อุโบสถวัดดงมัน ต.คอโค อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์
สมภารเจ้าวัด : ที่อยู่
ท่านอาจารย์พระมหาประดับ ภมโร อดีตสมภารวัดยางทอง เคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อเป็นสมภารได้ย้ายมาอยู่กุฏิหลังนี้ซึ่งอยู่ชิดกับประตูด้านข้างของวัด
เพื่อให้คนได้เห็นหน้า นั่นคือ ผู้ที่เดินผ่านวัดทุกวันจะขอความร่วมมือได้ เพราะถ้าเขาไม่ให้ความร่วมมือแล้วก็จะไม่กล้าเดินผ่านวัด
การกำหนดที่อยู่ของพระเดชพระคุณกล่าวได้ว่าเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการแสวง หาแนวทางเพื่อพัฒนาวัดยางทอง
ที่ อยู่ของสมภารเจ้าวัดมีแนวคิดโบราณที่บอกเล่าต่อๆ กันมา บางคนบอกว่า กุฏิสมภารวัดต้องอยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้หรือตะวันตกเฉียงเหนือของวัดเท่า
นั้น แต่ท่านก็อธิบายไม่ได้ว่าทำไมจึงต้องอยู่ทิศนั้น ผู้อ่านลองสังเกตดูก็ได้ว่ากุฏีของสมภารเจ้าวัดโดยมากมักจะอยู่ในสองทิศนี้
บาง ท่านบอกข้อห้ามว่า ห้ามอยู่ด้านหน้าและด้านหลังโรงอุโปสถเพราะเงาของกุฏิจะแผ่ทับโรงอุโปสถซึ่ง
เป็นที่ประดิษฐานของพระประธานในโบสถ์ซึ่งเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และจะเป็นอัปมงคลหรือไม่เป็นศิริมงคลต่อเจ้าอาวาส
บางท่านบอกว่า ด้านซ้ายและด้านขวาเสมอกับโรงอุโบสถก็ไม่ควรอยู่ เพราะเป็น “การอาจเอื้อม” นั่นคือ เป็นการวางตัวเสมอกับพระประธานในโบสถ์
จึงเป็นอัปมงคลเช่นเดียวกัน ผู้อ่านลองสังเกตดูก็ได้ว่ากุฏีเจ้าอาวาสวัดใดบ้างที่อยู่ด้านหน้าด้านหลัง
โรงอุโปสถ หรืออยู่ด้านซ้ายด้านขวาเสมอกับพระประธานในโบสถ์
อัน ที่จริง มีแนวคิดโบราณซึ่งคล้ายๆ กับห่วงจุ้ยของภูมิปัญญาจีน ตั้งต้นแต่โรงอุโปสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระประธานอันเป็นหลักสำคัญหรือ
แก่นกลางของวัด และโดยมากโรงอุโปสถมักจะหันหน้าไปทางตะวันออกหรือตะวันตกทิศใดทิศหนึ่ง
อย่างนี้เป็นการตามรอยตะวันหรือภาษาใต้เรียกสั้นๆ ว่า “รอยหวัน” แต่ก็มีโรงอุโปสถอีกจำนวนหนึ่งซึ่งหันหน้าไปทางเหนือหรือใต้ทิศใดทิศหนึ่ง
ซึ่งอย่างหลังนี้เป็นการขวางรอยตะวันหรือภาษาใต้เรียกสั้นๆ ว่า “ขวางหวัน”
อุ โปสถขวางหวันเช่นนี้ บางท่านก็บอกว่าเป็นอัปมงคล
แต่บางท่านก็แย้งว่า พระพุทธเจ้ามีบารมีสูงสุดและความเหมาะสมที่สุดนั้นจัดว่าเป็นความถูกต้องและ
เป็นธรรม จึงสร้างอุโปสถขวางหวันได้ ไม่ผิดอะไร... ประเด็นนี้โดยมากคนจะรู้ และไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องที่อยู่สมภารเจ้าวัด
จึงขอผ่านไป
เมื่อ กำหนดโรงอุโปสถของวัดแล้ว ก็แบ่งออกเป็นทิศทั้งแปด ขยายออกจากโรงอุโปสถเริ่มต้นจากด้านหน้าของโรงอุโปสถซึ่งเป็นด้านหน้าของพระ
ประธานในโบสถ์เป็นเกณฑ์ แล้วก็เวียนขวา (ทักษิณาวรรต) เป็นต้นไป ก็จะได้ ชื่อ
ทิศทั้งแปด ดังนี้
๑/ ด้านหน้า
เรียกว่า มรณะ
สมภารอยู่ด้านหน้าไม่นานก็มรณภาพ
๒/ มุมด้านหน้าเฉียงขวามือ
เรียกว่า ศาลา
จะเย็นใจสุขสบายดีมีคนไปมาไม่ขาดสาย
๓/ ด้านขวามือ
เรียกว่า ป่าช้า, สุสาน (ปักษ์ใต้เรียก เปลว)
เป็นที่เปลี่ยวห่างไกลผู้คนมักจะมีคนร้ายเข้ามาพึ่งพิงหรือก่อกวน
๔/ มุมด้านหลังเฉียงขวามือ
เรียกว่า ลาภะ, ทรัพย์
จะร่ำรวยมีสมบัติมาก แต่มีปัญหาตามมาไม่สิ้นสุด
๕/ ด้านหลัง
เรียกว่า กลหะ จะมีเรื่องราวต้องทะเลาะวิวาท
และมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่เสมอ
๖/ มุมด้านหลังเฉียงซ้ายมือ
