วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556
ภาษาเขมรถิ่นไทย (อีสานตอนใต้)
ภาษาเขมร คือ ภาษาท้องถิ่นของชาวอีสานตอนใต้ ของประเทศไทย หรือ เราเรียกชนกลุ่มนี้ว่า ขแมร์ ภาษาเขมร เป็นต้นกำเนิด มาจากภาษาขอม ซึ่งมีอายุกำเนิด เกิด มานับ ร้อย ๆ เป็นภาษาที่สละ สลวย และเป็นภาษามาจากรากราชาศัพท์ และ มีหลายคำที่นำมาใช้ในภาษาไทย เช่น เสวย แปลว่า กิน หรือ ทาน,สดับ แปลว่า ฟัง , เดิน มาจาก คำว่า เดอร ของภาษาเขมร เป็นต้น ในสมัยแต่โบราณกาล ชาวเขมร ที่เรียนวิชา อาคม มนต์ขลัง และเวทย์มนต์ คุณไสย์ ที่เป็นวิชาทางไสยศาสตร์ ได้นำวิชาและคาถา ต่าง ๆ มาจารึกไว้บนใบลาน หรือที่เราเรียกกันว่า พระ คาถาใบลาน จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่า ภาษาเขมร เป็นภาษาที่เก่ามาก อีกภาษาหนึ่ง เช่นเดียวกันกับภาษาขอม
ทุกวันนี้ ภาษาเขมร ซึ่งนับวัน จะค่อยเลือนหายไปเรื่อยๆ เพราะคนเราทุกวันนี้ ( บางคน ) มักจะคิดว่า ภาษาเขมร เป็นภาษาที่ด้อย หรือ บ้านนอก ประมาณ นั้น และถ้าหากพูดคุยภาษาเขมรในสังคม มักจะเขิน อาย เพราะกลัวคนอื่น ว่าเชย และเด็ก ๆ ทุกวันนี้ ส่วนมาก จะใช้ภาษาไทย หรือ ภาษากลาง เป็นหลักในการสื่อสาร และ ผู้ปกครองบางคน ก็มักจะสอนลูกหลานให้ หัดพูดภาษาไทย ตั้งแต่ยังเล็ก ๆ และใช้ภาษาไทยในการพูดคุย ในครอบครัว อีกประการหนึ่ง คนท้องถิ่น ที่เป็นคนเขมร บางคนแทบจะจำไม่ได้ ว่า คำบางคำของภาษาเขมร หมายถึงอะไร แปลว่าอะไร มีชื่อเรียกว่าอะไร นั่นเป็นเพราะ เราไม่ได้ใช้ หรือ พูด บ่อยๆ และนี้ก็ คือ เหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ภาษาเขมร ค่อย ๆ ถูกลืม ไป
ด้วยเหตุนี้ ผม จึงได้คิดริเริ่ม เขียนภาษาเขมร และ รวบรวมคำศัพท์ภาษาเขมร โดยใช้อักษร อักขระ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ไทย เพื่อให้ผู้ที่สนใจ จะศึกษาได้อ่านง่ายขึ้น ถึงแม้ว่า การอ่านออกเสียง อาจจะไม่เหมือนสำเนียงของภาษาเขมร ขนานแท้ แต่ผมก็พยายาม เรียบเรียงให้ได้ใกล้เคียงที่สุด เท่าที่ผมสามารถทำได้ประการสุดท้ายนี้...ผมต้องขอขอบคุณ ชุมชนบ้านมหา ที่ได้ให้โอกาสผม ได้ทำในสิ่งที่ผมปรารถนา และได้พบปะกับเพื่อน กับ มิตร ทุกกลุ่มเหล่า เผ่าพันธุ์ภาษา วัฒนธรรม
ถ้าหากว่า คำภาษาเขมรที่ผมได้รวบรวมไว้ มีข้อผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัย ไว้ ณ ที่นี้ ด้วย และถ้าหากท่านผู้ใด มีข้อเสนอแนะ บอกกล่าว หรือ ชี้แนะแนวทาง เพื่อสรรสร้างภาษาเขมร ให้อยู่ดำรงค์ต่อไป ผมก็ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง...
