยตัวเอง ถ้าสามารถทาได้ (ชาย โพธิสิตา. 2550: 157-158)
การวิจัยเชิงคุณภาพต้องศึกษาเจาะลึกในกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก การเลือกตัวอย่างที่จะให้ได้ความเป็นตัวแทนดังที่กาหนดในการวิจัยเชิงปริมาณนั้น อาจเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าที่จะเป็นจริงได้ เว้นแต่ว่าเราจะนิยามความเป็นตัวแทนต่างออกไป การเลือกตัวอย่างในการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาตั้งต้นจากแนวคิดเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการว่า ถ้าเลือกตัวอย่างแบบนี้ จะมีความหมายอย่างไรในเรื่องข้อมูล? และข้อมูลนั้นจะให้อะไรบ้างในการทาความเข้าใจประเด็นที่ศึกษา? โดยสรุปก็คือ นักวิจัยต้องตอบคาถามว่าทาไมตัวอย่างนั้น (ชุมชน เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ ฯลฯ) จึงควรเลือกหรือไม่ควรเลือกสาหรับการศึกษาของตน ตัวอย่างนั้นมีความเหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ คาถามในการวิจัย
และกรอบแนวคิดในการวิจัยมากน้อยเพียงใด มีตัวอย่างอื่นที่เหมาะสมกว่านี้หรือไม่ เมื่อตอบคาถามเหล่านี้ได้เป็นที่พอใจแล้ว จึงนาประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่นมาพิจารณา (ชาย โพธิสิตา. 2550: 158)
ประเด็นอื่นที่ว่านั้นอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเป็นไปได้ ความสะดวก เวลา และทรัพยากรที่มีอยู่ของนักวิจัย ให้นักวิจัยสร้างเกณฑ์กว้างๆ สาหรับพิจารณาในการเลือกตัวอย่าง 3 ชนิด คือ เกณฑ์เกี่ยวกับสิ่งอานวยความสะดวก เกณฑ์ที่ใช้กาหนดคุณสมบัติว่าอะไรที่เข้าข่ายและอะไรที่ไม่เข้าข่าย สาหรับการศึกษาที่วางแผนเอาไว้ และเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลว่าตัวอย่างที่นักวิจัยกาลังพิจารณาอยู่นั้นน่าจะให้ข้อมูลที่ต้องการได้เพียงพอหรือไม่ สาหรับคาถามที่ว่า ควรจะสร้างเกณฑ์ไว้สูงต่าแค่ไหนนั้น ไม่มีคาตอบที่เป็นสูตรสาเร็จ นักวิจัยต้องใช้ความรู้และวิจารณญาณของตนเองในการตัดสินใจ (ชาย โพธิสิตา. 2550: 158)
เมื่อเลือกตัวอย่าง ซึ่งอาจจะเป็นชุมชน เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ที่จะศึกษาได้แล้ว ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มกระบวนการเก็บข้อมูล ในกระบวนการเก็บข้อมูลนั้น นักวิจัยอาจจะต้องเลือกผู้ให้ข้อมูลที่เหมาะสมสาหรับแต่ละเรื่องอีก ผู้ให้ข้อมูลนี้เรียกว่า Key informants คือ ผู้ที่ทรงความรู้ มีประสบการณ์ มีแนวความคิดที่น่าสนใจในชุมชน หรือในบางครั้งอาจเป็นผู้รู้ในท้องถิ่นก็ได้ นอกจากนี้แล้ว ในการศึกษา นักวิจัยอาจต้องการเลือกตัวอย่างบางรายมาทาการศึกษาลงลึกเป็นกรณีพิเศษ เพื่อสนับสนุนข้อสรุปหรือการตีความของตน กรณีเช่นนี้ควรเป็นกรณีที่เด่นๆ ทั้งในเชิงสนับสนุนและในเชิงแย้งกับข้อสรุปของนักวิจัย และควรเป็นกรณีที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ได้มากและลึกกว่ารายอื่นๆ การเลือกตัวอย่างเพื่อศึกษาเป็นกรณีพิเศษเช่นนี้ ควรเลือกหลายรายและกระจายให้ครอบคลุมความหลากหลายของประชากรเป้าหมายของการศึกษาพอสมควร อย่างไรก็ตาม การกระจายนั้นก็ไม่ใช่มุ่งให้ได้ความเป็นตัวแทนเป็นหลัก แต่เพื่อความหลากหลายของตัวอย่างมากกว่า (ชาย โพธิสิตา. 2550: 158-159)
3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา เครื่องมือสาคัญที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ตัวนักวิจัยเอง (ชาย โพธิสิตา. 2550: 148) โดยนักวิจัยต้องแฝงตัวเองเข้าไปคลุกคลีอยู่กับประชากรในชุมชนหรือท้องถิ่นที่ต้องการศึกษา เพื่อได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและวิถีการดาเนินชีวิต ที่เป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการแสดงออกของความรู้สึกและพฤติกรรมต่างๆ ของประชากรจนได้ข้อมูลเพียงพอที่จะนาไปวิเคราะห์ แปลผล สรุปผลหรือสร้างทฤษฎีเพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมทางวัฒนธรรมของประชากรได้ (ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ 2550: 90-91)
วิธีการเชิงชาติพันธุ์วรรณนากับการนาไปใช้
วิธีการวิจัยมีมากมายหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการ และมีเงื่อนไขสภาพแวดล้อมแตกต่างกันไป จึงไม่มีการวิจัยรูปแบบใดจะเหมาะสมกับสภาพ
ปัญหา ความต้องการ และสภาพแวดล้อมการวิจัยได้เหมาะที่จะใช้ได้กับหัวข้อและเงื่อนไขการวิจัยทุกชนิด รูปแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาก็เช่นเดียวกัน มีเพียงปัญหา ความต้องการ และเงื่อนไขสภาพแวดล้อมบางอย่างเท่านั้นที่เหมาะสาหรับวิธีการเช่นนี้ การนาวิธีนี้ไปใช้ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ และเงื่อนไขและสถานการณ์แวดล้อม แทนที่จะได้ผลการวิจัยที่มีคุณภาพ อาจจะไม่ได้ผลการวิจัยที่คุณภาพ รวมทั้งเสียเวลาและทรัพยากรอื่นๆ ดังนั้น ก่อนที่จะนารูปแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาไปใช้งาน นักวิจัยจึงควรทาความเข้าใจว่าชาติพันธุ์วรรณนาเหมาะที่จะใช้ในสถานการณ์และเพื่อวัตถุประสงค์อย่างไรบ้าง ในประเด็นเรื่องการนาไปใช้นี้ ชาย โพธิสิตา (2550: 159-161) ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ 5 ข้อ ดังนี้
