วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมกับระบบความเชื่อในสังคมไทย


                            http://www.online-station.net/feature/feature/14576


ระบบความเชื่อ ย่อมรวมถึงศาสนา และความเชื่อในลัทธิต่างๆ ศาสนา ในความหมายกว้าง ๆ คือการบวงสรวงบูชาหรือการสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างมนุษย์กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ซึ่งมนุษย์เชื่อ

ว่าสามารถควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือวิถีทางของธรรมชาติและวิถีชีวิตของมนุษย์ ศาสนาตามทัศนะทางมานุษยวิทยาจึงบ่งบอกนัยถึงการขยายความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ออกไปสู่ความสัมพันธ์

กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอำนาจเหนือมนุษย์และธรรมชาติ ดังนั้นศาสนาและความเชื่อทางศาสนาจึงเป็นสิ่งสากลที่เราพบเห็นได้ในทุกสังคมตลอดมาทุกยุคทุกสมัย (ยศ สันตสมบัติ, 2537 : 214) ศาสนาอาจ

จัดว่าเป็นวัฒนธรรมทางนามธรรมที่มีผลต่อการสร้างวัฒนธรรมทางรูปธรรม การทำความเข้าใจศาสนาเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แรกเริ่มทีเดียวศาสนาและความเชื่อถือกำเนิดจาก

ความกลัว ความต้องการความมั่นคงทางจิตใจ และความสงสัยในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวมนุษย์ ในสมัยโบราณ มนุษย์ดำเนินชีวิตในท่ามกลางปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถ

เข้าใจได้ ไม่ว่าจะเป็นความมืด ความสว่าง ความร้อน ความหนาว พายุฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ภาวะเกิด แก่ เจ็บ ตาย ฯลฯ ทำให้เกิดความกลัวและเชื่อว่าต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจลี้ลับอยู่เหนือปรากฏการณ์

เหล่านี้ซึ่งสามารถบันดาลคุณและโทษแก่มนุษย์ได้ ฉะนั้นมนุษย์จึงพยายามหาวิธีการอ้อนวอนเอาใจหรือต่อรองกับอำนาจลึกลับของธรรมชาติด้วยการบูชา บนบานหรือเซ่นไหว้

โดยทั่วไปศาสนามีองค์ประกอบที่สำคัญ (สุชีพ ปุญญานุภาพ, 2532 : 10) คือ
1) ศาสดาหรือผู้ประกาศศาสนา (เช่น พระพุทธเจ้า พระไครสต์ พระนะบีมูฮัมหมัด เป็นต้น)
2) ปรัชญาและหลักปฏิบัติ แนวคิด ความเชื่อ ซึ่งก็คือพระธรรมคำสั่งสอน ทั้งในรูปของตำรับตำรา การเทศนาสั่งสอน
3) นักบวชหรือพระสงฆ์ และศาสนิกหรือผู้นับถือศาสนา
4) ศาสนสถานและศาสนวัตถุ ซึ่งมักปรากฏในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ
5) พิธีกรรม ซึ่งก็คือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและย่อมจะต้องมีวัตถุประสงค์มีความหมายตามความเข้าใจอันเกิดจากพื้นฐานความเชื่อทางศาสนาของตน

ศาสนา - ความเชื่อในสังคมไทย

ในที่นี้จึงจะกล่าวเฉพาะลักษณะของศาสนาความเชื่อที่แพร่หลายในสังคมไทยและมีอิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรมไทยในวงกว้าง นั่นก็คือรูปแบบของศาสนาความเชื่อที่มีทั้งผี พราหมณ์และพุทธปะปนกันอยู่

(ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, 2536 : 21-34)

1. ผีและอำนาจลึกลับในธรรมชาติ

หรือที่เราใช้คำว่าไสยศาสตร์ (ไสยะ = ความหลับไหล มัวเมา ตรงข้ามกับคำว่า พุทธะ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยที่มีมาก่อนศาสนาพราหมณ์และก่อนที่พุทธ

ศาสนาจะเผยแผ่เข้ามาในดินแดนแถบนี้ ผีในความเชื่อของชาวไทยน่าจะแบ่งทำความเข้าใจง่าย ๆ ออกเป็นประเภทต่างๆ คือ

    ผีที่เป็นผู้พิทักษ์รักษาหรือเทวดาอารักษ์ เช่น ผีแถน ซึ่งชาวอีสานเชื่อกันว่าเป็นผู้ให้กำเนิดโลก เป็นผู้ที่สามารถดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกและข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นก็มีผีที่เชื่อว่าสิงสถิตตาม

ธรรมชาติต่าง ๆ เช่น เจ้าป่าเจ้าเขา เจ้าที่เจ้าทาง แม่ธรณี แม่โพสพ รุกขเทวดา นางไม้ และยังมีผีประจำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ผีเตา ผีนางด้ง ผีนางสาก เป็นต้น ความเชื่อเกี่ยวกับศาลหลักเมืองก็เชื่อ

ว่าผีเทพยดาที่ทำหน้าที่ปกปักรักษาบ้านเมือง ในชุมชนเล็ก ๆ ตามชนบทมักมีหลักบ้านหรือใจบ้าน (หัวใจหรือศูนย์กลางของบ้าน) มีสัญลักษณ์ (ต่างรูปแบบกันไป) ที่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ อยู่กึ่งกลางชุมชน

และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมในหมู่บ้านด้วย ชุมชนบางแห่งเมื่อเจริญขึ้นเป็นตำบลเป็นจังหวัด ก็จะมีศาลหลักเมืองเช่นกัน ดังเราได้เห็นอยู่เกือบทุกจังหวัด
    ผีบรรพบุรุษและผีวีรบุรุษ มนุษย์เชื่อว่า เมื่อญาติพี่น้องตายไปแล้ว วิญญาณจะออกจากร่างไปสู่ที่ต่าง ๆ บ้างก็ไปเกิดใหม่ บ้างก็ยังวนเวียนอยู่ในโลกมนุษย์ ผีเหล่านี้คือผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ย่าตายาย

หรือบางทีก็เรียก ผีเรือน ส่วนผีวีรบุรุษนั้นคือบุคคล เมื่อยังมีชีวิต เป็นคนดีที่มีความเก่งกล้าสามารถเป็นพิเศษ เป็นผู้นำ เป็นเจ้าเมืองหรือเป็นผู้ก่อตั้งบ้านเมืองหรือนักรบซึ่งเมื่อตายไปก็ยังมีผู้เคารพนับถือ

อย่างเช่น ผีเจ้าเมืองของชาวไทยใหญ่ในแม่ฮ่องสอน ย่าโมของชาวโคราช พระยาพิชัยดาบหักของชาวอุตรดิตถ์ เจ้าพ่อพญาแลของชาวชัยภูมิ หรือเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยวของชาวปัตตานี ตลอดจนพระเจ้า

ตากสิน และรัชกาลที่ 5 ที่มีผู้นับถือกันอย่างแพร่หลายอยู่ในขณะนี้ ทั้งผีบรรพบุรุษ และผีวีรบุรุษจัดว่า เป็นผีดีเพราะเป็นผู้คุ้มครองรักษาลูกหลานหรือชาวบ้านชาวเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข นอกจากนี้แล้วยัง

คอยควบคุมให้ลูกหลานหรือคนในหมู่บ้านมิให้ทำผิดขนบจารีตประเพณี หากลูกหลานทำผิดประเพณีที่เรียกว่า ขึด (ทางเหนือ) หรือขะลำ (ทางภาคอีสาน) อย่างเช่น พี่น้องทะเลาะวิวาทกัน หรือลูกสาว

หลานสาวถูกผู้ชายแตะเนื้อต้องตัว อย่างที่เรียกว่า ทำผิดผี คนในครอบครัวก็จะต้องทำพิธีขอขมาต่อวิญญาณผีปู่ย่า หรือปู่ตา เป็นต้น

2. ศาสนาพราหมณ์

ศาสนาพราหมณ์เข้ามาปะปนอยู่ในคติความเชื่อและวัฒนธรรมไทยหลายรูปแบบ (พระครูวามเทพมุนี (ชวิน รังสีพราหมณกุล), 2534, สัมภาษณ์วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 หน้า 42-48) ได้แก่

    ความเชื่อในเทพเจ้า มีเทพเจ้าหลายองค์ในศาสนาพราหมณ์ที่กลายมาเป็นที่เคารพนับถือของชาวไทย เช่น พระพรหมที่คนไทยนิยมไปกราบไหว้บนบาน พระอิศวร พระพิฆเนศวร เทพแห่งศิลปะ หรือ

พระอินทร์ ซึ่งปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง
             อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากคุณลักษณะเฉพาะของเทพแต่ละองค์ ตามตำนานเทวกำเนิดแล้ว ก็จะพบว่าอุปนิสัยของเทพเหล่านี้ สะท้อนถึงภาวะหมุนเวียนของโลก โดยเริ่มจากพระอิศวร ซึ่ง

มักให้พรคนที่บำเพ็ญตบะแก่กล้า ผู้ได้รับพรก็มักลืมตัวใช้อิทธิฤทธิ์ ก่อความวุ่นวาย ความทุกข์ร้อนแก่สังคม จนพระนารายณ์ ต้องลงมาปราบด้วยวิธีล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ ต่อจากนั้นพระพรหม ก็จะ

สร้างโลกขึ้นใหม่หมุนเวียนไปเช่นนี้
    ความเชื่อในเรื่องเวทมนต์คาถา ยันต์ ความเชื่อในโชคลาง และการดูฤกษ์ยาม เป็นต้น
    พิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งเป็นพิธีกรรมต้อนรับเทพเจ้าของพราหมณ์ พิธีแรกนาขวัญ พิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พิธีขอฝน พิธีสะเดาะเคราะห์ การตั้งศาลพระภูมิ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ที่

ใช้น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ เช่น การรดน้ำมนต์ รดน้ำสังข์ในพิธีแต่งงาน การเจิมแป้งกระแจะ เป็นต้น

3. ศาสนาพุทธ

พระพุทธศาสนา ซึ่งวางรากฐานอย่างมั่นคงและเป็นที่ยอมรับให้เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงปัจจุบันนั้นได้เริ่มเผยแผ่เข้ามาตั้งแต่ครั้งที่ผู้คนในดินแดนแถบนี้นับถือผีอยู่ก่อนแล้ว และจากการที่พุทธ

ศาสนามีความยืดหยุ่นสูงและมิได้มีการบังคับให้เลิกเชื่อลัทธิอื่น ๆ รูปแบบของพุทธศาสนาที่ยึดถือปฏิบัติกันในสังคมไทยส่วนใหญ่จึงมีลักษณะของความเชื่อเกี่ยวกับผีและไสยศาสตร์ซึ่งเป็นความเชื่อที่มี

อยู่แต่ดั้งเดิม ตลอดจนพิธีกรรมและความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ผสมผสานอยู่ไม่น้อย อย่างเช่น การนับถือในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของพระเครื่อง การบนบานศาลกล่าวต่อพระพุทธรูปสำคัญ ๆ อย่างหลวง

