วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของคำว่ากฐิน









    ราชบัณฑิตยสถาน (2546:5-6) กล่าวถึง กฐิน (กะถิน, กะถินนะ) น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร, คำ กฐิน นี้ ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า  ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลาตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐินก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายฟ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือองค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่าเครื่องกฐิน หรือบริวารกฐินเมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัยหรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน ในทางวินัยสิทธิพิเศษ 5 ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ไวยาวัจกร



ความหมายของไวยาวัจกร
                ไวยาวัจกร หมายถึง ผู้ทำกิจธุระแทนภิกษุหรือสงฆ์ , ผู้จัดการขวนขวายแทนภิกษุหรือสงฆ์
                ไวยาวัจกร หมายถึง ผู้ทำกิจธุระแทนสงฆ์, ผู้ช่วยขวนขวายทำกิจธุระ, ผู้ช่วยเหลือรับใช้พระ
ไวยาวัจกรตามพระวินัย
                ตามพระวินัย มีไวยาวัจกร ที่ปรากฏในสิกขาบทที่ ๑๐ จีวรวรรคที่ ๑ นิสัคคิยปาจิตตีย์ ๓ ความว่า 'ถ้าใคร ๆ นำทรัพย์มาเพื่อค่าจีวรแล้วถามภิกษุว่า ใครเป็นไวยาวัจกรของเธอ ถ้าภิกษุต้องการจีวร ก็พึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกว่า ผู้นี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ครั้นเขามอบหมายไวยาวัจกรนั้นแล้ว สั่งภิกษุว่า ถ้าต้องการจีวร ให้เข้าไปหาไวยาวัจกร ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาเขาแล้วทวงว่า เราต้องการจีวรดังนี้ได้ ๓ ครั้ง ถ้าไม่ได้จีวร ไปยืนแต่พอเขาเห็นได้ ๖ ครั้ง ถ้าไม่ได้ ขืนไปทวงให้เกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ได้มา ต้องนิสัคคิยปาจิตตีย์
                ถ้าไปทวงและยืนครบกำหนดแล้วไม่ได้จีวรจำต้องไปบอกเจ้าของเดิมว่าของนั้นไม่ สำเร็จประโยชน์แก่ตน ให้เขาเรียกเอาของเขาคืนมาเสีย
                อธิบายความตามวินัยมุข ๔ เล่ม ๑ กัณฑ์ที่ ๖ สิกขาบทที่ ๑๐ ว่า อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คฤหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่ายจีวร ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าทูตนั้น เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ นำมาเฉพาะท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ภิกษุนั้น พึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ ภิกษุผู้ต้องการจีวร พึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม หรืออุบาสก ให้เป็นไวยาวัจกร ด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของพระภิกษุทั้งหลาย ถ้าทูตนั้น สั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล
                ภิกษุผู้ต้องการจีวร เข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวงพึงเตือน ๒-๓ ครั้ง ว่า เราต้องการจีวร ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ ๒-๓ ครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงเข้าไปยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ดี ส่งทูตไปก็ดี ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมา เพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ ท่านจงทวงเอาคืนทรัพย์ของท่าน ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย. นี้เป็นสามีจิกรรม.(คือการชอบ) ในเรื่องนั้น
                ไวยาวัจกรที่ปรากฏในวินัยมุข เล่ม ๒ กัณฑ์ที่ ๒๐ กล่าวว่า 'ที่กัลปนา คือที่นาที่สวนและที่อย่างอื่นอีก
                อันทายกผู้เจ้าของบริจาคไว้เพื่อเป็นค่าปัจจัยบำรุงสงฆ์ เช่นเรียกในบัดนี้ว่าที่ธรณีสงฆ์ในบาลี แสดงครุภัณฑ์ ไม่ได้กล่าวถึง แต่ในบาลีเภสัชชขันธกะกล่าวไว้แต่ไม่ชัดความดังนี้ พืชของบุคคลอันเพาะปลูกในพื้นที่ของสงฆ์ เจ้าของพึงให้ส่วนแล้วบริโภค นี้ก็ได้แก่ที่นาหรือที่สวนมีคนเช่าถือ เสียค่าเช่าให้แก่สงฆ์. ที่กัลปนานี้ อนุโลมเข้าในบทอารามวัตถุ เป็นครุภัณฑ์ ของอันเกิดขึ้นในที่นั้นหรือจะเรียกว่าค่าเช่าก็ตามที่ทายกผู้ถวายไม่ได้ กำหนดเฉพาะปัจจัย ต้องการด้วยปัจจัยอย่างใด จะน้อมไปเพื่อปัจจัยอย่างนั้น ควรอยู่ที่ทายกผู้ถวายกำหนดเฉพาะ เสนาสนปัจจัย ต้องน้อมเข้าไปในเสนาสนะเท่านั้น.
                ถ้าไวยาวัจกรสงฆ์ดูแลทำที่กัลปนานั้นเอง ไม่ได้ให้มีผู้เช่าถือ จ่ายผลประโยชน์อันเกิดในที่นั้น ให้แก่ผู้ทำผู้รักษาตามส่วนได้อยู่. ผู้ทำผู้รักษามีกรรมสิทธิ์ในของอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้น เท่าส่วนอันตนจะพึงได้. อีกฝ่ายหนึ่ง ในบาลีเภสัชชขันธกะนั้นเองกล่าวว่า พืชของสงฆ์เพาะปลูกในที่ของบุคคล พึงให้ส่วนแล้วบริโภค น่าจะได้แก่การที่ไวยาวัจกรสงฆ์เช่านาหรือสวนของคนอื่นทำเป็นของสงฆ์ เช่นนี้ ท่านยอมให้จ่ายผลประโยชน์ของสงฆ์ให้ เป็นค่าเช่า ค่าถือแก่เจ้าของที่ การเช่นนี้ยังไม่เคยได้ยินว่ามีสักรายหนึ่ง มีแต่บุคคลเช่าที่ของสงฆ์ทั้งนั้น'
ไวยาวัจกรตามกฎกระทรวง
                ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
ข้อ ๖ ให้เจ้าอาวาสจัดให้ ไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัดซึ่งเจ้าอาวาสแต่งตั้งทำบัญชีรับจ่ายเงิน ของวัด และเมื่อสิ้นปีปฏิทินให้ทำบัญชีเงินรับจ่ายและคงเหลือ ทั้งนี้ให้เจ้าอาวาสตรวจตราดูแลให้ เป็นไปโดยเรียบร้อยและถูกต้อง
ข้อ ๗ ในกรณีที่วัด เจ้าอาวาสไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัดถูกฟ้องหรือถูกหมายเรียกเข้า เป็นโจทก์ ร่วมหรือจำเลยร่วม ในเรื่องที่เกี่ยวกับการดูแลรักษา และจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เจ้าอาวาสแจ้งต่อกรมการศาสนา หรือ ศึกษาธิการจังหวัด ที่วัดตั้งอยู่ให้ทราบไม่ช้ากว่าห้าวัน นับแต่วันรับหมาย
ไวยาวัจกรตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
                มาตรา ๒๓ การแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับ ตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ตำแหน่งอื่นๆ และไวยาวัจกรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
มาตรา ๔๕ ให้ถือว่าพระภิกุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา
ไวยาวัจกรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                กรณีที่มีการมอบหมายให้ไวยาวัจกรดูแลรักษาและจัดการทรัพย์สินของวัด ไวยาวัจกรมีฐานะเป็น 'ตัวแทน' ของวัดในการจัดการทรัพย์สินของวัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ไวยาวัจกรตามประมวลกฎหมายอาญา
                ไวยาวัจกรมีฐานะเป็น 'เจ้าพนักงาน' ตามประมวลกฎหมายอาญาจึงได้รับการคุ้มครองและควบคุมตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้
                มาตรา ๑๓๖ ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตาม หน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา ๑๔๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือ จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
หน้าที่ของไวยาวัจกร
                ๑. หน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัต
                ๒. หน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ
                หน้าที่ไวยาวัจกรประเภทที่ ๑ ได้แก่หน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตจากส่วนราชการที่ได้ตั้งนิตยภัตถวายแก่พระ ภิกษุในวัดนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวนี้ ไวยาวัจกรจะต้องได้รับหนังสือมอบหมายจากเจ้าอาวาส เพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการผู้จ่ายนิตยภัต ตามระเบียบของทางราชการ
                ส่วนหน้าที่ไวยาวัจกรประเภทที่ ๒ คือ หน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดซึ่งต้องมีหนังสือมอบหมายของเจ้า อาวาสเป็นหลักฐาน เนื่องจากศาสนสมบัติของวัดมีอยู่มากมายหลายชนิด บางส่วนสำหรับใช้ในการพระศาสนาและบางส่วนก็มิได้ใช้ในการพระศาสนา นอกจากนี้ วิธีการดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัด ก็อาจกระทำได้หลายวิธีด้วยกัน
                ฉะนั้น ทรัพย์สินส่วนใดจะมอบหมายให้ไวยาวัจกรจัดการโดยวิธีใดจึงจำเป็นต้องมี 'หนังสือ' มอบหมายของเจ้าอาวาสเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกและป้องกันมิให้เกิดข้อบกพร่อง หรือข้อยุ่งยากในการปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกร
                แต่อย่างไรก็ดี ในการปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกรประเภทที่ ๒ ถึงแม้ว่าจะได้รับหนังสือมอบหมายจากเจ้าอาวาสเป็นหลักฐานไว้แล้วก็ตาม ไวยาวัจกรจะดำเนินการไปโดยอิสระตามความพอใจของตนก็หาไม่ จะต้องจัดการให้เป็นไปโดยชอบด้วยบทบัญญัติในมาตรา ๔๐ วรรค ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ กล่าวคือ ต้องให้เป็นไปตาม 'วิธีการ' ที่กำหนดในกฎกระทรวง
                โดยนัยนี้ ถ้าไวยาวัจกรปฏิบัติการใดๆ โดยไม่ได้รับหนังสือมอบหมายจากเจ้าอาวาสก็ดี หรือได้รับหนังสือมอบหมายจากเจ้าอาวาสแล้ว แต่กระทำไปโดยมิชอบด้วยวิธีการตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงก็ดี ต้องถือว่าได้กระทำไปโดยนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือมิชอบด้วยอำนาจหน้าที่ของตนแล้วแต่กรณี หากเกิดข้อบกพร่อง หรือเสียหายขึ้นด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว ไวยาวัจกรจะต้อง 'รับผิดชอบ' ในความบกพร่องหรือความเสียหายนั้น
                โดยนัยเดียวกัน ถ้าเจ้าอาวาสมอบหมายให้ไวยาวัจกรปฏิบัติการใดๆ โดยมิได้มอบหมายเป็นหนังสือ ตามที่บัญญัติไว้ในข้อ ๒ นี้แล้ว หากเกิดข้อบกพร่องหรือเสียหายขึ้นด้วยเหตุดังกล่าวแล้วเจ้าอาวาสจะต้องร่วม 'รับผิดชอบ' ในความบกพร่องหรือความเสียหายนั้นด้วย
ความรับผิดชอบของไวยาวัจกร
                โดยที่ไวยาวัจกร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดประโยชน์ศาสนสมบัติของวัดอันเป็น ทรัพย์สินของ 'พระศาสนา' นอกจากจะมีบทบัญญัติกำหนดขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ไวยาวัจกร พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร ตลอดจน 'ความรับผิดชอบ' ในหน้าที่ของไวยาวัจกรไว้เป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกับความรับผิดชอบของข้าราชการฝ่ายบ้านเมือง ผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการทรัพย์สินแผ่นดินหรือของ 'ชาติ' ซึ่งแยกออก พิจารณาได้เป็น ๒ ส่วน คือ
                ๑. ความรับผิดชอบในทางแพ่ง
                ๒. ความรับผิดชอบในทางอาญา
                ส่วนความรับผิดชอบของไวยาวัจกรในข้อที่ ๑ คือ ความรับผิดชอบในทางแพ่งนั้น หมายถึงความรับผิดชอบในฐานะที่ไวยาวัจกรเป็น 'ตัวแทนของวัด' ซึ่งเป็นนิติบุคคล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๑ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
                ถ้าไวยาวัจกรกระทำการใดๆ โดยมิชอบด้วยอำนาจหน้าที่ของไวยาวัจกรหรือมิชอบด้วยสิทธิหน้าที่ของวัด หากเกิดความเสียหายแก่วัดหรือบุคคลภายนอกก็ตาม ไวยาวัจกรผู้นั้นต้องรับผิด ต้องรับใช้ความเสียหายนั้นแก่วัด หรือบุคคลภายนอกแล้วแต่กรณี ตามประมวลผลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ ๑๕ ตัวแทน
                ความรับผิดชอบของไวยาวัจกรในข้อที่ ๒ คือ ความรับผิดชอบในทางอาญานั้น หมายถึง ความรับผิดชอบ ในฐานที่ไวยาวัจกรเป็น 'เจ้าพนักงาน' ตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มีความว่า
                'มาตรา ๔๕ ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และ ไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา'
                ตามบทบัญญัติในมาตรา ๔๕ ซึ่งยกฐานะของไวยาวัจกรให้เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญาเช่นนี้ มิใช่มีความมุ่งหมายแต่เพียง 'ควบคุม' การปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกรเท่านั้น ยังมีความมุ่งหมายเพื่อ 'คุ้มครอง' การปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกรอีกส่วนหนึ่งด้วย เพราะในประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติแยกความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานไว้เป็น ๒ ลักษณะ คือ ความผิดเกี่ยวกับความยุติธรรมและความผิดทั้ง ๒ ลักษณะยังแบ่งออกเป็น ๒ หมวด คือ
                ๑. ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
                ๒. ความผิดต่อเจ้าหน้าที่พนักงาน
                นอกจากนี้ยังได้บัญญัติความผิดเกี่ยวกับเรื่องเจ้าพนักงานไว้ในลักษณะและ หมวดอื่นๆ อีกในประมวลกฎหมายอาญา แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เรื่องที่เกี่ยวข้องและสำคัญเท่านั้น
                โดย นัยนี้ถ้ามีผู้ใดกระทำผิดต่อไวยาวัจกรผู้กระทำตามหน้าที่ต้องด้วยกรณีอย่าง ไรอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในหมวดที่ว่าด้วยความผิดต่อเจ้าพนักงาน หรือในลักษณะหรือหมวดอื่นๆ แล้ว ก็ต้องมี ความผิดและรับโทษทางอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในกรณีนั้นๆ ขอนำตัวอย่างมาประกอบการพิจารณาเฉพาะแต่เพียงบางกรณี
ตัวอย่าง เช่น ผู้ใดดูหมิ่นไวยาวัจกร ซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องมีความผิดฐาน 'ดูหมิ่น' เจ้าพนักงานตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๖
                โดยนัยเดียวกัน ถ้าไวยาวัจกรผู้ใดกระทำผิดต่อหน้าที่ของตนต้องด้วยกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่บัญญัติไว้ในหมวดความผิดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าพนักงาน หรือในลักษณะและหมวดอื่นๆ แล้ว ก็ต้องมีความผิดและรับโทษทางอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในกรณีนั้นๆ ตัวอย่าง เช่น ถ้าไวยาวัจกรผู้ใดเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของวัด อันอยู่ในความครอบครองของตนตามหน้าที่ต้องมีความผิดฐานเจ้าพนักงาน 'ยักยอก' ทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๗ หรือ
ถ้าไวยาวัจกรผู้ใดใช้อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ของตนโดยทุจริต เป็นการเสียหายแก่วัด ต้องมี ความผิดฐานเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่และตำแหน่งหน้าที่ในทาง 'ทุจริต' ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๑ หรือ
                ถ้าไวยาวัจกรผู้ใดปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ต้องมีความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดย 'มิชอบ' หรือโดยทุจริตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๗ มีความว่า
                มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ต้องระหว่างโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การแต่งตั้งไวยาวัจกร
                เนื่องจากไวยาวัจกรต้องรับภาระปฏิบัติหน้าที่อันสำคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ ส่วนได้ส่วนเสียของวัดและพระศาสนาอยู่หลายประการ เพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อบกพร่องเสียหายในการปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกรดัง กล่าวมาแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งไวยาวัจกรไว้เป็น พิเศษ ซึ่งแยกสาระสำคัญออกพิจารณา ได้เป็น ๔ ส่วน คือ
                ๑. หลักเกณฑ์การแต่งตั้งไวยาวัจกร
                ๒. วิธีการแต่งตั้งไวยาวัจกร
                ๓. การแต่งตั้งไวยาวัจกรหลายคน
                ๔. การแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งไวยาวัจกร
หลักเกณฑ์การแต่งตั้งไวยาวัจกร
                คฤหัสถ์ที่ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นไวยาวัจกร ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ ๖
                ข้อ ๖ คฤหัสถ์ผู้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นไวยาวัจกร ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
                (๑) เป็นชาย มีสัญชาติไทย นับถือพระพุทธศาสนา
                (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์
                (๓) เป็นผู้มีหลักฐานมั่นคง
                (๔) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ไวยาวัจกรได้
                (๕) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองตามระบบรัฐธรรมนูญ
                (๖) ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายทุพพลภาพ ไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือมีโรคเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
                (๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี เช่น มีความประพฤติเสเพล เป็นนักเลงการพนัน เสพสุราเป็นอาจิณ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
                (๘) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
                (๙) ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกลงโทษให้ออกจากราชการ หรือองค์การของรัฐบาล หรือบริษัทห้างร้านเอกชน ใน ความผิดหรือมีมลทินมัวหมองในความผิดเกี่ยวกับการเงิน
                (๑๐) ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกลงโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
                เมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติในข้อ ๖ โดยตลอดแล้ว จะเห็นได้ว่าได้กำหนด 'คุณสมบัติ' ของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งไวยาวัจกรไว้มากถึง ๑๐ ประการ ทั้งนี้ โดยมีเหตุผลและความมุ่งหมายอันสำคัญอยู่หลายประการ แต่ถ้าจะกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็เพื่อให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ไวยาวัจกร ซึ่งแยกพิจารณาโดยสังเขป ได้ดังนี้
                (๑) เนื่องจากในการปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกร จะต้องมีการติดต่อประสานงานกับบุคคล 'หลายฝ่าย' เช่น เจ้าอาวาสและบรรพชิตในวัดนั้นฝ่ายหนึ่ง เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องฝ่ายหนึ่ง ตลอดถึงประชาชนทั่วไปอีกฝ่ายหนึ่ง จึงจำเป็นต้องกำหนด 'คุณสมบัติ' เกี่ยวกับเรื่องเพศ วัย สัญชาติ ศาสนา หลักฐานการครองชีพ ความรู้ความสามารถความคิดเห็นทางการเมือง รวมทั้งมีร่างกายและจิตใจอันสมบูรณ์ ดังที่ได้บัญญัติไว้ตั้งแต่ประการที่ ๑ ถึงประการที่ ๖ ทั้งนี้ ด้วยความมุ่งหมายเพื่อให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวนั้นให้ดำเนิน ไปโดยเรียบร้อย
                (๒) นอกจากนี้ ไวยาวัจกรยังมีหน้าที่อันสำคัญอีกส่วนหนึ่งกล่าวคือ มีหน้าที่ต้องรับ เก็บรักษา และเบิกจ่าย 'เงินศาสนสมบัติ' ของวัดเป็นจำนวนมากตามที่เจ้าอาวาสมอบหมาย จึงจำเป็นต้องกำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับเรื่อง 'ความประพฤติ' มิให้บกพร่องในศีลธรรมอันดี ไม่เป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่เคยมีความผิดเสียหายเกี่ยวกับการเงิน ตลอดถึงไม่เคยถูกลงโทษจำคุกเพราะกระทำผิดอาญามาก่อน ดังที่ได้บัญญัติไว้ตั้งแต่ประการที่ ๗ ถึงประการที่ ๑๐ ทั้งนี้ โดยมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผู้ที่มีเกียรติเป็นที่เชื่อถือไว้ว่างใจ และเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริตบกพร่องเสียหายแก่ทรัพย์สินของวัดและพระ พุทธศาสนา
                ฉะนั้น ในเรื่อง 'คุณสมบัติ' ของไวยาวัจกรทั้ง ๑๐ ประการ ตามที่บัญญัติไว้ในข้อ ๖ นี้ จึงจัดเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการคัดเลือกและแต่งตั้งไวยาวัจกร เพราะถ้าปรากฏว่าผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นไวยาวัจกรนั้น 'บกพร่อง' จากคุณสมบัติเพียงประการใดประการหนึ่ง การแต่งตั้งย่อมไม่เป็นการสมบูรณ์ตามกฎหมาย
                นอกจากนี้ยังต้องดำเนินการให้ชอบด้วย 'วิธีการ' แต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะได้พิจารณาในลำดับต่อไป
วิธีการแต่งตั้งไวยาวัจกร
                เนื่องจากมีบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติของไวยาวัจกรไว้เป็นหลักเกณฑ์ในการแต่ง ตั้งดังกล่าวแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติกำหนด 'วิธีดำเนินการ' แต่งตั้งไวยาวัจกรไว้อีกส่วนหนึ่ง เพื่อควบคุมการแต่งตั้งให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย ดังที่บัญญัติไว้ในข้อ ๗ มีความว่า
                ข้อ ๗ ในการแต่งตั้งไวยาวัจกรของวัดใด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัดนั้นปรึกษาสงฆ์ในวัดพิจารณาคัดเลือก คฤหัสถ์ผู้มีคุณสมบัติตามควมในข้อ ๖ เมื่อมีมติเห็นชอบในคฤหัสถ์ผู้ใดก็ให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งคฤหัสถ์ผู้นั้น เป็นไวยาวัจกร โดยอนุมัติของเจ้าคณะอำเภอ ในการแต่งตั้งไวยาวัจกร เพื่อความเหมาะสมจะแต่งตั้งไวยาวัจกรคนเดียว หรือหลายคนก็ได้ ในกรณีที่ไวยาวัจกรหลายคน ให้เจ้าอาวาสมอบหมายหน้าที่การงาน ให้แก่ไวยาวัจกรแต่ละคนเป็นหนังสือ
                ตามความในมาตรา ๓๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ บัญญัติหน้าที่เจ้าอาวาสไว้ว่า 'บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นได้ด้วยดี' และวิธีจัดการศาสนสมบัติของวัดซึ่งกำหนดในกฎกระทรวง ก็เป็นวิธีการอันละเอียดและเหมาะสมแก่คฤหัสถ์ ที่บัญญัติให้มีไวยาวัจกรก็เพื่อให้ช่วยงานเจ้าอาวาสในการนี้ ซึ่งเจ้าอาวาสจะมอบหมายเป็นหนังสือ ขอแนะแนวปฏิบัติ ดังนี้
                หลักเกณฑ์การแต่งตั้ง ให้แต่งตั้งในเมื่อไวยาวัจกรว่างลงหรือที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับปริมาณงาน เฉพาะที่ไวยาวัจกรว่างลง จะแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งไวยาวัจกรเป็นการชั่วคราวก่อนก็ได้ การแต่งตั้งไวยาวัจกรนั้น กำหนดคุณสมบัติอันเป็นหลักเกณฑ์ไว้หลายอย่าง เช่น เป็นชาย มีสัญชาติไทย นับถือพระพุทธศาสนา มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์ เป็นต้น (ตามข้อ ๖ กฎ ๑๘)
                วิธีแต่ง ตั้ง ให้เจ้าอาวาสปรึกษาสงฆ์ในวัดพิจารณาคัดเลือกคฤหัสถ์ผู้มีคุณสมบัติตามกฎมหา เถรสมาคมเพื่อขออนุมัติแต่งตั้ง มติแห่งการปรึกษานั้น ต้องเห็นพ้องกัน เมื่อปรึกษาแล้วให้ขออนุมัติจากเจ้าคณะอำเภอโดยเสนอผ่านเจ้าคณะตำบล รับอนุมัติแล้วจึงแต่งตั้ง เมื่อแต่งตั้งแล้ว ต้องรายงานการแต่งตั้งต่อเจ้าคณะอำเภอและแจ้งนายอำเภอเพื่อแจ้งสำนักงานพระ พุทธศาสนาแห่งชาติ และควรแจ้งให้สงฆ์และทายกทายิกาวัดนั้นทราบด้วย
                ข้อ พิเศษ การแต่งตั้งไวยาวัจกร ต้องให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ จึงเป็นการแต่งตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องทำหนังสือมอบหมายการงานให้รับปฏิบัติและถ้าแต่งตั้งแทนคนเดิม ต้องสั่งให้ไวยาวัจกรคนเดิมหรือทายาทมอบหมายการงานพร้อมด้วยทรัพย์สินและ หลักฐานต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นั้นให้แก่ไวยาวัจกรคนใหม่ด้วย
ที่มา  http://www.songpak16.com/wiyavatkorn.html