ข้าฯ น้อย ขอน้อมรับไว้ด้วยเกล้า ฯ
ลักษณะของสระรีระ
คลูน - ตัว
รูปเรียง - รูปร่าง
องค์ประกอบของร่างกาย
เชียม - เลือด
ยื๊อ - เหงื่อ
กะแอลอั้ยจ - ขี้ไคล
สั้ยจ - เนื้อ
ซะแบก - ผิวหนัง
จะเอิง - กระดูก
มะเม๊ - ขน
เซาะ - ผม
ตระซัย - เส้น,เอ็น
กลีน - ลูกหนู
องค์ประกอบของอวัยวะภายใน
ตระซัยเชียม - เส้นเลือด
ปั๊วะวีน - ลำไส้เล็ก
กำปวงปั๊วะทม - ลำใส้ใหญ่
โปล - ปอด
ทะเลอม - ตับ
กะบาลเจิด - หัวใจ
ประมัด - ดี,ถุงน้ำดี
ทะเลอมปั๊วะ - กระเพาะอาหาร
ตระซัยปั๊วะ - เส้นเอ็นท้อง
ปร๊วงตังเฮิม - หลอดลม
ตระซัยพะเนาะ - ใส้ติ่ง
อั้ยจ - อุจจาระ
ตึกโนม - น้ำปัสสาวะ
กำปวงตึกโนม - ท่อปัสสาวะ
ทะเลอมปั๊วะตึกโนม- กระเพาะปัสสาวะ
องค์ประกอบของเรือนร่าง
กะบาล - หัว,ศีรษะ
ตะซัยเซาะ - เส้นผม
เจิงเซาะ - ตีนผม
จ๊องเซาะ - ปลายผม
ปังเฮย - กระหม่อม,
กึงเว็ล - ขวัญ
กึนจ๊อบประเฮาะ - ท้ายทอย
อันเจิม - หน้าผาก
คะน็อง - หลัง
จะเอิง คะน็อง - กระดูกสันหลัง
จะจีก - หู
ซะเลอะจะจีก - ใบหู
ปร๊วงจะจีก - รูหู
เดาะจะจีก - ติ่งหู
ตะบ๊อกพะเนก - คิ้ว
มะเม๊ พะเนก - ขนตา
พะเนก - ตา
โกนพะเนก - ลูกตา
กันตูยพะเนก - หางตา
ตะเปือล - แก้ม
จรึเม๊าะ - จมูก
ปร๊วง จรึเมาะ - รูจมูก
มะเม๊ จรึเมาะ - ขนจมูก
มะเม๊เมือด - หนวด
เมื๊อด - ปาก
ปร๊วงเมื๊อด - โพรงปาก
ประโบลเมื๊อด - ริมฝีปาก
นาด - ลิ้น
ทะเม็ง - ฟัน
ทะเม็งเซิจ - ฟันหน้า
ทะเม็งเลอ - ฟันบน
ทะเม็งกรอม - ฟันล่าง
ตังเกียม - กราม
นาดเมือน - ลิ้นไก่
จ๊องทัมเฮอม - ลิ่นปี่
จังกา - คาง
มะเม๊จังกา,ออมเกียง- เครา
กอ - คอ
อัมปวงกอ - ลำคอ
มะเม๊กันจิล - ขนหลังต้นคอ
ตระซัยกอ - เส้นเอ็นคอ
ก็อลกอ - ต้นคอ
ปั๊วะกอ - ลูกกระเดือก
ซมา - ไหล่
กะบาลซมา - หัวไหล่
กลีก - รักแร้
มะเม๊ กลีก - ขนรักแร้
เดอมตรูง - หน้าอก
มะเม๊ตรูง - ขนหน้าอก
จะเอิงจะนีร - กระดูกซี่โครง
เด๊าะ - นม
กะบาลเด๊าะ,จ๊องเดาะ- หัวนม
ตรูงเดาะ,ก๊อลเดาะ - เต้านม
จ็องตรูง - อกไก่
กลาม - กล้าม
ซอก - ข้อศอก
ได - แขน หรือ มือ
กอได - ต้นแขน
คะนองได - หลังมือ