พ่อพระแก้วมรกต หลวงพ่อโสธร ตลอดจนการที่พระสงฆ์บางรูปทำพิธีรดน้ำมนต์ (พราหมณ์) พ่นน้ำหมากเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บหรือปัดเสนียดรังควาน การเอ่ยชื่อพระพุทธรูปองค์สำคัญโดยใช้คำนำ

หน้าว่า “หลวงพ่อ” นั้น สะท้อนให้เห็นถึงการดึงเอาพระพุทธรูปให้มาสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์เพื่อความอบอุ่นใจ มั่นคงทางใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้การทำบุญเลี้ยงพระมักจะต้องจัด “ข้าวพระ” คือ ข้าวปลา

อาหารสำรับเล็ก ๆ เพื่อถวายพระพุทธรูปด้วย ซึ่งหากพิจารณาตามหลักพุทธศาสนาแล้ว พระพุทธรูปคือตัวแทนของพระพุทธเจ้า ซึ่งทรงหลุดพ้นจากโลกนี้แล้วจึงย่อมไม่หิว ไม่กระหาย ไม่หนาว ไม่ร้อน

การจัดของเซ่นไหว้ จึงเหมือนผสานเอาความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

โดยเนื้อแท้แล้วศาสนาพุทธมิได้ให้ความสำคัญกับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์และอำนาจเหนือธรรมชาติ แต่เน้นการปฏิบัติทางศีลธรรมและการทำจิตให้บริสุทธิ์ โดยมีหลักทั่วไปคือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว

ชำระจิตใจให้สะอาด และการฝึกสมาธิจนกระทั่งบรรลุถึง “วิมุตติ” คือความหลุดพ้นจากบ่วงกรรมทั้งปวง

หลักธรรมทางพุทธศาสนา จึงสามารถนำมาเลือกใช้แก้ปัญหาสังคม ปัญหาชีวิตได้ เช่น การทำงานหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนประสบผลสำเร็จได้ ควรจะนึกถึงธรรมะเรื่อง อิทธิบาท 4 (ฉันทะ = ความพอใจ,

วิริยะ = เพียร, จิตตะ = จดจ่อ, วิมังสา = ใคร่ครวญ) เป็นต้น หรือการสอนให้มนุษย์รู้จักความพอดีหรือเดินสายกลาง ไม่มากไม่น้อยเกินไป (มัชฌิมาปฏิปทา) ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางพระราชดำริใน

องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน คือ การมีชีวิตพอเพียง


http://www.baanjomyut.com/library/culture_faith/index.html


ประเพณี – พิธีกรรมในสังคมไทย

คำว่า ประเพณี (tradition) กับคำว่าพิธีกรรม (rite) มีความหมายใกล้เคียงกันมาก บางครั้งก็ใช้ในความหมายเดียวกัน แต่เท่าที่ผ่านมา คำแรก น่าจะมีความหมายกว้างกว่าคือ กินความไปถึงวิถีชีวิต (way of life) ในขณะที่คำว่า พิธีกรรมมีความหมายไปในเชิงพิธีการ หรือกิจกรรมเฉพาะกิจมากกว่า พิธีกรรมที่พบในสังคมไทยอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ พิธีกรรมตามเทศกาล (festival) พิธีกรรมที่เกี่ยวกับวงจรชีวิต (rite of passage) พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชุมชนหรือท้องถิ่น ซึ่งแต่ละพิธีกรรมที่แจกแจงแยกย่อยนี้ ก็ยังมีความเหลื่อมซ้อนกันด้วย

1. พิธีกรรมตามเทศกาล

ในรอบปีหนึ่ง ๆ จะมีเทศกาลหรือวาระสำคัญมากมาย เช่น ในราชสำนักก็จะมีพระราชพิธีสิบสองเดือน หรือทางภาคอีสานก็จะมี ฮีตสิบสองเดือน เป็นต้น พิธีกรรมตามเทศกาลจึงมักเป็นพิธีกรรมชุมชนหรืออาจเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำมาหากินก็ได้ สามารถทราบกำหนดเวลาของงานได้ชัดเจน ในขณะที่เราอาจรู้กำหนดการจัดพิธีกรรมวงจรชีวิตได้ในบางพิธีเท่านั้น เช่นเรากำหนดวันบวช วันแต่งงานได้ แต่กำหนดวันถึงแก่กรรมไม่ได้ ยกเว้นบางรายแต่ก็เป็นส่วนน้อยมาก พิธีกรรมตามเทศกาลจึงต้องทำทุกปี ในขณะที่พิธีกรรมเกี่ยวกับวงจรชีวิตอาจไม่ทำทุกปีในครอบครัวเดียวกัน

พิธีกรรมตามเทศกาลเสมือนหนึ่งเป็นการวางแผนการดำเนินชีวิตในแต่ละปีด้วย เสมือนว่ามีแผนหลัก (master plan) ไว้ เช่น ในช่วงหน้าหนาวจะมีประเพณีถวายฟืนให้ทางวัดเพื่อคลายอากาศหนาว (ประเพณีไทยใหญ่ทาง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นต้น)

นอกจากนี้ พิธีกรรมตามเทศกาลเฉพาะที่ปรากฏในสังคมไทยซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้น น่าสังเกตว่าในแต่ละปีจะมีเทศกาลถือศีลเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลในเรื่องของการรักษาจิตใจให้สงบ ไม่โกรธ ไม่อิจฉาริษยา พร้อมกับการรักษาสุขภาพกายไปในตัว โดยเฉพาะการงดบริโภคอาหารบางจำพวก หรืองดเป็นช่วงเวลา เช่น ในกลุ่มพี่น้องชาวอิสลามจะมีพิธีถือศีลอด (ตลอดเดือน เรียกเดือนรอมฎอน) งดบริโภคอาหาร-น้ำก่อนตะวันตกดินไปจนถึงตะวันขึ้นของอีกวันหนึ่ง ในขณะที่พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนจะมีเทศกาลกินเจ งดการบริโภคเนื้อสัตว์เป็นเวลาสิบวัน ส่วนพี่น้องชาวไทยนั้นมีเทศกาลเข้าพรรษาที่พุทธศาสนิกชนจะถืออุโบสถศีล (ศีลแปด ซึ่งมีข้อห้ามในการบริโภคอาหารยามวิกาล งดบริโภคเครื่องดองของเมา บทบัญญัติในศาสนาเหล่านี้ทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่ต้องการให้มนุษย์หยุดสำรวจตนเองทั้งกายและใจ อย่างน้อยก็อาจเป็นกุศโลบายให้ระบบย่อยอาหารในร่างกายได้มีโอกาสพักฟื้นการทำงานลงบ้าง เป็นที่น่าสังเกตว่า เทศกาลถืออุโบสถศีลนี้เริ่มจากเข้าพรรษาในช่วงกลาง ๆ ปี ไปจนถึงออกพรรษาในช่วงต้น ๆ ของปลายปี ซึ่งจะซ้อนเหลื่อมหรือไล่เลี่ยกับเทศกาลกินเจกับเทศกาลถือศีลอดรอมฎอน อย่างไรก็ตามเทศกาลเหล่านี้ก็ควรได้รับการพิจารณาทบทวนว่าดำเนินไปอย่างที่ไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตโดยปกติของคนส่วนใหญ่ หรือทำกันเป็นค่านิยมหรือตื่นตามกระแสสังคม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เทศกาลกินเจตามคติจีนที่ภายหลังทำให้พืชผักมีราคาสูงกว่าปกติมาก และเครื่องประกอบอาหารเจบางชนิดก็เข้าสู่กระแสธุรกิจแบบทุนนิยมมากขึ้น จนเกิดการโฆษณาแข่งขันกันอย่างมาก สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการบิดผันเจตนารมณ์ของการกินเจไปเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่เกิดกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์และเสียผลประโยชน์อันไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของกุศลจิตในเรื่องกินเจ

2. พิธีกรรมที่เกี่ยวกับวงจรชีวิต

ในชั่วชีวิตของคนเราตั้งแต่เกิดไปจนกระทั่งตายย่อมจะต้องผ่านเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของชีวิตหลายช่วงด้วยกัน ดังนั้น จึงต้องมีพิธีกรรมในแต่ละช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อหรือช่วงเปลี่ยนผ่านนี้เพื่อเสริมความมั่นใจ กล่าวคือ เมื่อแรกเกิดก็ต้องมีพิธีทำขวัญเด็กเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กที่เกิดมานั้นจะมีชีวิตรอดได้ไม่ตายเสียใน 3 วัน 7 วัน เมื่อโตขึ้นย่างเข้าสู่วัยรุ่นก็มีพิธีโกนจุก เพื่อแสดงว่าเด็กนั้นกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ต้องมีภาระรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจะได้เป็นคนที่มีกำลังใจมั่นคง และประพฤติแต่สิ่งที่ชอบที่ควร เฉพาะผู้ชายยังต้องเข้าพิธีบวชเรียนอีก 3 เดือนเมื่ออายุ 20-21 ปี จากนั้นก็ถึงระยะของการสร้างครอบครัว ต้องเข้าพิธีหมั้นและแต่งงาน เมื่อเจ็บไข้หรือประสบเคราะห์ก็ยังต้องประกอบพิธีเรียกขวัญหรือสะเดาะเคราะห์ เช่นภาคกลางมีพิธีสวดโพชฌงค์ต่ออายุ ส่วนทางภาคเหนือมีพิธีสืบชาตา และเมื่อตายไปก็ยังต้องทำพิธีเกี่ยวกับงานศพ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือการปลอบประโลมญาติมิตรที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง พิธีกรรมในวงจรชีวิตจะช่วยเสริมความเข้มแข็งสามัคคีในหมู่เครือญาติได้ดี

3. พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน

ในชนบทไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรมนั้น การทำมาหากินอันเกี่ยวข้องกับธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ชาวไร่ชาวนาต้องพึ่งพาผลผลิตจากธรรมชาติ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจึงเป็นวิถีชีวิตสำคัญของพวกเขา ดังนั้นจึงต้องประกอบพิธีกรรมเพื่อเอาอกเอาใจหรืออ้อนวอนสิ่งเหนือธรรมชาติเพื่อดลบันดาลให้มีน้ำเพียงพอแก่การเพาะปลูก และให้มีผลผลิตอุดมสมบูรณ์ จึงมีพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำนาและทำขวัญข้าวในช่วงเวลาต่าง ๆ ของการทำนา นอกจากนี้ในภาคเหนือที่มีภูเขามากมาย จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกไม่ให้มีมากหรือน้อยจนเกินไป ซึ่งเรียกว่าระบบเหมืองฝาย เขาจึงต้องทำพิธีเลี้ยงผีฝาย หรือในภาคอีสาน เมื่อมีความแห้งแล้งเกิดขึ้นในฤดูทำนาก็ต้องทำพิธีจุดบั้งไฟเพื่อขอฝนจากพญาแถน เพราะต้องอาศัยน้ำฝน ส่วนชาวประมงในลุ่มแม่น้ำโขงทางตอนเหนือเมื่อถึงฤดูกาลล่าปลาบึกก็ต้องประกอบพิธีกรรมเพื่อขจัดอุปสรรคในการจับปลา ในขณะที่คนทำนาเกลือแถบสมุทรสงคราม สมุทรสาครยังมีศาลผีประจำนาเกลือ เป็นที่สักการะบูชา เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจในธรรมชาติที่อยู่เหนือการควบคุมของตนให้การทำมาหากินของตนสะดวกขึ้น ปลอดภัย และได้ผลผลิตมาก