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สวัสดีอุดรมีชัย : จุมเรียบซัวรฺ อ็อดดอลเมียนเจย





สายๆ ของวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ฉันและพี่ๆ สุรินทร์สโมสรห้าชีวิต ออกเดินทางจากตัวเมืองสุรินทร์มุ่งหน้าไปยังด่านชายแดนช่องจอม...ก่อนหน้านั้นฉันมักมาที่ตลาดช่องจอมแห่งนี้ โดยเฉพาะช่วงเสาร์-อาทิตย์ ตลาดชายแดนจะคึกคักเป็นพิเศษ เพราะชาวบ้าน พ่อค้าแม่ขายทั้งไทย กัมพูชา ต่างสรรหาผัก ปลา หมู เห็ด เป็ด ไก่ ฯลฯ มาค้าขายแลกเปลี่ยนกันที่นี่
  ๑๑ โมงเช้า ฉันแบกเป้ใบเล็กต่อแถวยาวเหยียดเพื่อปั๊ม borderpart กว่าเราจะข้ามด่านชายแดนได้ก็ใช้เวลาราว ๑ ชั่วโมง ข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์บ้านเราบอกว่าชายแดนช่องจอมตรึงกำลัง ทำให้หลายคนคัดค้านการเดินทาง แต่เราตั้งใจกันแล้วว่าจะแวะไปเยือนอุดรเมียนเจยสักคราเป็นโรคเลื่อนมาหลายครั้ง ตอนนี้เป็นไงเป็นกันเราไปดี เขามาดีพระท่านคงคุ้มครอง...ในใจคิดอย่างนั้นท่ามกลางเสียงคัดค้าน...แต่วันนี้ใยผู้คน (ประชาชน) แน่นขนัดด่านช่องจอม
   เราเช่ารถในราคา ๑,๕๐๐ บาท ไปถึงกรุงสำโรง (ชื่อในปัจจุบันของตัวเมืองอุดรเมียนเจย) กว่าจะรู้ว่าถูกโก่งราคา ก็คนขับรถนั่นเองเป็นคนบอก เพราะเขาต้องจ่ายค่านายหน้าให้พี่ไทยเรานี่เอง (เสียความรู้สึกหน่อย เพราะพี่ท่านเก็บค่านายหน้าแพงเหลือเกิน ซึ่งราคาจริงของการเช่ารถจากช่องจอมไปอุดรเมียนเจย ประมาณพัน ไม่เกินพันสองร้อยบาท)
    ช่องจอม...มองจากฝั่งไทยแล้วเหมือนกับว่าเป็นช่องเขาที่ราบ ลาดลงเขาอย่างเรียบง่าย ในจินตนาการของฉันช่องจอมเป็นเพียงเนินเขาและค่อยๆ ลาดลงไปยังกัมพูชา แต่เปล่าเลยแม้ว่าถนนหนทางทุกวันนี้จะถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ความคดเคี้ยว และร่องรอยการกัดเซาะของน้ำ ก็ทำให้ถนนกรวดกลายเป็นร่องเล็กร่องใหญ่ ตลอดทางที่ลงเขา เหมือนกับเรากำลังขับรถในเขตอุทยานแห่งชาติ บ้างก็มีหินก้อนใหญ่ๆ แต่ถือว่าเป็นทางลงที่สะดวกพอสมควร...เงาไม้สองข้างทางชวนให้นึกถึงยุคก่อนที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า การเดินทางผ่านช่องเขาแห่งนี้ใช้เวลาร่วมสองวันไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน อากาศเย็นยะเยือกตั้งแต่ออกจากตัวอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ (ห่างจากช่องจอมราว 30 กิโลเมตร) แต่ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปแล้วเหลือเพียงพื้นที่สั้นๆ ที่ถนนตัดผ่านที่พอจะเห็นร่องรอยความอุดมสมบูรณ์บ้าง  ไม่แปลกใจเลยว่าที่นี่คือต้นธารแห่งโตนเลซาป  ที่มีปลาว่ายทวนน้ำมาวางไข่เวลาเปลี่ยนไปความอุดมสมบูรณ์ก็ยังคงมีอยู่ แม้จะไม่เหมือนเดิม

รถแท็กซี่ (แคมรี่) พาเราวิ่งฉิวราวกับถนนเส้นนี้ไม่มีหลุมแต่ฉันหาที่เกาะอย่างเหนียวแน่นตลอดทางไม่กล้าแม้จะหยิบกล้องตัวจิ๋วออกมาถ่ายภาพสองข้างทาง (แบบว่าไม่มีจังหวะหายใจ ลุ้นระทึกตลอดทาง)...สี่สิบนาทีให้หลังเราก็มาถึงกรุงสำโรง (ตัวเมืองอุดรเมียนเจย) จังหวัดเล็กๆ ของกัมพูชา นับระยะทางสี่สิบสองกิโลเมตรจากด่านชายแดนช่องจอม "ท่านอิง วอน" รอต้อนรับคณะเราเพราะครั้งนี้ตั้งใจไปเยี่ยมท่านและถามไถ่ข่าวคราวถึงพี่น้องที่เคยมาเยือนสุรินทร์เมื่อปีก่อน เราทานข้าวเที่ยงกันเสร็จ เจ้าบ้านท่านจัดหารถและพาเราเที่ยวรอบกรุงสำโรง

ที่มา :
http://www.oknation.net/blog/surin-samosorn/2009/07/02/entry-1

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พระพุทธรูปปางสนเข็ม





ปางที่ ๔๗
ปางสนเข็ม
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายทำกิริยาจับเข็มพระหัตถ์ขวาทำกิริยาจับเส้นด้าย อยู่ในพระอาการสนเข็ม

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นปางที่มีความหมายอันสำคัญปางหนึ่ง ถึงน้ำพระทัยที่ทรงเอาธุรกิจการของสงฆ์ที่เกิดขึ้นในหมู่คณะ ที่ไม่ทรงดูดายในการงานที่เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์ อันจะต้องจัดต้องทำให้เสร็จไป เมื่อมีสิ่งใดอันพระองค์จะช่วยได้ พระองค์จะทรงกรุณาเอาเป็นธุระร่วมงานด้วย ทรงเป็นกันเองในพระสงฆ์สาวกดังปางสนเข็มนี้ คือเมื่อพระสาวกร่วมกันตัดเย็บจีวร อันจะต้องให้แล้วเสร็จทันแก่เวลา เช่นในคราวทำผ้ากฐิน พระองค์ก็เสด็จไปร่วมเป็นประธานในงานนั้น เป็นที่ซาบซึ้งในพระเมตตาแก่พระสงฆ์ที่ร่วมงานนั้นเป็นอย่างมาก ทรงรับธุระช่วยสนเข็มให้ในขณะพระเย็บผ้าจีวรอยู่ รูปใดด้ายหมดก็ส่งเข็มถวาย พระองค์ก็ทรงสนเข็มประทาน

ข้อนี้เป็นเยี่ยงอย่างอันดีของผู้เป็นหัวหน้าในการงานทั่วไป หากไม่เพิกเฉยเอาเป็นธุระเข้าร่วมด้วยตามโอกาส ย่อมจะเป็นกำลังใจอย่างดีแก่คณะผู้ร่วมงานสามารถบันดาลงานนั้นให้พลันเสร็จเรียบร้อยด้วยดี เพราะอาศัยพระพุทธรูปปางสนเข็มนี้แหละ ทำให้คนใจบุญรักการทอดจุลกฐิน ซึ่งมีงานอันจะต้องจัดต้องทำจีวรให้สำเร็จในวันนั้น เป็นงานที่พระพุทธเจ้าทรงรัก ทรงพระเมตตาเสด็จร่วม ทรงพระกรุณารับหน้าที่สนเข็มเย็บจีวรถือว่าเป็นบุญมาก เพราะลงทุนลงแรงมาก มีความพร้อมเพรียงด้วยผู้คนญาติมิตรมากแม้จนบัดนี้ก็ยังนิยมทำจุลกฐินกันอยู่ แสดงว่ามีความเลื่อมใส พอใจงานที่พระพุทธเจ้าทรงโปรดเพื่อรักษาไว้เป็นเนตติสืบไป น่าอนุโมทนายิ่งนัก

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้


ครั้งหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหารใกล้กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธรัฐ ประจวบด้วยเวลานั้น จีวรของพระอนุรุทธเถระเจ้าเก่าคร่ำ นอกจากจะได้รับการชุนเย็บปะ ด้วยน้ำมือของท่านมากครั้งแล้วเนื้อผ้าจีวรผืนนั้นก็หมดอายุอีกด้วย เพราะหมดดี จะใช้เป็นจีวรต่อไปอีกไม่ได้ แปลว่าจะต้องทำใหม่ และเบื้องต้นของการทำจีวร ก็จะต้องหาผ้าไว้เพียงพอก่อน

ดังนั้น พระอนุรุทธเถระเจ้า จึงเที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลตามกองหยากเยื่อที่บุลคลนำมาทิ้ง ด้วยเป็นเศษผ้าหรือเป็นผ้าปฏิกูลบ้าง ตามสุสานที่บุคคลเอาห่อศพมาทิ้งไว้ตามราวไพร หรือสุมทุมพุ่มไม้ ที่บุคคลศรัทธานำมาทอดทิ้งไว้ถวาย ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "ผ้าป่า" ในบัดนี้บ้าง เพื่อเอาไปผสมให้พอทำจีวรในสมัยจีวรกาล (คือเวลาทำจีวรตามพระพุทธบัญญัติที่เรียกว่าเวลาทอดกฐินซึ่งมีกำหนด ๑ เดือนเต็ม นับตั้งแต่ออกพรรษาแล้วไป คือวันแรมค่ำ ๑ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒) ตามนิสัยพระเถระเจ้า ซึ่งนิยมใช้ผ้าจีวรบังสุกุลเป็นปกติดังนั้น ท่านจึงได้เดินเที่ยวหาผ้าบังสุกุลในที่ต่างๆดังกล่าว

บังเอิญในเวลานั้น นางชาลินีเทพธิดา ในดาวดึงสพิภพ ซึ่งในอดีตชาติที่ ๓ นับแต่ชาตินั้นไป ได้เคยเป็นภรรยาที่ดีของพระอนุรุทธเถระเห็นพระเถระเที่ยวแสวงหาผ้าอยู่ จึงได้เอาผ้าอย่างดี ๓ ผืน กว้าง ๔ ศอก ยาว ๑๓ ศอก มาเพื่อตั้งใจถวายพระเถระเจ้า แต่พลันคิดได้ว่า หากถวายตรงๆ ดังที่คิดไว้ พระเถระเจ้าอาจไม่รับ เราจะจัดถวายแบบผ้าบังสุกุล ซึ่งเรียกว่าผ้าป่าเถิด คิดดังนั้นแล้ว ก็กำหนดดูทางที่พระเถระเจ้าจะเดินผ่านมา แล้วเอาผ้าทั้ง ๓ ผืนนั้นวางไว้ใกล้ทาง เอาหยากเยื่อถมไว้ เหลือชายผ้าไว้หน่อยหนึ่งพอที่พระเถระผ่านมาจะเห็นได้ แล้วหลีกไป

ครั้นพระอนุรุทธเถระเจ้าเดินแสวงหาผ้าผ่านมาทางนั้น เห็นชายผ้าที่หยากเยื่อทับถมอยู่ จึงได้ถือเอาโดยสำคัญว่าเป็นผ้าบังสุกุล และเมื่อเห็นว่าผ้ามีจำนวนมากพอจะทำจีวรได้แล้ว ก็เดินทางกลับพระเวฬุวันวิหาร บอกให้พระสงฆ์ทั้งหลายทราบว่า ท่านจะทำจีวรขอให้พระสงฆ์มาร่วมกันช่วยจัดช่วยทำ

เนื่องจากเวลานั้น การทำจีวรเป็นธุระของพระ จะต้องจัดต้องทำกันเองทั้งสิ้น คฤหัสถ์มิได้เกี่ยวข้อง คฤหัสถ์มีธุระเพียงจัดหาผ้าถวายเท่านั้นและก็ถวายเป็นผ้าขาว พระต้องเอาไปกะตัดเย็บย้อมเอาเอง ทั้งคฤหัสถ์ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจในงานตัดเย็บจีวร ซึ่งผิดตรงข้ามกับในปัจจุบันนี้ ความจริงแม้ในเวลานี้ ถึงคฤหัสถ์ก็ดูเหมือนจะเข้าใจตัดเย็บจีวรแต่เฉพาะผู้เป็นช่างเท่านั้น มิได้ตัดเย็บเป็นทั่วไปทุกคน แต่พระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลตัดเย็บเป็นทุกรูป เพราะเป็นหน้าที่ของท่านจะต้องตัดเย็บใช้เอง ไม่นิยมใช้ผ้าที่คฤหัสถ์ตัดเย็บถวาย

เมื่อพระสงฆ์สาวกได้ทราบว่า พระอนุรุทธเถระเจ้าจะทำจีวร ต่างก็มาพร้อมเพรียงกัน ตลอดพระมหาสาวก เช่น พระมหากัสสป พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระอานนท์ ผู้ชำนาญในการกะตัดจีวรเป็นพิเศษ ก็ได้มาร่วมประชุมทำจีวรถวายพระอนุรุทธอย่างน่าสรรเสริญ ต่างรับแบ่งงานออกทำกันตามสามารถทุกองค์ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงพระเมตตาเสด็จมาประทับเป็นประธาน ทั้งรับธุระสนเข็มให้ พระที่ช่วยเย็บผ้ารูปใดด้ายหมดก็ส่งเข็มถวายพระศาสดาก็ทรงสนเข็มประทาน เป็นที่เบิกบานใจแก่มวลพระสงฆ์สาวกที่เข้ามาร่วมทำจีวรร่วมกัน

อนึ่ง ในการเลี้ยงดูพระสาวกที่มาร่วมทำจีวรครั้งนี้ นอกจากพระโมคคัลลานเถระ ในฐานะเป็นผู้ใหญ่ ควบคุมกิจการทั่วไป จะพึงสอดส่องให้ความสะดวกแก่พระสาวกทั้งหลายแล้วยังนางชาลินีเทพธิดาเจ้าของผ้าบังสุกุล ก็ได้ติดตามพระอนุรุทธเถระมาถึงวิหาร ครั้นเห็นพระสงฆ์สาวกเป็นอันมาก มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข เสด็จมาประทับเป็นประธาน ทำจีวรถวายพระอนุรุทธเถระมีความยินดีมาก ได้จำแลงกายเป็นอุบาสิกาเข้าไปป่าวร้องในหมู่บ้านว่า เวลานี้พระสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกได้ประกอบพิธีทำจีวรถวายพระอนุรุทธเถระ ควรที่เราทั้งหลายจะจัดข้าวยาคูและขัชชโภชนาหารถวายพระสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อเราทั้งหลายจะพึงเป็นผู้มีส่วนบุญในการนี้ด้วย ต่อมาไม่ช้าก็มีคนใจบุญ นำอาหารอันประณีตมาถวายพระสงฆ์เป็นอันมากตามคำชักชวนของนางชาลินีเทพธิดา พระสงฆ์ทั้งหลายต่างก็มีความสะดวกสบายด้วยอาหารทั่วกัน ในวันนั้นเอง ผ้าจีวรอันประณีต มีค่ามากเกิดแต่ฝีมือของพระสงฆ์สาวกพร้อมกัน กะ ตัด เย็บ และย้อมด้วยน้ำฝาด ซึ่งมีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาประทับเป็นประธานรับงานสนเข็มให้ ก็สำเร็จเรียบร้อยตกเป็นสมบัติอันมีค่าของพระอนุรุทธเถระเจ้าสมประสงค์.

จบตำนานพระพุทธรูปปางสนเข็มแต่เพียงนี้.



ที่มา :
http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=808:2009-07-17-16-46-05&catid=79:2009-07-17-16-15-34&Itemid=279

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ภาษาเขมรถิ่นไทย (อีสานตอนใต้)






ภาษาเขมร คือ ภาษาท้องถิ่นของชาวอีสานตอนใต้ ของประเทศไทย หรือ เราเรียกชนกลุ่มนี้ว่า ขแมร์ ภาษาเขมร เป็นต้นกำเนิด มาจากภาษาขอม ซึ่งมีอายุกำเนิด เกิด มานับ ร้อย ๆ เป็นภาษาที่สละ สลวย และเป็นภาษามาจากรากราชาศัพท์ และ มีหลายคำที่นำมาใช้ในภาษาไทย เช่น เสวย แปลว่า กิน หรือ ทาน,สดับ แปลว่า ฟัง , เดิน มาจาก คำว่า เดอร ของภาษาเขมร เป็นต้น ในสมัยแต่โบราณกาล ชาวเขมร ที่เรียนวิชา อาคม มนต์ขลัง และเวทย์มนต์ คุณไสย์ ที่เป็นวิชาทางไสยศาสตร์ ได้นำวิชาและคาถา ต่าง ๆ มาจารึกไว้บนใบลาน หรือที่เราเรียกกันว่า พระ คาถาใบลาน จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่า ภาษาเขมร เป็นภาษาที่เก่ามาก อีกภาษาหนึ่ง เช่นเดียวกันกับภาษาขอม
ทุกวันนี้ ภาษาเขมร ซึ่งนับวัน จะค่อยเลือนหายไปเรื่อยๆ เพราะคนเราทุกวันนี้ ( บางคน ) มักจะคิดว่า ภาษาเขมร เป็นภาษาที่ด้อย หรือ บ้านนอก ประมาณ นั้น และถ้าหากพูดคุยภาษาเขมรในสังคม มักจะเขิน อาย เพราะกลัวคนอื่น ว่าเชย และเด็ก ๆ ทุกวันนี้ ส่วนมาก จะใช้ภาษาไทย หรือ ภาษากลาง เป็นหลักในการสื่อสาร และ ผู้ปกครองบางคน ก็มักจะสอนลูกหลานให้ หัดพูดภาษาไทย ตั้งแต่ยังเล็ก ๆ และใช้ภาษาไทยในการพูดคุย ในครอบครัว อีกประการหนึ่ง คนท้องถิ่น ที่เป็นคนเขมร บางคนแทบจะจำไม่ได้ ว่า คำบางคำของภาษาเขมร หมายถึงอะไร แปลว่าอะไร มีชื่อเรียกว่าอะไร นั่นเป็นเพราะ เราไม่ได้ใช้ หรือ พูด บ่อยๆ และนี้ก็ คือ เหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ภาษาเขมร ค่อย ๆ ถูกลืม ไป

ด้วยเหตุนี้ ผม จึงได้คิดริเริ่ม เขียนภาษาเขมร และ รวบรวมคำศัพท์ภาษาเขมร โดยใช้อักษร อักขระ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ไทย เพื่อให้ผู้ที่สนใจ จะศึกษาได้อ่านง่ายขึ้น ถึงแม้ว่า การอ่านออกเสียง อาจจะไม่เหมือนสำเนียงของภาษาเขมร ขนานแท้ แต่ผมก็พยายาม เรียบเรียงให้ได้ใกล้เคียงที่สุด เท่าที่ผมสามารถทำได้ประการสุดท้ายนี้...ผมต้องขอขอบคุณ ชุมชนบ้านมหา ที่ได้ให้โอกาสผม ได้ทำในสิ่งที่ผมปรารถนา และได้พบปะกับเพื่อน กับ มิตร ทุกกลุ่มเหล่า เผ่าพันธุ์ภาษา วัฒนธรรม

ถ้าหากว่า คำภาษาเขมรที่ผมได้รวบรวมไว้ มีข้อผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัย ไว้ ณ ที่นี้ ด้วย และถ้าหากท่านผู้ใด มีข้อเสนอแนะ บอกกล่าว หรือ ชี้แนะแนวทาง เพื่อสรรสร้างภาษาเขมร ให้อยู่ดำรงค์ต่อไป ผมก็ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง...
ข้าฯ น้อย ขอน้อมรับไว้ด้วยเกล้า ฯ

ลักษณะของสระรีระ
คลูน - ตัว
รูปเรียง - รูปร่าง

องค์ประกอบของร่างกาย
เชียม - เลือด
ยื๊อ - เหงื่อ
กะแอลอั้ยจ - ขี้ไคล
สั้ยจ - เนื้อ
ซะแบก - ผิวหนัง
จะเอิง - กระดูก
มะเม๊ - ขน
เซาะ - ผม
ตระซัย - เส้น,เอ็น
กลีน - ลูกหนู