1) ใช้วิธีการเชิงชาติพันธุ์วรรณนา เมื่อต้องการหาความรู้ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน เกี่ยวกับชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือองค์กรอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรม การใช้แบบนี้ตรงตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของชาติพันธุ์วรรณนา นักวิจัยอาจจะทาการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยที่ยังไม่มีใครศึกษามาก่อน หรือมีคนศึกษาแล้วแต่ความรู้เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยนั้นยังจากัด (ชาย โพธิสิตา. 2550: 159)
2) ใช้เมื่อต้องการค้นหาหรือแสวงหาประเด็นใหม่ๆ ของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีการเปิดเผยมาก่อน เพื่อการศึกษาแบบลงลึกที่ตามมา การใช้ชาติพันธุ์วรรณนาในลักษณะนี้รวมถึงการใช้เพื่อค้นหาว่า อะไรคือสิ่งที่เป็นปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และประเด็นปัญหานั้นอยู่ที่ไหน (เช่น ในเรื่องการดาเนินโครงการตามนโยบายใหม่ของรัฐบาล เรื่องผลกระทบของเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมต่อสถาบันครอบครัว) ในบางครั้งเราอาจจะพอรู้อยู่ว่าปัญหาคืออะไร ทว่าไม่สามารถกาหนดได้ว่าปัญหานั้นซับซ้อนเพียงใด และเกี่ยวข้องอย่างไรกับระบบอื่นๆ เราก็อาจจะใช้วิธีนี้ได้ ชาติพันธุ์วรรณนาที่ใช้ในกรณีเช่นนี้มักจะมีลักษณะเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (ชาย โพธิสิตา. 2550: 160)
3) ใช้เมื่อต้องการหาคาอธิบายสาหรับพฤติกรรม เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ที่เรายังไม่เข้าใจ หรือเมื่อคาอธิบายที่มีอยู่ไม่เป็นที่พอใจ การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาที่เจาะจงปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งจัดอยู่ในประเภทนี้ การใช้ในกรณีนี้ มักจะต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลที่เข้มงวด เพื่อทาความเข้าใจและสร้างกรอบการอธิบายที่ชัดเจน (ชาย โพธิสิตา. 2550: 160)
4) ใช้เพื่อประเมินผลโครงการ การใช้วิธีการเชิงคุณภาพ (รวมถึงชาติพันธุ์วรรณนาด้วย) เพื่อการประเมินผลโครงการต่างๆ นั้นเคยมีบางท่านตั้งข้อสังเกตว่าเหมาะสมเพียงใด เรื่องนี้ Patton (1987, 1990) ได้แสดงให้เห็นว่า วิธีการเชิงคุณภาพสามารถใช้ในการประเมินผลโครงการได้เช่นเดียวกับวิธีการเชิงปริมาณ ความจริงแล้วเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการทราบจากการประเมินผล และขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการ/กิจกรรมที่จะถูกประเมินมากกว่า ถ้าต้องการทราบผลกระทบเป็นเชิงคุณภาพ เช่น ความพึงพอใจของประชากรกลุ่มเป้าหมายต่อโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค หรือกระบวนการดาเนินงานและการมีส่วนร่วมของชุมชนในกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เป็นต้น ชาติพันธุ์วรรณนาเป็นวิธีที่เหมาะสม (ชาย โพธิสิตา. 2550: 160)
5) ใช้ร่วมกับวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ วิธีการเชิงคุณภาพทุกชนิดสามารถใช้ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณได้ 3 แบบ คือ (ชาย โพธิสิตา. 2550: 160-161)
5.1 แบบที่หนึ่ง ใช้ก่อนที่จะเริ่มการสำรวจ (เชิงปริมาณ) เพื่อหาประเด็นที่จะตั้งคาถามการวิจัย ตั้งสมมติฐาน หรือเพื่อหาความรู้เบื้องต้นสาหรับสร้างแบบสอบถามในการสำรวจ
5.2 แบบที่สอง ใช้หลังจากการสำรวจ เมื่อได้พบว่า ข้อค้นพบบางประการจากการสำรวจไม่สามารถอธิบายด้วยข้อมูลเชิงปริมาณที่มีอยู่อย่างเป็นที่น่าพอใจ
5.3 แบบที่ 3 ใช้ควบคู่ไปกับการวิจัยเชิงปริมาณ ในกรณีที่มีประเด็นบางอย่างซึ่งไม่เหมาะที่จะใช้วิธีการเชิงปริมาณ เพื่อทาความเข้าใจในระดับลึกได้ เช่น ประเด็นเรื่องกระบวนการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในถิ่นปลายทางของผู้ย้ายถิ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นศึกษาของโครงการวิจัยเกี่ยวกับการย้ายถิ่นและผลกระทบ ณ ถิ่นปลายทาง เป็นต้น ทีมนักวิจัยอาจทาการศึกษาประเด็นนี้ด้วยวิธีการเชิงชาติพันธุ์วรรณนา ขณะที่ทาการศึกษาประเด็นอื่นๆ ด้วยวิธีการสำรวจ (เชิงปริมาณ)
ข้อจำกัด
ชาย โพธิสิตา (2550: 161-162) ได้กล่าวถึงข้อจากัดของการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาดังนี้
1. เนื่องจากวิธีการเชิงชาติพันธุ์วรรณนาใช้มโนทัศน์ทางวัฒนธรรมเป็นหลักในการวิเคราะห์อย่างมาก นักวิจัยที่จะประสบความสาเร็จควรมีพื้นความรู้เกี่ยวกับมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมทางวัฒนธรรมของมนุษย์พอสมควร ข้อนี้ถือเป็นข้อจากัดสาหรับนักวิจัยจานวนไม่น้อยที่ไม่คุ้นเคยกับมโนทัศน์ทางวัฒนธรรมมาแต่เดิม แต่เรื่องทางวัฒนธรรมในแนวของมานุษยวิทยานั้น เป็นสิงที่สามารถศึกษาได้ด้วยตนเองจากการอ่าน ดังนั้น การทาความคุ้นเคยกับวรรณกรรมด้านนี้อาจเป็นทางออกสาหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางมานุษยวิทยามาก่อนได้
2. การเก็บข้อมูลภาคสนามของชาติพันธุ์วรรณนาต้องใช้เวลานาน โดยทั่วไปนักวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอาจใช้เวลาตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี หรือมากกว่าในการทาวิจัยภาคสนาม และโดยมากนักวิจัยมักทางานลาพังแต่ผู้เดียว การทางานวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาแบบเป็นทีม แม้จะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ แต่ก็ไม่ค่อยเห็นมีทากัน นักวิจัยต้องพร้อมที่จะทุ่มเทเวลา และทางานแบบค่อนข้างโดดเดี่ยวอยู่ในสนาม อนึ่ง การอยู่กับชุมชนที่ศึกษาในฐานนะผู้สังเกตแบบมีส่วนร่วมเป็นเวลานานนั้น นักวิจัยมีโอกาสที่จะถูกกลืนเข้าไปในชุมชน ในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง จนทาให้การวิจัยไม่สาเร็จ หรือสาเร็จแต่นักวิจัยต้องประนีประนอมหรือลดความเข้มงวดของการศึกษาลง จนคุณภาพของการวิจัยหย่อนกว่าที่ควรจะเป็นได้
3. ข้อมูลของการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนามักจะมีหลากหลาย ทั้งในด้านปริมาณและชนิดของข้อมูล จึงทาให้การวิเคราะห์เป็นงานที่ยาก สาหรับนักวิจัยที่มีประสบการณ์น้อยเรื่องนี้จะยากมากขึ้นไปอีก ในสมัยก่อน ไม่มีคอมพิวเตอร์ การจัดระเบียบข้อมูลเป็นงานที่น่าเบื่อและกินเวลานาน แม้ในปัจจุบันจะมีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการข้อมูลแล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพก็ใช่ว่าจะเป็นงานง่าย เพราะถึงอย่างไร คอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้คิดแทนนักวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ดีย่อมไม่ใช่เพียงแต่สรุปเรื่องออกมาจากคาบอกเล่าของผู้ให้ข้อมูล แต่ต้องเป็นการ “ย่อยข้อมูล” และ “กลั่น” เอาสาระที่เข้าข่ายจริงๆ ออกเป็นคาอธิบายที่มีลักษณะเป็นนามธรรม หรือเป็นข้อเสนอของนักวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจึงเป็นทั้งงานที่ท้าทาย และเป็นข้อจากัดสาหรับนักวิจัยจานวนมาก
สรุป
การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเป็นแนวทางหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งอธิบายและตีความข้อมูลทางสังคม เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก วัฒนธรรม ภาษา และพฤติกรรมของมนุษย์ วิถีชีวิตของกลุ่มคนในสังคม โดยใช้วิธีการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยจะเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเก็บข้อมูลที่เคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงอคติและให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลเน้นการพรรณนา และการวิเคราะห์ที่เน้นปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคมเป็นตัวแปรสาคัญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มชนหรือสังคม มีขั้นตอนการทาวิจัย 4 ขั้นตอน คือ (1) การเข้าสู่สนามและการกาหนดบทบาทผู้วิจัย (2) การเก็บรวบรวมข้อมูล (3) การวิเคราะห์ข้อมูล และ (4) การเสนอผลสรุปการวิจัย การวิจัยรูปแบบนี้สามารถนาไปใช้ในหลากหลายสาขาวิชา เช่น ด้านการศึกษา สังคมวิทยา สาธารณสุข เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ผู้วิจัยจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการอธิบายและตีความผลของการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมเป็นวิธีการหลักและใช้วิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้มีความเที่ยง (Reliability) และความตรง (Validity) ในเรื่องที่ศึกษา โดยมีผู้วิจัยเป็นเครื่องมือหลักที่สำคัญในการเก็บข้อมูล วิธีการวิจัยแบบนี้เหมาะสาหรับแสวงหาความรู้ประเด็นใหม่ๆ หรือ ความรู้ที่ยังมีข้อมูลจากัด เกี่ยวกับกลุ่มทางสังคมและวัฒนธรรมที่เรายังไม่คุ้นเคย วิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนามีข้อจากัดของการนาไปใช้งานที่จะต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลภาคสนามเป็นเวลานาน มีความยุ่งยากในการวิเคราะห์และตีความของผลการศึกษา แต่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายและเป็นทางเลือกให้นักวิจัยได้สืบค้นหาความรู้ได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ทางสังคมตรงตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น
บรรณานุกรม
ชาย โพธิสิตา. “การวิจัยเชิงคุณภาพ : ข้อพิจารณาทางทฤษฎี” ใน ตาราประกอบการสอน
และการวิจัยการศึกษาเชิงคุณภาพ เทคนิคการวิจัยภาคสนาม. บรรณาธิการโดย
เบญจา ยอดดาเนิน และคณะ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร. โครงการเผยแพร่ข่าวสาร
และการศึกษาด้านประชากร สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548.
หน้า 28-52.
_________. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร.
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จากัด (มหาชน), 2550.
ทรงคุณ จันทจร. เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรมขั้นสูง.
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2549.
นิศา ชูโต. การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. พริ้นต์โพร จากัด, 2548.
ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ. พจนานุกรมศัพท์การวิจัยและสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร.
ด่านสุทธาการพิมพ์, 2550.
อลิศรา ศิริศรี. “การนาวิธีวิจัยเชิงชาติพันธ์วรรณามาใช้ในการวิจัยทางการศึกษา”
ใน รวมบทความทางวิธีวิทยาการวิจัย เล่ม 1. บรรณาธิการโดย สมหวัง พิธิยานุวัฒน์.
พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541. หน้า 249-257.
William W. Research Methods in education an introducation fourthedtion.
Fourth Edition Printed in the United states of America,1986.
วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ด่านการค้าไทย-กัมพูชา
ด่านการค้าที่สำคัญของไทยและกัมพูชา
· ด่านช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
· ด่านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
· เมืองอรัญประเทศ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
· ด่าน บ.ผักกาด อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
· ด่าน บ.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
ที่มา :
วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557
สะหวันนะเขต สองโลกในเมืองเดียว
ทันทีที่ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่สอง มุกดาหาร-สะหวันนะเขตมาถึงด่านตรวจคนเข้าเมือง มุ่งตรงตามถนนเส้น 9W จะเห็นวงเวียนหลักของเมืองสะหวันนะเขตเป็นรูปแคนและไดโนเสาร์เด่นเป็นสง่า บอกสามทางแยกที่เป็นเหมือนเครื่องบ่งชี้ชีวิตในสามวิถีของสะหวันนะเขต
เลี้ยวขวาผ่านตลอด เป็นทางเข้าสถานีขนส่งสะหวันนะเขต และเข้าไปยังย่านเมืองคันทะบุลี (ไกสอนพมวิหาน) ตรงไป เป็นเส้นทางมุ่งออกไปยังสนามบินสะหวันนะเขต และเป็นถนนเส้นใหญ่ที่จะเชื่อมเพื่อต่อไปยังถนนหลักสายยาวถึงด่านลาวบาวและเวียดนาม ส่วนเลี้ยวซ้าย เป็นเส้นทางไปคาสิโนสะหวันเวกัส นิคมอุตสาหกรรม และเขตเศรษฐกิจพิเศษ สะหวัน-เซโน รวมถึงไซต์ก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศลาว
เมื่อเราเลี้ยวขวา เมืองไกสอนพมวิหานจะถูกแบ่งออกเป็นสองย่านใหญ่ๆ คือย่านเมืองอาณานิคม และย่านเมืองใหม่ โดยมีสวนสาธารณะและสนามกีฬาเก่า ซึ่งมีอนุสาวรีย์ท่านหนูฮัก พูมสะหวัน อดีตประธานประเทศลาว ผู้มีชาติกำเนิดอยู่ที่ฝั่งมุกดาหารและร่วมปฏิวัติกอบกู้เอกราชเป็นเหมือนเส้นเขตแดนกลายๆ
ย่านเมืองเก่าเต็มไปด้วยอาคารทรงเฟรนช์โคโลเนียลจากยุคปกครองอาณานิคม และอาคารในยุคปฏิวัติคอมมิวนิสต์ผสมผสานกัน แต่โดยมาก็ได้ชำรุดทรุดโทรมและถูกทิ้งร้าง เนื่องจากเส้นทางสัญจรนั้นเปลี่ยนจากทางน้ำ คือเรือเมล์และเรือข้ามฟาก ไปเป็นถนนทางบกโดยสิ้นเชิง เมื่อไม่มีการสัญจรก็ไม่มีการค้าขายหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เมื่อหากินไม่ได้ก็ไม่มีคนอยู่อาศัย สิ่งก่อสร้างทั้งหลายจึงดูเงียบเหงาและว่างเปล่า แต่ก็มีมนตร์เสน่ห์ในตัวเองที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเมืองเกือบทั้งเมืองยังคงสภาพสถาปัตยกรรมแบบเก่าไว้ได้คล้ายคลึงกับย่านเมืองเก่าจอร์จทาวน์ของปีนัง หากทางการพรรครัฐของลาว ได้เข้ามามีบทบาทปรับปรุงดูแลร่วมกับเอกชนของเมือง ก็จะสร้างความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือน สร้างความคึกคักชีวิตชีวาได้อย่างมาก เนื่องจากเมืองเก่าแบบชิโน-โปรตุกีส และบริติชโคโลเนียลนั้นหาได้ตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน ไม่ว่าจะเป็นปีนัง สิงคโปร์ มะละกา ภูเก็ต แต่เมืองเก่าแบบเฟรนช์โคโลเนียลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สมบูรณ์ทั้งเมืองนั้นหายากแทบไม่เหลือเพราะภัยสงครามต่อเนื่องทั้งในกัมพูชาและเวียดนาม ต่างจากที่สะหวันนะเขตซึ่งไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
ความคล้ายคลึงของสะหวันนะเขตกับจอร์จทาวน์ยังประกอบด้วยความหลากหลายทางศาสนา เมืองสะหวันนะเขตมีทั้งโบสถ์คริสต์เซนต์เทเรซ่าที่เรียบง่ายแต่งดงาม วัดจีน วัดเวียดนาม และวัดลาวอยู่ด้วยกันในเขตเมืองที่มีผังเป็นตารางเป็นระเบียบมากที่สุดแห่งหนึ่ง หากได้รับการปรับปรุงพัฒนาและสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าเมืองเก่าคันทะบุลี แขวงสะหวันนะเขตสามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ไม่ยาก ซึ่งจะนำมาทั้งทุนบำรุงรักษา และนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มีกำลังซื้อเข้ามาท่องเที่ยวได้อีกมาก