4. พิธีกรรมที่เกี่ยวกับท้องถิ่นหรือกลุ่มชน

พิธีกรรมนี้มักจะเกี่ยวข้องกับเทวดา หรือผีที่ปกปักรักษาและคุ้มครองหมู่บ้าน เป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจะต้องมีส่วนร่วม เพื่อสวัสดิภาพ ความมั่นคง ความเจริญของหมู่คณะ อย่างเช่น การเลี้ยงผีเจ้าเมืองของชาวไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน การทำพิธีไหว้เสาอินทขิลของชาวเชียงใหม่ พิธีเลี้ยงศาลผีปู่ตาของชาวอีสาน พิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน หรืองานทำบุญเดือนสิบของชาวปักษ์ใต้ ในแถบอำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ ก็พบว่ามีพิธีส่งเรือเสดาะห์เคราะห์ที่ชาวบ้านจะปั้นดินเหนียวเป็นรูปคนและสัตว์ (เช่น วัว ควาย หมู หมา) เท่าจำนวนชีวิตในแต่ละบ้าน ใส่เรือที่ทำจากวัตถุที่หาได้ในท้องถิ่น ขนาดลำไม่ใหญ่นัก พร้อมข้าวปลาอาหารตามสมควร นำมารวมกันในช่วงหลังสงกรานต์ แล้วทำพิธีเลี้ยงผีประจำถิ่นของตน จากนั้นก็จะลอยเรือนี้ไปตามสายน้ำเสมือนว่าได้ส่งสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดในบ้านให้ภูติผีแล้ว เชื่อว่าเป็นการเสดาะเคราะห์ให้และจะทำเช่นนี้เพื่อหลอกผีเป็นปี ๆ ไป

จะเห็นว่าพิธีกรรมทั้ง 4 ประเภทนี้อาจคาบเกี่ยวกันก็ได้ เช่น ประเพณีวิ่งควาย เป็นทั้งประเพณีตามเทศกาล (เข้าพรรษา) และเป็นทั้งประเพณีในชุมชน (จ.ชลบุรี) หรือประเพณีกินเหนียว (แต่งงาน) เป็นทั้งประเพณีในวงจรชีวิต ในขณะเดียวกันก็เป็นประเพณีท้องถิ่นชาวไทยมุสลิม (ภาคใต้) หรือประเพณีแซยิดวันเกิดของชาวจีนที่เป็นการแสดงความยินดีในวาระที่ผู้ใหญ่มีอายุครบปีนักกษัตร เช่น 60 ปี 72 ปี ก็มีความคาบเกี่ยวระหว่างประเพณีวงจรชีวิตกับประเพณีในกลุ่มชนชาวจีน เป็นต้น

สำหรับพิธีกรรมหรือกิจกรรมในรอบปีนั้น มีข้อน่าสังเกตว่าระยะหลังยังมีการกำหนดวันสำคัญต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อเน้นย้ำถึงความสมานสามัคคีและความจงรักภักดีต่อชาติและพระมหากษัตริย์ เช่น วันฉัตรมงคล วันจักรี เป็นต้น ประเพณี – พิธีกรรม หรือกิจกรรมตามวันสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้ มีบทบาทในการทำให้สมาชิกมีความรู้สึกร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นโอกาสที่จะได้ร่วมทำบุญทำทาน กินเลี้ยง และรื่นเริงสนุกสนานร่วมกัน หนุ่มสาวก็มีโอกาสพบปะกัน อีกทั้งยังเป็นเหตุให้มีการรวมญาติรวมมิตรที่อาศัยอยู่ห่างไกลได้มาร่วมสังสรรค์กัน ทั้งหมดนี้คือ พิธีกรรมที่จะทำให้ทุกคนรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สังคมหรือประเทศชาติในที่สุด นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน หากใช้สิ่งเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ก็เท่ากับว่าเราไม่ตกเป็นทาสของพิธีกรรม แต่เป็นนายของพิธีกรรม แต่มีข้อน่าสังเกตว่า เทศกาลสงกรานต์ในระยะหลังมานี้ กลับกลายเป็นเทศกาลของการเดินทางไกล และทำให้เกิดอุบัติเหตุมากจนน่าทบทวนในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งทางฝ่ายรัฐบาลและเอกชนตลอดจนประชาชนทั่วไป

ระบบความเชื่อ : ความเห็นเชิงลบและเชิงบวก

ระบบความเชื่อประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน ที่จะแยกทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้นคือ ตำนาน สัญลักษณ์ และพิธีกรรม ตำนานหรือ (myth) คือ เรื่องเล่าอันแสดงที่มาหรือต้นเค้าว่าทำไมจึงเกิดสัญลักษณ์นั้น ๆ หรือพิธีกรรมนั้น ๆ หรือความเชื่อเช่นนั้น เช่น ประเพณีกรวดน้ำหลังทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ มีที่มาแต่ครั้งก่อนพุทธกาลว่าเมื่อพระโพธิสัตว์ใกล้จะบรรลุพระโพธิญาณ ได้มีกองทัพพญามาร (เปรียบได้กับกิเลส) ยกมาขัดขวางมิให้ทรงตรัสรู้ พญามาราธิราชถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านเป็นใคร สั่งสมบุญมาแต่ชาติไหน จึงคิดว่าจะตรัสรู้เป็นมหาบุรุษได้ในโลก พระโพธิสัตว์หรือเจ้าชายสิทธัตถะในเพศบรรพชิตทรงตอบว่า พระองค์ได้สั่งสมบุญบารมีมาเป็นอเนกชาติ ยักษ์ก็ท้าทายต่อไปว่าให้หาพยานมา พระโพธิสัตว์จึงชี้นิ้วไปที่พื้นดิน ทันใดนั้นแม่พระธรณีก็ปรากฏขึ้นและบีบมวยผมให้น้ำออกมาท่วมกองทัพพญามารแตกพ่ายไปและพระองค์ก็บรรลุพระโพธิญาณในที่สุด

เหตุการณ์ในพุทธประวัติตอนนี้ทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น พระพุทธรูปปางมารวิชัยในท่านั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางบนพระเพลาขวา นิ้วพระดัชนีชี้ไปเบื้องต่ำ คือดิน และเกิดภาพจิตรกรรมฝาผนังตอนมารผจญ (น.ณ ปากน้ำ, 2530 : 237) ซึ่ง จิตรกรมักเขียนไว้ที่ผนังตรงข้ามพระประธาน นอกจากนี้ก็เกิดประเพณีกรวดน้ำหลังทำบุญทุกครั้ง จากความเชื่อว่า เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบุญบารมีครั้งใดก็จะหลั่งน้ำไปสะสมไว้ที่แม่พระธรณีทุกครั้ง และทำให้เกิดประติมากรรมรูปแม่พระธรณีบีบมวยผมด้วย (ที่มีชื่อเสียงอยู่ที่มุมสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน) อันที่จริง การกรวดน้ำก็เท่ากับเป็นการตั้งสมาธิจิต ตั้งความปรารถนาดีต่อญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ ต่อเจ้ากรรมนายเวร ซึ่งก็คือสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกให้ได้รับผลกุศลของเรา ซึ่งถ้าไม่สะดวกหรือลืม เราก็มักได้รับคำสอนจากผู้ใหญ่เสมอให้กรวดแห้งเอาก็ได้ หมายถึง ไม่ต้องใช้น้ำก็ได้ สิ่งสำคัญคือ ความตั้งใจแน่วแน่ต่อการอุทิศกุศล

ทุกสิ่งในโลก น่าจะมีทั้งคุณและโทษเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน ศาสนา คติความเชื่อที่สะท้อนผ่านวัฒนธรรมรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าศิลปกรรม ประเพณี พิธีกรรม หรือข้อห้าม ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ก็ดี ล้วนมีคุณค่าในขณะเดียวกันก็อาจมีข้อเสียก็ได้ สุดแต่ผู้นำไปใช้จะมีดุลยพินิจเพียงใด ดังคำกล่าวที่ว่า เราจะตกเป็นทาสของประเพณีหรือเราจะนำประเพณีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ นั่นคือ การปฏิบัติตามประเพณีโดยไม่รู้ความหมายที่แท้จริง โดยอ้างว่าทำตามกันมา เพราะสิ่งนี้จะเข้าข่ายของความงมงายได้

ในสังคมไทยเรามักได้ยินคำกล่าวนี้เสมอคือ “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” นั่นคือ เมื่อจัดงานประเพณี-พิธีกรรมทีไรก็มักจะสิ้นเปลืองเงินทองมากมาย ส่วนใหญ่หมดไปกับการจัดเลี้ยงแขก เป็นการรักษาศักดิ์ศรีฐานะของเจ้าภาพ แม้จะกู้หนี้ยืมสินก็ตาม หรือเมื่อจัดงานศพก็มักมีคำพูดว่า “คนตายขายคนเป็น” หมายถึง คนเป็นซึ่งหมายถึงเจ้าภาพและญาติพี่น้องก็มักจะต้องใช้เงินครั้งละมาก ๆ ไปกับการจัดงาน ซึ่งคำพูดนี้ไม่ยุติธรรมกับคนตายที่ไม่ได้มารู้เรื่องรู้ราวด้วยเลย อันที่จริงแล้วถ้าคนตายไม่ได้สั่งเสียให้ญาติจัดงานใหญ่โตก็น่าจะต้องกล่าวโทษเจ้าภาพที่เอาคนตายมาขาย นอกจากนี้ช่วงหลัง ๆ มานี้ เจ้าภาพถึงกับให้มีบ่อนการพนันมาเล่นในงานศพเพื่อเก็บค่าเช่า (ค่าต๋ง) ตัวอย่างนี้ยิ่งทำให้เห็นชัดว่า เราใช้ประเพณีเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งเป็นการนำไปสู่อบายมุขโดยตรง

ที่กล่าวไปแล้วนี้ เป็นตัวอย่างของการใช้วัฒนธรรมความเชื่อไปในเชิงลบ ในส่วนที่เป็นเชิงบวกนั้น ก็มีอยู่ไม่น้อย ดังจะขอจำแนกเป็นประเด็นต่อไปนี้

1. วัฒนธรรม-พิธีกรรม เป็นกลไกสร้างความเข้มแข็ง

การมีความคิด ความเชื่อในสิ่งเดียวกันย่อมหมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความกลมเกลียวที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ไปด้วยกัน ซึ่งส่งผลถึงความเป็นปึกแผ่น ความเข้มแข็งของสังคมในที่สุด
ดังนั้น ความเชื่อในสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องผี เรื่องวิญญาณ จึงเป็นสิ่งที่จะอยู่คู่มนุษย์ต่อไป เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ความคิดทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบข้อสงสัยของมนุษย์ได้เราก็จะไปที่ระบบ ความเชื่อ