องค์ประกอบของอวัยวะภายใน
ตระซัยเชียม - เส้นเลือด
ปั๊วะวีน - ลำไส้เล็ก
กำปวงปั๊วะทม - ลำใส้ใหญ่
โปล - ปอด
ทะเลอม - ตับ
กะบาลเจิด - หัวใจ
ประมัด - ดี,ถุงน้ำดี
ทะเลอมปั๊วะ - กระเพาะอาหาร
ตระซัยปั๊วะ - เส้นเอ็นท้อง
ปร๊วงตังเฮิม - หลอดลม
ตระซัยพะเนาะ - ใส้ติ่ง
อั้ยจ - อุจจาระ
ตึกโนม - น้ำปัสสาวะ
กำปวงตึกโนม - ท่อปัสสาวะ
ทะเลอมปั๊วะตึกโนม- กระเพาะปัสสาวะ

องค์ประกอบของเรือนร่าง
กะบาล - หัว,ศีรษะ
ตะซัยเซาะ - เส้นผม
เจิงเซาะ - ตีนผม
จ๊องเซาะ - ปลายผม
ปังเฮย - กระหม่อม,
กึงเว็ล - ขวัญ
กึนจ๊อบประเฮาะ - ท้ายทอย
อันเจิม - หน้าผาก
คะน็อง - หลัง
จะเอิง คะน็อง - กระดูกสันหลัง
จะจีก - หู
ซะเลอะจะจีก - ใบหู
ปร๊วงจะจีก - รูหู
เดาะจะจีก - ติ่งหู
ตะบ๊อกพะเนก - คิ้ว
มะเม๊ พะเนก - ขนตา
พะเนก - ตา
โกนพะเนก - ลูกตา
กันตูยพะเนก - หางตา
ตะเปือล - แก้ม
จรึเม๊าะ - จมูก
ปร๊วง จรึเมาะ - รูจมูก
มะเม๊ จรึเมาะ - ขนจมูก
มะเม๊เมือด - หนวด
เมื๊อด - ปาก
ปร๊วงเมื๊อด - โพรงปาก
ประโบลเมื๊อด - ริมฝีปาก
นาด - ลิ้น
ทะเม็ง - ฟัน
ทะเม็งเซิจ - ฟันหน้า
ทะเม็งเลอ - ฟันบน
ทะเม็งกรอม - ฟันล่าง
ตังเกียม - กราม
นาดเมือน - ลิ้นไก่
จ๊องทัมเฮอม - ลิ่นปี่
จังกา - คาง
มะเม๊จังกา,ออมเกียง- เครา
กอ - คอ
อัมปวงกอ - ลำคอ
มะเม๊กันจิล - ขนหลังต้นคอ
ตระซัยกอ - เส้นเอ็นคอ
ก็อลกอ - ต้นคอ
ปั๊วะกอ - ลูกกระเดือก
ซมา - ไหล่
กะบาลซมา - หัวไหล่
กลีก - รักแร้
มะเม๊ กลีก - ขนรักแร้
เดอมตรูง - หน้าอก
มะเม๊ตรูง - ขนหน้าอก
จะเอิงจะนีร - กระดูกซี่โครง
เด๊าะ - นม
กะบาลเด๊าะ,จ๊องเดาะ- หัวนม
ตรูงเดาะ,ก๊อลเดาะ - เต้านม
จ็องตรูง - อกไก่
กลาม - กล้าม
ซอก - ข้อศอก
ได - แขน หรือ มือ
กอได - ต้นแขน
คะนองได - หลังมือ
บาดได - ฝ่ามือ
กะลาได - ลายมือ
พนะได - ข้อมือ
มะเรียมได - นิ้วมือ
เมได - หัวแม่มือ,นิ้วโป้ง
จังอ็อลได - นิ้วชี้
มะเรียมไดกะนาล - นิ้วกลาง
มะเรียมไดเนียง - นิ้วนาง
โกนได - นิ้วก้อย
กระยอได - ข้อนิ้วมือด้านหลัง
พนะ มะเรียมได - ลำปล้องนิ้วมือ
ทะนัง ได - ข้อต่อมือ
กระจ๊อ - เล็บ
กระจ๊อได - เล็บมือ
ได ชเวง - มือซ้าย
ได ซะดัม - มือขวา
พล็วดได - ต้นแขน
ตระซัย - เส้น,เอ็น
ปั๊วะ - ท้อง,หน้าท้อง
ประเจิ๊ด - สะดือ
ปร๊วงประเจิด - รูสะดือ
จังแก๊ะ - เอว
ตะโปก - ก้น
ตะเปือล ตะโปก - บั้นท้าย
ปร๊วงตะโปก - รูทวารหนัก
กระดอ - อวัยวะเพศชาย
กระนูย - อวัยวะเพศหญิง
มะเม๊ กระดอ,มะเม็ กระนูย - ขนเพชร
ปวงกระดอ - ลูกอันฑะ
ตังเกียมเจิง - ง่ามขา
พโลว - ต้นขา
จังกวง - เข่า
กะบาลจังกวง - หัวเข่า
พล๊วดเจิง - น่อง
กอเจิง - ข้อเท้า
ซมอเจิง - หน้าแข้ง
พะเนกโก - ตาตุ่ม
คะนองเจิง - หลังเท้า
บาดเจิง - ฝ่าเท้า
มะเรียมเจิง - นิ้วเท้า
กระจ๊อ เจิง - เล็บเท้า
จังกอย - ส้นเท้า
เจิงชเวง - ขาซ้าย,เท้าซ้าย
เจิง ซะดัม - ขาขวา,เท้าขวา
ตอนที่ 2
วันนี้ ผมจะขอนำเสนอ การเรียนภาษาเขมร ที่เรามักจะใช้ในชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับ สรรพนาม,บุพบท กริยาบท ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการศึกษาได้เรียนรู้และนำไปใช้

ต่อไป
สรรพนามที่ใช้เรียกบุคคล
แม - แม่
เออว - พ่อ
โกน - ลูก
แย็ย - ยาย,ย่า
ตา - ตา,ปู่
ปู - น้าผู้ชาย,อาผู้ชาย
ไป - น้าผู้หญิง,อาผู้หญิง
อม - ลุง,ป้า
อมเปราะ - ลุง
อมซแร็ย - ป้า
เจา - หลาน,เหลน,โหลน
กะมูย - หลาน( ลูกของพี่,ลูกของน้อง)
นาย - หนู ( ใช้กับผู้ชาย )
เนียง - หนู ( ใช้กับผู้หญิง )
อานาย - ไอ้หนู ( ใช้เรียกเด็กผู้ชาย )
อางา - ไอ้หนู (ใช้เรียกเด็กผู้ชาย)
มีเนียง - อีหนู (ใช้เรียกเด็กผู้หญิง)
มีงา - อีหนู (ใช้เรียกเด็กผู้หญิง )
อาหล้า - บักหล้า
โกนงา - เด็กทารกแรกเกิด
สรรพนามที่ใช้แทนบุคคล
ขะมาด - กระผม
มาด - ผม,ฉัน
ขะยม - ดิฉัน
ยม - ฉัน
อัยจ - กู
อัยจแอง - กูเอง
ฮอง - เธอ ( ใช้กับ ผู้หญิง )
แอง,ฮองแอง - เอ็ง ( ใช้กับผู้หญิง )
แอง,อาแอง - เอ็ง ( ใช้กับผู้ชาย )
เกือจ - คุณ,ท่าน
เตียน - ท่าน ( คำสุภาพ ที่ใช้เรียก ผู้อาวุโส )
เวีย - เขา
โพง - พวก
โพงเยิง - พวกเรา
โพงอัยจ - พวกกู
โพงฮอง - พวกเธอ ( ใช้กับผู้หญิง )
โพงอาแอง - พวกเอ็ง ( ใช้กับผู้ชาย )
โพงเวีย - พวกเขา,พวกเขาคนนั้น,พวกเขาเหล่านั้น
โพงเกือด - พวกคุณ
โพงกอร - พรรคพวก
คะเนีย - เพื่อน
โพงคะเนีย - เพื่อนฝูง
ลักษณะ
ละออ - สวย,หล่อ
บรอ - ขี้เหร่
ซอมรูป ซอมเรียง - สมส่วน
เทอจ - อ้วน
ซังกวม - ผม
กะปั๊วะ - สูง
เตียบ - ต่ำ,เตี้ย
กะมะ - พิการ ( การพิการของแขน หรือ ขา )
คเว็น - เป๋,ขาเป๋ ( อาการพิการของขา )
กะม็อด - ขาด,กุด ( อาการพิการของแขน หรือ ขา )
ควะ - ตาบอด ( อาการพิการของดวงตา )
ตึนล็อง - หูหนวก ( อาการพิการของหู )
จะกูด - เป็นบ้า ( อาการพิการทางประสาท )
แคลว - ตาเข,ตาเหล่ ( อาการพิการทางเส้นประสาทของดวงตา )
กืก - เป็นใบ้ ( อาการพิการ ทางเสียง คือ พูดไม่ได้ )
คะน็องกอง - ค่อม ( อาการพิการของหลัง คือ หลังค่อม )
แชบ - แหว่ง ( อาการพิการของปาก คือ ปากแหว่ง หรือโพรงจมูก )
ปั๊วะกอ - คอพอก ( อาการพิการของ ลำคอ )
กึงฮอด - คืออาการของผู้พิการของปากหรือโพรงจมูกที่เกิดจากปากแหว่งหรือจมูกแหว่ง
ทำให้เวลาพูด ออกเสียงไม่ค่อยชัด
กระบาลตัมเปก - หัวล้าน
กระบาลตะง็อล - หัวโล้น
เซาะซะเกอว - ผมหงอก
พฤติกรรมและอุปนิสัย
นิซัย - นิสัย
ซันดาน - สันดาน
ระแอง - ขยัน
กันจิล - ขี้เกียจ
กันจิลแผะ - เกียจคร้าน
มันบานรืง - ไม่เอาถ่าน
มันซะนม - แย่
มันเจีย - ไม่ดี
เจีย - ดี
จู - เลว
จูจะนับ - เลวมาก
เจียดจู - ชาติชั่ว
จูจิบหาย - โคตรชั่ว
ซะโลด - เรียบร้อย,สงบเสงี่ยม
จะเจ๊ะ - ดื้อ,ซน,เกเร
มึมึ๊ - ดื้อเงียบ
กันแชงแช๊ะ - กระแดะ
กำเปลด - แร่ด
กำเปิลเฮอะ - คือผู้หญิงที่มีกิริยาที่ไม่เรียบร้อย
ละเลียม - คือ อาการของเด็กทารก หรือ เด็กตัวเล็ก ๆ ที่อยู่ไม่นิ่ง คล้ายๆ ซุกซน แต่ไม่ได้
หมายความว่าดื้อ หรือ เกเร
โนวมันซะงีม - อยู่ไม่นิ่ง มีความหมาย เช่นเดียวกันกับ ละเลียม
ลู๊ยจ - ขโมย,ลัก
เลียะ - ซ่อน
โกง - ขี้โกง
กึงเฮาะ - โกหก
ตร๊อง - ซื่อสัตย์
มันตร๊อง - ไม่ซื่อ,คด,โกง
กันตรึ๊ - ขี้เหนียว
เจิดบอญ - ใจบุญ
มันแจะเก็บ มันแชะเล็ม - สุรุ่ยสุร่าย
แจะตุ๊ก จะด๊ะ - มัธยัสถ์
ละโมบ - โลภ
ซะมูม ซะมาม - ตะกละ

กิริยกรรม
รีบ - จัดเก็บ
เรอะ - เก็บ
เลิก - ยก
กัน - ถือ
ด๊ะ - วาง
เร้ก - หาบ
ลี - แบก
แซง - หาม
ปุน - กะแตง
โอ้ช - ลาก
เตียญ - ดึง
กันตร๊ะ - กระชาก
กันเชาะ - หยิบ หรือ การกระโดด เพื่อที่จะเอาของจากที่สูง
กัด - ตัด
ตอ - ต่อ
ประแมก - ร้าว
แบ๊ก - แตก
ประแมะ - บิ,แยก
ปุ่ - ผ่า
กาบ - ฟัน
อัร - หั่น,เลื่อย
กันจรัม - สับ
เจ็ด - ฝาน
ปาด - ปาด
ฮัน - ซอย
จัง - ถาก
จะ - แทง
ด็อช - เสียบ
แว็ย - ตี
ด็อม - ทุบ

ลักษณะของสิ่งของ
กร๊ะ - หนา
ซะเดิง - บาง
เวง - ยาว
แกล็ย - สั้น
ทม - ใหญ่
ตู้ยจ - เล็ก

ระยะ
ชงาย - ไกล
บีด - ใกล้
อีแน่ะ - ที่นี่
อีเนาะ - ที่นั่น
ฮู้ยอีเนาะ - ที่โน่น
ซัมแน่ะ - แค่นี้
ซัมเนาะ - แค่นั้น
ปันแน่ะ - เท่านี้
ปันเนาะ - เท่านั้น
ปันนา - เท่าไร
ปรัมมาน - ประมาณ
ซัมนา - แค่ไหน
แตร่ะ - ตรงนี้
เตราะ - ตรงนั้น
บ็อญ - ที่
บ็อญเตราะ - ที่ตรงนั้น
บ็อญแตระ - ที่ตรงนี้
เตราะ - นั้น
แตระ - นี้
นู่ - นั่น
นิ่ - นี่

ปริมาณ
จะเรอน - มาก
กัมเปะ - มากมาย
แตจ - น้อย
ตู้ยจ - เล็ก
อัญแตจ อัญตู้ยจ - เล็กๆน้อยๆ
เอาะ - ไม่เหลือ
ม๊อจ - หมด
มันเมียน - ไม่มี
มาตราส่วน
มาจังอ็อล ได - หนึ่งนิ้ว
มาจังอาม - หนึ่งคืบ
มาซอก - หนึ่งศอก
มาฮัด - หนึ่งวา
มาเพียม - หนึ่งเมตร
อัตราส่วน
เป็ญจ - เต็ม
กันละ - ครึ่ง
กะนาล - กลาง
เปี๊ยะกะนาล - ปานกลาง

กิริยาของ ของเหลว

ฮีร - ล้น
ลิก - ท่วม
เล็จ - รั่ว

กิริยาของ สิ่งของ

บ๊ะ - หัก
แบจ - แตก
สัมปีจ - บุบ
ระเยี๊ยะ - ฉีกขาด
แฮจ - ฉีก
ประมะ - บิ่น
กันจ๊ะ - เก่า
ทะแม็ย - ใหม่
ทะแม็ยซล้าง - ใหม่เอี่ยม



ที่มา :
http://www.baanmaha.com/community/thread31574.html

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจนละ



๑.ความเป็นมา
“บันทึก ว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ(เจิ้น หล่า ฝง ตู้ คี่-Tchen la fong t’ou ki)” เป็นบันทึกเกี่ยวกับเรื่องราวกัมพูชาของโจวต้ากวน(Chou Ta-kuan หรือTcheou Ta-Kouan) หรือ โจวเฉ่าถิง หรือ เฉา-ถิง-ยี่-หมิ่น (Ts’ao - ti’ing yi min) นักเขียนชาวจีน ผู้ร่วมทางไปกัมพูชากับคณะทูตซึ่งพระเจ้าเฉวิงจงแห่งราชวงศ์หยวนส่งไปเกลี้ย กล่อมให้กัมพูชายอมสวามิภักดิ์ต่อราชสำนักจีนใน พ.ศ.๑๘๓๘ โจวต้ากวนเดินทางไปถึงเมืองนครธม พ.ศ.๑๘๓๙ แล้วพำนักอยู่ประมาณ๑ปีก่อนกลับและเขียนบันทึกฉบับนี้หลังจากเดินทางถึงจีน แล้ว

ปอล เปลลิโอต์ (Paul Pelliot )ระบุว่า โจวต้ากวนเดินทางไปกัมพูชาระหว่างพ.ศ.๑๘๓๓–๑๘๓๔ และเขียนบันทึกขึ้นก่อนปีพ.ศ.๑๘๕๕ บันทึกนี้ถูกตีพิมพ์อีกในพ.ศ.๑๘๘๙ ก่อนสิ้นราชวงศ์มองโกล และถูกตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า ๗ ครั้งระหว่างพ.ศ.๒๑๘๙–๒๑๙๐ หลังจากนั้นบันทึกของโจวต้ากวนก็ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ตามลำดับอย่างกว้างขวางจน ถึงปัจจุบัน ในที่นี้ผู้วิพากษ์จะนำเนื้อหาในบันทึกของโจวต้ากวนตอนที่ ๑๖–๒๐ แปลโดย เฉลิม ยงบุญเกิด ฉบับตีพิมพ์พ.ศ.๒๕๑๐ มาวิพากษ์เพื่อประเมินคุณค่าและความน่าเชื่อถือโดยเปรียบเทียบกับเนื้อหาจาก การแปลของของเปลลิโอต์ , ดาร์ครี พอลและสมิธีส์

๒.คุณค่าบันทึกของโจวต้ากวน
บัน ทึกของโจวต้ากวนได้รับยกย่องว่า “ถูกต้องแม่นยำ” เมื่อตรวจสอบกับหลักฐานโบราณคดี เรื่องราวของกัมพูชาเคยปรากฏอยู่ในบันทึกของหยวนจางและอี้จิงประมาณพุทธ ศตวรรษที่๑๒-๑๓ แต่ยังไม่ปรากฏฉบับแปลภาษาไทย เอกสารของโจวต้ากวนจึงมีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์กัมพูชา
ระหว่าง ต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่๑๙ จีนยังเรียก “กัมพูชา” ว่า “เจิ้นหล่า(Tchen-la) หรือ (Tchan-la)” อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่๑๒ และระบุว่าชาวกัมพูชาเรียกอาณาจักรของตนว่า “กานป้อจื้อ (Kan-po-tche)”
เฉลิม ยงบุญเกิดยังคงรักษาคำว่า“เสียน-หลอ”เอาไว้บางตอน “เสียน-หลอ” หมายถึง “กรุงศรีอยุธยา” โดยเปลลิโอต์ระบุว่า เมื่อ “หลอหู(ละโว้)” ยึดครอง “เสียน” ใน พ.ศ.๑๘๙๒แล้ว จีนเรียกรัฐใหม่นี้ว่า “เสียน-หลอ” หรือ “เสียน-หลอหู” เขาถอดคำว่า “เสียนหลอ” ในภาษาจีนเป็น “สยาม-Siam” แต่ในบทวิจารณ์ท้ายฉบับแปล เปลลิโอต์ระบุว่า “สยาม” กับ “เสียน-หลอ” มีความหมายเดียวกัน ขณะที่ฉบับแปลของ เจ. กิลแมน ดาร์ครี พอล และฉบับแปลของสมิธีส์ กลับละเลยคำว่า “เสียน-หลอ” โดยต่างก็ใช้คำว่า” Siam” ตามเปลลิโอต์

๓.บันทึกของโจวต้ากวนตอนที่๑๖–๒๐

๓.๑ ตอนที่๑๖ การตายคน ที่ตายไม่มีโลงใส่ศพ แต่เขาใช้สิ่งของจำพวกเสื่อห่อหุ้มแล้วคลุมด้วยผ้า ในการเคลื่อนศพใช้ธงทิวและดนตรีนำขบวน อนึ่งเขาใช้ถาดสองใบใส่ข้าวตอกโปรยปรายไปตามถนนหนทาง เขาหามศพไปยังนอกเมือง ณ สถานที่เปลี่ยวไม่มีผู้อยู่อาศัย ทิ้งศพไว้ที่นั่นแล้วพากันกลับ รอคอยให้นกแร้ง สุนัขและปศุสัตว์มากิน ชั่วครู่เดียวก็หมดสิ้น เขาก็จะพูดว่า บิดามารดาของเขามีบุญ จึงได้รับการตอบแทนเช่นนั้น ถ้าสัตว์เหล่านั้นไม่กินหรือกินแต่ไม่หมด เขาก็จะกลับพูดว่า บิดามารดาของเขาทำบาปจึงได้เป็นเช่นนั้น ในปัจจุบันได้มีการเผาศพกันขึ้นบ้างแล้ว มักจะเป็นบุคคลที่มีเชื้อสายมาจากชาวจีน ในการตายของบิดามารดาไม่มีเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ แต่บุตรชายนั้นจะโกนศีรษะ บุตรหญิงจะตัดผมที่เหนือหน้าผากให้เป็นวงขนาดเท่าอีแปะเป็นการไว้ทุกข์ให้ ส่วนพระเจ้าแผ่นดินนั้นได้รับการฝังไว้ภายในปราสาท แต่ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าเขาฝังพระศพหรือฝังพระอัฐิ

๓.๒ การวิพากษ์บันทึกของโจวต้ากวน ตอนที่๑๖ การตายเนื้อหาที่นำมาวิพากษ์มี ๔ ประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่ ๑. เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวถึงข้อความในบันทึกว่า “คนที่ตายไม่มีโลงใส่ศพ แต่เขาใช้สิ่งของจำพวกเสื่อห่อหุ้มแล้วคลุมด้วยผ้า ในการเคลื่อนศพใช้ธงทิวและดนตรีนำขบวน” ซึ่งไม่ได้ระบุว่า โจวต้ากวนเปรียบเทียบขบวนแห่ศพของชาวจีนกับขบวนแห่ศพของชาวกัมพูชา ขณะที่เปลลิโอต์ระบุชัดกว่าว่า “..ที่หัวขบวนแห่ศพพวกเขาก็ใช้ธงทิวและดนตรีนำหน้าเช่นกัน..-..Dans le cortège funéraire, ces gens aussi emploient en tête drapeaux, -bannières et musique. ”

สมิธีส์แปลเหมือนเปลลิโอต์ คือใช้ “also “ และดาร์ครี พอลขยายประโยคนี้ด้วยข้อความว่าว่า “Like ourselve ” คือ มีการเคลื่อนศพโดยใช้ธงทิวและดนตรีนำขบวนเหมือน(งานศพ)ของ(บ้าน)เรา “ อย่างชัดเจน

ประเด็นที่ ๒ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวถึงข้อความในบันทึกว่า “อนึ่ง เขาใช้ถาดสองใบใส่ข้าวตอกโปรยปรายไปตามถนนหนทาง” ซึ่งอ่านแล้วเห็นภาพของข้าวตอกจริงๆ แต่คำแปลในฉบับอื่นๆกลับไม่สอดคล้องกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม กล่าวคือ เปลลิโอต์ใช้คำว่า de riz grillé ซึ่งแปลว่า ข้าวคั่ว, ข้าวย่าง ดาร์ครี พอล ใช้คำว่า fried rice ซึ่งน่าแปลว่า ข้าวผัด ข้าวทอด ขณะที่สมิธีส์ใช้คำว่า toasted rice ส่วนAd Reinhardt (1961, p.58), ใน Khmer Sculpture กลับใช้ คำว่า burnt rice (ข้าวเผา) เลยทีเดียว

ประเด็นที่๓ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวถึงข้อความในบันทึกว่า “เขาหามศพไปยังนอกเมือง ณ สถานที่เปลี่ยวไม่มีผู้อยู่อาศัย ทิ้งศพไว้ที่นั่นแล้วพากันกลับ รอคอยให้นกแร้ง สุนัขและปศุสัตว์มากิน” สำนวนแปลของเฉลิม ยงบุญเกิดตรงนี้ อาจทำให้เข้าใจว่า ทิ้งศพไว้แล้วพากันกลับไปเลย นอกจากนี้ยังแปลให้เห็นว่าชาวกัมพูชา “ทิ้งศพให้สัตว์ต่างๆและปศุสัตว์ (สัตว์เลี้ยง- ซึ่งอาจหมายถึงพวกวัว ควาย สุนัข สุกร เป็ด ไก่)”มากินศพ ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้

ดาร์ครี พอล แปลได้ความชัดเจนกว่าว่า “(ทิ้งศพไว้ที่นั่น แล้วกลับบ้านหลังจากที่ได้เฝ้าดูจนกระทั่งบรรดาแร้ง สุนัขและสัตว์ร้ายอื่นๆมารุมแทะศพแล้ว..” ( …, abandon it there, and go home after seeing that the vultures, dogs, and other beasts are coming to devour it….)