นอกจากนี้ ในแขวงสะหวันนะเขต ยังมีการขุดค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์จำนวนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเขตพื้นที่ทางธรณีวิทยาเดียวกับภาคอีสานของไทย ซึ่งหากได้มีการขุดค้นวิจัยอย่างจริงจังและเปิดเผย ก็จะเป็นแหล่งศึกษา ท่องเที่ยวเชิงความรู้ที่ดีทั้งต่อประชาชนใน สปป. ลาว และนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนด้วย
ภาคธุรกิจท่องเที่ยวของไทยนั้นมีความเข้มแข็งและจุดเด่นด้านบริการและคุณภาพความเอาใจใส่ เมื่อสะหวันนะเขตอยู่ใกล้ไทยแค่เอื้อม ภาษาก็ไม่แตกต่างกัน คนไทยมุกดาหารกับคนลาวสะหวันนะเขตก็เป็นสายเครือญาติพี่น้องกัน ย่อมไม่ยากเลยที่เราจะหาทางเข้าไปร่วมการพัฒนาเพื่อสร้างเมืองคู่แฝดสองฝั่งโขงให้งดงาม
ที่มา : คอลัมน์ เดือนหงายที่ชายโขง มติชนรายวัน
โดย ธีรภัทร เจริญสุข
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1409122451
คัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง
คนที่ยืนเขย่งเท้า
ย่อมยืนอยู่ไม่ได้นาน
คนที่ก้าวขายาวเกินไป ย่อมเดินไปไม่ได้ไกล
คนที่ชอบแสดงตน จะไม่ได้รับความยกย่อง
คนที่ชอบยกตน จะไม่ได้รับความนับถือ
คนที่ชอบโอ้อวด จะไม่ได้รับอะไร
คัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง
24
วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557
สมัยคานธีอยู่แอฟริกาใต้
สมัยคานธีอยู่แอฟริกาใต้เจ้าของบ้านให้คานธีช่วยสอนลูกชายเจ้าของบ้านให้เลิกกินน้ำตาล
ผ่านมาสองอาทิตย์ลูกชายยังไม่เลิกกินน้ำตาล
เจ้าของบ้านจึงถามคานธีว่า “ท่านยังไม่สอนลูกชายฉันอีกเหรอ
คานธีตอบว่า “ยัง เพิ่งจะบอกเมื่อวานเพราะตัวท่านเองเพิ่งเลิกกินน้ำตาลได้เมื่อวานนี้เอง”
ผู้นำศาสนา จะต้องนิ่งที่สอนมาปฏิบัติ
หากจะให้มีคนเชื่อฟัง และทำตามคำสอนของตนอย่างจริงจัง
คานธีจึงเป็นผู้ชี้นำชีวิตทางจิตวิญญาณ
และเป็นผู้นำทางจริธรรมของพวกเขา
ที่มา :
มติชนสุดสัปดาห์
8-14 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ปีที่ 34 ฉบับที่
1773 หน้า 69
วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557
การตัดเย็บจีวร
การตัดเย็บจีวร
วิธีตัดจีวรในพระธรรมวินัยกล่าวถึงขนาดของจีวร มีห้ามแต่ไม่ให้ทำเกินกว่าสุคตประมาณที่กำหนดไว้ในสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งรตนวรรค คือ ยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ โดยคืบพระสุคต* ส่วนขนาดย่อมกว่า ก็แล้วแต่พอดีกับบุคคลผู้ครองไม่มีข้อห้าม ประมาณที่ใช้ในประเทศไทย ยาว ไม่เกิน ๖ ศอก กว้างไม่เกิน ๔ ศอกของผู้ครอง พอได้ปริมณฑลดีเมื่อห่ม สำหรับสบง ประมาณที่ใช้ในประเทศไทย ยาวไม่เกิน ๖ ศอก กว้างไม่เกิน ๒ ศอก ของผู้ครอง การตัดจีวรที่จะอธิบายต่อไปนี้ จะใช้นิ้วฟุตเป็นมาตราวัด เพราะเห็นว่า ไม้บรรทัดใช้กันอยู่โดยทั่วไปหาได้ง่าย ขนาดและตัวอ่างนี้มิใช่เป็นแบบที่ตายตัวทีเดียว ให้ขยายตามขนาดของบุคคล เพียงแต่วางหลักกว้างๆ ไว้เท่านั้น
(คืบพระสุคต = เดิม คงกำหนดด้วยนิ้วพระหัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในปัจจุบันให้ถือตามมาตราวัดเป็นเมตร คือ ๑ คืบพระสุคต เท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร)
เวลาจะตัดกะดังนี้ ๑. จีวรพึงกะให้ได้ขนาด คือ กว้าง ๔ ศอก ยาว ๖ ศอก ของผู้ครอง และอนุวาตกว้าง ๕ นิ้ว กุสิกว้าง ๒ นิ้วครึ่ง ตัดเป็นจีวร ๕ ขัณฑ์ ๒. เบื้องต้น ให้วัดศอกของผู้ที่ครองก่อน ว่ายาวกี่นิ้ว เมื่อวัดได้เท่าไหร่แล้ว ให้เอา ๖ ศอก คือความยาวของจีวรคูณ เมื่อคูณได้เท่าไรแล้ว ให้คิดเป็นเนื้อที่ของกุสิเสีย ๔ กุสิๆ หนึ่ง กว้าง ๒ นิ้วครึ่ง ๔ กุสิ ก็เท่ากับ ๑๐ นิ้ว อนุวาต ๒ ข้างๆละ ๕ นิ้ว ๒ ข้างเป็น ๑๐ นิ้ว เมื่อรวมกับกุสิ ๔ กุสิ จึงเป็นเนื้อที่ ๒๐ นิ้วพอดี ๓. ให้เอา ๒๐ นิ้วไปลบความยาวทั้งหมดของจีวร เมื่อลบแล้วคงเหลือเท่าไรให้เอา ๕ ขัณฑ์หาร เมื่อได้ผลลัพธ์เท่าไรแล้วให้เอาอนุวาต ๕ นิ้วมาบวกๆ ได้เท่าไร ก็เป็นความกว้างของขัณฑ์ตัวริมทั้ง ๒ ข้าง ขัณฑ์ตัวกลางมีกุสิอยู่ทั้ง ๒ ข้าง รวม ๕ นิ้ว ก็เอา ๕ บวกจำนวน ๕ ขัณฑ์ที่หารได้ จัดเป็นความกว้างของขัณฑ์ตัวกลาง ขัณฑ์ตัวรอง ๒ ตัว คือตัวที่ติดกับตัวกลางทั้ง ๒ ข้าง มีกุสิตัวละ ๒ นิ้วครึ่ง ๒ ขัณฑ์ จึงเป็น ๕ นิ้ว ให้เอา ๒ นิ้วครึ่งไปบวกกับที่ ๕ ขัณฑ์ หารได้ตอนต้นจึงจัดเป็นความกว้างของขัณฑ์ตัวรอง ๒ ตัว เมื่อได้ตัดเป็นขัณฑ์ๆ ได้ ๕ ขัณฑ์ ดังกล่าวแล้ว ต่อแต่นั้นก็ให้พับขัณฑ์ (คือผ้าที่ตัดไว้ทั้ง ๕ ชิ้น) ทั้ง ๕ ขัณฑ์นั้น เป็น ๓ ส่วน ให้ตัดอัฑฒกุสิในส่วนกลาง แล้วจึงตัดกุสิทีหลัง ตอนตัดกุสิอย่าตัดทางกุสิก่อน ให้ตัดทางอัฑฒกุสิเสียก่อน เพราะถ้าตัดทางกุสิก่อนก็จะเสียใช้ไม่ได้ เวลาจะเอาขัณฑ์ทั้ง ๕ มาเย็บติดกันระวังอย่าให้ผิด เราควรจำให้ได้ว่า ทั้งหมดมีอยู่ ๕ ขัณฑ์ด้วยกันคือ ๑. ขัณฑ์กลางมีกุสิติดอยู่ ๒ ข้าง และอัฑฒกุสิ ๒. ขัณฑ์รอง คือขัณฑ์ที่ติดกับขัณฑ์กลางมีอยู่ ๒ ขัณฑ์ มีกุสิ และอัฑฒกุสิติดอยู่ข้างเดียว ๓. ขัณฑ์ริม ๒ ข้าง ไม่กุสิ มีแต่อัฑฒกุสิ (คำว่า กุสิ แปลว่ากระทงใหญ่ อัฑฒกุสิ แปลว่า กระทงเล็ก หรือกระทงกึ่ง) เมื่อเย็บติดกันทุกชิ้นแล้ว จึงให้ตัดอนุวาตกว้าง ๕ นิ้ว มาเย็บติดกันที่ริมโดยรอบ เวลาเย็บอนุวาตอย่าให้ติดทางด้านตะเข็บ ให้ติดทางด้านนอกของตะเข็บ เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ได้ใจความว่า เบื้องต้น ให้ตัดผ้าออกเป็น ๕ ชิ้น คือตัวกลาง ๑ กับตัวริมสุด ๒ ข้าง รวม ๓ ชิ้น ให้ตัดเท่ากัน ตัวรองคือตัวติดกับตัวกลาง ๒ ตัวให้ตัดเท่ากัน แล้วจึงให้ตัดกุสิและอัฑฒกุสิในภายหลัง ดังที่อธิบายมานี้ จะสมมติวิธีตัดให้ดู ดังนี้ สมมติว่าผู้ที่จะครอง มีศอกยาววัดได้ ๑๗ นิ้วครึ่ง (ให้ใช้นิ้วฟุต) ให้ตั้ง ๑๗ นิ้วครึ่งลง แล้วให้เอา ๖ ศอกคูณได้ผลลัพธ์ ๑๐๕ นิ้ว แล้วให้คิดเผื่อตะเข็บอีก ๒ นิ้วครึ่ง เอาไปบวกกับ ๑๐๕ นิ้ว เป็น ๑๐๗ นิ้วครึ่ง คิดเป็นเนื้อที่กุสิและอนุวาตเสีย ๒๐ นิ้ว แล้วเอา ๒๐ ลบ ๑๐๗ นิ้วครึ่ง คงเหลือ ๘๗ นิ้วครึ่ง แล้วให้เอา ๕ ขัณฑ์หาร ๘๗ นิ้วครึ่ง ได้ผลลัพธ์ ๑๗ นิ้วครึ่ง ตัวกลางมีกุสิ ๒ ข้าง รวมกันได้ ๕ นิ้ว ให้เอา ๕ ไปบวกกับ ๑๗ นิ้วครึ่ง จึงได้ ๒๒ นิ้วครึ่ง เป็นความกว้างของขัณฑ์กลาง ขัณฑ์รอง ๒ ขัณฑ์ ขัณฑ์หนึ่งๆ มีกุสิเดียว ๒ นิ้วครึ่ง ให้เอาไปบวกกับ ๑๗ นิ้วครึ่ง ได้ผลลัพธ์ ๒๐ นิ้ว เป็นความกว้างของขัณฑ์รอง ขัณฑ์ริมสุด ๒ ขัณฑ์ มีอนุวาตด้วยขัณฑ์ละ ๕ นิ้ว จึงให้เอา ๕ บวกกับ ๑๗ นิ้วครึ่ง จึงจะได้ ๒๒ นิ้วครึ่ง เป็นความกว้างของ ขัณฑ์ริมตัวหนึ่งๆ เมื่อรวมแล้วได้ใจความดังนี้ ๑. ขัณฑ์กลาง ให้ตัดผ้ากว้าง ๒๒ นิ้วครึ่ง ยาว ๗๐ นิ้ว ๑ ผืน ๒. ขัณฑ์รอง ให้ตัดผ้ากว้าง ๒๐ นิ้ว ยาว ๗๐ นิ้ว ๒ ผืน ๓. ขัณฑ์ริมสุด ให้ตัดผ้ากว้าง ๒๒ นิ้วครึ่ง ยาว ๗๐ นิ้ว ๒ ผืน ๔. ต่อจากนั้นก็ให้ตัดกุสิ และอัฑฒกุสิจากขัณฑ์นั้นๆ ทั้ง ๕ ขัณฑ์ เวลาจะตัดกุสิและอัฑฒกุสิ (กระทง) ให้ตัดในขัณฑ์นั้นๆ กว้างขนาด ๒ นิ้วครึ่ง หรือจะใช้กลักไม้ขีดเป็นขนาดก็ได้ ก่อนแต่จะตัดอัฑฒกุสิให้พับเป็น ๓ ส่วน แล้วให้ตัดในส่วนกลางดังกล่าวแล้ว ๕. เย็บให้ติดกันเรียบร้อย แล้วจึงติดอนุวาตภายหลัง อนุวาตที่เย็บติดกันนั้น ให้ใช้ผ้ากว้าง ๕ นิ้ว ส่วนยาวเอาจนรอบขอบของจีวร ๖. เสร็จแล้วจึงให้ติดรังดุมไว้ขวา ลูกติดไว้ซ้าย จงดูในแบบ ๗. เมื่อเย็บเสร็จแล้ว ถ้าคิดจะหักตอนที่ตะเข็บย่นออกเสียแล้ว ก็คงเป็นจีวรประมาณกว้าง ๖๘ นิ้ว ยาว ๑๐๕ นิ้ว
การตัดสบง การตัดสบงก็ให้คิดโดยวิธีเดียวกัน เว้นแต่เวลาวัดผ้า จะตัดออกเป็นขัณฑ์ๆ ถ้าสมมติตัดเป็นจีวรขัณฑ์หนึ่งๆ ให้ยาว ๗๐ นิ้ว ถ้าตัดเป็นสบงก็ต้องสมมติขัณฑ์หนึ่งๆ ให้ยาว ๓๕ นิ้ว และไม่ต้องติดดุมและรังดุม นอกนั้นเหมือนกันทั้งหมด สบง เมื่อตัดแล้วคิดหักตอนตะเข็บออกแล้ว ก็คงเป็นสบงกว้าง ๓๔ นิ้ว ยาว ๑๐๕ นิ้ว
อีกวิธีหนึ่ง วิธีการตัดอย่างง่ายๆ ให้วัดเอาขนาดศอกของผู้ที่จะครองนั้นกะดังนี้ ๑. ขัณฑ์กลาง กับขัณฑ์ริมสุดทั้ง ๒ ข้าง ให้วัดขัณฑ์หนึ่งๆ กว้าง ๑ ศอก ๖ นิ้ว ยาว ๔ ศอก ๓ ขัณฑ์ รวมกว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว ๒. ขัณฑ์รอง คือต่อจากขัณฑ์กลาง ๒ ข้าง ขัณฑ์หนึ่งๆ กว้าง ๑ ศอก ๓ นิ้ว ยาว ๔ ศอก ๒ ขัณฑ์ รวมกว้าง ๒ ศอก ๖ นิ้ว ๓. ต่อจากนั้น ก็ให้ตัดกุสิ และอัฑฒกุสิตามแบบครั้งที่ ๒ ดังกล่าวแล้วในจีวรข้างต้น