เรียกว่า มัชฌิมะ, สันโดษ
จะปานกลางไม่ดีไม่เลว หรือพอเสมอตัวตามมีตามได้
๗/ ด้านซ้ายมือ
เรียกว่า ปราชิก
จะเสียศีลขาดจากความเป็นพระ
๘/ มุมด้านหน้าเฉียงซ้ายมือ
เรียกว่า อุตตมะ
จะมีคุณธรรมสูงสุด แต่ถ้าบารมีไม่ถึงก็จะมีอันเป็นไปก่อนเวลาอันควร
เมื่อ พิจารณาทิศทั้งแปดนี้แล้ว และเทียบกับโรงอุโปสถซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตกหรือตะวันออกแบบตามรอยตะวัน
จะเห็นได้ว่า กุฏิสมภารเจ้าวัดมักจะอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หรือตะวันตกเฉียงเหนือ
ซึ่งตรงกับด้านศาลาหรือด้านมัชฌิมะ(สันโดษ) ท่านว่ากุฎิสมภารเจ้าวัดอยู่สองด้านนี้ก็จะสามารถอยู่ได้นานไม่มีพิษมีภัย
ส่วนด้านอื่นๆ นั้นไม่ค่อยมีใครกล้าอยู่ เพราะด้านหน้าก็กลัวตาย ด้านขวากลัวโจร
ด้านลาภหรือทรัพย์ก็กลัวจะยุ่ง ด้านหลังก็เกรงจะมีเรื่องมีราว ด้านซ้ายกลัวเสียศีล
และด้านอุตตมะก็ค่อยมีใครกล้าอยู่เกรงบารมีไม่ถึงจะมีอันเป็นไปก่อนเวลาอัน ควร
ดังนี้เป็นต้น
ผู้ เขียนสงสัยว่าโบราณใช้แนวคิดอย่างไรจึงวางสูตรนี้ขึ้นมา ก็พิจารณาไปตามความเห็นส่วนตัว
จึงนำมาเล่าไว้ที่นี้ด้วย กล่าวคือ คนเราเมื่อตายก็ต้องนำไปไว้ศาลามีคนมาร่วมงาน เมื่อเสร็จงานก็นำไปสู่ป่าช้าเพื่อฌาปนกินหรือเผา
กลับมาจากป่าช้าสิ่งที่เหลืออยู่ก็เป็นมรดกของผู้ตายซึ่งผู้ที่ยังอยู่ควรจะ ได้เรียกว่าลาภะ
เมื่อมีทรัพย์เกิดขึ้นก็ย่อมทะเลาะวิวาทแก่งแย่งกันเป็นธรรมดาเรียกว่ากลหะ แก่งแย่งไปได้สักพักก็ต้องออมชอมแบ่งปั่นกันเท่าๆหรือต้องยินยอมตามมีตามได้
เรียกว่ามัชฌิมะหรือสันโดษ เมื่อได้ทรัพย์สมบัติมาเป็นของตนแล้วก็ประมาทมัวเมาทำให้เสียผู้เสียคนได้
เรียกว่าปราชิก ถ้าไม่หลงมัวมัวรู้จักเป็นอยู่ตามธรรมก็จัดว่าเป็นผู้เยี่ยมยอดเรียกว่า
อุตตมะ แต่ถึงอย่างไรก็ต้องตายเช่นเดียวกันเรียกว่ามรณะ นั่นคือ แนวคิดที่ผู้เขียนจินตนาการขึ้นมามิได้คัดลอกหรือฟังมาจากใคร
และไม่ยืนยันว่าจะถูกต้องตามแนวคิดเดิมหรือไม่
อัน ที่จริง คำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นกรรมวาที คือสอนให้เชื่อการกระทำว่าเป็นสาเหตุในเรื่องต่างๆ
เช่น ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ เป็นต้น มิได้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลหรืออำนาจอื่นๆ เช่น
เทพเจ้าหรือสถานที่ เป็นต้น เฉพาะเรื่องสถานที่ตามคำสอนของพระพุทธศาสนาบอกว่าเป็นสาเหตุให้เราประสบความ
เจริญหรือความเสื่อมเพราะมีผู้แนะนำหรือชักจูงเราไปทางใดทางหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้บอกว่าสถานที่บางแห่งมีอำนาจลึกลับที่จะทำให้คนเราเป็นอย่างโน้นอย่าง
นี้ได้ ผู้เขียนเห็นว่า สถานที่อยู่ของสมภารเจ้าวัดก็เช่นเดียวกันมิได้มีอำนาจลึกลับอะไรมามี
อิทธิพลสูงกว่าการกระทำของสมภารเจ้าวัด แต่คำพังเพยไทยมีอยู่ว่า “ไม่เชื่อ
อย่าลบหลู่”
สมภาร เจ้าวัดทั่วไป แม้จะไม่ค่อยเชื่อเรื่องเหล่านี้ แต่ก็มักจะไม่ลบหลู่
เหตุผลก็อาจเป็นเพราะว่า มิใช่เรื่องสาหัสสากรรจ์เมื่อต้องทำตามความเชื่อเช่นนี้ และถ้าดันฝืนทุรังก็เบื่อที่จะต้องคอยตอบคำถามต่อผู้รู้หรือผู้อวดรู้ที่
มาทักท้วง ดังนั้น ที่อยู่ของสมภารเจ้าวัดโดยทั่วๆ ไป จึงมักจะเป็นไปตามทิศหรือด้านดังที่ผู้เขียนได้เล่ามาเป็นลำดับ โดยประการฉะนี้แล
http://www.gotoknow.org/posts/67085
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น