ประเด็นที่ ๔ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวถึงข้อความในบันทึกว่า “ส่วนพระเจ้าแผ่นดินนั้นได้รับการฝังไว้ภายในปราสาท แต่ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าเขาฝังพระศพหรือฝังพระอัฐิ” ฉบับแปลของเฉลิม ยงบุญเกิดต้องการจะถ่ายทอดคำบอกเล่าของโจวต้ากวนว่า พระศพหรือพระอัฐิของพระเจ้าแผ่นดินถูกฝังไว้ภายในเทวสถานหรือปราสาทหิน ส่วนฉบับของเปลลิโอต์ระบุว่า “Les souverains, eux, sont enterérs dans des tours,…” ซึ่งแปลว่าปราสาทเช่นกัน ฉบับแปลของดาร์ครี พอล ใช้คำว่า stupa แปลว่า “พระสถูป/ เจดีย์ “ สมิธีส์ใช้คำว่า towers ซึ่งแม้จะสื่อให้นึกถึงหอสูง กระนั้นก็ดี คำว่า “tower” ถูกนิยามใช้กับ “ปราสาทหิน”อย่างกว้างขวางแล้ว เพียงแต่ในวัฒนธรรมเขมรนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานการฝังพระบรมศพศพหรือบรรจุพระบรมอัฐิในปราสาทหิน

๓.๓ ตอนที่๑๗ การทำนาทำไร่โดย ทั่วๆไปนั้น เขาทำนาเก็บเกี่ยวได้ถึงปีละ ๓ หรือ ๔ ครั้ง เพราะทั้ง ๔ ฤดู เหมือนกับเดือน ๕ เดือน ๖ (ของจีน) พวกเขาไม่เคยรู้ว่าน้ำค้างแข็งและหิมะเป็นอย่างไร ในผืนแผ่นดินนั้นมีฝนตกครึ่งปี อีกครึ่งปีไม่มีฝนเลย ตั้งแต่เดือน ๔ ถึงเดือน ๙ (ของจีน) มีฝนตกทุกวัน ตกบ่ายฝนจะเบาบางลง ระดับน้ำในทะเลสาบจะสูงขึ้นมาตั้ง ๗ หรือ ๘ จ้าง ต้นไม้ใหญ่ๆจมน้ำหมด จะเหลือก็แต่ยอดพ้นน้ำเท่านั้น ผู้คนที่อาศัยอยู่ตามริมน้ำก็จะอพยพขึ้นไปอยู่หลังเขาจนหมดสิ้น เดือน ๑๐ ถึงเดือน ๓ ไม่มีฝนแม้แต่หยดเดียว ในทะเลสาบจะใช้เดินเรือได้ก็แต่เฉพาะเรือเล็ก ตรงที่ลึกที่สุดก็ไม่เกิด ๓ ถึง ๕ เชียะ ผู้คนก็อพยพกลับลงมาอีก พวกชาวนาชาวไร่หมายเอาเวลาที่ข้าวสุกนั้น น้ำจะท่วมมาถึงที่แห่งใดก็ลงมือปลูกตามลักษณะของพื้นที่ ในการไถนาเขามิได้ใช้วัว เครื่องมือพวกคันไถ ผาล เคียว จอบ แม้จะคล้ายกันกับของเราบ้างเล็กน้อย แต่การสร้างย่อมแตกต่างกันไป อนึ่ง ยังมีนาที่ไม่มีคนทำกินประเภทหนึ่งไม่ต้องปลูกหว่าน มักจะมีน้ำสูงถึง ๑ จ้าง ต้นข้าวก็งอกสูงตามน้ำขึ้นไปด้วย ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นข้าวที่แปลกออกไปชนิดหนึ่ง

การ ให้ปุ๋ยแก่ผืนนาและการปลูกผัก เขาไม่ใช้ของโสโครก โดยตั้งรังเกียจว่าเป็นของที่ไม่สะอาด คนจีนที่อยู่ในประเทศนั้นไม่ยอมบอกเล่าเรื่องการใส่ปุ๋ยด้วยอุจจาระหรือมูล สัตว์เลย เพราะเกรงว่าจะได้รับการดูถูกดูหมิ่น สองหรือสามครอบครัวจะร่วมกันขุดหลุมขึ้นหลุมหนึ่ง เอาหญ้าคลุมไว้ เมื่อหลุมนั้นเต็มแล้วก็ถมเสีย แล้วขุดหลุมใหม่ต่อไปอีก เมื่อนั่งส้วมหลุมเสร็จแล้วต้องลงไปในสระเพื่อชำระล้าง เขาใช้แต่มือซ้ายเท่านั้น ส่วนมือขวานั้นใช้บริโภคอาหาร เมื่อเขาเห็นคนจีนเข้าส้วมแล้วใช้กระดาษเช็ดก็พากันหัวเราะเยาะ ถึงขนาดไม่ปรารถนาให้ย่างก้าวเข้าธรณีประตูเรือน พวกผู้หญิงที่ยืนถ่ายปัสสาวะก็มีเหมือนกัน ช่างน่าขันเสียนี่กระไร

๓.๔ การวิพากษ์บันทึกของโจวต้ากวนตอนที่๑๗ การทำนาทำไร่เนื้อหาที่นำมาวิพากษ์มี ๙ ประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่๑ เฉลิม ยงบุญเกิดระบุว่า “เพราะทั้ง ๔ ฤดู เหมือนกับเดือน ๕ เดือน ๖ (ของจีน) พวกเขาไม่เคยรู้ว่าน้ำค้างแข็งและหิมะเป็นอย่างไร ในผืนแผ่นดินนั้นมีฝนตกครึ่งปี อีกครึ่งปีไม่มีฝนเลย” การแปลเช่นนี้อาจทำให้เข้าใจผิดว่ากัมพูชามี ๔ ฤดู ฉบับแปลของเปลลิโอต์ระบุชัดว่า “..(ฤดูกาล) ตลอดทั้งปีมีลักษณะคล้ายคลึงกับเดือน ๕และเดือน ๖ ของเรา… “ (..cest que toute l’année resemble a nos cinquième et sixième lunes …)

ประเด็นที่๒ เฉลิม ยงบุญเกิดระบุว่า “ตั้งแต่เดือน ๔ ถึงเดือน ๙ (ของจีน) มีฝนตกทุกวัน ตกบ่ายฝนจะเบาบางลง เปลลิโอต์ และ ดาร์ครี พอล แปลตรงกันว่า “มีฝนตกทุกวันในตอนบ่าย….Il pleut tous les jours l’aprés-midi. = ..there is rain every afternoon. ” เท่านั้น

ประเด็นที่๓ เฉลิม ยงบุญเกิดระบุว่า “ระดับน้ำในทะเลสาบจะสูงขึ้นมาตั้ง ๗ หรือ ๘ จ้าง ต้นไม้ใหญ่ๆจมน้ำหมด จะเหลือก็แต่ยอดพ้นน้ำเท่านั้น” โดย อธิบายว่า ๑ จ้าง = ๓.๓๓ เมตร ดังนั้น ๗-๘ จ้าง ก็เท่ากับ ๒๓.๓๑–๒๖.๖๔ เมตร) ส่วนเปลลิโอต์ระบุว่าระดับน้ำสูงถึง 7-8 toises เมื่อ ๑ ตัวส์ = ๖ ฟุต ดังนั้น ๗-๘ ตัวส์ = ๔๒–๔๘ ฟุต(ประมาณ๑๒.๖ –๑๔.๔เมตร)

ฉบับ แปลของดาร์ครี ปอล ระบุว่าระดับน้ำสูง 7-8 fathoms เมื่อ ๑ ฟาธอม เท่ากับ ๑ ตัวส์ ดังนั้นระดับน้ำที่ระบุในฉบับแปลภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสจึงเท่ากัน (คือ ๑๒.๖–๑๔.๔ เมตร)

ประเด็นที่ ๔ เฉลิม ยงบุญเกิดระบุว่า “อนึ่ง ยังมีนาที่ไม่มีคนทำกินประเภทหนึ่งไม่ต้องปลูกหว่าน มักจะมีน้ำสูงถึง ๑ จ้าง ต้นข้าวก็งอกสูงตามน้ำขึ้นไปด้วย ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นข้าวที่แปลกออกไปชนิดหนึ่ง” ซึ่งให้ความหมายไม่ชัดเจนเช่นเดียวกับเปลลิโอต์ ที่ระบุว่า “ ..une espèce du champs naturels où le riz pousse toujours san qu’on le sème …”

ฉบับ แปลของดาร์ครี ปอล ระบุว่า “ …a certain kind of land where the rice grows naturally ..” สอดคล้องกับสมิธีส์ซึ่งกล่าวถึง “ Source of natural field.. ” หมายถึง “นาข้าวป่า” อย่างชัดเจน
ประเด็นที่ ๕. เฉลิม ยงบุญเกิดกล่าวถึง “ การให้ปุ๋ยแก่ผืนนาและการปลูกผัก เขาไม่ใช้ของโสโครก โดยตั้งรังเกียจว่าเป็นของที่ไม่สะอาด” ในกรณีนี้เขาเว้นที่จะแปลว่า ปุ๋ยดังกล่าวเป็น “อุจจาระคน” ทำให้อาจเข้าใจว่าเป็นปุ๋ยมูลสัตว์ได้ แต่ถ้าเป็นมูลสัตว์หรือปุ๋ยหมักอื่นๆ ก็ไม่น่าส่งผลทำให้ชาวกัมพูชาตั้งข้อรังเกียจพวกเขามากมายขนาดนั้น

ประเด็น นี้ เปลลิโอต์ แปลว่า “…คนเหล่านี้ไม่เคยใช้อุจจาระ……(..,ces gens ne font aucun usage de fumier …) แต่ดาร์ครี ปอลระบุว่าเป็น “อุจจาระคน( human dung ”..)
ตรงกับสมิธีส์ ซึ่งระบุถึง “Night soil หรือ อุจจาระคน”

ประเด็นที่๖ เฉลิม ยงบุญเกิดแปลว่า “คนจีนที่อยู่ในประเทศนั้นไม่ยอมบอกเล่าเรื่องการใส่ปุ๋ยด้วยอุจจาระหรือมูล สัตว์เลย เพราะเกรงว่าจะได้รับการดูถูกดูหมิ่น” ซึ่งก็ยังไม่กล่าวชัดๆว่าเป็น “ขี้คน” ส่วนเปลลิโอต์ กล่าวซ้ำอีกครั้งอย่างชัดเจนว่า ชาวจีนในกัมพูชาใช้อุจจาระคนทำปุ๋ยเช่นเดียวกับในประเทศจีน
ประเด็นที่ ๗ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “สองหรือสามครอบครัวจะร่วมกันขุดหลุมขึ้นหลุมหนึ่ง เอาหญ้าคลุมไว้ เมื่อหลุมนั้นเต็มแล้วก็ถมเสีย แล้วขุดหลุมใหม่ต่อไปอีก” ซึ่งหากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าเป็นการแปลขั้นตอนที่สลับกับข้อเท็จจริง

ทั้ง เปลลิโอต์และดาร์ครี ปอล และ สมิธีส์ กล่าวถึงขั้นตอนการกลบส้วมหลุมอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากกว่า โดยดาร์ครี ปอลระบุว่า “เมื่อหลุมเต็มก็กลบแล้วปลูกหญ้าคลุม(…when it is full, they cover over and sow to grass .. ”)

ประเด็นที่ ๘ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “เมื่อนั่งส้วมหลุมเสร็จแล้วต้องลงไปในสระเพื่อชำระล้าง เขาใช้แต่มือซ้ายเท่านั้นส่วนมือขวานั้นใช้บริโภคอาหาร” ซึ่งน่าสงสัยว่าอาจจะไม่จริง แม้ทั้ง ๔ ฉบับจะแปลตรงกัน แต่การขับถ่ายของมนุษย์ขึ้นอยู่กับปัจจัยเชิงสุขภาพและโภชนาการไม่ได้ถ่าย ง่ายๆเยี่ยงสัตว์ จึงขอเสนอว่าชาวกัมพูชาคงจะ “ล้างก้น” หลังขับถ่ายทันทีภายในส้วมเลย มิได้ลงไปล้างในสระหลังถ่ายเสร็จ เพราะอุจจาระอาจหยดเปรอะผ้านุ่งได้ และเข้าใจสุขนิสัยนี้ได้จากการกล่าวถึงการใช้มือซ้ายในชำระล้างหลังถ่าย เสร็จ

การที่ชาวกัมพูชาแสดงมองว่า การใช้กระดาษเช็ดก้นของชาวจีนเป็นเรื่องน่ารังเกียจ แสดงให้เห็นว่า พวกเขาจะต้องรู้สึกว่าวัฒนธรรมของตนเหนือกว่าชาวจีน แต่การที่ผู้มีวัฒนธรรมสูงกว่าจะ “ขี้” ในส้วมหลุม แล้วค่อยเดินไป “ล้างก้น” ในสระ คงเป็นเพียงตลกร้ายที่โจวต้ากวนอาจจงใจบันทึกไว้ เพื่อโต้ตอบชาวกัมพูชาที่รังเกียจการใช้กระดาษเช็ดก้น(ดูประเด็นที่ ๙)

ประเด็นที่๙ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “เมื่อเขาเห็นคนจีนเข้าส้วมแล้วใช้กระดาษเช็ด ก็พากันหัวเราะเยาะ ถึงขนาดไม่ปรารถนาให้ย่างก้าวเข้าธรณีประตูเรือน” จากจุดจะเห็นว่า คนจีนมีวัฒนธรรมที่ล้ำสมัยมาแล้วนับพันปี แต่คุณภาพของกระดาษชำระคงไม่สามารถเทียบได้กับปัจจุบัน ดังนั้นจึงเสี่ยงต่อการเป็นริดสีดวงทวารมากกว่าชาวกัมพูชา

พิพิธภัณฑ์ วิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น มีการแสดงภูมิปัญญาด้านสุขภัณฑ์โบราณ ด้วยการเหลาไม้ไผ่อย่างประณีตสำหรับใช้ในส้วม คล้ายกับวัฒนธรรมของหญิงชาววังไทยในอดีต ส่วนชาวอีสานและเหนือเมื่อขับถ่ายในป่าเคยมีผู้บอกว่า มีการใช้ “ไม้แก้งขี้” เพียงแต่ว่าชาวเหนือหรือชาวอีสานน่าจะมีความอึดมากกว่าชาวญี่ปุ่นหรือสาวชาว วัง เพราะอาจใช้ไม้อะไรก็ได้

๓.๕ ตอนที่๑๘ ภูเขาและแม่น้ำตั้งแต่ ย่างเท้าเข้าเขตเมืองเจิ้นผู่มา มีแต่หมู่ไม้หนาทึบเต็มไปทั่วทุกแห่ง แม่น้ำสายยาวและลำคลองใหญ่ยาวเหยียดติดต่อกันไปหลายร้อยลี้ ต้นไม้แก่ๆและต้นหวายลำยาวขึ้นเป็นดงทึบ ปกคลุมครึ้มไปทั่ว เสียงร้องของสัตว์ดิรัจฉานก็ระงมไปทั่วทั้งดง เมื่อไปถึงครึ่งทางของคลองจึงเริ่มเห็นทุ่งนารกร้างว่างเปล่า ไม่มีต้นไม้แม้แต่หย่อมเดียว แลไปสุดสายตาก็เห็นแต่หญ้ารก ต้นข้าวและข้าวเดือน มีวัวกระทิงเป็นจำนวนร้อยจำนวนพันไปชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้นเป็นฝูง อนึ่ง ยังมีที่ลาดเต็มไปด้วยกอไผ่ยาวเหยียดติดต่อกันไปหลายร้อยลี้ระหว่างดงไผ่ กิ่งไผ่ขึ้นแข็งสลับกันและมีหนาม ส่วนหน่อไม้ก็มีรสขมมาก ทั้งสี่ด้านมีแต่ภูเขาสูง

๓.๖ การวิพากษ์บันทึกของโจวต้ากวน ตอนที่๑๘ ภูเขาและแม่น้ำเนื้อหาที่นำมาวิพากษ์มี ๔ ประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่ ๑ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “เสียงร้องของสัตว์ดิรัจฉานก็ระงมไปทั่วทั้งดง” ซึ่งเป็นการกล่าวถึงสัตว์แบบรวมๆ ส่วนเปลลิโอต์ จำแนกประเภทของสัตว์ว่า “Les cris des oiseaux et des animaux” ตรงกับดาร์ครี ปอล และสมิธีส์ (Cries of birds and animals…..”

ประเด็นที่ ๒ เฉลิม ยงบุญเกิดกล่าวว่า “เมื่อไปถึงครึ่งทางของคลองจึงเริ่มเห็นทุ่งนารกร้างว่างเปล่า ไม่มีต้นไม้แม้แต่หย่อมเดียว” การที่ใช้คำว่า “คลอง” อาจจะทำให้เข้าใจว่าเป็นทางน้ำธรรมชาติขนาดเล็ก ดาร์ครี ปอลและสมิธีส์ใช้คำว่า “estuary” ซึ่งแปลว่า “ปากแม่น้ำ” จึงทำให้รู้สึกได้ถึงความใหญ่โตของพื้นที่ปากแม่น้ำมากกว่าคำว่า “คลอง”

ประเด็นที่ ๓ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “แลไปสุดสายตาก็เห็นแต่หญ้ารก ต้นข้าวและข้าวเดือย” ประเด็นนี้มิได้ระบุว่าเป็นข้าวป่า จึงทำให้อาจเข้าใจว่าข้าวบางส่วนเป็นข้าวปลูก ขณะที่เปลลิโอต์ ดาร์ ปอลและสมิธีส์ แปลว่า “…เห็นแต่ต้นข้าวป่า(ข้าวฟ่าง)เต็มไปหมด” ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเป็นธัญพืชที่เกิดจากธรรมชาติ

ประเด็นที่ ๔ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “มีวัวกระทิง เป็นจำนวนร้อยจำนวนพันไปชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้นเป็นฝูง” ขณะที่ฉบับอื่นระบุว่าเป็น “ควายป่า” ซึ่งในทางวิชาการนักโบราณคดีสามารถจำแนกกระดูกของสัตว์กีบประเภทวัวกระทิง และควายป่าออกจากกันได้ชัดเจน ตรงกับการรับรู้ทางวัฒนธรรมในภาษาไทย แม้ในทางสัตวศาสตร์จะถือว่ากระทิงและควายป่าเป็นสัตว์ประเภทเดียวกัน ทั้งนี้เปลลิโอต์ ดาร์ครี ปอลและสมิธีส์ ใช้ว่า “ควายป่า” ตรงกัน คือ “Les buffles” “sauvages” และ “Wild buffaloes”

๓.๗ ตอนที่๑๙ ผลิตผลใน ภูเขามีต้นไม้ที่ประหลาดมากมาย ในบริเวณที่ไม่มีต้นไม้เป็นที่ๆแรดกับช้างมาชุมนุมและแพร่พันธุ์กันอยู่ มีนกที่มีค่าหายากและสัตว์ประหลาดนับจำนวนไม่ถ้วน ผลิตผลที่ละเอียดก็มีขนนกกระเต็น งาช้าง นอแรต ขี้ผึ้ง ส่วนผลิตผลที่หยาบมีกรักขี กระวาน รง ครั่ง น้ำมันกระเบา

นก กระเต็นนั้นจับค่อนข้างยาก ในดงทึบมีบึงและในบึงมีปลา นกกระเต็นบินออกจากดงเพื่อหาปลาเป็นอาหาร ชาวพื้นเมืองเอาใบไม้คลุมร่างของตนไว้แล้วนั่งอยู่ริมน้ำ มีกรงใส่นกกระเต็นตัวเมียไว้หนึ่งตัวเพื่อเป็นนางนกต่อ และมือถือร่างแหเล็กๆไว้ คอยให้นกมาก็ครอบร่างแหลงไป วันหนึ่งๆจับได้ ๓ หรือ ๕ ตัว บางวันทั้งวันจับไม่ได้เลยก็มีเหมือนกัน

มี แต่พวกชาวบ้านที่อยู่ตามภูเขาอันเปล่าเปลี่ยวเท่านั้นที่มีงาช้าง ช้างล้มเชือกหนึ่งได้งาเพียง ๑ คู่ คำเล่าลือแต่เดิมที่ว่าช้างผลัดงาปีละครั้งนั้นไม่เป็นความจริง งาที่ได้มาจากช้างซึ่งล้มด้วยการเอาหอกซัดนั้นเป็นงาชั้นดี ชั้นรองลงมาได้แก่งาที่ได้จากช้างที่ล้มเอง และคนไปถอดเอามาโดยทันทีทันใด ส่วนงาของช้างที่ล้มตายในภูเขามานานปีนั้นเป็นงาชั้นเลว