ดังนั้น สังคมไทยในอดีตจึงจัดระบบความเชื่อเรื่องผีไว้อย่างสลับซับซ้อน มีเหตุมีผล ประกอบด้วยผีดีที่ให้คุณ และผีร้ายที่ให้โทษเมื่อทำผิดต่อกฎเกณฑ์ของสังคม ความเชื่อในเรื่องนี้จึงกลายเป็นกลไกควบคุมสังคมที่สำคัญ (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2539 : 34) แต่สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันด้วยการเติบโตของระบบทุนนิยม รวมทั้งกฎหมายบ้านเมืองที่ลบล้างจารีตประเพณีดั้งเดิม ความเชื่อเรื่องผีที่เคยเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมสังคมก็ลดบทบาทที่เป็นระบบลง (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2539 : 34)

แต่ถ้าพิจารณาใคร่ครวญเรื่องของความเชื่อในความหมายที่ตรงกันข้ามแล้ว เราก็จะพบว่า ความเชื่อ พิธีกรรมก็อาจเกิดผลเชิงลบเช่นกัน หากผู้คนงมงายอย่างไร้เหตุผล เช่น การแจกน้ำมนตร์คาถานครฐานสูตรของกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนเมษายน 2545 ซึ่งเกิดทุจริตชนปลอมน้ำมนตร์มาเร่ขาย เพราะมีผู้คนแตกตื่นมาขอรับมากมายจนน้ำมนตร์ไม่พอแจก ทั้งยังเกิดภาวะระส่ำระสายจากฝูงชนที่แสดงความต้องการน้ำมนตร์อย่างแรงกล้า จึงปรากฏทุจริตชนที่ปลอมน้ำมนตร์ขายหาประโยชน์ให้ตนเอง

2. เป็นที่พึ่งทางใจ ขจัดความกังวล ความไม่มั่นใจ

มนุษย์มีสัญชาตญาณของความกลัว ยิ่งในยุคที่ยังไม่มีหลักวิทยาศาสตร์อธิบายปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติได้ มนุษย์ก็ยิ่งกลัว ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า พายุ น้ำท่วม ฯลฯ มนุษย์จึงเชื่อว่ามีผีวิญญาณสิงอยู่ตามป่า เขา ทะเล ต้นไม้ แม้กระทั่งของใช้ในชีวิตประจำวัน การเซ่นสรวงไหว้พลี อ้อนวอน แม้กระทั่งติดสินบนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ทำให้มนุษย์หายหวาดกลัว สบายใจขึ้น มั่นใจขึ้น และเกิดเป็นรูปแบบวัฒนธรรมต่าง ๆ ขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้วิทยาศาสตร์จะอธิบายสิ่งนอกเหนือธรรมชาติเหล่านี้ได้ แต่บางครั้งก็ยังอธิบายไม่ได้ทั้งหมด เราจึงเห็นว่า คนในยุคปัจจุบันก็ยังนับถือภูติผีวิญญาณอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความตาย (แสงอรุณ, 2542 : 38) เมื่อญาติพี่น้องคนใกล้ชิดถึงแก่ความตาย จึงมักมีพิธีกรรมเข้ามาช่วยลดความหวาดกลัวลงไป ต้องเอาข้าวเอาน้ำไปเซ่นไหว้ที่โลงศพให้มากินเครื่องเซ่น เพราะเกรงว่าวิญญาณจะหิวโหย ถึงเทศกาลที่เชื่อว่าโลกของผีจะเปิดประตูให้ลงมาเยี่ยมญาติในเมืองมนุษย์ก็จะมีพิธีทำบุญให้ และพิธีกรรมทำนองนี้จะพบว่ามีทุกภูมิภาค ทุกกลุ่มชนในสังคมไทย เช่น ภาคกลางมีพิธีทำบุญบังสุกุลอัฐิวันสงกรานต์ ภาคใต้มีประเพณีชิงเปรตหรือที่เรียกสารทเดือนสิบ คนจีนมีประเพณีไหว้เช็งเม้ง เป็นต้น พิธีกรรมดังกล่าวเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงโลกของคนเป็นกับโลกของคนตายให้มาอยู่ใกล้กัน ทำให้คนเป็นไม่รู้สึกว้าเหว่มากนัก เพราะได้มีกิจกรรมติดต่อกับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วเป็นครั้งเป็นคราว

นอกจากนี้หากทบทวนดี ๆ เราจะพบว่าประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิตยังสร้างความเชื่อมั่นต่อสภาวะที่เรียกว่าจุดเปลี่ยนผ่านของชีวิตให้ดูสนิทแนบเนียนขึ้น เช่น ประเพณีบวชก็จะมีพิธีทำขวัญนาค เสมือนหนึ่งการกล่อมเกลาจิตใจนาคให้ก้าวเข้าสู่สภาวะภิกขุผู้นุ่งห่มผ้าเหลืองและจะใช้ชีวิตเยี่ยงคนในธรรมะที่ตนไม่คุ้นเคย เพื่อก้าวเข้าสู่การบวชเรียนให้เป็นคนสุกตามคติคนไทยก่อนจะเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รับการยอมรับนับถือในสังคม และเข้าพิธีแต่งงานมีครอบครัวเป็นหลักเป็นฐานสืบไป เราจึงมีคำพูดล้อเลียนกันมาว่า “อย่าเบียดก่อนบวช”

ในพิธีแต่งงานก็เช่นกัน การที่คนสองคนจะตกลงใจหรือได้รับการตกลงจากผู้ใหญ่ให้ใช้ชีวิตร่วมกันไปตลอดชีวิต อาจเป็นความไม่คุ้นหน้า (ในยุคที่สังคมยังให้ความสำคัญกับความบริสุทธิ์ของทั้งคู่บ่าว-สาว) ความแปลกหรือความไม่คุ้นเคยนี้ทำให้ต้องมีพิธีแต่งงานเข้ามาเกี่ยวข้อง พิธีกินดอง (กินเลี้ยงเพื่อดองความเป็นญาติกันทั้งสองฝ่าย) ของทางภาคอีสาน เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ่าวสาวตลอดจนญาติทั้งสองฝ่าย กล่าวคือมีการ “ผูกข้อต่อแขน” ให้ญาติที่จะมาเป็นเขยหรือสะใภ้กับฝ่ายตนด้วย เท่ากับว่า พิธีกรรมเปิดโอกาสให้สร้างความคุ้นเคย ความอบอุ่นในระหว่างญาติมิตรที่จะมาเกี่ยวดองกันด้วยอากัปกิริยาใกล้ชิดสนิทสนม จากสัมผัสและเส้นฝ้ายที่ใช้ เท่ากับเป็นการสร้างความสบายใจ ความมั่นใจให้ทุกคนโดยเฉพาะบ่าว-สาว

3. ระบบความเชื่อ ช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติ

เป็นที่ทราบกันดีในปัจจุบันว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่วิปริตผิดผันไปจากกฎเกณฑ์ธรรมชาติเช่นปรากฏการณ์เอลลินโญ่ เกิดจากการที่มนุษย์ฝืนธรรมชาติ ไม่ว่าตัดไม้ทีละจำนวนมาก ๆ หรือใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (น้ำมัน แก๊ส) หรือน้ำจำนวนมหาศาล เพื่อใช้กับระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การฝ่าฝืนนี้ทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุล มีผลให้เกิดน้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ถึงฤดูฝน ฝนไม่ตก ถึงหน้าแล้งฝนกลับตกแบบกระเซ็นกระสาย ซึ่งสิ่งนี้ย่อมส่งผลมาถึงความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอันประมาณค่ามิได้ และเป็นผลกระทบในวงกว้างทุกภูมิภาคของโลก และน่าสังเกตว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในช่วงหลังๆ มานี้

ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ในขณะที่สังคมแต่ก่อนซึ่งยังเชื่อว่าดิน น้ำ ลม ไฟ มีวิญญาณสถิตประจำ คือ แม่พระธรณี (ดิน) แม่พระคงคา (น้ำ) พระพายุ (ลม) ไฟ (พระอัคนี) สามารถดลบันดาลภัยพิบัติได้หากไปลบหลู่ท่าน หรือนำท่านมาใช้อย่างประมาท

มีความเป็นไปได้ว่าการที่คนแต่ก่อนทำพิธีเซ่นสรวง พลีบูชาธรรมชาติเพราะเชื่อว่า ธรรมชาติมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ ทำให้มนุษย์ไม่กล้าฝ่าฝืน ไม่กล้าทำลายธรรมชาติ จะตัดต้นไม้แต่ละต้นก็ต้องมีพิธีเซ่นสรวงขออนุญาตเทพารักษ์ เพื่อให้เทพารักษ์รู้ตัวและไม่โกรธคนตัด คนแต่ก่อนจึงตัดไม้เท่าที่ตนเองจะนำไปใช้สอย ทำให้ต้นไม้มีโอกาสเติบโตทัน ในขณะที่ระบบอุตสาหกรรมไม่เกรงกลัวเทพารักษ์จึงตัดทีละมาก ๆ หรือทีละภูเขา การขาดรากไม้ขนาดใหญ่จำนวนมาก ๆ ยึดน้ำไว้กับดิน จึงทำให้เกิดอุทกภัย ซึ่งปรากฏการณ์นี้หากจะใช้คำพูดอย่างคนโบราณก็คงจะเป็นคำว่า “ถูกฟ้าดินลงโทษ” ซึ่งก็ไม่ผิดความจริงมากนัก

พวกกะเหรี่ยง สะกอ หรือปกากะญอมีพิธีเอากระบอกสายสะดือเด็กเกิดใหม่แขวนกับต้นไม้ใหญ่ในป่า แสดงว่าห้ามตัด ถ้ามีเด็กเกิดใหม่มากต้นไม้ที่ห้ามตัดก็มากขึ้นด้วย เป็นวิธีเก็บรักษาป่าแบบกะเหรี่ยง (อรศิริ ปาณินท์, 2545) ภูมิปัญญาของชาวกะเหรี่ยงที่โยงความเชื่อกับการรักษาธรรมชาติด้วยวิธีนี้ เป็นแนวเดียวกับการที่คนไทยแต่ก่อนจะฝังรกไว้ที่ใต้ต้นไม้ หรือปลูกต้นไม้บนหลุมที่ฝังรกนี้ พร้อมกับบอกเล่าให้เด็กฟังเมื่อเด็กโตขึ้น เด็กก็จะรักษาต้นไม้นี้เสมือนเป็นต้นไม้คู่ชีพของเขา (เอกวิทย์ ณ ถลาง, 2545 : 37)

สังคมไทยยังมีประเพณีที่เกี่ยวกับธรรมชาติอีกมาก เช่นทางภาคเหนือมีพิธีสืบชาตาแม่น้ำ พิธีสืบชาตาต้นไม้ สืบชาตาป่า ในส่วนของพิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้ำนั้น ที่คนไทยทุกภูมิภาครู้จักกันดี คือ ประเพณีลอยกระทง ซึ่งวัตถุประสงค์ดั้งเดิมก็คือ การขอขมาแม่พระคงคา (วิญญาณที่เชื่อว่ารักษาแม่น้ำลำคลอง) ที่ตนได้ล่วงเกิน ถ่ายเทสิ่งปฏิกูลลงไป และขอบคุณแม่พระคงคาที่ให้มนุษย์ได้ใช้อุปโภค บริโภค น่าเสียดายที่ประเพณีลอยกระทงเกิดความผิดเพี้ยนจากวัตถุประสงค์เดิมไปมาสู่สาระเพียงแค่ความสนุกสนาน และเพื่อให้หนุ่มสาวได้อธิษฐานร่วมกันภายใต้แสงจันทร์วันเพ็ญ ก่อนที่ (อาจจะ) จะนำไปสู่โศกนาฏกรรมในคลินิกเถื่อนหากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือการที่หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐบาลไทยหวังผลเพียงเพื่อให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวมากๆ ในช่วงเทศกาลลอยกระทง โดยไม่คำนึงถึงกระทงธรรมชาติหรือกระทงวัสดุสังเคราะห์ที่เป็นขยะในน้ำ (แม่พระคงคา) ว่าจะเพิ่มมากขึ้นจากปกติ