บาดได - ฝ่ามือ
กะลาได - ลายมือ
พนะได - ข้อมือ
มะเรียมได - นิ้วมือ
เมได - หัวแม่มือ,นิ้วโป้ง
จังอ็อลได - นิ้วชี้
มะเรียมไดกะนาล - นิ้วกลาง
มะเรียมไดเนียง - นิ้วนาง
โกนได - นิ้วก้อย
กระยอได - ข้อนิ้วมือด้านหลัง
พนะ มะเรียมได - ลำปล้องนิ้วมือ
ทะนัง ได - ข้อต่อมือ
กระจ๊อ - เล็บ
กระจ๊อได - เล็บมือ
ได ชเวง - มือซ้าย
ได ซะดัม - มือขวา
พล็วดได - ต้นแขน
ตระซัย - เส้น,เอ็น
ปั๊วะ - ท้อง,หน้าท้อง
ประเจิ๊ด - สะดือ
ปร๊วงประเจิด - รูสะดือ
จังแก๊ะ - เอว
ตะโปก - ก้น
ตะเปือล ตะโปก - บั้นท้าย
ปร๊วงตะโปก - รูทวารหนัก
กระดอ - อวัยวะเพศชาย
กระนูย - อวัยวะเพศหญิง
มะเม๊ กระดอ,มะเม็ กระนูย - ขนเพชร
ปวงกระดอ - ลูกอันฑะ
ตังเกียมเจิง - ง่ามขา
พโลว - ต้นขา
จังกวง - เข่า
กะบาลจังกวง - หัวเข่า
พล๊วดเจิง - น่อง
กอเจิง - ข้อเท้า
ซมอเจิง - หน้าแข้ง
พะเนกโก - ตาตุ่ม
คะนองเจิง - หลังเท้า
บาดเจิง - ฝ่าเท้า
มะเรียมเจิง - นิ้วเท้า
กระจ๊อ เจิง - เล็บเท้า
จังกอย - ส้นเท้า
เจิงชเวง - ขาซ้าย,เท้าซ้าย
เจิง ซะดัม - ขาขวา,เท้าขวา
ตอนที่ 2
วันนี้ ผมจะขอนำเสนอ การเรียนภาษาเขมร ที่เรามักจะใช้ในชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับ สรรพนาม,บุพบท กริยาบท ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการศึกษาได้เรียนรู้และนำไปใช้
ต่อไป
สรรพนามที่ใช้เรียกบุคคล
แม - แม่
เออว - พ่อ
โกน - ลูก
แย็ย - ยาย,ย่า
ตา - ตา,ปู่
ปู - น้าผู้ชาย,อาผู้ชาย
ไป - น้าผู้หญิง,อาผู้หญิง
อม - ลุง,ป้า
อมเปราะ - ลุง
อมซแร็ย - ป้า
เจา - หลาน,เหลน,โหลน
กะมูย - หลาน( ลูกของพี่,ลูกของน้อง)
นาย - หนู ( ใช้กับผู้ชาย )
เนียง - หนู ( ใช้กับผู้หญิง )
อานาย - ไอ้หนู ( ใช้เรียกเด็กผู้ชาย )
อางา - ไอ้หนู (ใช้เรียกเด็กผู้ชาย)
มีเนียง - อีหนู (ใช้เรียกเด็กผู้หญิง)
มีงา - อีหนู (ใช้เรียกเด็กผู้หญิง )
อาหล้า - บักหล้า
โกนงา - เด็กทารกแรกเกิด
สรรพนามที่ใช้แทนบุคคล
ขะมาด - กระผม
มาด - ผม,ฉัน
ขะยม - ดิฉัน
ยม - ฉัน
อัยจ - กู
อัยจแอง - กูเอง