ขี้ ผึ้งมีอยู่ตามต้นไม้ที่แห้งตายในหมู่บ้าน เป็นขี้ผึ้งที่ได้จากผึ้งที่มีเอวเล็กเหมือนแมงกระชอนหรือมด ชาวพื้นเมืองไปเอารวงก็ได้มา เรือลำหนึ่งอาจบรรทุกได้ ๒ หรือ ๓ พันรวง รวงใหญ่ๆรวงหนึ่งหนัก ๓๐ หรือ ๔๐ ชั่ง รวงเล็กก็หนักไม่ต่ำกว่า ๑๘ หรือ ๑๙ ชั่ง

นอแรดที่มีสีขาวและมีลายเป็นนอชั้นดี ที่มีสีดำเป็นนอชั้นเลว
กรักขี ขึ้นอยู่ในป่าทึบ ชาวพื้นเมืองตัดฟันเอามาได้ค่อนข้างจะเปลืองแรงอยู่ เพราะเป็นแก่นไม้ เปลือกนอกสีขาว ไม้นั้นหนา ๘ หรือ ๙ นิ้ว(จีน) ต้นขนาดเล็กก็ไม่ต่ำกว่า ๔ หรือ ๕ นิ้ว(จีน)

กระวานนั้นพวกชาวป่าปลูกไว้บนภูเขาทั้งสิ้น
รงเป็นยางของต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชาวพื้นเมืองใช้มีดฟันต้นไว้ล่วงหน้า ๑ ปี ปล่อยให้ยางไหลหยดออกมาแล้วจึงจะเริ่มเก็บในปีต่อไป

ครั่งนั้นเกิดตามกิ่งไม้ของต้นไม้ชนิดหนึ่ง เหมือนกับกาฝากของต้นหม่อน เอามาได้ค่อนข้างยาก
น้ำมันกระเบาได้จากผลไม้ของต้นไม้ใหญ่ รูปร่างเหมือนลูกมะพร้าวแต่กลม ภายในมีเมล็ดอยู่หลายสิบเมล็ด
พริกไทก็มีที่นั่นเหมือนกัน ขึ้นพันไปกับต้นหวาย ลูกดกเป็นพวงๆเหมือนกับลูกต้นลุเฉ่า จำพวกที่สดและสีเขียวอมฟ้าก็ยิ่งมีรสเผ็ดจัด

๓.๘การวิพากษ์บันทึกของโจวต้ากวน ตอนที่ ๑๙ ผลิตผล
เนื้อหาที่นำมาวิพากษ์มี ๘ ประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่ ๑ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “ผลิตผลที่ละเอียด ก็มีขนนกกระเต็น งาช้าง นอแรต ขี้ผึ้ง” ประเด็นนี้เฉลิม ยงบุญเกิดอาจแปลโดยคำนึงถึงต้นฉบับมากเกินไป จนทำให้อาจต้องตั้งคำถามว่า “ผลิตผลที่ละเอียด” หมายถึงอะไร

เปล ลิโอต์และสมิธีส์แปลตรงกัน “Les produits des valeurs(ผลผลิตที่มีค่า หรือ Products of value” ส่วนดาร์ครี ปอล ถ่ายทอดให้เข้าใจได้ง่ายกว่าว่า “Most sought after products” ซึ่งหมายถึง “สินค้าหายากที่สุด”

ประเด็นที่ ๒ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “ส่วนผลิตผลที่หยาบ มีกรักขี กระวาน รง ครั่ง น้ำมันกระเบา” การใช้คำว่า “ผลิตผลที่หยาบ” ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับประเด็นข้างต้น เปลลิโอต์ใช้ produits ordinaires หรือผลผลิตธรรมดาๆ ตรงกับสมิธีส์ คือ “ …the ordinary products..” ส่วนดาร์ครี ปอลใช้คำว่า “More common place articles

ประเด็นที่ ๓ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “นกกระเต็นนั้นจับค่อนข้างยาก ในดงทึบมีบึงและในบึงมีปลา นกกระเต็นบินออกจากดง เพื่อหาปลาเป็นอาหาร” ซึ่งแม้จะระบุว่า “ในดงทึบมีบึงและในบึงมีปลา” แต่เนื้อความกลับขัดแย้งกันเองว่า “นกกระเต็นบินออกจากดงเพื่อหาปลาเป็นอาหาร” ประเด็นนี้ดาร์ครีแปลว่า “นกกระเต็นบินโฉบอยู่เหนือป่า …(the kingfishers hovers over the forest .)” นั่นคือ มิได้บินออกจากป่าเพื่อหาปลาเป็นอาหาร เพราะในป่ามีบึงและในบึงก็มีปลาอยู่แล้ว

ประเด็นที่ ๔ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “มีแต่พวกชาวบ้านที่อยู่ตามภูเขาอันเปล่าเปลี่ยว เท่านั้น” อันที่จริงควรจะใช้คำว่า “ชาวเขา” แทนคำว่า “ชาวบ้าน” เพราะพวกเขาไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านแต่อยู่ตามป่าเขา
เปลลิโอต์ แปลว่า “Ce sont les habitants des mantagnes. -พวกที่อยู่ตามภูเขา .” ส่วนดาร์ครี ปอล แปลว่า “Dwellers in the remote fastness of the mountains.-ชาวเขาที่อยู่ห่างไกลโพ้นออกไป .” คล้ายๆกับสมิธีส์

ประเด็นที่๕ ในฉบับแปลของเฉลิม ยงบุญเกิด มีวลีสำคัญวลีหนึ่ง คือ “ที่มีงาช้าง” ซึ่งแปลเหมือนเปลลิโอต์ แต่ดาร์ครี ปอล แปลว่า “หา(ผลิต)งาช้างมาได้ -bring out the elephant tusks”
ขณะที่สมิธีส์ แปลว่า “รวบรวมงาช้าง -collect elephant tusks” ซึ่งน่าจะเข้ากันได้กับบริบททางวัฒนธรรมการเก็บของป่าล่าสัตว์ของชาวป่า

ประเด็นที่๖ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “ขี้ผึ้งมีอยู่ตามต้นไม้ที่แห้งตายในหมู่บ้าน เป็นขี้ผึ้งที่ได้จากผึ้งที่มีเอวเล็กเหมือนแมงกระชอนหรือมด ชาวพื้นเมืองไปเอารวงก็ได้มา เรือลำหนึ่งอาจบรรทุกได้ ๒ หรือ ๓ พันรวง รวงใหญ่ๆรวงหนึ่งหนัก ๓๐ หรือ ๔๐ ชั่ง รวงเล็กก็หนักไม่ต่ำกว่า๑๘หรือ ๑๙ ชั่ง” ประเด็นนี้ เปลลิโอต์ และสมิธีส์ แปลตรงกับเฉลิ มยงบุญเกิด แต่ดาร์ครี พอลกล่าวแปลกออกไปว่า “ชาวพื้นเมืองรู้ดีว่าจะเก็บผึ้งมาได้อย่างไร (The natives know how to gather it. )”

ประเด็นที่๗ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “นอแรดที่มีสีขาวและมีลายเป็นนอชั้นดี ที่มีสีดำเป็นนอชั้นเลว” ตรงกับเปลลิโอต์ คือ นอแรดที่มีสีขาวและออกลาย (branche et veinée )เป็นนอที่มีราคาแพงที่สุด ส่วนนอสีดำ ( noire)จะมีราคาต่ำลงมา

แต่การจะหานอแรดสี ขาวหรือนอแรดเผือกเป็นเรื่องยากมาก แต่ถ้าจะหานอแรดสีซีด หรือจางลงมาหน่อยก็คงพอหาได้ โดยดาร์ครี พอลใช้คำว่า นอแรด “สีซีดและออกลาย (light-colored and veined) และสีเข้ม(dark ones)” สมิธีส์ก็ใช้คำว่า “สีซีดออกลาย (Pale veined ) และสีเข้ม (dark ones)”

ประเด็นที่ ๘ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “น้ำมันกระเบาได้จากผลไม้ของต้นไม้ใหญ่ รูปร่างเหมือนลูกมะพร้าวแต่กลม ภายในมีเมล็ดอยู่หลายสิบเมล็ด” ประเด็นนี้เปลลิโอต์ระบุว่า “ผลกระเบามีลักษณะคล้ายผลมะพร้าว (coco)” ทำให้สมิธีส์ระบุเช่นกัน แต่ดาร์ครี พอล กลับแปลว่า “ผลกระเบามีลักษณะคล้ายผลโกโก้(cocoa)” ซึ่งน่าจะถูกต้องกว่า

๓.๙ ตอนที่๒๐ การค้าขาย
การ ค้าขายของชาวพื้นเมืองนั้น สตรีเป็นผู้มีความจัดเจนทั้งสิ้น ฉะนั้นเมื่อคนจีนไปถึงที่นั่นต้องเริ่มด้วยการมีภรรยา เพื่อถือเอาประโยชน์จากความถนัดจัดเจนในการซื้อขายของสตรีเหล่านั้น ทุกวันเขาจะติดตลาด ๑ ครั้ง เริ่มตั้งแต่ ๔ โมงเช้าถึงบ่ายโมงก็เลิก ตลาดหามีร้านรวงซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยไม่ แต่เขาใช้พวกเสื่อที่ฟูปุกปุยลาดลงกับพื้น แต่ละคนมีที่ทางของตนเอง ข้าพเจ้าได้ยินมาว่า ต้องเสียค่าเช่าที่ให้แก่ทางการ ในการซื้อขายเล็กๆน้อยๆเขาใช้ธัญชาติ สินค้ามาจากเมืองจีน ถัดขึ้นมาก็ใช้ผ้า ถ้าเป็นการซื้อขายรายใหญ่ๆ ก็ใช้เงินตรา

โดย ทั่วไปชาวพื้นเมืองเป็นคนที่เรียบๆเป็นที่สุด ถ้าเขาเห็นคนจีนก็ค่อนข้างจะเกรงกลัวและเรียกว่า “พุทธ” เมื่อเขาเห็นคนจีนมาจะหมอบลงทำเบญจางคประดิษฐ์ เมื่อเร็วๆนี้ก็มีคนหลอกต้มข่มเหงคนจีนเหมือนกัน ทั้งนี้ เนื่องจากมีคนจีนไปที่นั่นมากนั่นเอง

๓.๑๐ การวิพากษ์บันทึกของโจวต้ากวน ตอนที่๒๐ การค้าขายเนื้อหาที่นำมาวิพากษ์มี ๖ ประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่๑ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “ทุกวันเขาจะติดตลาด ๑ ครั้ง เริ่มตั้งแต่ ๔ โมงเช้าถึงบ่ายโมงก็เลิก” ซึ่งต่างจากฉบับอื่น ทำให้ไม่แน่ใจว่า ตลาดจะเริ่มขายตอนตีสี่ หรือ ๑๐ โมงเช้ากันแน่ ถ้าตลาดเริ่มติดตั้งแต่ ๔ โมงเช้า(ตี๔)ถึงบ่ายโมง ก็แสดงว่ามีการค้าขายกันนานประมาณ ๙ ชั่วโมง แต่ถ้าเปิดตลาดเวลา ๑๐ โมงเช้าถึงบ่ายโมง ก็จะค้าขายกันเพียง ๓ ชั่วโมง

เปลิโอต์ ดาร์ครี พอลและสมิธีส์ กล่าวตรงกันว่า ตลาดติดตั้งแต่ ๖ โมงเช้าถึงเที่ยง รวมประมาณ ๖ ชั่วโมง
ประเด็น ที่ ๒ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “ตลาดหามีร้านรวงซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยไม่ แต่เขาใช้พวกเสื่อที่ฟูปุกปุยลาดลงกับพื้น” ฉบับอื่นๆระบุแต่เพียงว่ามีการใช้เสื่อธรรมดาปูพื้นเท่านั้น

ประเด็นที่ ๓ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “แต่ละคนมีที่ทางของตนเอง ข้าพเจ้าได้ยินมาว่า ต้องเสียค่าเช่าที่ให้แก่ทางการ ในการซื้อขายเล็กๆน้อยๆ เขาใช้ธัญชาติ สินค้ามาจากเมืองจีน” ประเด็นนี้ ฉบับแปลของเฉลิม ยงบุญเกิดน่าจะตกคำสันธาน “และ/ หรือ ” ดังนั้นประโยคที่ถูกต้องน่าจะเป็นดังนี้ “เขาใช้ธัญชาติ (และ/ หรือ) สินค้าจากเมืองจีน”

ฉบับอื่นๆ ใช้ประโยคที่มีความหมายเดียวกันว่า “ In small transactions barter is carried on with rice, cereals and Chinese objects ….” สื่อให้เห็นความหมายของการแลกเปลี่ยนสินค้าแบบ “Barter Trade”
ประเด็น ที่ ๔ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “ถัดขึ้นมาก็ใช้ผ้า ถ้าเป็นการซื้อขายรายใหญ่ๆ ก็ใช้เงินตรา” โดยใช้คำรวมว่า “เงินตรา” ขณะที่เปลลิโอต์ ดาร์ครี พอลและสมิธีส์ระบุชัดเจนว่า ในการค้าขายระดับใหญ่ๆใช้ทองคำหรือเงินในการแลกเปลี่ยน(..in big deals, gold and silver is used)

ประเด็นที่ ๕ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “ถ้าเขาเห็นคนจีนก็ค่อนข้างจะเกรงกลัว” ซึ่งก็มีใจความคล้ายๆกันทุกฉบับ โดยเปลลิโอต์กล่าวว่า “…beaucoup de crainte respectueuse (นับถือแบบกลัวๆ)…“ ดาร์ครี พอลกล่าวถึง “ …timid respect…(นับถือแบบอายๆ)” สมิธีส์ระบุว่า“ ..much respectful awe.(นับถือมากแบบกลัวๆเกรงๆ)”

ประเด็นที่ ๖ เฉลิม ยงบุญเกิด กล่าวว่า “….และเรียกว่า “พุทธ” เมื่อเขาเห็นคนจีนมาจะหมอบลงทำเบญจางคประดิษฐ์” ประเด็นนี้แปลได้สอดรับกันมาก แต่น่าสงสัยว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ แม้ฉบับอื่นๆจะกล่าวว่า ชาวกัมพูชาเรียกคนจีนด้วยความเกรงกลัวว่า “พุทธ” เช่นกัน แต่ขณะที่เฉลิม ยงบุญเกิดระบุถึงการทำเบญจางคประดิษฐ์ ฉบับอื่นระบุแต่เพียงว่า “ทรุดตัวหมอบราบลงกับพื้น” การแสดงเช่นนี้คงเกิดจากความกลัวอำนาจของราชสำนักจีนที่ซึมลึกในใจของชาว กัมพูชา เนื่องจากพระเจ้าชัยวรมันที่๘ ทรงปฏิเสธเคยอำนาจของจีนและโปรดฯ ให้จับราชทูตของติมูร์ ข่าน พระราชนัดดาของพระเจ้ากุบไลข่านขังไว้ จนเป็นสาเหตุทำให้จีนส่งทูตมาเกลี้ยกล่อมให้สวามิภักดิ์ดังเดิม

๔.สรุปและข้อคิดเห็น
การ ศึกษาบันทึกว่าด้วยขบธรรมเนียมประเพณีของเจินละจากต้นฉบับภาษาจีนของโจวต้า กวนโดยตรงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อนเนื่องจากข้อจำกัดทางด้านภาษา แต่การวิพากษ์บันทึกของโจวต้ากวนตอนที่ ๑๖–๒๐ ทั้งจากฉบับภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษdHทำให้สามารถประเมินความน่าเชื่อถือของเอกสารข้างต้นได้อย่าง น่าสนใจถึง ๓๒ ประเด็น

แม้เฉลิม ยงบุญเกิดจะเชี่ยวชาญภาษาจีน แต่โดยพื้นฐานท่านอาจมิได้ถูกฝึกฝนมาทางประวัติศาสตร์ งานแปลบันทึกของโจวต้ากวนจึงอาจมีข้อบกพร่องบ้าง แต่มิอาจจะปฏิเสธได้ว่างานแปลฉบับนี้มีคุณค่ายิ่งในในฐานะที่เป็นเครื่องมือ สอบทานกับฉบับแปลภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ความคลาดเคลื่อนที่ถูกตรวจสอบพบเกิดจากกระบวนการวิพากษ์เอกสาร ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการประเมินคุณค่าหลักฐานประวัติศาสตร์ ก่อนจะนำไปอ้างอิง และบันทึกของโจวต้ากวนแปลโดยเปลลิโอต์ ดาร์ครี พอลและสมิธีส์ ต่างก็เป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างมีคุณภาพในการวิพากษ์บันทึกของโจวต้ากวน ฉบับแปลของเฉลิม ยงบุญเกิดเช่นกัน

บรรณานุกรม
เฉลิม ยงบุญเกิด, บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ, พระนคร: ชวนพิศ, ๒๕๑๐.
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์, “พัฒนาการของแว่นแคว้นในดินแดนประเทศไทย” เอกสารการสอนชุดวิชาประวัติศาสตร์ไทย หน่วยที่๑-๘ , สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์, ๒๕๔๓
ศิลปากร,กรม,พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเล่ม๑, กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์, ๒๕๑๖.
สุ จิตต์ วงษ์เทศ(บรรณาธิการ) . ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ แปลโดยเฉลิม ยงบุญเกิด. (พิมพ์ครั้งที่๒). กรุงเทพฯ: สำนัก
พิมพ์มติชน, ๒๕๔๓.

Bibliography
Paul, J. Gilman D’Arcy , Notes on the Customs of Cambodia, Bangkok: Social Science Association Press, 1967
Pelliot, Paul , Memoires sur les Coutumes du Cambodge de Tcheou Ta-Kouan Version Nouvelle suivie d’un Commentaire Inacheve, Paris: Librarire d’Amerique et d’Orient Adrien - Maisonneuve, 1954
Michael Smithies, The Customs of Cambodia by Zhou Daguan (Chou Ta – kuan), Bangkok: The Siam Society, 2001
Reinhardt, Ad (1961), Khmer Sculpture, Carnegie Press, New York.
 
 ที่มา :
http://bidyarcharn.blogspot.com/2010/06/blog-post.html

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมกับระบบความเชื่อในสังคมไทย


                            http://www.online-station.net/feature/feature/14576


ระบบความเชื่อ ย่อมรวมถึงศาสนา และความเชื่อในลัทธิต่างๆ ศาสนา ในความหมายกว้าง ๆ คือการบวงสรวงบูชาหรือการสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างมนุษย์กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ซึ่งมนุษย์เชื่อ

ว่าสามารถควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือวิถีทางของธรรมชาติและวิถีชีวิตของมนุษย์ ศาสนาตามทัศนะทางมานุษยวิทยาจึงบ่งบอกนัยถึงการขยายความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ออกไปสู่ความสัมพันธ์

กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอำนาจเหนือมนุษย์และธรรมชาติ ดังนั้นศาสนาและความเชื่อทางศาสนาจึงเป็นสิ่งสากลที่เราพบเห็นได้ในทุกสังคมตลอดมาทุกยุคทุกสมัย (ยศ สันตสมบัติ, 2537 : 214) ศาสนาอาจ

จัดว่าเป็นวัฒนธรรมทางนามธรรมที่มีผลต่อการสร้างวัฒนธรรมทางรูปธรรม การทำความเข้าใจศาสนาเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แรกเริ่มทีเดียวศาสนาและความเชื่อถือกำเนิดจาก

ความกลัว ความต้องการความมั่นคงทางจิตใจ และความสงสัยในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวมนุษย์ ในสมัยโบราณ มนุษย์ดำเนินชีวิตในท่ามกลางปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถ

เข้าใจได้ ไม่ว่าจะเป็นความมืด ความสว่าง ความร้อน ความหนาว พายุฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ภาวะเกิด แก่ เจ็บ ตาย ฯลฯ ทำให้เกิดความกลัวและเชื่อว่าต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจลี้ลับอยู่เหนือปรากฏการณ์

เหล่านี้ซึ่งสามารถบันดาลคุณและโทษแก่มนุษย์ได้ ฉะนั้นมนุษย์จึงพยายามหาวิธีการอ้อนวอนเอาใจหรือต่อรองกับอำนาจลึกลับของธรรมชาติด้วยการบูชา บนบานหรือเซ่นไหว้

โดยทั่วไปศาสนามีองค์ประกอบที่สำคัญ (สุชีพ ปุญญานุภาพ, 2532 : 10) คือ
1) ศาสดาหรือผู้ประกาศศาสนา (เช่น พระพุทธเจ้า พระไครสต์ พระนะบีมูฮัมหมัด เป็นต้น)
2) ปรัชญาและหลักปฏิบัติ แนวคิด ความเชื่อ ซึ่งก็คือพระธรรมคำสั่งสอน ทั้งในรูปของตำรับตำรา การเทศนาสั่งสอน
3) นักบวชหรือพระสงฆ์ และศาสนิกหรือผู้นับถือศาสนา
4) ศาสนสถานและศาสนวัตถุ ซึ่งมักปรากฏในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ
5) พิธีกรรม ซึ่งก็คือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและย่อมจะต้องมีวัตถุประสงค์มีความหมายตามความเข้าใจอันเกิดจากพื้นฐานความเชื่อทางศาสนาของตน

ศาสนา - ความเชื่อในสังคมไทย

ในที่นี้จึงจะกล่าวเฉพาะลักษณะของศาสนาความเชื่อที่แพร่หลายในสังคมไทยและมีอิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรมไทยในวงกว้าง นั่นก็คือรูปแบบของศาสนาความเชื่อที่มีทั้งผี พราหมณ์และพุทธปะปนกันอยู่

(ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, 2536 : 21-34)

1. ผีและอำนาจลึกลับในธรรมชาติ

หรือที่เราใช้คำว่าไสยศาสตร์ (ไสยะ = ความหลับไหล มัวเมา ตรงข้ามกับคำว่า พุทธะ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยที่มีมาก่อนศาสนาพราหมณ์และก่อนที่พุทธ

ศาสนาจะเผยแผ่เข้ามาในดินแดนแถบนี้ ผีในความเชื่อของชาวไทยน่าจะแบ่งทำความเข้าใจง่าย ๆ ออกเป็นประเภทต่างๆ คือ

    ผีที่เป็นผู้พิทักษ์รักษาหรือเทวดาอารักษ์ เช่น ผีแถน ซึ่งชาวอีสานเชื่อกันว่าเป็นผู้ให้กำเนิดโลก เป็นผู้ที่สามารถดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกและข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นก็มีผีที่เชื่อว่าสิงสถิตตาม