นอกจากนี้ ทางภาคใต้เราพบว่าบริเวณที่เป็นป่าช้านั้น จะเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติอันยากที่ผู้ใดจะกล้าล่วงล้ำเข้าไปได้ในขณะที่ธรรมชาติบริเวณอื่น ๆ ถูกมนุษย์รุกล้ำนำไปใช้จนเกิดสภาพเสื่อมโทรม แต่บริเวณป่าช้าจะไม่มีใครเข้ามารบกวน จึงยังคงความสมบูรณ์อยู่ และชาวบ้านเชื่อว่าถ้าเข้าไปขอเก็บผักหญ้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะไม่ถูกภูติผีลงโทษ นอกจากจะโลภนำออกไปทีละมาก ๆ เท่ากับธรรมชาติไม่มีโอกาสฟื้นตัว ปรากฏการณ์นี้ยังเกิดขึ้นในชนบททางภาคอีสานเช่นกัน คือบริเวณศาลผีปู่ตา ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน จะคงสภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติเช่นเดียวกับป่าช้าทางภาคใต้

ในสังคมไทย วัฒนธรรม คติความเชื่อ มีความเกี่ยวพันกับมนุษย์ทั้งในระดับปัจเจกและระดับชุมชนมาช้านาน ผู้ปกครองสมัยโบราณอาศัยความเชื่อทางศาสนาพุทธ พราหมณ์ผสานกับความเชื่อท้องถิ่นในระดับชาวบ้าน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้สังคม แต่ทั้งนี้ผู้ปกครองก็จะต้องมีคุณธรรมด้วย นอกจากนี้ความเชื่อไม่ว่าจะเป็นทางคติพุทธ พราหมณ์ หรือผี จะให้คุณหรือโทษนั้นขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่จะมีวิจารณญาณอย่างไร จะใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ได้ หรือจะตกเป็นทาสด้วยความเชื่องมงาย ไร้เหตุผลก็ได้ เพราะแก่นพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์มีเหตุผล เดินสายกลาง และผลเกิดจากเหตุ การมี “สติ” อาจทำให้ไม่เสีย “สตังค์” ค่างมงาย เช่น เสดาะเคราะห์ด้วยราคา 999 หรือ 99 บาท ซึ่งนอกจากเสียเงินทองแล้ว บางครั้งยังอาจเสียตัวด้วย โดยเฉพาะสตรี และต้องไม่ลืมคำนึงถึงความต่างของ 2 คำนี้ คือ

    ไสยศาสตร์ (ไสยะ - ความหลับไหล งมงาย โง่เขลา มัวเมา)
    พุทธศาสตร์ (พุทธะ - ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แจ่มใส)

จะเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเรื่องของศาสนา-ความเชื่อ เพราะสิ่งนี้ก่อให้เกิดศิลปวัฒนธรรม ค่านิยมต่าง ๆ โดยเฉพาะในสังคมไทยซึ่งมีสถาบันหลักคือ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามยังมีวัฒนธรรมส่วนต่าง ๆ อีกมากมายในทุกภูมิภาคของไทยที่เกิดจากความเชื่อท้องถิ่นนั้น ๆ และสิ่งนี้เป็นประโยชน์ที่ทำให้เกิดการรวมตัวของสังคม โดยผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ที่เห็นเด่นชัดคือ ประเพณีหรือพิธีกรรมต่าง ๆ แต่จะต้องตระหนักว่า ในปัจจุบันมีการใช้ความเชื่อทางไสยศาสตร์มากมายเพื่อตอบสนองความไม่มั่นคงทางจิตใจของผู้คนที่ยังขาดความเชื่อมั่นในหลักธรรมทางศาสนา จึงเปิดโอกาสให้คนทุจริตอาศัยความงมงายเป็นช่องทางทำมาหากิน ดังนั้นจึงขอให้ใช้วิจารญาณในเรื่องนี้ให้ดีและถ้วนถี่ เพราะความเชื่อทางศาสนามิใช่แสดงออกทางวัตถุเครื่องลางของขลังติดตัวเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงแบบแผนวิถีชีวิตทุกเรื่อง ไม่ว่าการกิน การอยู่ การรักษาพยาบาล แม้การนุ่งห่มหรือข้อห้ามต่าง ๆ ที่เป็นจารีตหรือกลไกให้คนในสังคมได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติสมานฉันท์จากวัฒนธรรมหลากมิติ

http://www.baanjomyut.com/library/culture_faith/02.html


ระบบความเชื่อ : ความเห็นเชิงลบและเชิงบวก

ระบบความเชื่อประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน ที่จะแยกทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้นคือ ตำนาน สัญลักษณ์ และพิธีกรรม ตำนานหรือ (myth) คือ เรื่องเล่าอันแสดงที่มาหรือต้นเค้าว่าทำไมจึงเกิดสัญลักษณ์นั้น ๆ หรือพิธีกรรมนั้น ๆ หรือความเชื่อเช่นนั้น เช่น ประเพณีกรวดน้ำหลังทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ มีที่มาแต่ครั้งก่อนพุทธกาลว่าเมื่อพระโพธิสัตว์ใกล้จะบรรลุพระโพธิญาณ ได้มีกองทัพพญามาร (เปรียบได้กับกิเลส) ยกมาขัดขวางมิให้ทรงตรัสรู้ พญามาราธิราชถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านเป็นใคร สั่งสมบุญมาแต่ชาติไหน จึงคิดว่าจะตรัสรู้เป็นมหาบุรุษได้ในโลก พระโพธิสัตว์หรือเจ้าชายสิทธัตถะในเพศบรรพชิตทรงตอบว่า พระองค์ได้สั่งสมบุญบารมีมาเป็นอเนกชาติ ยักษ์ก็ท้าทายต่อไปว่าให้หาพยานมา พระโพธิสัตว์จึงชี้นิ้วไปที่พื้นดิน ทันใดนั้นแม่พระธรณีก็ปรากฏขึ้นและบีบมวยผมให้น้ำออกมาท่วมกองทัพพญามารแตกพ่ายไปและพระองค์ก็บรรลุพระโพธิญาณในที่สุด

เหตุการณ์ในพุทธประวัติตอนนี้ทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น พระพุทธรูปปางมารวิชัยในท่านั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางบนพระเพลาขวา นิ้วพระดัชนีชี้ไปเบื้องต่ำ คือดิน และเกิดภาพจิตรกรรมฝาผนังตอนมารผจญ (น.ณ ปากน้ำ, 2530 : 237) ซึ่ง จิตรกรมักเขียนไว้ที่ผนังตรงข้ามพระประธาน นอกจากนี้ก็เกิดประเพณีกรวดน้ำหลังทำบุญทุกครั้ง จากความเชื่อว่า เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบุญบารมีครั้งใดก็จะหลั่งน้ำไปสะสมไว้ที่แม่พระธรณีทุกครั้ง และทำให้เกิดประติมากรรมรูปแม่พระธรณีบีบมวยผมด้วย (ที่มีชื่อเสียงอยู่ที่มุมสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน) อันที่จริง การกรวดน้ำก็เท่ากับเป็นการตั้งสมาธิจิต ตั้งความปรารถนาดีต่อญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ ต่อเจ้ากรรมนายเวร ซึ่งก็คือสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกให้ได้รับผลกุศลของเรา ซึ่งถ้าไม่สะดวกหรือลืม เราก็มักได้รับคำสอนจากผู้ใหญ่เสมอให้กรวดแห้งเอาก็ได้ หมายถึง ไม่ต้องใช้น้ำก็ได้ สิ่งสำคัญคือ ความตั้งใจแน่วแน่ต่อการอุทิศกุศล

ทุกสิ่งในโลก น่าจะมีทั้งคุณและโทษเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน ศาสนา คติความเชื่อที่สะท้อนผ่านวัฒนธรรมรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าศิลปกรรม ประเพณี พิธีกรรม หรือข้อห้าม ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ก็ดี ล้วนมีคุณค่าในขณะเดียวกันก็อาจมีข้อเสียก็ได้ สุดแต่ผู้นำไปใช้จะมีดุลยพินิจเพียงใด ดังคำกล่าวที่ว่า เราจะตกเป็นทาสของประเพณีหรือเราจะนำประเพณีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ นั่นคือ การปฏิบัติตามประเพณีโดยไม่รู้ความหมายที่แท้จริง โดยอ้างว่าทำตามกันมา เพราะสิ่งนี้จะเข้าข่ายของความงมงายได้

ในสังคมไทยเรามักได้ยินคำกล่าวนี้เสมอคือ “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” นั่นคือ เมื่อจัดงานประเพณี-พิธีกรรมทีไรก็มักจะสิ้นเปลืองเงินทองมากมาย ส่วนใหญ่หมดไปกับการจัดเลี้ยงแขก เป็นการรักษาศักดิ์ศรีฐานะของเจ้าภาพ แม้จะกู้หนี้ยืมสินก็ตาม หรือเมื่อจัดงานศพก็มักมีคำพูดว่า “คนตายขายคนเป็น” หมายถึง คนเป็นซึ่งหมายถึงเจ้าภาพและญาติพี่น้องก็มักจะต้องใช้เงินครั้งละมาก ๆ ไปกับการจัดงาน ซึ่งคำพูดนี้ไม่ยุติธรรมกับคนตายที่ไม่ได้มารู้เรื่องรู้ราวด้วยเลย อันที่จริงแล้วถ้าคนตายไม่ได้สั่งเสียให้ญาติจัดงานใหญ่โตก็น่าจะต้องกล่าวโทษเจ้าภาพที่เอาคนตายมาขาย นอกจากนี้ช่วงหลัง ๆ มานี้ เจ้าภาพถึงกับให้มีบ่อนการพนันมาเล่นในงานศพเพื่อเก็บค่าเช่า (ค่าต๋ง) ตัวอย่างนี้ยิ่งทำให้เห็นชัดว่า เราใช้ประเพณีเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งเป็นการนำไปสู่อบายมุขโดยตรง

ที่กล่าวไปแล้วนี้ เป็นตัวอย่างของการใช้วัฒนธรรมความเชื่อไปในเชิงลบ ในส่วนที่เป็นเชิงบวกนั้น ก็มีอยู่ไม่น้อย ดังจะขอจำแนกเป็นประเด็นต่อไปนี้