ฮอง - เธอ ( ใช้กับ ผู้หญิง )
แอง,ฮองแอง - เอ็ง ( ใช้กับผู้หญิง )
แอง,อาแอง - เอ็ง ( ใช้กับผู้ชาย )
เกือจ - คุณ,ท่าน
เตียน - ท่าน ( คำสุภาพ ที่ใช้เรียก ผู้อาวุโส )
เวีย - เขา
โพง - พวก
โพงเยิง - พวกเรา
โพงอัยจ - พวกกู
โพงฮอง - พวกเธอ ( ใช้กับผู้หญิง )
โพงอาแอง - พวกเอ็ง ( ใช้กับผู้ชาย )
โพงเวีย - พวกเขา,พวกเขาคนนั้น,พวกเขาเหล่านั้น
โพงเกือด - พวกคุณ
โพงกอร - พรรคพวก
คะเนีย - เพื่อน
โพงคะเนีย - เพื่อนฝูง
ลักษณะ
ละออ - สวย,หล่อ
บรอ - ขี้เหร่
ซอมรูป ซอมเรียง - สมส่วน
เทอจ - อ้วน
ซังกวม - ผม
กะปั๊วะ - สูง
เตียบ - ต่ำ,เตี้ย
กะมะ - พิการ ( การพิการของแขน หรือ ขา )
คเว็น - เป๋,ขาเป๋ ( อาการพิการของขา )
กะม็อด - ขาด,กุด ( อาการพิการของแขน หรือ ขา )
ควะ - ตาบอด ( อาการพิการของดวงตา )
ตึนล็อง - หูหนวก ( อาการพิการของหู )
จะกูด - เป็นบ้า ( อาการพิการทางประสาท )
แคลว - ตาเข,ตาเหล่ ( อาการพิการทางเส้นประสาทของดวงตา )
กืก - เป็นใบ้ ( อาการพิการ ทางเสียง คือ พูดไม่ได้ )
คะน็องกอง - ค่อม ( อาการพิการของหลัง คือ หลังค่อม )
แชบ - แหว่ง ( อาการพิการของปาก คือ ปากแหว่ง หรือโพรงจมูก )
ปั๊วะกอ - คอพอก ( อาการพิการของ ลำคอ )
กึงฮอด - คืออาการของผู้พิการของปากหรือโพรงจมูกที่เกิดจากปากแหว่งหรือจมูกแหว่ง
ทำให้เวลาพูด ออกเสียงไม่ค่อยชัด
กระบาลตัมเปก - หัวล้าน
กระบาลตะง็อล - หัวโล้น
เซาะซะเกอว - ผมหงอก
พฤติกรรมและอุปนิสัย
นิซัย - นิสัย
ซันดาน - สันดาน
ระแอง - ขยัน
กันจิล - ขี้เกียจ
กันจิลแผะ - เกียจคร้าน
มันบานรืง - ไม่เอาถ่าน
มันซะนม - แย่
มันเจีย - ไม่ดี
เจีย - ดี
จู - เลว
จูจะนับ - เลวมาก
เจียดจู - ชาติชั่ว
จูจิบหาย - โคตรชั่ว
ซะโลด - เรียบร้อย,สงบเสงี่ยม
จะเจ๊ะ - ดื้อ,ซน,เกเร
มึมึ๊ - ดื้อเงียบ
กันแชงแช๊ะ - กระแดะ
กำเปลด - แร่ด
กำเปิลเฮอะ - คือผู้หญิงที่มีกิริยาที่ไม่เรียบร้อย
ละเลียม - คือ อาการของเด็กทารก หรือ เด็กตัวเล็ก ๆ ที่อยู่ไม่นิ่ง คล้ายๆ ซุกซน แต่ไม่ได้
หมายความว่าดื้อ หรือ เกเร