ธรรมชาติต่าง ๆ เช่น เจ้าป่าเจ้าเขา เจ้าที่เจ้าทาง แม่ธรณี แม่โพสพ รุกขเทวดา นางไม้ และยังมีผีประจำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ผีเตา ผีนางด้ง ผีนางสาก เป็นต้น ความเชื่อเกี่ยวกับศาลหลักเมืองก็เชื่อ

ว่าผีเทพยดาที่ทำหน้าที่ปกปักรักษาบ้านเมือง ในชุมชนเล็ก ๆ ตามชนบทมักมีหลักบ้านหรือใจบ้าน (หัวใจหรือศูนย์กลางของบ้าน) มีสัญลักษณ์ (ต่างรูปแบบกันไป) ที่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ อยู่กึ่งกลางชุมชน

และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมในหมู่บ้านด้วย ชุมชนบางแห่งเมื่อเจริญขึ้นเป็นตำบลเป็นจังหวัด ก็จะมีศาลหลักเมืองเช่นกัน ดังเราได้เห็นอยู่เกือบทุกจังหวัด
    ผีบรรพบุรุษและผีวีรบุรุษ มนุษย์เชื่อว่า เมื่อญาติพี่น้องตายไปแล้ว วิญญาณจะออกจากร่างไปสู่ที่ต่าง ๆ บ้างก็ไปเกิดใหม่ บ้างก็ยังวนเวียนอยู่ในโลกมนุษย์ ผีเหล่านี้คือผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ย่าตายาย

หรือบางทีก็เรียก ผีเรือน ส่วนผีวีรบุรุษนั้นคือบุคคล เมื่อยังมีชีวิต เป็นคนดีที่มีความเก่งกล้าสามารถเป็นพิเศษ เป็นผู้นำ เป็นเจ้าเมืองหรือเป็นผู้ก่อตั้งบ้านเมืองหรือนักรบซึ่งเมื่อตายไปก็ยังมีผู้เคารพนับถือ

อย่างเช่น ผีเจ้าเมืองของชาวไทยใหญ่ในแม่ฮ่องสอน ย่าโมของชาวโคราช พระยาพิชัยดาบหักของชาวอุตรดิตถ์ เจ้าพ่อพญาแลของชาวชัยภูมิ หรือเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยวของชาวปัตตานี ตลอดจนพระเจ้า

ตากสิน และรัชกาลที่ 5 ที่มีผู้นับถือกันอย่างแพร่หลายอยู่ในขณะนี้ ทั้งผีบรรพบุรุษ และผีวีรบุรุษจัดว่า เป็นผีดีเพราะเป็นผู้คุ้มครองรักษาลูกหลานหรือชาวบ้านชาวเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข นอกจากนี้แล้วยัง

คอยควบคุมให้ลูกหลานหรือคนในหมู่บ้านมิให้ทำผิดขนบจารีตประเพณี หากลูกหลานทำผิดประเพณีที่เรียกว่า ขึด (ทางเหนือ) หรือขะลำ (ทางภาคอีสาน) อย่างเช่น พี่น้องทะเลาะวิวาทกัน หรือลูกสาว

หลานสาวถูกผู้ชายแตะเนื้อต้องตัว อย่างที่เรียกว่า ทำผิดผี คนในครอบครัวก็จะต้องทำพิธีขอขมาต่อวิญญาณผีปู่ย่า หรือปู่ตา เป็นต้น

2. ศาสนาพราหมณ์

ศาสนาพราหมณ์เข้ามาปะปนอยู่ในคติความเชื่อและวัฒนธรรมไทยหลายรูปแบบ (พระครูวามเทพมุนี (ชวิน รังสีพราหมณกุล), 2534, สัมภาษณ์วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 หน้า 42-48) ได้แก่

    ความเชื่อในเทพเจ้า มีเทพเจ้าหลายองค์ในศาสนาพราหมณ์ที่กลายมาเป็นที่เคารพนับถือของชาวไทย เช่น พระพรหมที่คนไทยนิยมไปกราบไหว้บนบาน พระอิศวร พระพิฆเนศวร เทพแห่งศิลปะ หรือ

พระอินทร์ ซึ่งปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง
             อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากคุณลักษณะเฉพาะของเทพแต่ละองค์ ตามตำนานเทวกำเนิดแล้ว ก็จะพบว่าอุปนิสัยของเทพเหล่านี้ สะท้อนถึงภาวะหมุนเวียนของโลก โดยเริ่มจากพระอิศวร ซึ่ง

มักให้พรคนที่บำเพ็ญตบะแก่กล้า ผู้ได้รับพรก็มักลืมตัวใช้อิทธิฤทธิ์ ก่อความวุ่นวาย ความทุกข์ร้อนแก่สังคม จนพระนารายณ์ ต้องลงมาปราบด้วยวิธีล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ ต่อจากนั้นพระพรหม ก็จะ

สร้างโลกขึ้นใหม่หมุนเวียนไปเช่นนี้
    ความเชื่อในเรื่องเวทมนต์คาถา ยันต์ ความเชื่อในโชคลาง และการดูฤกษ์ยาม เป็นต้น
    พิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งเป็นพิธีกรรมต้อนรับเทพเจ้าของพราหมณ์ พิธีแรกนาขวัญ พิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พิธีขอฝน พิธีสะเดาะเคราะห์ การตั้งศาลพระภูมิ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ที่

ใช้น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ เช่น การรดน้ำมนต์ รดน้ำสังข์ในพิธีแต่งงาน การเจิมแป้งกระแจะ เป็นต้น

3. ศาสนาพุทธ

พระพุทธศาสนา ซึ่งวางรากฐานอย่างมั่นคงและเป็นที่ยอมรับให้เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงปัจจุบันนั้นได้เริ่มเผยแผ่เข้ามาตั้งแต่ครั้งที่ผู้คนในดินแดนแถบนี้นับถือผีอยู่ก่อนแล้ว และจากการที่พุทธ

ศาสนามีความยืดหยุ่นสูงและมิได้มีการบังคับให้เลิกเชื่อลัทธิอื่น ๆ รูปแบบของพุทธศาสนาที่ยึดถือปฏิบัติกันในสังคมไทยส่วนใหญ่จึงมีลักษณะของความเชื่อเกี่ยวกับผีและไสยศาสตร์ซึ่งเป็นความเชื่อที่มี

อยู่แต่ดั้งเดิม ตลอดจนพิธีกรรมและความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ผสมผสานอยู่ไม่น้อย อย่างเช่น การนับถือในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของพระเครื่อง การบนบานศาลกล่าวต่อพระพุทธรูปสำคัญ ๆ อย่างหลวง

พ่อพระแก้วมรกต หลวงพ่อโสธร ตลอดจนการที่พระสงฆ์บางรูปทำพิธีรดน้ำมนต์ (พราหมณ์) พ่นน้ำหมากเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บหรือปัดเสนียดรังควาน การเอ่ยชื่อพระพุทธรูปองค์สำคัญโดยใช้คำนำ

หน้าว่า “หลวงพ่อ” นั้น สะท้อนให้เห็นถึงการดึงเอาพระพุทธรูปให้มาสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์เพื่อความอบอุ่นใจ มั่นคงทางใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้การทำบุญเลี้ยงพระมักจะต้องจัด “ข้าวพระ” คือ ข้าวปลา

อาหารสำรับเล็ก ๆ เพื่อถวายพระพุทธรูปด้วย ซึ่งหากพิจารณาตามหลักพุทธศาสนาแล้ว พระพุทธรูปคือตัวแทนของพระพุทธเจ้า ซึ่งทรงหลุดพ้นจากโลกนี้แล้วจึงย่อมไม่หิว ไม่กระหาย ไม่หนาว ไม่ร้อน

การจัดของเซ่นไหว้ จึงเหมือนผสานเอาความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

โดยเนื้อแท้แล้วศาสนาพุทธมิได้ให้ความสำคัญกับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์และอำนาจเหนือธรรมชาติ แต่เน้นการปฏิบัติทางศีลธรรมและการทำจิตให้บริสุทธิ์ โดยมีหลักทั่วไปคือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว

ชำระจิตใจให้สะอาด และการฝึกสมาธิจนกระทั่งบรรลุถึง “วิมุตติ” คือความหลุดพ้นจากบ่วงกรรมทั้งปวง

หลักธรรมทางพุทธศาสนา จึงสามารถนำมาเลือกใช้แก้ปัญหาสังคม ปัญหาชีวิตได้ เช่น การทำงานหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนประสบผลสำเร็จได้ ควรจะนึกถึงธรรมะเรื่อง อิทธิบาท 4 (ฉันทะ = ความพอใจ,

วิริยะ = เพียร, จิตตะ = จดจ่อ, วิมังสา = ใคร่ครวญ) เป็นต้น หรือการสอนให้มนุษย์รู้จักความพอดีหรือเดินสายกลาง ไม่มากไม่น้อยเกินไป (มัชฌิมาปฏิปทา) ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพระราชดำริใน

องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน คือ การมีชีวิตพอเพียง


http://www.baanjomyut.com/library/culture_faith/index.html


ประเพณี – พิธีกรรมในสังคมไทย

คำว่า ประเพณี (tradition) กับคำว่าพิธีกรรม (rite) มีความหมายใกล้เคียงกันมาก บางครั้งก็ใช้ในความหมายเดียวกัน แต่เท่าที่ผ่านมา คำแรก น่าจะมีความหมายกว้างกว่าคือ กินความไปถึงวิถีชีวิต (way of life) ในขณะที่คำว่า พิธีกรรมมีความหมายไปในเชิงพิธีการ หรือกิจกรรมเฉพาะกิจมากกว่า พิธีกรรมที่พบในสังคมไทยอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ พิธีกรรมตามเทศกาล (festival) พิธีกรรมที่เกี่ยวกับวงจรชีวิต (rite of passage) พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชุมชนหรือท้องถิ่น ซึ่งแต่ละพิธีกรรมที่แจกแจงแยกย่อยนี้ ก็ยังมีความเหลื่อมซ้อนกันด้วย

1. พิธีกรรมตามเทศกาล

ในรอบปีหนึ่ง ๆ จะมีเทศกาลหรือวาระสำคัญมากมาย เช่น ในราชสำนักก็จะมีพระราชพิธีสิบสองเดือน หรือทางภาคอีสานก็จะมี ฮีตสิบสองเดือน เป็นต้น พิธีกรรมตามเทศกาลจึงมักเป็นพิธีกรรมชุมชนหรืออาจเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำมาหากินก็ได้ สามารถทราบกำหนดเวลาของงานได้ชัดเจน ในขณะที่เราอาจรู้กำหนดการจัดพิธีกรรมวงจรชีวิตได้ในบางพิธีเท่านั้น เช่นเรากำหนดวันบวช วันแต่งงานได้ แต่กำหนดวันถึงแก่กรรมไม่ได้ ยกเว้นบางรายแต่ก็เป็นส่วนน้อยมาก พิธีกรรมตามเทศกาลจึงต้องทำทุกปี ในขณะที่พิธีกรรมเกี่ยวกับวงจรชีวิตอาจไม่ทำทุกปีในครอบครัวเดียวกัน

พิธีกรรมตามเทศกาลเสมือนหนึ่งเป็นการวางแผนการดำเนินชีวิตในแต่ละปีด้วย เสมือนว่ามีแผนหลัก (master plan) ไว้ เช่น ในช่วงหน้าหนาวจะมีประเพณีถวายฟืนให้ทางวัดเพื่อคลายอากาศหนาว (ประเพณีไทยใหญ่ทาง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นต้น)

นอกจากนี้ พิธีกรรมตามเทศกาลเฉพาะที่ปรากฏในสังคมไทยซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้น น่าสังเกตว่าในแต่ละปีจะมีเทศกาลถือศีลเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลในเรื่องของการรักษาจิตใจให้สงบ ไม่โกรธ ไม่อิจฉาริษยา พร้อมกับการรักษาสุขภาพกายไปในตัว โดยเฉพาะการงดบริโภคอาหารบางจำพวก หรืองดเป็นช่วงเวลา เช่น ในกลุ่มพี่น้องชาวอิสลามจะมีพิธีถือศีลอด (ตลอดเดือน เรียกเดือนรอมฎอน) งดบริโภคอาหาร-น้ำก่อนตะวันตกดินไปจนถึงตะวันขึ้นของอีกวันหนึ่ง ในขณะที่พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนจะมีเทศกาลกินเจ งดการบริโภคเนื้อสัตว์เป็นเวลาสิบวัน ส่วนพี่น้องชาวไทยนั้นมีเทศกาลเข้าพรรษาที่พุทธศาสนิกชนจะถืออุโบสถศีล (ศีลแปด ซึ่งมีข้อห้ามในการบริโภคอาหารยามวิกาล งดบริโภคเครื่องดองของเมา บทบัญญัติในศาสนาเหล่านี้ทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่ต้องการให้มนุษย์หยุดสำรวจตนเองทั้งกายและใจ อย่างน้อยก็อาจเป็นกุศโลบายให้ระบบย่อยอาหารในร่างกายได้มีโอกาสพักฟื้นการทำงานลงบ้าง เป็นที่น่าสังเกตว่า เทศกาลถืออุโบสถศีลนี้เริ่มจากเข้าพรรษาในช่วงกลาง ๆ ปี ไปจนถึงออกพรรษาในช่วงต้น ๆ ของปลายปี ซึ่งจะซ้อนเหลื่อมหรือไล่เลี่ยกับเทศกาลกินเจกับเทศกาลถือศีลอดรอมฎอน อย่างไรก็ตามเทศกาลเหล่านี้ก็ควรได้รับการพิจารณาทบทวนว่าดำเนินไปอย่างที่ไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตโดยปกติของคนส่วนใหญ่ หรือทำกันเป็นค่านิยมหรือตื่นตามกระแสสังคม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เทศกาลกินเจตามคติจีนที่ภายหลังทำให้พืชผักมีราคาสูงกว่าปกติมาก และเครื่องประกอบอาหารเจบางชนิดก็เข้าสู่กระแสธุรกิจแบบทุนนิยมมากขึ้น จนเกิดการโฆษณาแข่งขันกันอย่างมาก สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการบิดผันเจตนารมณ์ของการกินเจไปเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่เกิดกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์และเสียผลประโยชน์อันไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของกุศลจิตในเรื่องกินเจ

2. พิธีกรรมที่เกี่ยวกับวงจรชีวิต

ในชั่วชีวิตของคนเราตั้งแต่เกิดไปจนกระทั่งตายย่อมจะต้องผ่านเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของชีวิตหลายช่วงด้วยกัน ดังนั้น จึงต้องมีพิธีกรรมในแต่ละช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อหรือช่วงเปลี่ยนผ่านนี้เพื่อเสริมความมั่นใจ กล่าวคือ เมื่อแรกเกิดก็ต้องมีพิธีทำขวัญเด็กเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กที่เกิดมานั้นจะมีชีวิตรอดได้ไม่ตายเสียใน 3 วัน 7 วัน เมื่อโตขึ้นย่างเข้าสู่วัยรุ่นก็มีพิธีโกนจุก เพื่อแสดงว่าเด็กนั้นกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ต้องมีภาระรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจะได้เป็นคนที่มีกำลังใจมั่นคง และประพฤติแต่สิ่งที่ชอบที่ควร เฉพาะผู้ชายยังต้องเข้าพิธีบวชเรียนอีก 3 เดือนเมื่ออายุ 20-21 ปี จากนั้นก็ถึงระยะของการสร้างครอบครัว ต้องเข้าพิธีหมั้นและแต่งงาน เมื่อเจ็บไข้หรือประสบเคราะห์ก็ยังต้องประกอบพิธีเรียกขวัญหรือสะเดาะเคราะห์ เช่นภาคกลางมีพิธีสวดโพชฌงค์ต่ออายุ ส่วนทางภาคเหนือมีพิธีสืบชาตา และเมื่อตายไปก็ยังต้องทำพิธีเกี่ยวกับงานศพ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือการปลอบประโลมญาติมิตรที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง พิธีกรรมในวงจรชีวิตจะช่วยเสริมความเข้มแข็งสามัคคีในหมู่เครือญาติได้ดี

3. พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน

ในชนบทไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรมนั้น การทำมาหากินอันเกี่ยวข้องกับธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ชาวไร่ชาวนาต้องพึ่งพาผลผลิตจากธรรมชาติ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจึงเป็นวิถีชีวิตสำคัญของพวกเขา ดังนั้นจึงต้องประกอบพิธีกรรมเพื่อเอาอกเอาใจหรืออ้อนวอนสิ่งเหนือธรรมชาติเพื่อดลบันดาลให้มีน้ำเพียงพอแก่การเพาะปลูก และให้มีผลผลิตอุดมสมบูรณ์ จึงมีพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำนาและทำขวัญข้าวในช่วงเวลาต่าง ๆ ของการทำนา นอกจากนี้ในภาคเหนือที่มีภูเขามากมาย จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกไม่ให้มีมากหรือน้อยจนเกินไป ซึ่งเรียกว่าระบบเหมืองฝาย เขาจึงต้องทำพิธีเลี้ยงผีฝาย หรือในภาคอีสาน เมื่อมีความแห้งแล้งเกิดขึ้นในฤดูทำนาก็ต้องทำพิธีจุดบั้งไฟเพื่อขอฝนจากพญาแถน เพราะต้องอาศัยน้ำฝน ส่วนชาวประมงในลุ่มแม่น้ำโขงทางตอนเหนือเมื่อถึงฤดูกาลล่าปลาบึกก็ต้องประกอบพิธีกรรมเพื่อขจัดอุปสรรคในการจับปลา ในขณะที่คนทำนาเกลือแถบสมุทรสงคราม สมุทรสาครยังมีศาลผีประจำนาเกลือ เป็นที่สักการะบูชา เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจในธรรมชาติที่อยู่เหนือการควบคุมของตนให้การทำมาหากินของตนสะดวกขึ้น ปลอดภัย และได้ผลผลิตมาก

4. พิธีกรรมที่เกี่ยวกับท้องถิ่นหรือกลุ่มชน

พิธีกรรมนี้มักจะเกี่ยวข้องกับเทวดา หรือผีที่ปกปักรักษาและคุ้มครองหมู่บ้าน เป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจะต้องมีส่วนร่วม เพื่อสวัสดิภาพ ความมั่นคง ความเจริญของหมู่คณะ อย่างเช่น การเลี้ยงผีเจ้าเมืองของชาวไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน การทำพิธีไหว้เสาอินทขิลของชาวเชียงใหม่ พิธีเลี้ยงศาลผีปู่ตาของชาวอีสาน พิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน หรืองานทำบุญเดือนสิบของชาวปักษ์ใต้ ในแถบอำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ ก็พบว่ามีพิธีส่งเรือเสดาะห์เคราะห์ที่ชาวบ้านจะปั้นดินเหนียวเป็นรูปคนและสัตว์ (เช่น วัว ควาย หมู หมา) เท่าจำนวนชีวิตในแต่ละบ้าน ใส่เรือที่ทำจากวัตถุที่หาได้ในท้องถิ่น ขนาดลำไม่ใหญ่นัก พร้อมข้าวปลาอาหารตามสมควร นำมารวมกันในช่วงหลังสงกรานต์ แล้วทำพิธีเลี้ยงผีประจำถิ่นของตน จากนั้นก็จะลอยเรือนี้ไปตามสายน้ำเสมือนว่าได้ส่งสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดในบ้านให้ภูติผีแล้ว เชื่อว่าเป็นการเสดาะเคราะห์ให้และจะทำเช่นนี้เพื่อหลอกผีเป็นปี ๆ ไป

จะเห็นว่าพิธีกรรมทั้ง 4 ประเภทนี้อาจคาบเกี่ยวกันก็ได้ เช่น ประเพณีวิ่งควาย เป็นทั้งประเพณีตามเทศกาล (เข้าพรรษา) และเป็นทั้งประเพณีในชุมชน (จ.ชลบุรี) หรือประเพณีกินเหนียว (แต่งงาน) เป็นทั้งประเพณีในวงจรชีวิต ในขณะเดียวกันก็เป็นประเพณีท้องถิ่นชาวไทยมุสลิม (ภาคใต้) หรือประเพณีแซยิดวันเกิดของชาวจีนที่เป็นการแสดงความยินดีในวาระที่ผู้ใหญ่มีอายุครบปีนักกษัตร เช่น 60 ปี 72 ปี ก็มีความคาบเกี่ยวระหว่างประเพณีวงจรชีวิตกับประเพณีในกลุ่มชนชาวจีน เป็นต้น

สำหรับพิธีกรรมหรือกิจกรรมในรอบปีนั้น มีข้อน่าสังเกตว่าระยะหลังยังมีการกำหนดวันสำคัญต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อเน้นย้ำถึงความสมานสามัคคีและความจงรักภักดีต่อชาติและพระมหากษัตริย์ เช่น วันฉัตรมงคล วันจักรี เป็นต้น ประเพณี – พิธีกรรม หรือกิจกรรมตามวันสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้ มีบทบาทในการทำให้สมาชิกมีความรู้สึกร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นโอกาสที่จะได้ร่วมทำบุญทำทาน กินเลี้ยง และรื่นเริงสนุกสนานร่วมกัน หนุ่มสาวก็มีโอกาสพบปะกัน อีกทั้งยังเป็นเหตุให้มีการรวมญาติรวมมิตรที่อาศัยอยู่ห่างไกลได้มาร่วมสังสรรค์กัน ทั้งหมดนี้คือ พิธีกรรมที่จะทำให้ทุกคนรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สังคมหรือประเทศชาติในที่สุด นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน หากใช้สิ่งเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ก็เท่ากับว่าเราไม่ตกเป็นทาสของพิธีกรรม แต่เป็นนายของพิธีกรรม แต่มีข้อน่าสังเกตว่า เทศกาลสงกรานต์ในระยะหลังมานี้ กลับกลายเป็นเทศกาลของการเดินทางไกล และทำให้เกิดอุบัติเหตุมากจนน่าทบทวนในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งทางฝ่ายรัฐบาลและเอกชนตลอดจนประชาชนทั่วไป