1. วัฒนธรรม-พิธีกรรม เป็นกลไกสร้างความเข้มแข็ง

การมีความคิด ความเชื่อในสิ่งเดียวกันย่อมหมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความกลมเกลียวที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ไปด้วยกัน ซึ่งส่งผลถึงความเป็นปึกแผ่น ความเข้มแข็งของสังคมในที่สุด
ดังนั้น ความเชื่อในสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องผี เรื่องวิญญาณ จึงเป็นสิ่งที่จะอยู่คู่มนุษย์ต่อไป เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ความคิดทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบข้อสงสัยของมนุษย์ได้เราก็จะไปที่ระบบ ความเชื่อ

ดังนั้น สังคมไทยในอดีตจึงจัดระบบความเชื่อเรื่องผีไว้อย่างสลับซับซ้อน มีเหตุมีผล ประกอบด้วยผีดีที่ให้คุณ และผีร้ายที่ให้โทษเมื่อทำผิดต่อกฎเกณฑ์ของสังคม ความเชื่อในเรื่องนี้จึงกลายเป็นกลไกควบคุมสังคมที่สำคัญ (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2539 : 34) แต่สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันด้วยการเติบโตของระบบทุนนิยม รวมทั้งกฎหมายบ้านเมืองที่ลบล้างจารีตประเพณีดั้งเดิม ความเชื่อเรื่องผีที่เคยเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมสังคมก็ลดบทบาทที่เป็นระบบลง (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2539 : 34)

แต่ถ้าพิจารณาใคร่ครวญเรื่องของความเชื่อในความหมายที่ตรงกันข้ามแล้ว เราก็จะพบว่า ความเชื่อ พิธีกรรมก็อาจเกิดผลเชิงลบเช่นกัน หากผู้คนงมงายอย่างไร้เหตุผล เช่น การแจกน้ำมนตร์คาถานครฐานสูตรของกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนเมษายน 2545 ซึ่งเกิดทุจริตชนปลอมน้ำมนตร์มาเร่ขาย เพราะมีผู้คนแตกตื่นมาขอรับมากมายจนน้ำมนตร์ไม่พอแจก ทั้งยังเกิดภาวะระส่ำระสายจากฝูงชนที่แสดงความต้องการน้ำมนตร์อย่างแรงกล้า จึงปรากฏทุจริตชนที่ปลอมน้ำมนตร์ขายหาประโยชน์ให้ตนเอง

2. เป็นที่พึ่งทางใจ ขจัดความกังวล ความไม่มั่นใจ

มนุษย์มีสัญชาตญาณของความกลัว ยิ่งในยุคที่ยังไม่มีหลักวิทยาศาสตร์อธิบายปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติได้ มนุษย์ก็ยิ่งกลัว ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า พายุ น้ำท่วม ฯลฯ มนุษย์จึงเชื่อว่ามีผีวิญญาณสิงอยู่ตามป่า เขา ทะเล ต้นไม้ แม้กระทั่งของใช้ในชีวิตประจำวัน การเซ่นสรวงไหว้พลี อ้อนวอน แม้กระทั่งติดสินบนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ทำให้มนุษย์หายหวาดกลัว สบายใจขึ้น มั่นใจขึ้น และเกิดเป็นรูปแบบวัฒนธรรมต่าง ๆ ขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้วิทยาศาสตร์จะอธิบายสิ่งนอกเหนือธรรมชาติเหล่านี้ได้ แต่บางครั้งก็ยังอธิบายไม่ได้ทั้งหมด เราจึงเห็นว่า คนในยุคปัจจุบันก็ยังนับถือภูติผีวิญญาณอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความตาย (แสงอรุณ, 2542 : 38) เมื่อญาติพี่น้องคนใกล้ชิดถึงแก่ความตาย จึงมักมีพิธีกรรมเข้ามาช่วยลดความหวาดกลัวลงไป ต้องเอาข้าวเอาน้ำไปเซ่นไหว้ที่โลงศพให้มากินเครื่องเซ่น เพราะเกรงว่าวิญญาณจะหิวโหย ถึงเทศกาลที่เชื่อว่าโลกของผีจะเปิดประตูให้ลงมาเยี่ยมญาติในเมืองมนุษย์ก็จะมีพิธีทำบุญให้ และพิธีกรรมทำนองนี้จะพบว่ามีทุกภูมิภาค ทุกกลุ่มชนในสังคมไทย เช่น ภาคกลางมีพิธีทำบุญบังสุกุลอัฐิวันสงกรานต์ ภาคใต้มีประเพณีชิงเปรตหรือที่เรียกสารทเดือนสิบ คนจีนมีประเพณีไหว้เช็งเม้ง เป็นต้น พิธีกรรมดังกล่าวเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงโลกของคนเป็นกับโลกของคนตายให้มาอยู่ใกล้กัน ทำให้คนเป็นไม่รู้สึกว้าเหว่มากนัก เพราะได้มีกิจกรรมติดต่อกับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วเป็นครั้งเป็นคราว

นอกจากนี้หากทบทวนดี ๆ เราจะพบว่าประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิตยังสร้างความเชื่อมั่นต่อสภาวะที่เรียกว่าจุดเปลี่ยนผ่านของชีวิตให้ดูสนิทแนบเนียนขึ้น เช่น ประเพณีบวชก็จะมีพิธีทำขวัญนาค เสมือนหนึ่งการกล่อมเกลาจิตใจนาคให้ก้าวเข้าสู่สภาวะภิกขุผู้นุ่งห่มผ้าเหลืองและจะใช้ชีวิตเยี่ยงคนในธรรมะที่ตนไม่คุ้นเคย เพื่อก้าวเข้าสู่การบวชเรียนให้เป็นคนสุกตามคติคนไทยก่อนจะเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รับการยอมรับนับถือในสังคม และเข้าพิธีแต่งงานมีครอบครัวเป็นหลักเป็นฐานสืบไป เราจึงมีคำพูดล้อเลียนกันมาว่า “อย่าเบียดก่อนบวช”

ในพิธีแต่งงานก็เช่นกัน การที่คนสองคนจะตกลงใจหรือได้รับการตกลงจากผู้ใหญ่ให้ใช้ชีวิตร่วมกันไปตลอดชีวิต อาจเป็นความไม่คุ้นหน้า (ในยุคที่สังคมยังให้ความสำคัญกับความบริสุทธิ์ของทั้งคู่บ่าว-สาว) ความแปลกหรือความไม่คุ้นเคยนี้ทำให้ต้องมีพิธีแต่งงานเข้ามาเกี่ยวข้อง พิธีกินดอง (กินเลี้ยงเพื่อดองความเป็นญาติกันทั้งสองฝ่าย) ของทางภาคอีสาน เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ่าวสาวตลอดจนญาติทั้งสองฝ่าย กล่าวคือมีการ “ผูกข้อต่อแขน” ให้ญาติที่จะมาเป็นเขยหรือสะใภ้กับฝ่ายตนด้วย เท่ากับว่า พิธีกรรมเปิดโอกาสให้สร้างความคุ้นเคย ความอบอุ่นในระหว่างญาติมิตรที่จะมาเกี่ยวดองกันด้วยอากัปกิริยาใกล้ชิดสนิทสนม จากสัมผัสและเส้นฝ้ายที่ใช้ เท่ากับเป็นการสร้างความสบายใจ ความมั่นใจให้ทุกคนโดยเฉพาะบ่าว-สาว

3. ระบบความเชื่อ ช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติ

เป็นที่ทราบกันดีในปัจจุบันว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่วิปริตผิดผันไปจากกฎเกณฑ์ธรรมชาติเช่นปรากฏการณ์เอลลินโญ่ เกิดจากการที่มนุษย์ฝืนธรรมชาติ ไม่ว่าตัดไม้ทีละจำนวนมาก ๆ หรือใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (น้ำมัน แก๊ส) หรือน้ำจำนวนมหาศาล เพื่อใช้กับระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การฝ่าฝืนนี้ทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุล มีผลให้เกิดน้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ถึงฤดูฝน ฝนไม่ตก ถึงหน้าแล้งฝนกลับตกแบบกระเซ็นกระสาย ซึ่งสิ่งนี้ย่อมส่งผลมาถึงความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอันประมาณค่ามิได้ และเป็นผลกระทบในวงกว้างทุกภูมิภาคของโลก และน่าสังเกตว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในช่วงหลังๆ มานี้

ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ในขณะที่สังคมแต่ก่อนซึ่งยังเชื่อว่าดิน น้ำ ลม ไฟ มีวิญญาณสถิตประจำ คือ แม่พระธรณี (ดิน) แม่พระคงคา (น้ำ) พระพายุ (ลม) ไฟ (พระอัคนี) สามารถดลบันดาลภัยพิบัติได้หากไปลบหลู่ท่าน หรือนำท่านมาใช้อย่างประมาท

มีความเป็นไปได้ว่าการที่คนแต่ก่อนทำพิธีเซ่นสรวง พลีบูชาธรรมชาติเพราะเชื่อว่า ธรรมชาติมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ ทำให้มนุษย์ไม่กล้าฝ่าฝืน ไม่กล้าทำลายธรรมชาติ จะตัดต้นไม้แต่ละต้นก็ต้องมีพิธีเซ่นสรวงขออนุญาตเทพารักษ์ เพื่อให้เทพารักษ์รู้ตัวและไม่โกรธคนตัด คนแต่ก่อนจึงตัดไม้เท่าที่ตนเองจะนำไปใช้สอย ทำให้ต้นไม้มีโอกาสเติบโตทัน ในขณะที่ระบบอุตสาหกรรมไม่เกรงกลัวเทพารักษ์จึงตัดทีละมาก ๆ หรือทีละภูเขา การขาดรากไม้ขนาดใหญ่จำนวนมาก ๆ ยึดน้ำไว้กับดิน จึงทำให้เกิดอุทกภัย ซึ่งปรากฏการณ์นี้หากจะใช้คำพูดอย่างคนโบราณก็คงจะเป็นคำว่า “ถูกฟ้าดินลงโทษ” ซึ่งก็ไม่ผิดความจริงมากนัก

พวกกะเหรี่ยง สะกอ หรือปกากะญอมีพิธีเอากระบอกสายสะดือเด็กเกิดใหม่แขวนกับต้นไม้ใหญ่ในป่า แสดงว่าห้ามตัด ถ้ามีเด็กเกิดใหม่มากต้นไม้ที่ห้ามตัดก็มากขึ้นด้วย เป็นวิธีเก็บรักษาป่าแบบกะเหรี่ยง (อรศิริ ปาณินท์, 2545) ภูมิปัญญาของชาวกะเหรี่ยงที่โยงความเชื่อกับการรักษาธรรมชาติด้วยวิธีนี้ เป็นแนวเดียวกับการที่คนไทยแต่ก่อนจะฝังรกไว้ที่ใต้ต้นไม้ หรือปลูกต้นไม้บนหลุมที่ฝังรกนี้ พร้อมกับบอกเล่าให้เด็กฟังเมื่อเด็กโตขึ้น เด็กก็จะรักษาต้นไม้นี้เสมือนเป็นต้นไม้คู่ชีพของเขา (เอกวิทย์ ณ ถลาง, 2545 : 37)