ตัดสบง ๔. การตัดก็อย่างเดียวกับจีวร เป็นแต่เวลาตัดขัณฑ์ให้ลดความยาวของขัณฑ์หนึ่งๆ ลงเป็น ๒ ศอกเท่านั้น
สีที่ทรงอนุญาต สีที่ทรงอนุญาตให้ย้อมมี ๒ ชนิด คือ สีเหลืองเจือแดงเข้ม ๑ สีเหลืองหม่น เช่นสีแก่นขนุน ที่เรียกว่ากรัก ๑
สีที่ห้ามไม่ให้ย้อมคือ สีคราม สีเหลืองล้วน สีแดงล้วน สีบานเย็น สีชมพู สีดำ
อนึ่ง จะใช้สีกรักผสมกับสีแดง สีเหลืองก็ได้ แต่ส่วนผสมนั้นจะยุติเป็นแน่นอนไม่ได้ เพราะแล้วแต่ว่าสีที่ได้มานั้นจะแก่หรืออ่อน ถ้าสีแก่ก็ผสมแต่น้อย สีอ่อนก็ใช้ผสมมาก ข้อสำคัญให้ได้สีดังกล่าว
ที่มา :
http://www.tong9.com/main/index.php/2010-04-03-01-28-48/contentkatin/qq-/2010-04-04-01-21-41
วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
อุโบสถวัดดงมัน ต.คอโค อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์
อุโบสถวัดดงมัน ต.คอโค อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์
สมภารเจ้าวัด : ที่อยู่
ท่านอาจารย์พระมหาประดับ ภมโร อดีตสมภารวัดยางทอง เคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อเป็นสมภารได้ย้ายมาอยู่กุฏิหลังนี้ซึ่งอยู่ชิดกับประตูด้านข้างของวัด
เพื่อให้คนได้เห็นหน้า นั่นคือ ผู้ที่เดินผ่านวัดทุกวันจะขอความร่วมมือได้ เพราะถ้าเขาไม่ให้ความร่วมมือแล้วก็จะไม่กล้าเดินผ่านวัด
การกำหนดที่อยู่ของพระเดชพระคุณกล่าวได้ว่าเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการแสวง หาแนวทางเพื่อพัฒนาวัดยางทอง
ที่ อยู่ของสมภารเจ้าวัดมีแนวคิดโบราณที่บอกเล่าต่อๆ กันมา บางคนบอกว่า กุฏิสมภารวัดต้องอยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้หรือตะวันตกเฉียงเหนือของวัดเท่า
นั้น แต่ท่านก็อธิบายไม่ได้ว่าทำไมจึงต้องอยู่ทิศนั้น ผู้อ่านลองสังเกตดูก็ได้ว่ากุฏีของสมภารเจ้าวัดโดยมากมักจะอยู่ในสองทิศนี้
บาง ท่านบอกข้อห้ามว่า ห้ามอยู่ด้านหน้าและด้านหลังโรงอุโปสถเพราะเงาของกุฏิจะแผ่ทับโรงอุโปสถซึ่ง
เป็นที่ประดิษฐานของพระประธานในโบสถ์ซึ่งเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และจะเป็นอัปมงคลหรือไม่เป็นศิริมงคลต่อเจ้าอาวาส
บางท่านบอกว่า ด้านซ้ายและด้านขวาเสมอกับโรงอุโบสถก็ไม่ควรอยู่ เพราะเป็น “การอาจเอื้อม” นั่นคือ เป็นการวางตัวเสมอกับพระประธานในโบสถ์
จึงเป็นอัปมงคลเช่นเดียวกัน ผู้อ่านลองสังเกตดูก็ได้ว่ากุฏีเจ้าอาวาสวัดใดบ้างที่อยู่ด้านหน้าด้านหลัง
โรงอุโปสถ หรืออยู่ด้านซ้ายด้านขวาเสมอกับพระประธานในโบสถ์
อัน ที่จริง มีแนวคิดโบราณซึ่งคล้ายๆ กับห่วงจุ้ยของภูมิปัญญาจีน ตั้งต้นแต่โรงอุโปสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระประธานอันเป็นหลักสำคัญหรือ
แก่นกลางของวัด และโดยมากโรงอุโปสถมักจะหันหน้าไปทางตะวันออกหรือตะวันตกทิศใดทิศหนึ่ง
อย่างนี้เป็นการตามรอยตะวันหรือภาษาใต้เรียกสั้นๆ ว่า “รอยหวัน” แต่ก็มีโรงอุโปสถอีกจำนวนหนึ่งซึ่งหันหน้าไปทางเหนือหรือใต้ทิศใดทิศหนึ่ง
ซึ่งอย่างหลังนี้เป็นการขวางรอยตะวันหรือภาษาใต้เรียกสั้นๆ ว่า “ขวางหวัน”
อุ โปสถขวางหวันเช่นนี้ บางท่านก็บอกว่าเป็นอัปมงคล
แต่บางท่านก็แย้งว่า พระพุทธเจ้ามีบารมีสูงสุดและความเหมาะสมที่สุดนั้นจัดว่าเป็นความถูกต้องและ
เป็นธรรม จึงสร้างอุโปสถขวางหวันได้ ไม่ผิดอะไร... ประเด็นนี้โดยมากคนจะรู้ และไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องที่อยู่สมภารเจ้าวัด
จึงขอผ่านไป
เมื่อ กำหนดโรงอุโปสถของวัดแล้ว ก็แบ่งออกเป็นทิศทั้งแปด ขยายออกจากโรงอุโปสถเริ่มต้นจากด้านหน้าของโรงอุโปสถซึ่งเป็นด้านหน้าของพระ
ประธานในโบสถ์เป็นเกณฑ์ แล้วก็เวียนขวา (ทักษิณาวรรต) เป็นต้นไป ก็จะได้ ชื่อ
ทิศทั้งแปด ดังนี้
๑/ ด้านหน้า
เรียกว่า มรณะ