ระบบความเชื่อ : ความเห็นเชิงลบและเชิงบวก

ระบบความเชื่อประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน ที่จะแยกทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้นคือ ตำนาน สัญลักษณ์ และพิธีกรรม ตำนานหรือ (myth) คือ เรื่องเล่าอันแสดงที่มาหรือต้นเค้าว่าทำไมจึงเกิดสัญลักษณ์นั้น ๆ หรือพิธีกรรมนั้น ๆ หรือความเชื่อเช่นนั้น เช่น ประเพณีกรวดน้ำหลังทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ มีที่มาแต่ครั้งก่อนพุทธกาลว่าเมื่อพระโพธิสัตว์ใกล้จะบรรลุพระโพธิญาณ ได้มีกองทัพพญามาร (เปรียบได้กับกิเลส) ยกมาขัดขวางมิให้ทรงตรัสรู้ พญามาราธิราชถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านเป็นใคร สั่งสมบุญมาแต่ชาติไหน จึงคิดว่าจะตรัสรู้เป็นมหาบุรุษได้ในโลก พระโพธิสัตว์หรือเจ้าชายสิทธัตถะในเพศบรรพชิตทรงตอบว่า พระองค์ได้สั่งสมบุญบารมีมาเป็นอเนกชาติ ยักษ์ก็ท้าทายต่อไปว่าให้หาพยานมา พระโพธิสัตว์จึงชี้นิ้วไปที่พื้นดิน ทันใดนั้นแม่พระธรณีก็ปรากฏขึ้นและบีบมวยผมให้น้ำออกมาท่วมกองทัพพญามารแตกพ่ายไปและพระองค์ก็บรรลุพระโพธิญาณในที่สุด

เหตุการณ์ในพุทธประวัติตอนนี้ทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น พระพุทธรูปปางมารวิชัยในท่านั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางบนพระเพลาขวา นิ้วพระดัชนีชี้ไปเบื้องต่ำ คือดิน และเกิดภาพจิตรกรรมฝาผนังตอนมารผจญ (น.ณ ปากน้ำ, 2530 : 237) ซึ่ง จิตรกรมักเขียนไว้ที่ผนังตรงข้ามพระประธาน นอกจากนี้ก็เกิดประเพณีกรวดน้ำหลังทำบุญทุกครั้ง จากความเชื่อว่า เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบุญบารมีครั้งใดก็จะหลั่งน้ำไปสะสมไว้ที่แม่พระธรณีทุกครั้ง และทำให้เกิดประติมากรรมรูปแม่พระธรณีบีบมวยผมด้วย (ที่มีชื่อเสียงอยู่ที่มุมสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน) อันที่จริง การกรวดน้ำก็เท่ากับเป็นการตั้งสมาธิจิต ตั้งความปรารถนาดีต่อญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ ต่อเจ้ากรรมนายเวร ซึ่งก็คือสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกให้ได้รับผลกุศลของเรา ซึ่งถ้าไม่สะดวกหรือลืม เราก็มักได้รับคำสอนจากผู้ใหญ่เสมอให้กรวดแห้งเอาก็ได้ หมายถึง ไม่ต้องใช้น้ำก็ได้ สิ่งสำคัญคือ ความตั้งใจแน่วแน่ต่อการอุทิศกุศล

ทุกสิ่งในโลก น่าจะมีทั้งคุณและโทษเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน ศาสนา คติความเชื่อที่สะท้อนผ่านวัฒนธรรมรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าศิลปกรรม ประเพณี พิธีกรรม หรือข้อห้าม ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ก็ดี ล้วนมีคุณค่าในขณะเดียวกันก็อาจมีข้อเสียก็ได้ สุดแต่ผู้นำไปใช้จะมีดุลยพินิจเพียงใด ดังคำกล่าวที่ว่า เราจะตกเป็นทาสของประเพณีหรือเราจะนำประเพณีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ นั่นคือ การปฏิบัติตามประเพณีโดยไม่รู้ความหมายที่แท้จริง โดยอ้างว่าทำตามกันมา เพราะสิ่งนี้จะเข้าข่ายของความงมงายได้

ในสังคมไทยเรามักได้ยินคำกล่าวนี้เสมอคือ “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” นั่นคือ เมื่อจัดงานประเพณี-พิธีกรรมทีไรก็มักจะสิ้นเปลืองเงินทองมากมาย ส่วนใหญ่หมดไปกับการจัดเลี้ยงแขก เป็นการรักษาศักดิ์ศรีฐานะของเจ้าภาพ แม้จะกู้หนี้ยืมสินก็ตาม หรือเมื่อจัดงานศพก็มักมีคำพูดว่า “คนตายขายคนเป็น” หมายถึง คนเป็นซึ่งหมายถึงเจ้าภาพและญาติพี่น้องก็มักจะต้องใช้เงินครั้งละมาก ๆ ไปกับการจัดงาน ซึ่งคำพูดนี้ไม่ยุติธรรมกับคนตายที่ไม่ได้มารู้เรื่องรู้ราวด้วยเลย อันที่จริงแล้วถ้าคนตายไม่ได้สั่งเสียให้ญาติจัดงานใหญ่โตก็น่าจะต้องกล่าวโทษเจ้าภาพที่เอาคนตายมาขาย นอกจากนี้ช่วงหลัง ๆ มานี้ เจ้าภาพถึงกับให้มีบ่อนการพนันมาเล่นในงานศพเพื่อเก็บค่าเช่า (ค่าต๋ง) ตัวอย่างนี้ยิ่งทำให้เห็นชัดว่า เราใช้ประเพณีเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งเป็นการนำไปสู่อบายมุขโดยตรง

ที่กล่าวไปแล้วนี้ เป็นตัวอย่างของการใช้วัฒนธรรมความเชื่อไปในเชิงลบ ในส่วนที่เป็นเชิงบวกนั้น ก็มีอยู่ไม่น้อย ดังจะขอจำแนกเป็นประเด็นต่อไปนี้

1. วัฒนธรรม-พิธีกรรม เป็นกลไกสร้างความเข้มแข็ง

การมีความคิด ความเชื่อในสิ่งเดียวกันย่อมหมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความกลมเกลียวที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ไปด้วยกัน ซึ่งส่งผลถึงความเป็นปึกแผ่น ความเข้มแข็งของสังคมในที่สุด
ดังนั้น ความเชื่อในสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องผี เรื่องวิญญาณ จึงเป็นสิ่งที่จะอยู่คู่มนุษย์ต่อไป เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ความคิดทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบข้อสงสัยของมนุษย์ได้เราก็จะไปที่ระบบ ความเชื่อ

ดังนั้น สังคมไทยในอดีตจึงจัดระบบความเชื่อเรื่องผีไว้อย่างสลับซับซ้อน มีเหตุมีผล ประกอบด้วยผีดีที่ให้คุณ และผีร้ายที่ให้โทษเมื่อทำผิดต่อกฎเกณฑ์ของสังคม ความเชื่อในเรื่องนี้จึงกลายเป็นกลไกควบคุมสังคมที่สำคัญ (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2539 : 34) แต่สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันด้วยการเติบโตของระบบทุนนิยม รวมทั้งกฎหมายบ้านเมืองที่ลบล้างจารีตประเพณีดั้งเดิม ความเชื่อเรื่องผีที่เคยเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมสังคมก็ลดบทบาทที่เป็นระบบลง (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2539 : 34)

แต่ถ้าพิจารณาใคร่ครวญเรื่องของความเชื่อในความหมายที่ตรงกันข้ามแล้ว เราก็จะพบว่า ความเชื่อ พิธีกรรมก็อาจเกิดผลเชิงลบเช่นกัน หากผู้คนงมงายอย่างไร้เหตุผล เช่น การแจกน้ำมนตร์คาถานครฐานสูตรของกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนเมษายน 2545 ซึ่งเกิดทุจริตชนปลอมน้ำมนตร์มาเร่ขาย เพราะมีผู้คนแตกตื่นมาขอรับมากมายจนน้ำมนตร์ไม่พอแจก ทั้งยังเกิดภาวะระส่ำระสายจากฝูงชนที่แสดงความต้องการน้ำมนตร์อย่างแรงกล้า จึงปรากฏทุจริตชนที่ปลอมน้ำมนตร์ขายหาประโยชน์ให้ตนเอง

2. เป็นที่พึ่งทางใจ ขจัดความกังวล ความไม่มั่นใจ

มนุษย์มีสัญชาตญาณของความกลัว ยิ่งในยุคที่ยังไม่มีหลักวิทยาศาสตร์อธิบายปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติได้ มนุษย์ก็ยิ่งกลัว ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า พายุ น้ำท่วม ฯลฯ มนุษย์จึงเชื่อว่ามีผีวิญญาณสิงอยู่ตามป่า เขา ทะเล ต้นไม้ แม้กระทั่งของใช้ในชีวิตประจำวัน การเซ่นสรวงไหว้พลี อ้อนวอน แม้กระทั่งติดสินบนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ทำให้มนุษย์หายหวาดกลัว สบายใจขึ้น มั่นใจขึ้น และเกิดเป็นรูปแบบวัฒนธรรมต่าง ๆ ขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้วิทยาศาสตร์จะอธิบายสิ่งนอกเหนือธรรมชาติเหล่านี้ได้ แต่บางครั้งก็ยังอธิบายไม่ได้ทั้งหมด เราจึงเห็นว่า คนในยุคปัจจุบันก็ยังนับถือภูติผีวิญญาณอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความตาย (แสงอรุณ, 2542 : 38) เมื่อญาติพี่น้องคนใกล้ชิดถึงแก่ความตาย จึงมักมีพิธีกรรมเข้ามาช่วยลดความหวาดกลัวลงไป ต้องเอาข้าวเอาน้ำไปเซ่นไหว้ที่โลงศพให้มากินเครื่องเซ่น เพราะเกรงว่าวิญญาณจะหิวโหย ถึงเทศกาลที่เชื่อว่าโลกของผีจะเปิดประตูให้ลงมาเยี่ยมญาติในเมืองมนุษย์ก็จะมีพิธีทำบุญให้ และพิธีกรรมทำนองนี้จะพบว่ามีทุกภูมิภาค ทุกกลุ่มชนในสังคมไทย เช่น ภาคกลางมีพิธีทำบุญบังสุกุลอัฐิวันสงกรานต์ ภาคใต้มีประเพณีชิงเปรตหรือที่เรียกสารทเดือนสิบ คนจีนมีประเพณีไหว้เช็งเม้ง เป็นต้น พิธีกรรมดังกล่าวเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงโลกของคนเป็นกับโลกของคนตายให้มาอยู่ใกล้กัน ทำให้คนเป็นไม่รู้สึกว้าเหว่มากนัก เพราะได้มีกิจกรรมติดต่อกับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วเป็นครั้งเป็นคราว

นอกจากนี้หากทบทวนดี ๆ เราจะพบว่าประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิตยังสร้างความเชื่อมั่นต่อสภาวะที่เรียกว่าจุดเปลี่ยนผ่านของชีวิตให้ดูสนิทแนบเนียนขึ้น เช่น ประเพณีบวชก็จะมีพิธีทำขวัญนาค เสมือนหนึ่งการกล่อมเกลาจิตใจนาคให้ก้าวเข้าสู่สภาวะภิกขุผู้นุ่งห่มผ้าเหลืองและจะใช้ชีวิตเยี่ยงคนในธรรมะที่ตนไม่คุ้นเคย เพื่อก้าวเข้าสู่การบวชเรียนให้เป็นคนสุกตามคติคนไทยก่อนจะเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รับการยอมรับนับถือในสังคม และเข้าพิธีแต่งงานมีครอบครัวเป็นหลักเป็นฐานสืบไป เราจึงมีคำพูดล้อเลียนกันมาว่า “อย่าเบียดก่อนบวช”

ในพิธีแต่งงานก็เช่นกัน การที่คนสองคนจะตกลงใจหรือได้รับการตกลงจากผู้ใหญ่ให้ใช้ชีวิตร่วมกันไปตลอดชีวิต อาจเป็นความไม่คุ้นหน้า (ในยุคที่สังคมยังให้ความสำคัญกับความบริสุทธิ์ของทั้งคู่บ่าว-สาว) ความแปลกหรือความไม่คุ้นเคยนี้ทำให้ต้องมีพิธีแต่งงานเข้ามาเกี่ยวข้อง พิธีกินดอง (กินเลี้ยงเพื่อดองความเป็นญาติกันทั้งสองฝ่าย) ของทางภาคอีสาน เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ่าวสาวตลอดจนญาติทั้งสองฝ่าย กล่าวคือมีการ “ผูกข้อต่อแขน” ให้ญาติที่จะมาเป็นเขยหรือสะใภ้กับฝ่ายตนด้วย เท่ากับว่า พิธีกรรมเปิดโอกาสให้สร้างความคุ้นเคย ความอบอุ่นในระหว่างญาติมิตรที่จะมาเกี่ยวดองกันด้วยอากัปกิริยาใกล้ชิดสนิทสนม จากสัมผัสและเส้นฝ้ายที่ใช้ เท่ากับเป็นการสร้างความสบายใจ ความมั่นใจให้ทุกคนโดยเฉพาะบ่าว-สาว

3. ระบบความเชื่อ ช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติ

เป็นที่ทราบกันดีในปัจจุบันว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่วิปริตผิดผันไปจากกฎเกณฑ์ธรรมชาติเช่นปรากฏการณ์เอลลินโญ่ เกิดจากการที่มนุษย์ฝืนธรรมชาติ ไม่ว่าตัดไม้ทีละจำนวนมาก ๆ หรือใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (น้ำมัน แก๊ส) หรือน้ำจำนวนมหาศาล เพื่อใช้กับระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การฝ่าฝืนนี้ทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุล มีผลให้เกิดน้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ถึงฤดูฝน ฝนไม่ตก ถึงหน้าแล้งฝนกลับตกแบบกระเซ็นกระสาย ซึ่งสิ่งนี้ย่อมส่งผลมาถึงความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอันประมาณค่ามิได้ และเป็นผลกระทบในวงกว้างทุกภูมิภาคของโลก และน่าสังเกตว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในช่วงหลังๆ มานี้

ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ในขณะที่สังคมแต่ก่อนซึ่งยังเชื่อว่าดิน น้ำ ลม ไฟ มีวิญญาณสถิตประจำ คือ แม่พระธรณี (ดิน) แม่พระคงคา (น้ำ) พระพายุ (ลม) ไฟ (พระอัคนี) สามารถดลบันดาลภัยพิบัติได้หากไปลบหลู่ท่าน หรือนำท่านมาใช้อย่างประมาท

มีความเป็นไปได้ว่าการที่คนแต่ก่อนทำพิธีเซ่นสรวง พลีบูชาธรรมชาติเพราะเชื่อว่า ธรรมชาติมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ ทำให้มนุษย์ไม่กล้าฝ่าฝืน ไม่กล้าทำลายธรรมชาติ จะตัดต้นไม้แต่ละต้นก็ต้องมีพิธีเซ่นสรวงขออนุญาตเทพารักษ์ เพื่อให้เทพารักษ์รู้ตัวและไม่โกรธคนตัด คนแต่ก่อนจึงตัดไม้เท่าที่ตนเองจะนำไปใช้สอย ทำให้ต้นไม้มีโอกาสเติบโตทัน ในขณะที่ระบบอุตสาหกรรมไม่เกรงกลัวเทพารักษ์จึงตัดทีละมาก ๆ หรือทีละภูเขา การขาดรากไม้ขนาดใหญ่จำนวนมาก ๆ ยึดน้ำไว้กับดิน จึงทำให้เกิดอุทกภัย ซึ่งปรากฏการณ์นี้หากจะใช้คำพูดอย่างคนโบราณก็คงจะเป็นคำว่า “ถูกฟ้าดินลงโทษ” ซึ่งก็ไม่ผิดความจริงมากนัก

พวกกะเหรี่ยง สะกอ หรือปกากะญอมีพิธีเอากระบอกสายสะดือเด็กเกิดใหม่แขวนกับต้นไม้ใหญ่ในป่า แสดงว่าห้ามตัด ถ้ามีเด็กเกิดใหม่มากต้นไม้ที่ห้ามตัดก็มากขึ้นด้วย เป็นวิธีเก็บรักษาป่าแบบกะเหรี่ยง (อรศิริ ปาณินท์, 2545) ภูมิปัญญาของชาวกะเหรี่ยงที่โยงความเชื่อกับการรักษาธรรมชาติด้วยวิธีนี้ เป็นแนวเดียวกับการที่คนไทยแต่ก่อนจะฝังรกไว้ที่ใต้ต้นไม้ หรือปลูกต้นไม้บนหลุมที่ฝังรกนี้ พร้อมกับบอกเล่าให้เด็กฟังเมื่อเด็กโตขึ้น เด็กก็จะรักษาต้นไม้นี้เสมือนเป็นต้นไม้คู่ชีพของเขา (เอกวิทย์ ณ ถลาง, 2545 : 37)

สังคมไทยยังมีประเพณีที่เกี่ยวกับธรรมชาติอีกมาก เช่นทางภาคเหนือมีพิธีสืบชาตาแม่น้ำ พิธีสืบชาตาต้นไม้ สืบชาตาป่า ในส่วนของพิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้ำนั้น ที่คนไทยทุกภูมิภาครู้จักกันดี คือ ประเพณีลอยกระทง ซึ่งวัตถุประสงค์ดั้งเดิมก็คือ การขอขมาแม่พระคงคา (วิญญาณที่เชื่อว่ารักษาแม่น้ำลำคลอง) ที่ตนได้ล่วงเกิน ถ่ายเทสิ่งปฏิกูลลงไป และขอบคุณแม่พระคงคาที่ให้มนุษย์ได้ใช้อุปโภค บริโภค น่าเสียดายที่ประเพณีลอยกระทงเกิดความผิดเพี้ยนจากวัตถุประสงค์เดิมไปมาสู่สาระเพียงแค่ความสนุกสนาน และเพื่อให้หนุ่มสาวได้อธิษฐานร่วมกันภายใต้แสงจันทร์วันเพ็ญ ก่อนที่ (อาจจะ) จะนำไปสู่โศกนาฏกรรมในคลินิกเถื่อนหากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือการที่หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐบาลไทยหวังผลเพียงเพื่อให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวมากๆ ในช่วงเทศกาลลอยกระทง โดยไม่คำนึงถึงกระทงธรรมชาติหรือกระทงวัสดุสังเคราะห์ที่เป็นขยะในน้ำ (แม่พระคงคา) ว่าจะเพิ่มมากขึ้นจากปกติ

นอกจากนี้ ทางภาคใต้เราพบว่าบริเวณที่เป็นป่าช้านั้น จะเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติอันยากที่ผู้ใดจะกล้าล่วงล้ำเข้าไปได้ในขณะที่ธรรมชาติบริเวณอื่น ๆ ถูกมนุษย์รุกล้ำนำไปใช้จนเกิดสภาพเสื่อมโทรม แต่บริเวณป่าช้าจะไม่มีใครเข้ามารบกวน จึงยังคงความสมบูรณ์อยู่ และชาวบ้านเชื่อว่าถ้าเข้าไปขอเก็บผักหญ้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะไม่ถูกภูติผีลงโทษ นอกจากจะโลภนำออกไปทีละมาก ๆ เท่ากับธรรมชาติไม่มีโอกาสฟื้นตัว ปรากฏการณ์นี้ยังเกิดขึ้นในชนบททางภาคอีสานเช่นกัน คือบริเวณศาลผีปู่ตา ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน จะคงสภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติเช่นเดียวกับป่าช้าทางภาคใต้

ในสังคมไทย วัฒนธรรม คติความเชื่อ มีความเกี่ยวพันกับมนุษย์ทั้งในระดับปัจเจกและระดับชุมชนมาช้านาน ผู้ปกครองสมัยโบราณอาศัยความเชื่อทางศาสนาพุทธ พราหมณ์ผสานกับความเชื่อท้องถิ่นในระดับชาวบ้าน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้สังคม แต่ทั้งนี้ผู้ปกครองก็จะต้องมีคุณธรรมด้วย นอกจากนี้ความเชื่อไม่ว่าจะเป็นทางคติพุทธ พราหมณ์ หรือผี จะให้คุณหรือโทษนั้นขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่จะมีวิจารณญาณอย่างไร จะใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ได้ หรือจะตกเป็นทาสด้วยความเชื่องมงาย ไร้เหตุผลก็ได้ เพราะแก่นพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์มีเหตุผล เดินสายกลาง และผลเกิดจากเหตุ การมี “สติ” อาจทำให้ไม่เสีย “สตังค์” ค่างมงาย เช่น เสดาะเคราะห์ด้วยราคา 999 หรือ 99 บาท ซึ่งนอกจากเสียเงินทองแล้ว บางครั้งยังอาจเสียตัวด้วย โดยเฉพาะสตรี และต้องไม่ลืมคำนึงถึงความต่างของ 2 คำนี้ คือ

    ไสยศาสตร์ (ไสยะ - ความหลับไหล งมงาย โง่เขลา มัวเมา)
    พุทธศาสตร์ (พุทธะ - ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แจ่มใส)

จะเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเรื่องของศาสนา-ความเชื่อ เพราะสิ่งนี้ก่อให้เกิดศิลปวัฒนธรรม ค่านิยมต่าง ๆ โดยเฉพาะในสังคมไทยซึ่งมีสถาบันหลักคือ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามยังมีวัฒนธรรมส่วนต่าง ๆ อีกมากมายในทุกภูมิภาคของไทยที่เกิดจากความเชื่อท้องถิ่นนั้น ๆ และสิ่งนี้เป็นประโยชน์ที่ทำให้เกิดการรวมตัวของสังคม โดยผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ที่เห็นเด่นชัดคือ ประเพณีหรือพิธีกรรมต่าง ๆ แต่จะต้องตระหนักว่า ในปัจจุบันมีการใช้ความเชื่อทางไสยศาสตร์มากมายเพื่อตอบสนองความไม่มั่นคงทางจิตใจของผู้คนที่ยังขาดความเชื่อมั่นในหลักธรรมทางศาสนา จึงเปิดโอกาสให้คนทุจริตอาศัยความงมงายเป็นช่องทางทำมาหากิน ดังนั้นจึงขอให้ใช้วิจารญาณในเรื่องนี้ให้ดีและถ้วนถี่ เพราะความเชื่อทางศาสนามิใช่แสดงออกทางวัตถุเครื่องลางของขลังติดตัวเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงแบบแผนวิถีชีวิตทุกเรื่อง ไม่ว่าการกิน การอยู่ การรักษาพยาบาล แม้การนุ่งห่มหรือข้อห้ามต่าง ๆ ที่เป็นจารีตหรือกลไกให้คนในสังคมได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติสมานฉันท์จากวัฒนธรรมหลากมิติ

http://www.baanjomyut.com/library/culture_faith/02.html


ระบบความเชื่อ : ความเห็นเชิงลบและเชิงบวก

ระบบความเชื่อประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน ที่จะแยกทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้นคือ ตำนาน สัญลักษณ์ และพิธีกรรม ตำนานหรือ (myth) คือ เรื่องเล่าอันแสดงที่มาหรือต้นเค้าว่าทำไมจึงเกิดสัญลักษณ์นั้น ๆ หรือพิธีกรรมนั้น ๆ หรือความเชื่อเช่นนั้น เช่น ประเพณีกรวดน้ำหลังทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ มีที่มาแต่ครั้งก่อนพุทธกาลว่าเมื่อพระโพธิสัตว์ใกล้จะบรรลุพระโพธิญาณ ได้มีกองทัพพญามาร (เปรียบได้กับกิเลส) ยกมาขัดขวางมิให้ทรงตรัสรู้ พญามาราธิราชถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านเป็นใคร สั่งสมบุญมาแต่ชาติไหน จึงคิดว่าจะตรัสรู้เป็นมหาบุรุษได้ในโลก พระโพธิสัตว์หรือเจ้าชายสิทธัตถะในเพศบรรพชิตทรงตอบว่า พระองค์ได้สั่งสมบุญบารมีมาเป็นอเนกชาติ ยักษ์ก็ท้าทายต่อไปว่าให้หาพยานมา พระโพธิสัตว์จึงชี้นิ้วไปที่พื้นดิน ทันใดนั้นแม่พระธรณีก็ปรากฏขึ้นและบีบมวยผมให้น้ำออกมาท่วมกองทัพพญามารแตกพ่ายไปและพระองค์ก็บรรลุพระโพธิญาณในที่สุด