สังคมไทยยังมีประเพณีที่เกี่ยวกับธรรมชาติอีกมาก เช่นทางภาคเหนือมีพิธีสืบชาตาแม่น้ำ พิธีสืบชาตาต้นไม้ สืบชาตาป่า ในส่วนของพิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้ำนั้น ที่คนไทยทุกภูมิภาครู้จักกันดี คือ ประเพณีลอยกระทง ซึ่งวัตถุประสงค์ดั้งเดิมก็คือ การขอขมาแม่พระคงคา (วิญญาณที่เชื่อว่ารักษาแม่น้ำลำคลอง) ที่ตนได้ล่วงเกิน ถ่ายเทสิ่งปฏิกูลลงไป และขอบคุณแม่พระคงคาที่ให้มนุษย์ได้ใช้อุปโภค บริโภค น่าเสียดายที่ประเพณีลอยกระทงเกิดความผิดเพี้ยนจากวัตถุประสงค์เดิมไปมาสู่สาระเพียงแค่ความสนุกสนาน และเพื่อให้หนุ่มสาวได้อธิษฐานร่วมกันภายใต้แสงจันทร์วันเพ็ญ ก่อนที่ (อาจจะ) จะนำไปสู่โศกนาฏกรรมในคลินิกเถื่อนหากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือการที่หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐบาลไทยหวังผลเพียงเพื่อให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวมากๆ ในช่วงเทศกาลลอยกระทง โดยไม่คำนึงถึงกระทงธรรมชาติหรือกระทงวัสดุสังเคราะห์ที่เป็นขยะในน้ำ (แม่พระคงคา) ว่าจะเพิ่มมากขึ้นจากปกติ

นอกจากนี้ ทางภาคใต้เราพบว่าบริเวณที่เป็นป่าช้านั้น จะเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติอันยากที่ผู้ใดจะกล้าล่วงล้ำเข้าไปได้ในขณะที่ธรรมชาติบริเวณอื่น ๆ ถูกมนุษย์รุกล้ำนำไปใช้จนเกิดสภาพเสื่อมโทรม แต่บริเวณป่าช้าจะไม่มีใครเข้ามารบกวน จึงยังคงความสมบูรณ์อยู่ และชาวบ้านเชื่อว่าถ้าเข้าไปขอเก็บผักหญ้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะไม่ถูกภูติผีลงโทษ นอกจากจะโลภนำออกไปทีละมาก ๆ เท่ากับธรรมชาติไม่มีโอกาสฟื้นตัว ปรากฏการณ์นี้ยังเกิดขึ้นในชนบททางภาคอีสานเช่นกัน คือบริเวณศาลผีปู่ตา ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน จะคงสภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติเช่นเดียวกับป่าช้าทางภาคใต้

ในสังคมไทย วัฒนธรรม คติความเชื่อ มีความเกี่ยวพันกับมนุษย์ทั้งในระดับปัจเจกและระดับชุมชนมาช้านาน ผู้ปกครองสมัยโบราณอาศัยความเชื่อทางศาสนาพุทธ พราหมณ์ผสานกับความเชื่อท้องถิ่นในระดับชาวบ้าน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้สังคม แต่ทั้งนี้ผู้ปกครองก็จะต้องมีคุณธรรมด้วย นอกจากนี้ความเชื่อไม่ว่าจะเป็นทางคติพุทธ พราหมณ์ หรือผี จะให้คุณหรือโทษนั้นขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่จะมีวิจารณญาณอย่างไร จะใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ได้ หรือจะตกเป็นทาสด้วยความเชื่องมงาย ไร้เหตุผลก็ได้ เพราะแก่นพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์มีเหตุผล เดินสายกลาง และผลเกิดจากเหตุ การมี “สติ” อาจทำให้ไม่เสีย “สตังค์” ค่างมงาย เช่น เสดาะเคราะห์ด้วยราคา 999 หรือ 99 บาท ซึ่งนอกจากเสียเงินทองแล้ว บางครั้งยังอาจเสียตัวด้วย โดยเฉพาะสตรี และต้องไม่ลืมคำนึงถึงความต่างของ 2 คำนี้ คือ

    ไสยศาสตร์ (ไสยะ - ความหลับไหล งมงาย โง่เขลา มัวเมา)
    พุทธศาสตร์ (พุทธะ - ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แจ่มใส)

จะเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเรื่องของศาสนา-ความเชื่อ เพราะสิ่งนี้ก่อให้เกิดศิลปวัฒนธรรม ค่านิยมต่าง ๆ โดยเฉพาะในสังคมไทยซึ่งมีสถาบันหลักคือ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามยังมีวัฒนธรรมส่วนต่าง ๆ อีกมากมายในทุกภูมิภาคของไทยที่เกิดจากความเชื่อท้องถิ่นนั้น ๆ และสิ่งนี้เป็นประโยชน์ที่ทำให้เกิดการรวมตัวของสังคม โดยผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ที่เห็นเด่นชัดคือ ประเพณีหรือพิธีกรรมต่าง ๆ แต่จะต้องตระหนักว่า ในปัจจุบันมีการใช้ความเชื่อทางไสยศาสตร์มากมายเพื่อตอบสนองความไม่มั่นคงทางจิตใจของผู้คนที่ยังขาดความเชื่อมั่นในหลักธรรมทางศาสนา จึงเปิดโอกาสให้คนทุจริตอาศัยความงมงายเป็นช่องทางทำมาหากิน ดังนั้นจึงขอให้ใช้วิจารญาณในเรื่องนี้ให้ดีและถ้วนถี่ เพราะความเชื่อทางศาสนามิใช่แสดงออกทางวัตถุเครื่องลางของขลังติดตัวเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงแบบแผนวิถีชีวิตทุกเรื่อง ไม่ว่าการกิน การอยู่ การรักษาพยาบาล แม้การนุ่งห่มหรือข้อห้ามต่าง ๆ ที่เป็นจารีตหรือกลไกให้คนในสังคมได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติสมานฉันท์จากวัฒนธรรมหลากมิติ

-----------------------------------------------------------

http://www.baanjomyut.com/library/culture_faith/03.html

แนวคิดทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theory)





                                              จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)

ทฤษฎีกลุ่มนี้บางครั้งเรียกว่า กลุ่มปัญญานิยม  มีความเชื่อว่าผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ต้องใช้ประสาทสัมผัส (Sense) และใช้สติปัญญาเป็นตัววิเคราะห์ข้อมูล และเก็บสะสมประสบการณ์เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาใหม่ สำหรับกลุ่มแนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ได้แก่ กลุ่มแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) และกลุ่มแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา  (Constructionism) ได้แก่
        1 ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)   เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในตัวของผู้เรียนที่เน้นวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดไตร่ตรองได้อย่างสร้างสรรค์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถพึ่งพาตนเองได้ รู้จักร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม และนำความรู้ที่ได้รับไปบูรณาการในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ตามหลักการของทฤษฎีนี้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีมาก่อน นำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ และปรากฎการณ์ที่พบเห็นมาสร้างเป็นโครงสร้างใหม่ทางสติปัญญา  (Kemil.1991); (Noddings.1990); (Von Glasserfeld.1991); (Henderson.1992) ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาทางปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันในสังคม ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้วิธีการแก้ปัญหา (Collaborative Constructivism) (สุรางค์ โค้วตระกูล.2544) ซึ่งแต่ละบุคคลจะมีวิธีคิดในการแก้ปัญหาไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ต้องเกิดจากความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาของตนเอง แนวคิดทฤษฎีนี้ มีรากฐานมาจากแนวคิดของนักจิตวิทยาการศึกษาหลายท่าน ได้แก่ แนวคิดของฌอง เฟียเจต์ (Jean Piaget) เรียกว่า Cognitive constructivism ที่เชื่อว่า ถ้าผู้เรียนถูกกระตุ้นด้วยปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาแล้ว  จะทำให้ผู้เรียนพยายามปรับโครงสร้างทางปัญญาให้เข้าสู่สภาวะสมดุลโดยวิธีการดูดซึมได้แก่ การรับข้อมูลใหม่จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปไว้ในโครงสร้างทางปัญญา และปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญา คือ การเชื่อมโยงโครงสร้างทางปัญญาเดิม หรือความรู้เดิมที่มีมาก่อนกับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่งสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาหรือเกิดการเรียนรู้ได้ ส่วนแนวคิดของวีก็อทสกี้ (Vygotsky) ได้เน้นบริบททางสังคม เรียกว่า Social constructivism เชื่อว่าผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้โดยผ่านทางการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านพุทธิปัญญา สำหรับจอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้  Learning by doing  ที่เชื่อว่าผู้เรียนต้องเรียนรู้ควบคู่ไปกับการกระทำ  และผู้เรียนต้องมีการทำความเข้าใจความรู้ใหม่โดยอาศัยประสบการณ์เดิมที่สั่งสมมาเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ อันเป็นความพยายามเชิงสังคม ก่อให้เกิดรูปแบบการเรียนการสอนที่เรียกว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่เน้นความสำคัญของการสร้างความรู้โดยกลุ่มคนในสังคม  สำหรับแนวคิดของบรูเนอร์ (Bruner) เห็นว่าประสบการณ์เดิมของผู้เรียนจะมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ และเชื่อว่าวุฒิภาวะอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการพัฒนาโครงสร้างความรู้ใหม่ ต้องมีองค์ประกอบอื่นเกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนาทางด้านภาษา และประสบการณ์เดิมเข้ามามีส่วนสำคัญในการเพิ่มความเจริญงอกงามทางสติปัญญา และแนวคิดของออซูเบล (Ausubel) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่สามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้กับโครงสร้างความรู้เดิมที่มีอยู่ นำมาจัดเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย แต่ถ้าผู้เรียนไม่สามารถนำสิ่งใหม่ไปสัมพันธ์กับความรู้เดิมได้ เรียกว่าเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีความหมาย หรือเรียนแบบท่องจำ (สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ.2545:128 - 129); (รายงานการประชุมทางวิชาการวิจัยทางการศึกษา ครั้งที่ 11.2548 : 161 – 164)


เอกสารอ้างอิง

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545).  21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). การประชุมทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษา ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : เลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานฯ.
Kemil.(1991). “Constructivism and Beginning Arithmetic”. Teaching and Learning Mathematics in the 1990s. National Council of Teacher of Mathematics.
Noddings, N. (1990). Constructivist Views on the Teaching and Learning of Mathematics. Journal for Research in Mathematics Education. Monograph. No 4 pp. 7-18 Reston. Verginia: The National Council of Teachers of Mathematics.
Von E, Glasserfeld. (1991). Radical Constructivism in Mathematic Education. Dordrecht. Kluwer A.P.
Henderson, G. (1992).  Reflective Teaching: Becoming an Educator. New York: Macmillan.