สมภารอยู่ด้านหน้าไม่นานก็มรณภาพ
๒/ มุมด้านหน้าเฉียงขวามือ
เรียกว่า ศาลา
จะเย็นใจสุขสบายดีมีคนไปมาไม่ขาดสาย
๓/ ด้านขวามือ
เรียกว่า ป่าช้า, สุสาน (ปักษ์ใต้เรียก เปลว)
เป็นที่เปลี่ยวห่างไกลผู้คนมักจะมีคนร้ายเข้ามาพึ่งพิงหรือก่อกวน
๔/ มุมด้านหลังเฉียงขวามือ
เรียกว่า ลาภะ, ทรัพย์
จะร่ำรวยมีสมบัติมาก แต่มีปัญหาตามมาไม่สิ้นสุด
๕/ ด้านหลัง
เรียกว่า กลหะ จะมีเรื่องราวต้องทะเลาะวิวาท
และมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่เสมอ
๖/ มุมด้านหลังเฉียงซ้ายมือ
เรียกว่า มัชฌิมะ, สันโดษ
จะปานกลางไม่ดีไม่เลว หรือพอเสมอตัวตามมีตามได้
๗/ ด้านซ้ายมือ
เรียกว่า ปราชิก
จะเสียศีลขาดจากความเป็นพระ
๘/ มุมด้านหน้าเฉียงซ้ายมือ
เรียกว่า อุตตมะ
จะมีคุณธรรมสูงสุด แต่ถ้าบารมีไม่ถึงก็จะมีอันเป็นไปก่อนเวลาอันควร
เมื่อ พิจารณาทิศทั้งแปดนี้แล้ว และเทียบกับโรงอุโปสถซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตกหรือตะวันออกแบบตามรอยตะวัน
จะเห็นได้ว่า กุฏิสมภารเจ้าวัดมักจะอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หรือตะวันตกเฉียงเหนือ
ซึ่งตรงกับด้านศาลาหรือด้านมัชฌิมะ(สันโดษ) ท่านว่ากุฎิสมภารเจ้าวัดอยู่สองด้านนี้ก็จะสามารถอยู่ได้นานไม่มีพิษมีภัย
ส่วนด้านอื่นๆ นั้นไม่ค่อยมีใครกล้าอยู่ เพราะด้านหน้าก็กลัวตาย ด้านขวากลัวโจร
ด้านลาภหรือทรัพย์ก็กลัวจะยุ่ง ด้านหลังก็เกรงจะมีเรื่องมีราว ด้านซ้ายกลัวเสียศีล
และด้านอุตตมะก็ค่อยมีใครกล้าอยู่เกรงบารมีไม่ถึงจะมีอันเป็นไปก่อนเวลาอัน ควร
ดังนี้เป็นต้น
ผู้ เขียนสงสัยว่าโบราณใช้แนวคิดอย่างไรจึงวางสูตรนี้ขึ้นมา ก็พิจารณาไปตามความเห็นส่วนตัว
จึงนำมาเล่าไว้ที่นี้ด้วย กล่าวคือ คนเราเมื่อตายก็ต้องนำไปไว้ศาลามีคนมาร่วมงาน เมื่อเสร็จงานก็นำไปสู่ป่าช้าเพื่อฌาปนกินหรือเผา
กลับมาจากป่าช้าสิ่งที่เหลืออยู่ก็เป็นมรดกของผู้ตายซึ่งผู้ที่ยังอยู่ควรจะ ได้เรียกว่าลาภะ
เมื่อมีทรัพย์เกิดขึ้นก็ย่อมทะเลาะวิวาทแก่งแย่งกันเป็นธรรมดาเรียกว่ากลหะ แก่งแย่งไปได้สักพักก็ต้องออมชอมแบ่งปั่นกันเท่าๆหรือต้องยินยอมตามมีตามได้
เรียกว่ามัชฌิมะหรือสันโดษ เมื่อได้ทรัพย์สมบัติมาเป็นของตนแล้วก็ประมาทมัวเมาทำให้เสียผู้เสียคนได้
เรียกว่าปราชิก ถ้าไม่หลงมัวมัวรู้จักเป็นอยู่ตามธรรมก็จัดว่าเป็นผู้เยี่ยมยอดเรียกว่า
อุตตมะ แต่ถึงอย่างไรก็ต้องตายเช่นเดียวกันเรียกว่ามรณะ นั่นคือ แนวคิดที่ผู้เขียนจินตนาการขึ้นมามิได้คัดลอกหรือฟังมาจากใคร
และไม่ยืนยันว่าจะถูกต้องตามแนวคิดเดิมหรือไม่
อัน ที่จริง คำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นกรรมวาที คือสอนให้เชื่อการกระทำว่าเป็นสาเหตุในเรื่องต่างๆ
เช่น ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ เป็นต้น มิได้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลหรืออำนาจอื่นๆ เช่น
เทพเจ้าหรือสถานที่ เป็นต้น เฉพาะเรื่องสถานที่ตามคำสอนของพระพุทธศาสนาบอกว่าเป็นสาเหตุให้เราประสบความ
เจริญหรือความเสื่อมเพราะมีผู้แนะนำหรือชักจูงเราไปทางใดทางหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้บอกว่าสถานที่บางแห่งมีอำนาจลึกลับที่จะทำให้คนเราเป็นอย่างโน้นอย่าง
นี้ได้ ผู้เขียนเห็นว่า สถานที่อยู่ของสมภารเจ้าวัดก็เช่นเดียวกันมิได้มีอำนาจลึกลับอะไรมามี
อิทธิพลสูงกว่าการกระทำของสมภารเจ้าวัด แต่คำพังเพยไทยมีอยู่ว่า “ไม่เชื่อ
อย่าลบหลู่”
สมภาร เจ้าวัดทั่วไป แม้จะไม่ค่อยเชื่อเรื่องเหล่านี้ แต่ก็มักจะไม่ลบหลู่
เหตุผลก็อาจเป็นเพราะว่า มิใช่เรื่องสาหัสสากรรจ์เมื่อต้องทำตามความเชื่อเช่นนี้ และถ้าดันฝืนทุรังก็เบื่อที่จะต้องคอยตอบคำถามต่อผู้รู้หรือผู้อวดรู้ที่
มาทักท้วง ดังนั้น ที่อยู่ของสมภารเจ้าวัดโดยทั่วๆ ไป จึงมักจะเป็นไปตามทิศหรือด้านดังที่ผู้เขียนได้เล่ามาเป็นลำดับ โดยประการฉะนี้แล
http://www.gotoknow.org/posts/67085
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)