เหตุการณ์ในพุทธประวัติตอนนี้ทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น พระพุทธรูปปางมารวิชัยในท่านั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางบนพระเพลาขวา นิ้วพระดัชนีชี้ไปเบื้องต่ำ คือดิน และเกิดภาพจิตรกรรมฝาผนังตอนมารผจญ (น.ณ ปากน้ำ, 2530 : 237) ซึ่ง จิตรกรมักเขียนไว้ที่ผนังตรงข้ามพระประธาน นอกจากนี้ก็เกิดประเพณีกรวดน้ำหลังทำบุญทุกครั้ง จากความเชื่อว่า เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบุญบารมีครั้งใดก็จะหลั่งน้ำไปสะสมไว้ที่แม่พระธรณีทุกครั้ง และทำให้เกิดประติมากรรมรูปแม่พระธรณีบีบมวยผมด้วย (ที่มีชื่อเสียงอยู่ที่มุมสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน) อันที่จริง การกรวดน้ำก็เท่ากับเป็นการตั้งสมาธิจิต ตั้งความปรารถนาดีต่อญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ ต่อเจ้ากรรมนายเวร ซึ่งก็คือสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกให้ได้รับผลกุศลของเรา ซึ่งถ้าไม่สะดวกหรือลืม เราก็มักได้รับคำสอนจากผู้ใหญ่เสมอให้กรวดแห้งเอาก็ได้ หมายถึง ไม่ต้องใช้น้ำก็ได้ สิ่งสำคัญคือ ความตั้งใจแน่วแน่ต่อการอุทิศกุศล

ทุกสิ่งในโลก น่าจะมีทั้งคุณและโทษเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน ศาสนา คติความเชื่อที่สะท้อนผ่านวัฒนธรรมรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าศิลปกรรม ประเพณี พิธีกรรม หรือข้อห้าม ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ก็ดี ล้วนมีคุณค่าในขณะเดียวกันก็อาจมีข้อเสียก็ได้ สุดแต่ผู้นำไปใช้จะมีดุลยพินิจเพียงใด ดังคำกล่าวที่ว่า เราจะตกเป็นทาสของประเพณีหรือเราจะนำประเพณีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ นั่นคือ การปฏิบัติตามประเพณีโดยไม่รู้ความหมายที่แท้จริง โดยอ้างว่าทำตามกันมา เพราะสิ่งนี้จะเข้าข่ายของความงมงายได้

ในสังคมไทยเรามักได้ยินคำกล่าวนี้เสมอคือ “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” นั่นคือ เมื่อจัดงานประเพณี-พิธีกรรมทีไรก็มักจะสิ้นเปลืองเงินทองมากมาย ส่วนใหญ่หมดไปกับการจัดเลี้ยงแขก เป็นการรักษาศักดิ์ศรีฐานะของเจ้าภาพ แม้จะกู้หนี้ยืมสินก็ตาม หรือเมื่อจัดงานศพก็มักมีคำพูดว่า “คนตายขายคนเป็น” หมายถึง คนเป็นซึ่งหมายถึงเจ้าภาพและญาติพี่น้องก็มักจะต้องใช้เงินครั้งละมาก ๆ ไปกับการจัดงาน ซึ่งคำพูดนี้ไม่ยุติธรรมกับคนตายที่ไม่ได้มารู้เรื่องรู้ราวด้วยเลย อันที่จริงแล้วถ้าคนตายไม่ได้สั่งเสียให้ญาติจัดงานใหญ่โตก็น่าจะต้องกล่าวโทษเจ้าภาพที่เอาคนตายมาขาย นอกจากนี้ช่วงหลัง ๆ มานี้ เจ้าภาพถึงกับให้มีบ่อนการพนันมาเล่นในงานศพเพื่อเก็บค่าเช่า (ค่าต๋ง) ตัวอย่างนี้ยิ่งทำให้เห็นชัดว่า เราใช้ประเพณีเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งเป็นการนำไปสู่อบายมุขโดยตรง

ที่กล่าวไปแล้วนี้ เป็นตัวอย่างของการใช้วัฒนธรรมความเชื่อไปในเชิงลบ ในส่วนที่เป็นเชิงบวกนั้น ก็มีอยู่ไม่น้อย ดังจะขอจำแนกเป็นประเด็นต่อไปนี้

1. วัฒนธรรม-พิธีกรรม เป็นกลไกสร้างความเข้มแข็ง

การมีความคิด ความเชื่อในสิ่งเดียวกันย่อมหมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความกลมเกลียวที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ไปด้วยกัน ซึ่งส่งผลถึงความเป็นปึกแผ่น ความเข้มแข็งของสังคมในที่สุด
ดังนั้น ความเชื่อในสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องผี เรื่องวิญญาณ จึงเป็นสิ่งที่จะอยู่คู่มนุษย์ต่อไป เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ความคิดทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบข้อสงสัยของมนุษย์ได้เราก็จะไปที่ระบบ ความเชื่อ

ดังนั้น สังคมไทยในอดีตจึงจัดระบบความเชื่อเรื่องผีไว้อย่างสลับซับซ้อน มีเหตุมีผล ประกอบด้วยผีดีที่ให้คุณ และผีร้ายที่ให้โทษเมื่อทำผิดต่อกฎเกณฑ์ของสังคม ความเชื่อในเรื่องนี้จึงกลายเป็นกลไกควบคุมสังคมที่สำคัญ (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2539 : 34) แต่สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันด้วยการเติบโตของระบบทุนนิยม รวมทั้งกฎหมายบ้านเมืองที่ลบล้างจารีตประเพณีดั้งเดิม ความเชื่อเรื่องผีที่เคยเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมสังคมก็ลดบทบาทที่เป็นระบบลง (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2539 : 34)

แต่ถ้าพิจารณาใคร่ครวญเรื่องของความเชื่อในความหมายที่ตรงกันข้ามแล้ว เราก็จะพบว่า ความเชื่อ พิธีกรรมก็อาจเกิดผลเชิงลบเช่นกัน หากผู้คนงมงายอย่างไร้เหตุผล เช่น การแจกน้ำมนตร์คาถานครฐานสูตรของกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนเมษายน 2545 ซึ่งเกิดทุจริตชนปลอมน้ำมนตร์มาเร่ขาย เพราะมีผู้คนแตกตื่นมาขอรับมากมายจนน้ำมนตร์ไม่พอแจก ทั้งยังเกิดภาวะระส่ำระสายจากฝูงชนที่แสดงความต้องการน้ำมนตร์อย่างแรงกล้า จึงปรากฏทุจริตชนที่ปลอมน้ำมนตร์ขายหาประโยชน์ให้ตนเอง

2. เป็นที่พึ่งทางใจ ขจัดความกังวล ความไม่มั่นใจ

มนุษย์มีสัญชาตญาณของความกลัว ยิ่งในยุคที่ยังไม่มีหลักวิทยาศาสตร์อธิบายปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติได้ มนุษย์ก็ยิ่งกลัว ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า พายุ น้ำท่วม ฯลฯ มนุษย์จึงเชื่อว่ามีผีวิญญาณสิงอยู่ตามป่า เขา ทะเล ต้นไม้ แม้กระทั่งของใช้ในชีวิตประจำวัน การเซ่นสรวงไหว้พลี อ้อนวอน แม้กระทั่งติดสินบนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ทำให้มนุษย์หายหวาดกลัว สบายใจขึ้น มั่นใจขึ้น และเกิดเป็นรูปแบบวัฒนธรรมต่าง ๆ ขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้วิทยาศาสตร์จะอธิบายสิ่งนอกเหนือธรรมชาติเหล่านี้ได้ แต่บางครั้งก็ยังอธิบายไม่ได้ทั้งหมด เราจึงเห็นว่า คนในยุคปัจจุบันก็ยังนับถือภูติผีวิญญาณอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความตาย (แสงอรุณ, 2542 : 38) เมื่อญาติพี่น้องคนใกล้ชิดถึงแก่ความตาย จึงมักมีพิธีกรรมเข้ามาช่วยลดความหวาดกลัวลงไป ต้องเอาข้าวเอาน้ำไปเซ่นไหว้ที่โลงศพให้มากินเครื่องเซ่น เพราะเกรงว่าวิญญาณจะหิวโหย ถึงเทศกาลที่เชื่อว่าโลกของผีจะเปิดประตูให้ลงมาเยี่ยมญาติในเมืองมนุษย์ก็จะมีพิธีทำบุญให้ และพิธีกรรมทำนองนี้จะพบว่ามีทุกภูมิภาค ทุกกลุ่มชนในสังคมไทย เช่น ภาคกลางมีพิธีทำบุญบังสุกุลอัฐิวันสงกรานต์ ภาคใต้มีประเพณีชิงเปรตหรือที่เรียกสารทเดือนสิบ คนจีนมีประเพณีไหว้เช็งเม้ง เป็นต้น พิธีกรรมดังกล่าวเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงโลกของคนเป็นกับโลกของคนตายให้มาอยู่ใกล้กัน ทำให้คนเป็นไม่รู้สึกว้าเหว่มากนัก เพราะได้มีกิจกรรมติดต่อกับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วเป็นครั้งเป็นคราว

นอกจากนี้หากทบทวนดี ๆ เราจะพบว่าประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิตยังสร้างความเชื่อมั่นต่อสภาวะที่เรียกว่าจุดเปลี่ยนผ่านของชีวิตให้ดูสนิทแนบเนียนขึ้น เช่น ประเพณีบวชก็จะมีพิธีทำขวัญนาค เสมือนหนึ่งการกล่อมเกลาจิตใจนาคให้ก้าวเข้าสู่สภาวะภิกขุผู้นุ่งห่มผ้าเหลืองและจะใช้ชีวิตเยี่ยงคนในธรรมะที่ตนไม่คุ้นเคย เพื่อก้าวเข้าสู่การบวชเรียนให้เป็นคนสุกตามคติคนไทยก่อนจะเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รับการยอมรับนับถือในสังคม และเข้าพิธีแต่งงานมีครอบครัวเป็นหลักเป็นฐานสืบไป เราจึงมีคำพูดล้อเลียนกันมาว่า “อย่าเบียดก่อนบวช”

ในพิธีแต่งงานก็เช่นกัน การที่คนสองคนจะตกลงใจหรือได้รับการตกลงจากผู้ใหญ่ให้ใช้ชีวิตร่วมกันไปตลอดชีวิต อาจเป็นความไม่คุ้นหน้า (ในยุคที่สังคมยังให้ความสำคัญกับความบริสุทธิ์ของทั้งคู่บ่าว-สาว) ความแปลกหรือความไม่คุ้นเคยนี้ทำให้ต้องมีพิธีแต่งงานเข้ามาเกี่ยวข้อง พิธีกินดอง (กินเลี้ยงเพื่อดองความเป็นญาติกันทั้งสองฝ่าย) ของทางภาคอีสาน เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ่าวสาวตลอดจนญาติทั้งสองฝ่าย กล่าวคือมีการ “ผูกข้อต่อแขน” ให้ญาติที่จะมาเป็นเขยหรือสะใภ้กับฝ่ายตนด้วย เท่ากับว่า พิธีกรรมเปิดโอกาสให้สร้างความคุ้นเคย ความอบอุ่นในระหว่างญาติมิตรที่จะมาเกี่ยวดองกันด้วยอากัปกิริยาใกล้ชิดสนิทสนม จากสัมผัสและเส้นฝ้ายที่ใช้ เท่ากับเป็นการสร้างความสบายใจ ความมั่นใจให้ทุกคนโดยเฉพาะบ่าว-สาว

3. ระบบความเชื่อ ช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติ

เป็นที่ทราบกันดีในปัจจุบันว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่วิปริตผิดผันไปจากกฎเกณฑ์ธรรมชาติเช่นปรากฏการณ์เอลลินโญ่ เกิดจากการที่มนุษย์ฝืนธรรมชาติ ไม่ว่าตัดไม้ทีละจำนวนมาก ๆ หรือใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (น้ำมัน แก๊ส) หรือน้ำจำนวนมหาศาล เพื่อใช้กับระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การฝ่าฝืนนี้ทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุล มีผลให้เกิดน้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ถึงฤดูฝน ฝนไม่ตก ถึงหน้าแล้งฝนกลับตกแบบกระเซ็นกระสาย ซึ่งสิ่งนี้ย่อมส่งผลมาถึงความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอันประมาณค่ามิได้ และเป็นผลกระทบในวงกว้างทุกภูมิภาคของโลก และน่าสังเกตว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในช่วงหลังๆ มานี้

ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ในขณะที่สังคมแต่ก่อนซึ่งยังเชื่อว่าดิน น้ำ ลม ไฟ มีวิญญาณสถิตประจำ คือ แม่พระธรณี (ดิน) แม่พระคงคา (น้ำ) พระพายุ (ลม) ไฟ (พระอัคนี) สามารถดลบันดาลภัยพิบัติได้หากไปลบหลู่ท่าน หรือนำท่านมาใช้อย่างประมาท

มีความเป็นไปได้ว่าการที่คนแต่ก่อนทำพิธีเซ่นสรวง พลีบูชาธรรมชาติเพราะเชื่อว่า ธรรมชาติมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ ทำให้มนุษย์ไม่กล้าฝ่าฝืน ไม่กล้าทำลายธรรมชาติ จะตัดต้นไม้แต่ละต้นก็ต้องมีพิธีเซ่นสรวงขออนุญาตเทพารักษ์ เพื่อให้เทพารักษ์รู้ตัวและไม่โกรธคนตัด คนแต่ก่อนจึงตัดไม้เท่าที่ตนเองจะนำไปใช้สอย ทำให้ต้นไม้มีโอกาสเติบโตทัน ในขณะที่ระบบอุตสาหกรรมไม่เกรงกลัวเทพารักษ์จึงตัดทีละมาก ๆ หรือทีละภูเขา การขาดรากไม้ขนาดใหญ่จำนวนมาก ๆ ยึดน้ำไว้กับดิน จึงทำให้เกิดอุทกภัย ซึ่งปรากฏการณ์นี้หากจะใช้คำพูดอย่างคนโบราณก็คงจะเป็นคำว่า “ถูกฟ้าดินลงโทษ” ซึ่งก็ไม่ผิดความจริงมากนัก

พวกกะเหรี่ยง สะกอ หรือปกากะญอมีพิธีเอากระบอกสายสะดือเด็กเกิดใหม่แขวนกับต้นไม้ใหญ่ในป่า แสดงว่าห้ามตัด ถ้ามีเด็กเกิดใหม่มากต้นไม้ที่ห้ามตัดก็มากขึ้นด้วย เป็นวิธีเก็บรักษาป่าแบบกะเหรี่ยง (อรศิริ ปาณินท์, 2545) ภูมิปัญญาของชาวกะเหรี่ยงที่โยงความเชื่อกับการรักษาธรรมชาติด้วยวิธีนี้ เป็นแนวเดียวกับการที่คนไทยแต่ก่อนจะฝังรกไว้ที่ใต้ต้นไม้ หรือปลูกต้นไม้บนหลุมที่ฝังรกนี้ พร้อมกับบอกเล่าให้เด็กฟังเมื่อเด็กโตขึ้น เด็กก็จะรักษาต้นไม้นี้เสมือนเป็นต้นไม้คู่ชีพของเขา (เอกวิทย์ ณ ถลาง, 2545 : 37)

สังคมไทยยังมีประเพณีที่เกี่ยวกับธรรมชาติอีกมาก เช่นทางภาคเหนือมีพิธีสืบชาตาแม่น้ำ พิธีสืบชาตาต้นไม้ สืบชาตาป่า ในส่วนของพิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้ำนั้น ที่คนไทยทุกภูมิภาครู้จักกันดี คือ ประเพณีลอยกระทง ซึ่งวัตถุประสงค์ดั้งเดิมก็คือ การขอขมาแม่พระคงคา (วิญญาณที่เชื่อว่ารักษาแม่น้ำลำคลอง) ที่ตนได้ล่วงเกิน ถ่ายเทสิ่งปฏิกูลลงไป และขอบคุณแม่พระคงคาที่ให้มนุษย์ได้ใช้อุปโภค บริโภค น่าเสียดายที่ประเพณีลอยกระทงเกิดความผิดเพี้ยนจากวัตถุประสงค์เดิมไปมาสู่สาระเพียงแค่ความสนุกสนาน และเพื่อให้หนุ่มสาวได้อธิษฐานร่วมกันภายใต้แสงจันทร์วันเพ็ญ ก่อนที่ (อาจจะ) จะนำไปสู่โศกนาฏกรรมในคลินิกเถื่อนหากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือการที่หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐบาลไทยหวังผลเพียงเพื่อให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวมากๆ ในช่วงเทศกาลลอยกระทง โดยไม่คำนึงถึงกระทงธรรมชาติหรือกระทงวัสดุสังเคราะห์ที่เป็นขยะในน้ำ (แม่พระคงคา) ว่าจะเพิ่มมากขึ้นจากปกติ

นอกจากนี้ ทางภาคใต้เราพบว่าบริเวณที่เป็นป่าช้านั้น จะเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติอันยากที่ผู้ใดจะกล้าล่วงล้ำเข้าไปได้ในขณะที่ธรรมชาติบริเวณอื่น ๆ ถูกมนุษย์รุกล้ำนำไปใช้จนเกิดสภาพเสื่อมโทรม แต่บริเวณป่าช้าจะไม่มีใครเข้ามารบกวน จึงยังคงความสมบูรณ์อยู่ และชาวบ้านเชื่อว่าถ้าเข้าไปขอเก็บผักหญ้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะไม่ถูกภูติผีลงโทษ นอกจากจะโลภนำออกไปทีละมาก ๆ เท่ากับธรรมชาติไม่มีโอกาสฟื้นตัว ปรากฏการณ์นี้ยังเกิดขึ้นในชนบททางภาคอีสานเช่นกัน คือบริเวณศาลผีปู่ตา ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน จะคงสภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติเช่นเดียวกับป่าช้าทางภาคใต้

ในสังคมไทย วัฒนธรรม คติความเชื่อ มีความเกี่ยวพันกับมนุษย์ทั้งในระดับปัจเจกและระดับชุมชนมาช้านาน ผู้ปกครองสมัยโบราณอาศัยความเชื่อทางศาสนาพุทธ พราหมณ์ผสานกับความเชื่อท้องถิ่นในระดับชาวบ้าน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้สังคม แต่ทั้งนี้ผู้ปกครองก็จะต้องมีคุณธรรมด้วย นอกจากนี้ความเชื่อไม่ว่าจะเป็นทางคติพุทธ พราหมณ์ หรือผี จะให้คุณหรือโทษนั้นขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่จะมีวิจารณญาณอย่างไร จะใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ได้ หรือจะตกเป็นทาสด้วยความเชื่องมงาย ไร้เหตุผลก็ได้ เพราะแก่นพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์มีเหตุผล เดินสายกลาง และผลเกิดจากเหตุ การมี “สติ” อาจทำให้ไม่เสีย “สตังค์” ค่างมงาย เช่น เสดาะเคราะห์ด้วยราคา 999 หรือ 99 บาท ซึ่งนอกจากเสียเงินทองแล้ว บางครั้งยังอาจเสียตัวด้วย โดยเฉพาะสตรี และต้องไม่ลืมคำนึงถึงความต่างของ 2 คำนี้ คือ

    ไสยศาสตร์ (ไสยะ - ความหลับไหล งมงาย โง่เขลา มัวเมา)
    พุทธศาสตร์ (พุทธะ - ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แจ่มใส)

จะเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเรื่องของศาสนา-ความเชื่อ เพราะสิ่งนี้ก่อให้เกิดศิลปวัฒนธรรม ค่านิยมต่าง ๆ โดยเฉพาะในสังคมไทยซึ่งมีสถาบันหลักคือ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามยังมีวัฒนธรรมส่วนต่าง ๆ อีกมากมายในทุกภูมิภาคของไทยที่เกิดจากความเชื่อท้องถิ่นนั้น ๆ และสิ่งนี้เป็นประโยชน์ที่ทำให้เกิดการรวมตัวของสังคม โดยผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ที่เห็นเด่นชัดคือ ประเพณีหรือพิธีกรรมต่าง ๆ แต่จะต้องตระหนักว่า ในปัจจุบันมีการใช้ความเชื่อทางไสยศาสตร์มากมายเพื่อตอบสนองความไม่มั่นคงทางจิตใจของผู้คนที่ยังขาดความเชื่อมั่นในหลักธรรมทางศาสนา จึงเปิดโอกาสให้คนทุจริตอาศัยความงมงายเป็นช่องทางทำมาหากิน ดังนั้นจึงขอให้ใช้วิจารญาณในเรื่องนี้ให้ดีและถ้วนถี่ เพราะความเชื่อทางศาสนามิใช่แสดงออกทางวัตถุเครื่องลางของขลังติดตัวเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงแบบแผนวิถีชีวิตทุกเรื่อง ไม่ว่าการกิน การอยู่ การรักษาพยาบาล แม้การนุ่งห่มหรือข้อห้ามต่าง ๆ ที่เป็นจารีตหรือกลไกให้คนในสังคมได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติสมานฉันท์จากวัฒนธรรมหลากมิติ

-----------------------------------------------------------

http://www.baanjomyut.com/library/culture_faith/03.html