โนวมันซะงีม - อยู่ไม่นิ่ง มีความหมาย เช่นเดียวกันกับ ละเลียม
ลู๊ยจ - ขโมย,ลัก
เลียะ - ซ่อน
โกง - ขี้โกง
กึงเฮาะ - โกหก
ตร๊อง - ซื่อสัตย์
มันตร๊อง - ไม่ซื่อ,คด,โกง
กันตรึ๊ - ขี้เหนียว
เจิดบอญ - ใจบุญ
มันแจะเก็บ มันแชะเล็ม - สุรุ่ยสุร่าย
แจะตุ๊ก จะด๊ะ - มัธยัสถ์
ละโมบ - โลภ
ซะมูม ซะมาม - ตะกละ
กิริยกรรม
รีบ - จัดเก็บ
เรอะ - เก็บ
เลิก - ยก
กัน - ถือ
ด๊ะ - วาง
เร้ก - หาบ
ลี - แบก
แซง - หาม
ปุน - กะแตง
โอ้ช - ลาก
เตียญ - ดึง
กันตร๊ะ - กระชาก
กันเชาะ - หยิบ หรือ การกระโดด เพื่อที่จะเอาของจากที่สูง
กัด - ตัด
ตอ - ต่อ
ประแมก - ร้าว
แบ๊ก - แตก
ประแมะ - บิ,แยก
ปุ่ - ผ่า
กาบ - ฟัน
อัร - หั่น,เลื่อย
กันจรัม - สับ
เจ็ด - ฝาน
ปาด - ปาด
ฮัน - ซอย
จัง - ถาก
จะ - แทง
ด็อช - เสียบ
แว็ย - ตี
ด็อม - ทุบ
ลักษณะของสิ่งของ
กร๊ะ - หนา
ซะเดิง - บาง
เวง - ยาว
แกล็ย - สั้น
ทม - ใหญ่
ตู้ยจ - เล็ก
ระยะ
ชงาย - ไกล
บีด - ใกล้
อีแน่ะ - ที่นี่
อีเนาะ - ที่นั่น
ฮู้ยอีเนาะ - ที่โน่น
ซัมแน่ะ - แค่นี้
ซัมเนาะ - แค่นั้น
ปันแน่ะ - เท่านี้
ปันเนาะ - เท่านั้น
ปันนา - เท่าไร
ปรัมมาน - ประมาณ
ซัมนา - แค่ไหน
แตร่ะ - ตรงนี้
เตราะ - ตรงนั้น
บ็อญ - ที่
บ็อญเตราะ - ที่ตรงนั้น
บ็อญแตระ - ที่ตรงนี้
เตราะ - นั้น
แตระ - นี้
นู่ - นั่น
นิ่ - นี่
ปริมาณ
จะเรอน - มาก
กัมเปะ - มากมาย
แตจ - น้อย
ตู้ยจ - เล็ก
อัญแตจ อัญตู้ยจ - เล็กๆน้อยๆ
เอาะ - ไม่เหลือ
ม๊อจ - หมด
มันเมียน - ไม่มี
มาตราส่วน
มาจังอ็อล ได - หนึ่งนิ้ว
มาจังอาม - หนึ่งคืบ
มาซอก - หนึ่งศอก
มาฮัด - หนึ่งวา
มาเพียม - หนึ่งเมตร
อัตราส่วน
เป็ญจ - เต็ม
กันละ - ครึ่ง
กะนาล - กลาง
เปี๊ยะกะนาล - ปานกลาง
กิริยาของ ของเหลว
ฮีร - ล้น
ลิก - ท่วม
เล็จ - รั่ว
กิริยาของ สิ่งของ
บ๊ะ - หัก
แบจ - แตก
สัมปีจ - บุบ
ระเยี๊ยะ - ฉีกขาด
แฮจ - ฉีก
ประมะ - บิ่น
กันจ๊ะ - เก่า
ทะแม็ย - ใหม่
ทะแม็ยซล้าง - ใหม่เอี่ยม
ที่มา :
http://www.baanmaha.com/community/thread31574.html
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น