http://wicky-drwipawan.blogspot.com/2010/10/cognitive-theory.html

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

เขมรถิ่นไทย




เขมรถิ่นไทยเป็นชื่อทางวิชาการ ได้กำหนดขึ้นเพื่อเรียกผู้ที่พูดภาษาเขมรซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทย (ประกอบ 2538, น.1) โดยทั่วไปชาวเขมรถิ่นไทยเรียกตัวเองว่า “คแมร” หรือ “คแมร-ลือ” แปลว่าเขมรสูง เรียกภาษาเขมร และชาวเขมรในกัมพูชา ว่า “คแมร-กรอม” แปลว่า เขมรต่ำ และเรียกคนไทยว่า “ซีม” ซึ่งตรงกับคำว่า “สยาม” ใน ภาษาไทย (ประกอบ 2538, น.1) เมื่อพิจารณาเขตการปกครอง นักภาษาศาสตร์ได้แบ่งภาษาเขมรเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ภาษาเขมรเหนือหรือเขมรสูง (เขมรถิ่นไทย) 2) ภาษาเขมรกลางเป็นภาษาของผู้ที่ อยู่ในกัมพูชา 3) ภาษาเขมรใต้เป็น ภาษาของคนเวียดนามเชื้อสายเขมร ปัจจุบันพบชาวเขมรถิ่นไทยอาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ปราจีนบุรี ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว

นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าบริเวณที่ราบสูงโคราชเคยเป็นที่อยู่ของชาวขอมหรือชาวเขมรโบราณ ดูจากกลุ่มปราสาทขอมโบราณ ศิลาจารึก ประติมากรรม ที่พบมากในบริเวณดังกล่าว เช่น ปราสาทภูมิโปน ปราสาทไปรมัดน้อย ปราสาทพนาวัน ปราสาทหินพิมาย เป็นต้น ชาวเขมรถิ่นไทยน่าจะอพยพมาสมัยหลังในช่วง พ.ศ.2324-2325 (ประกอบ 2538, น.15-16)

ครอบครัวของชาวเขมรถิ่นไทยมีความคล้ายคลึงกับครอบครัวไทยพื้นเมืองคือ พ่อบ้านเป็นหัวหน้าครอบครัวแม่บ้านดูแล กิจกรรมภายในบ้าน ชาวเขมรถิ่นไทยให้เกียรติแก่เพศชาย ในการดำเนิน กิจกรรม หรือตัดสินเรื่องต่าง ๆ ครอบครัวเขมรถิ่นไทยมี การอยู่รวมกันหลายครอบครัว อาจประกอบด้วยปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา พ่อแม่ ลูกหลาน พี่น้องจำนวนมาก ครอบครัวใดที่มีลูก สาวหลายคน สมาชิกก็มีแนวโน้มขยายมากขึ้น การแต่งงาน (แซนการ) ของชาวเขมรถิ่นไทยนี้ ผู้เป็นฝ่ายชายต้องเสียเงินและ บรรณาการให้ฝ่ายหญิง เพื่อเป็น การเปิดปาก (เบิกเมือด) ฝ่ายชายต้องจัดขันหมากไปให้ฝ่ายหญิง ประกอบด้วยหมู เหล้า ขนม ข้าวต้ม ผลไม้และ เงินทอง ฝ่ายหญิงต้องล้างเท้าให้ฝ่ายชายก่อนขึ้นบ้าน (ประกอบ 2538, น.27)

เขมรถิ่นไทยมีชีวิตเรียบง่าย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ อาหารหลักของชาวเขมรถิ่นไทยคือ ข้าวเจ้า ปลาร้า เขมร ปลาจ่อม ปลาแห้ง ปลาย่าง ปลาต้ม น้ำพริกจิ้มผัก ผลไม้ได้แก่ กล้วย น้อยหน่า มะม่วง มะพร้าวและขนม ได้แก่ ขนมโชค ขนมเนียล ขนมกันตาราง ขนมกระมอล ขนมมุก เป็นต้น

ชาวเขมรถิ่นไทยนับถือศาสนาพุทธ ช่วงเข้าพรรษาจะมีประเพณี “กันซง” ซึ่งเป็นประเพณีการถือศีล นำอาหารไปทำบุญ ที่วัด 8 วัน หรือ 15 วัน นอกจากนั้นยังมีความเชื่อเรื่องผี บรรพบุรุษ จะมีประเพณีไหว้บรรพบุรุษ เรียกว่า ประเพณีเบ็นหรืองาน แคเบ็น ซึ่งตรงกับสารทไทย พิธีมงก็วลจองได เป็นพิธีสู่ขวัญแบบพื้นบ้าน นิยมจัดในงานมงคล เช่น งาน มงคลสมรส ขวัญนาค โกนจุก ยกเสาเอก ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น พิธีมอม็วด เป็นพิธีที่ทำเพื่อหาสาเหตุการเจ็บป่วย โดยผู้เข้าทรงจะเชิญวิญญาณมาเข้าสู่ร่าง และจะมีผู้คอยซักถาม ว่าเหตุใดถึงได้เจ็บป่วย นอกจากนั้น ชาวเขมรถิ่นไทยยังเชื่อเรื่องโชคราง ของขลัง ฤกษ์ยามเครื่องราง ของขลังบางอย่างสามารถป้องกันภัยและรักษาโรคได้ (ประกอบ 2538, น.27)

การแต่งกายของชาวเขมรถิ่นไทย ผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุง (ซำป๊วด) ซึ่งเป็นผ้าไหมพื้นเมืองที่มีชื่อคือ ผ้าโฮล ผ้าอำปรุม ผ้าซิน ผ้าซาคู ส่วนผู้ชายนุ่งโสร่ง สำหรับเสื้อ ผู้หญิงใส่เสื้อ แขน กระบอก ผู้ชายใส่เสื้อคอกลม เครื่องประดับจะเป็นเครื่องเงิน เรียกว่า ประเกือ็ม (ประคำ) นำมาร้อยเป็นสร้อย ต่างหู เป็นต้น (ประกอบ 2538, น.22) เขมรถิ่นไทย มีการละเล่น พื้น บ้านได้แก่ จเรียง เป็นการขับร้องหรือแหล่กลอนสด เนียะจเรียง หมายถึง ผู้ขับร้อง ภาษาที่ใช้เป็นภาษาเขมร จเรียงมีด้วยกันหลายประเภท เช่น จเรียงนอรแกว เป็นการร้องโต้ ตอบ ระหว่าง ชายหญิง จเรียงอาไย มีการรำประกอบการร้อง จเรียงซันตูจ เป็นการสนุกสนานของหนุ่มสาวซึ่งไปช่วยแต่งงานและงานมงคลในยาม ค่ำคืน จเรียงตรัว จะเป็นการร้อง ประกอบเสียงซอ จเรียงจรวง เป็นการร้อง ประกอบเสียงปี่ นอกจากนั้นยังมี กันตรึม เป็นการละเล่นประกอบดนตรี รำตรุษ เล่นในเทศกาลสงกรานต์ (แคแจด) รำสาก เป็นการรำ ประกอบเสียงดนตรี และเสียงกระทบสาก ผู้รำประกอบด้วยชายหญิงรำเป็นคู่ ๆ รอบวงกระทบสาก (ประกอบ 2538, น.29-30)



    กาญจนา นาคสกุล. อ่านภาษาเขมร. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524.
    คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา. แซมซายฉบับพิเศษ. รวมประเพณีและพิธีกรรมท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์, บุรีรัมย์ : เรวัตรการพิมพ์, 2533.
    จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2519.
    ------------. ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ไม้งาม, 2525.
    ฉ่ำ ทองคำวรรณ. หลักภาษาเขมร. พิมพ์ครั้งที่ 1 พระนคร : ราชบัณฑิตยสถาน, 2503.
    ปัญญา บริสุทธิ์. ชนชาติต่างๆ ในแหลมอินโดจีน. แปลจาก Les Peuples de la P?ninsula Indochinoise ของ G. Co?des (1962) กรุงเทพ : ไทยวัฒนาพานิช, 2525.
    ไพฑูรย์ มีกุศล. “วัฒนธรรมแมน้ำมูลเชิงชาติพันธุ์วิทยาและประวัติสาสตร์ กรณีการผสมผสานกลมกลืนของกลุ่มชาติพันธุ์กวย เขมร และลาว.” วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล. กรุงเทพ : สารมวลชน, 2533.
    มานิต วัลลิโภดม. สุวรรณภูมิอยู่ที่ไหน. สำนักพิมพ์การเวก, 2521.
    สมคิด ศรีสิงห์. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์พิฆเนศ, 2533.
    สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. ปราสาทเขาพนมรุ้ง. กรุงเทพ : พิฆเนศ, 2531.
    สุรนี แก้วกลม. อักษรขอมที่ใช้บันทึกภาษาไทย. กรุงเทพ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2526.
    สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. ระบบการเขียน (อ่าน) ภาษาเขมรถิ่นไทย. นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2531.
    Briggs,Lawrence Palmer. 1951. The Ancient Khmer empire. Philadelphia : American Philosophical Society. Vol. 41. 1951.
    Chandler, David P. A History of Cambodia. San Francisco : West view Press.1992.
    Coed?s.G. The Indianized States of Southeast Asia. Translated by Susan Brown Cowing, University of Malapa Press.1968.
    Henderson, E.J.A. “TheMain Feature of Cambodian Pronuciation,” Bulletin of the School of Oriental and African Study 14:149-174. 1952.
    Jacob, Judith M. Introduction to Cambodian. London : Oxford University Press.
    Smalley, William A. “The problem of vowels : northern Khmer” Phonemes and orthography Language Planning in ten minority languages of Thailand. Pacific Linguistics, Series C 43: 43-48. 1976.

http://www.sac.or.th/databases/ethnic/Content/Information/khmer.html

กรรมวาจาถอนสีมา





คำสวดถอนติจีวราวิปปวาส
..........สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ โย โส สังเฆนะ ติจีวะเรนะ
อะวิปปะวาโส สัมมะโต, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ ตัง
ติจีวะเรนะ อะวิปปะวาสัง สะมูหะเนยยะ. เอสา ญัตติ.
..........สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ. โย โส สังเฆนะ ติจีวะเรนะ
อะวิปปะวาโส สัมมะโต, สังโฆ ตัง ติจีวะเรนะ อะวิปปะวาสัง
สะมูหะปะติ. ยัสสายัสมะโต, ขะมะติ เอตัสสะ ติจีวะเรนะ
อะวิปปะวาสัสสะ สะมุคฆาโต, โส ตุณหัสสะ, ยัสสะ นักขะมะติ
โส ภาเสยยะ.
..........สะมูหะโต โส สงเฆนะ ติจีวะเรนะ อะวิปปะวาโส, ขะมะติ
สังฆัสสะ, ตัสมา ตุณหี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.


คำสวดถอนสมานสังวาสสีมา
..........สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ. ยา สา สังเฆนะ สีมา สัมมะตา
สะมานะสังวาสา เอกุโปสะถา, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ
ตัง สีมัง สะมูหะเนยยะ เอสา ญัตติ.
..........สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ. ยา สา สังเฆนะ สีมา สัมมะตา
สะมานะสังวาสา เอกุโปสะถา, สังโฆ ตัง สีมัง สะมูหะนะติ,
ยัสสายัสมะโต ขะมะติ เอติสสา สีมายะ สะมานะสังวาสายะ
เอกุโปสะถา สะมุคฆาโต, โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส
ภาเสยยะ,
..........สะมูหะตา สา สีมา สังเฆนะ สะมานะสังวาสา เอกุโกสะถา.
ขะมะตี สังฆัสสะ, ตัสมา ตุณหี, เอวะเมตัง ธาระยามิ.